วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Excel กับ ฟังก์ชั่น COUNTIF

ฟังก์ชั่น COUNTIF ประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ ทำหน้าที่ นับจำนวนของเซลล์ภายในช่วงที่ตรงตามเงื่อนไขที่คุณระบุ รูปแบบสูตรที่ใช้บน Ex... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชั่น COUNTIF

ประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

ทำหน้าที่ นับจำนวนของเซลล์ภายในช่วงที่ตรงตามเงื่อนไขที่คุณระบุ

รูปแบบสูตรที่ใช้บน Excel คือ countif(range,criteria)

โดยที่ range คือ ช่วงของเซลล์ที่คุณต้องการนับเซลล์ที่ไม่ว่าง และตรงตามเงื่อนไข

Criteria คือ เงื่อนไขซึ่งอยู่ในรูปแบบตัวเลข นิพจน์ หรือข้อความ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่าเซลล์ใดจะถูกนับ ตัวอย่างเช่น เงื่อนไขอาจจะแสดงเป็น 32, “32W, “>32”, “apples”

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ COUNTBLANK, SUMIF

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น COUNTIF บน Excel ให้ทำดังนี้

· ระบายเซลล์ B2:B6 แล้วพิมพ์ตัวเลข 100 แล้วกด Enter

· พิมพ์ 200 แล้วกด Enter จากนั้นพิมพ์ 300 แล้วกด Enter แล้วพิมพ์ 250 แล้วกด Enter แล้วพิมพ์ 350 แล้วกด Enter

· ระบายเซลล์ C2:C6 แล้วพิมพ์ตัวเลข 150 แล้วกด Enter

· พิมพ์ 260 แล้วกด Enter แล้วพิมพ์ 300 แล้วกด Enter แล้วพิมพ์ 420 แล้วกด Enter แล้วพิมพ์ 320 แล้วกด Enter

· ระบายเซลล์ D2:D6 แล้วพิมพ์ตัวเลข 120 และกด Enter

· พิมพ์ 245 และกด Enter แล้วพิมพ์ 300 แล้วกด Enter แล้พิมพ์ 150 และกด Enter แล้วพิมพ์ 340 และกด Enter

· คลิกเซลล์ D8 แล้วพิมพ์ =countif(b2:d6,”>=250”) และกด Enter จะแสดงค่า 9 ออกมา

· คลิกเซลล์ C8 แล้วพิมพ์ >=250

· ที่เซลล์ D8 ให้พิมพ์ =countif(b2:b6,c8) และกด Enter จะแสดงค่า 9 ออกมา

Excel กับ ฟังก์ชั่น CHIDIST คือ ฟังก์ชั่นประเภท สถิติ

ฟังก์ชั่น CHIDIST คือ ฟังก์ชั่นประเภท สถิติ ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าความน่าจะเป็นด้านเดียวของการแจกแจงแบบไคสแควร์ การแจกแจง “X2” นั้นสัมพันธ์กั... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชั่น CHIDIST คือ ฟังก์ชั่นประเภท สถิติ

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าความน่าจะเป็นด้านเดียวของการแจกแจงแบบไคสแควร์ การแจกแจง “X2” นั้นสัมพันธ์กับการทดสอบ “X2” ให้ใช้การทดสอบ “X2” เปรียบเทียบค่าที่ได้จาการสำรวจและค่าที่ได้จากการคาดหมาย

สูตร : CHIDIST(x,degree_freedom)

X คือ ค่าที่ต้องการใช้ประเมินการแจกแจง

Degree_freedom คือ องศาความเป็นอิสระ

รูปแบบสูตรทางคณิตศาสตร์ f(x;v)=(1/2*(v/2)*π(v/2))*(e*(-x/2)*v/(x2)-1

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง คือ CHINV, CHITEST

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น CHIDIST ให้ลองทำตามดังนี้

· คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ x

· คลิกเซลล์ A3 แล้วพิมพ์ Degree of freedom

· ที่เซลล์ B2 ให้พิมพ์ 25 และที่เซลล์ B3 ให้พิมพ์ 15

· คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =chidist(b2,b3) และกด Enter จะแสดงค่า 0.049943 ออกมา

Excel กับ ฟังก์ชั่น CHAR

ฟังก์ชั่น CHAR ฟังก์ชั่น CHAR เป็นฟังก์ชั่นประเภทข้อความ ทำหน้าที่ คืนอักขระที่ระบุด้วยตัวเลขให้ใช้ CHAR เพื่อแปลหมายเลขหน้ารหัสที่คุณอาจจะ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชั่น CHAR

ฟังก์ชั่น CHAR เป็นฟังก์ชั่นประเภทข้อความ ทำหน้าที่ คืนอักขระที่ระบุด้วยตัวเลขให้ใช้ CHAR เพื่อแปลหมายเลขหน้ารหัสที่คุณอาจจะได้จากแฟ้มบนคอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ ให้เป็นอักขระ

รูปแบบสูตร คือ CHAR(number)

Number คือ ตัวเลขที่มีค่าระหว่าง 1 และ 255 ใช้ระบุอักขระที่ต้องการ ซึ่งเป็นอักขระที่มาจากชุดอักขระของคอมพิวเตอร์

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น CHAR

· คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 66 และกด Enter

· คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =char(a2) และกด Enter จะแสดงค่า B

· คลิกเซลล์ A3 แล้วพิมพ์ 123 และกด Enter

· คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =char(a3) และกดEnter จะแสดงค่า {

Excel กับ ฟังก์ชั่น CELL

ฟังก์ชั่น CELL ประเภท ข้อความ ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดรูปแบบตำแหน่งหรือเนื้อหาของเซลล์ที่อยู่ด้านบนซ้ายของการอ้างอิง รู... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชั่น CELL

ประเภท ข้อความ

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดรูปแบบตำแหน่งหรือเนื้อหาของเซลล์ที่อยู่ด้านบนซ้ายของการอ้างอิง

รูปแบบสูตร CELL(info_type,reference)

Info_type คือ ค่าข้อความที่ระบุชนิดของข้อมูลของเซลล์ที่คุณต้องการรายการจะแสดงค่าที่เป็นไปได้ของ info_type และผลลัพธ์ที่สอดคล้องกัน

Reference คือ เซลล์ที่ต้องการทราบข้อมูล หากคุณละค่านี้ ข้อมูลที่ระบุไว้ใน info_type จะถูกส่งกลับมายังเซลล์สุดท้ายที่มีการเปลี่ยนแปลง รายการจะอธิบายค่าข้อความที่ส่งกลับค่า CELL เมื่อ info_type เป็น “format” การอ้างอิงเป็นเซลล์ที่จัดรูปแบบด้วยการจัดรูปแบบหมายเลขสำเร็จรูป

ตัวอย่างการใช้งานสูตร CELL ให้ทำดังนี้

· ระบายเซลล์ A2:A13 จากนั้นพิมพ์และกด Enter ไปจนครับดังต่อไปนี้

· พิมพ์ Address กด Enter พิมพ์ Col กด Enter พิมพ์ Color กด Enter พิมพ์ Contents กด Enter พิมพ์ Filename กด Enter พิมพ์ Format กด Enter

· พิมพ์ Parentheses กด Enter พิมพ์ Prefix กด Enter พิมพ์ Protect กด Enter แล้วพิมพ์ Row กด Enter พิมพ์ type กด Enter พิมพ์ width กด Enter

· คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ -1000 จากนั้นคลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ Visan

· คลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ 1,200.00 และคลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ 1000

· คลิกเซลล์ B9 แล้วพิมพ์ ‘234 และคลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ CIS

· คลิกเซลล์ B12 แล้วพิมพ์ CIS

· คลิกเซลล์ C2 แล้วพิมพ์ =cell(a2,b2) และกด Enter จะแสดงค่า $B$2 จากนั้น Auto Fill สูตรลงมาที่เซลล์ C13 จะแสดงผลขึ้นมา


วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Excel กับฟังก์ชั่น DVAR

Excel กับฟังก์ชั่น DVAR DVAR เป็นฟังก์ชั่นประเภทฐานข้อมูล ทำหน้าที่ ประมาณค่าความแปรปรวนโดยใช้ค่าตัวอย่างจากฐานข้อมูลโดยการใช้ตัวเลขในคอล... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น DVAR

DVAR เป็นฟังก์ชั่นประเภทฐานข้อมูล ทำหน้าที่ ประมาณค่าความแปรปรวนโดยใช้ค่าตัวอย่างจากฐานข้อมูลโดยการใช้ตัวเลขในคอลัมน์ของรายการหรือฐานข้อมูลที่ตรงกับเงื่อนไขที่คุณระบุ

รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น DVAR(database, field, criteria)

Database คือ ช่วงของเซลล์ที่ประกอบขึ้นเป็นรายการหรือฐานข้อมูลโดยรายการข้อมูลที่สัมพันธ์กันที่อยู่ในแถวของข้อมูลที่สัมพันธ์กันเรียกว่า ระเบียน และคอลัมน์ของข้อมูลที่เรียกว่า เขตข้อมูล ซึ่งแถวแรกของรายการประกอบด้วยป้ายชื่อของแต่ละคอลัมน์

Field ทำหน้าที่บ่งชี้คอลัมน์ที่ถูกใช้ในฟังก์ชั่น โดยอาจจะกำหนดเป็นข้อความโดยใช้ป้ายชื่อคอลัมน์ที่คร่อมด้วยเครื่องหมายอัญประกาศคู่ เช่น “อายุ” หรือ “ผลตอบแทน” หรือกำหนดเป็นตัวเลขที่แสดงถึงตำแหน่งของคอลัมน์ภายในรายการ เช่น 1 หมายถึง คอลัมน์แรก ส่วน 2 หมายถึง คอลัมน์ที่สอง และต่อๆไป

Criteria คือ ช่วงของเซลล์ที่มีเงื่อนไขตามที่คุณระบุ โดยสามารถใช้ช่วงใดก็ได้เป็นอาร์กิวเมนต์ของเกณฑ์ ตราบใดที่ช่วงนั้นมีป้ายชื่อคอลัมน์อย่างน้อยหนึ่งคอลัมน์ และมีเซลล์อย่างน้อยหนึ่งเซลล์อยู่ใต้ป้ายชื่อคอลัมน์ที่ใช้ในการระบุเงื่อนไขให้กับคอลัมน์

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น DVAR

1. ระบายเซลล์ A1:A7 แล้วพิมพ์ Name และกด Enter พิมพ์ Sombut และกด Enter พิมพ์ Amart และกด Enter

2. พิมพ์ Boriput และกด Enter พิมพ์ Pimlapat และกด Enter พิมพ์ Pijit และกด Enter พิมพ์ Chontichawun และกด Enter

3. ระบายเซลล์ B1:B7 แล้วพิมพ์ Province และกด Enter พิมพ์ Bangkok และกด Enter พิมพ์ Bangkok และกด Enter

4. พิมพ์ Bangkok และกด Enter พิมพ์ Rayong และกด Enter พิมพ์ Chonburi และกด Enter พิมพ์ Rayong และกด Enter

5. ระบายเซลล์ C1:C7 แล้วพิมพ์ Amount และกด Enter พิมพ์ 12000 และกด Enter พิมพ์ 25000 และกด Enter

6. พิมพ์ 14000 และกด Enter พิมพ์ 3000 และกด Enter พิมพ์ 15000 และกด Enter พิมพ์ 30000 และกด Enter

7. ระบายเซลล์ A1:C1 แล้ว Copy ไปยังเซลล์ A9

8. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ Bangkok

9. คลิกเซลล์ C12 แล้วพิมพ์ =dvar(a1:c7,c1,a9:c10) และกด Enter จะแสดงค่า 49000000

10. สำหรับวิธีการคำนวณให้ทดลอง Copy ตัวเลข 12000, 25000 และ 14000 มาไว้ที่เซลล์ F4:F6

11. คลิกเซลล์ F8 แล้วพิมพ์ =average(f4:f6) และกด Enter จะแสดงค่า 17000

12. คลิกเซลล์ G4 แล้วพิมพ์ =(f4-$f$8)^2 จากนั้นกด Enter จะแสดงค่า 25000000 แล้ว Auto Fill ลงมาที่เซลล์ G6

13. คลิกเซลล์ G7 แล้วคลิกปุ่ม Auto Sum จะได้ผล 98000000

14. คลิก G10 แล้วพิมพ์ =g7/2 และกด Enter จะแสดงค่า 49000000

Excel กับ ฟังก์ชั่น EXACT

Excel กับ ฟังก์ชั่น EXACT EXACT เป็นฟังก์ชั่นประเภท ข้อความของ Excel ทำหน้าที่ เปรียบเทียบข้อความ 2 สายอักขระข้อความ แล้วส่งค่า TRUE กลับ... thumbnail 1 summary
Excel กับ ฟังก์ชั่น EXACT

EXACT เป็นฟังก์ชั่นประเภท ข้อความของ Excel ทำหน้าที่ เปรียบเทียบข้อความ 2 สายอักขระข้อความ แล้วส่งค่า TRUE กลับ ถ้ามีความเหมือนกันทุกประการ และจะส่งค่า FALSE กลับถ้าไม่เหมือนกัน

ฟังก์ชั่น EXACT ให้ความสำคัญในเรื่องตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็กด้วย แต่ละเว้นความแตกต่างเรื่องการจัดรูปแบบ ให้ใช้ฟังก์ชั่น EXACT เพื่อทดสอบข้อความที่กำลังป้อนลงในเอกสาร

รูปแบบสูตร EXACT(text1,text2)

โดยที่ text1 คือ สารอักขระข้อความแรก

Text2 คือ สายอักขระข้อความที่สอง

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง ก็ได้แก่ DELTA, LEN, SEARCH

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น EXACT

1. คลิกที่เซลล์ A2 แล้วให้พิมพ์ CIS จากนั้นคลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ CIS

2. คลิกเซลล์ C2 แล้วพิมพ์ =exact(a2,b2) และกด Enter จะแสดงค่า TRUE

3. คลิกเซลล์ A3 แล้วพิมพ์ CIS จากนั้นคลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ Cis

4. คลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ =exact(a3,b3) และกด Enter จะแสดงค่า FALSE

5. คลิกที่เซลล์ A4 แล้วพิมพ์ Cis จากนั้นคลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ Cos

6. คลิกเซลล์ C4 แล้วพิมพ์ =exact(a4,b4) และกด Enter จะแสดงค่า FALSE

7. ระบายเซลล์ A7:B9 แล้วพิมพ์ตัวเลข 1,2,3,4,5,6 และระบายเซลล์ D7:E9 แล้วพิมพ์ ตัวเลข 1, 2, 3, 4, 5, 6

8. คลิกเซลล์ B11 แล้วพิมพ์ =exact(a7:b9, d7:e9) และกด Ctrl +Shift + Enter จะแสดงค่า TRUE ออกมา

9. หากแก้ไขตัวเลขในเซลล์ใดเซลล์หนึ่ง ผลที่เซลล์ B11 จะแสดงค่า FASLE ทันที

Excel กับ ฟังก์ชั่น EVEN

Excel กับ ฟังก์ชั่น EVEN EVEN เป็นฟังก์ชั่นของ Excel ประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ ทำหน้าที่ ปัด number ขึ้นให้เป็นจำนวนคู่ที่อยู่ใกล้ที... thumbnail 1 summary
Excel กับ ฟังก์ชั่น EVEN

EVEN เป็นฟังก์ชั่นของ Excel ประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

ทำหน้าที่ ปัด number ขึ้นให้เป็นจำนวนคู่ที่อยู่ใกล้ที่สุด คุณสามารถใช้ฟังก์ชั่นนี้เพื่อดำเนินรายการที่มาเป็นคู่ๆ ตัวอย่างเช่น ลังบรรจุหนึ่งรองรับรายการสิ่งของได้หนึ่งหรือสองแถวดังกล่าว จะเต็มก็ต่อเมื่อจำนวนสิ่งของปัดขึ้นมาเป็นจำนวนคู่ที่ใกล้ที่สุด ซึ่งตรงกับปริมาตรความจุของลังพอดี

รูปแบบสูตรงของ ฟังก์ชั่น EVEN คือ EVEN(number)

โดยที่ number คือ ค่าที่จะปัดเศษ

ฟังก์ชั่นที่มีความเกี่ยวข้องกับฟังก์ชั่น EVEN คือ CEILING, FLOOR, INT, ISEVEN, ISODD, ODD, ROUND, TRUNC

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น EVEN มีดังนี้

1. คลิกที่เซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 25

2. คลิกที่เซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =even(a2) และกด Enter จะได้ค่า 26

3. คลิกที่เซลล์ A3 แล้วพิมพ์ 4.5 จากนั้นคลิกที่เซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =even(a3) และกด Enter จะแสดงค่า 6

4. คลิกที่เซลล์ A4 แล้วพิมพ์ -1 จากนั้นคลิกที่เซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =even(a4) และกด Enter จะแสดงค่า -2

5. คลิกที่เซลล์ A5 แล้วพิมพ์ -4.5 จากนั้นคลิกที่เซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =even(a5) และกด Enter จะแสดงค่า -6


Excel กับ ฟังก์ชั่น DURATION

Excel กับ ฟังก์ชั่น DURATION DURATION เป็นฟังก์ชั่นประเภทการเงินของ Excel ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าช่วงเวลา Macauley สำหรับมูลค่าที่ตราไว้บนหน้า... thumbnail 1 summary
Excel กับ ฟังก์ชั่น DURATION

DURATION เป็นฟังก์ชั่นประเภทการเงินของ Excel ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าช่วงเวลา Macauley สำหรับมูลค่าที่ตราไว้บนหน้าตั๋วของจำนวน $100 ช่วงเวลาถูกนิยามเป็นค่าเฉลี่ยน้ำหนักตามมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดและใช้เป็นตัววัดผลของราคาพันธบัตรเพื่อเปลี่ยนแปลงให้เป็นผลตอบแทน

รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น DURATION คือ DURATION(settlement, maturity, coupon, yld, frequency, basis)

Settlement คือ วันที่ทำข้อตกลงของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อ

Maturity คือ วันครบกำหนดชำระของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่หลักทรัพย์หมดอายุลงนั่นเอง

Coupon คือ อัตราตราสารรายปีของหลักทรัพย์

Yld คือ ผลตอบแทนรายปีของหลักทรัพย์

Frequency คือ จำนวนครั้งในการชำระค่าตราสารต่อปี ในกรณีที่เป็นการชำระแบบรายปี frequency=1 ถ้าเป็นการชำระแบบรายครึ่งปี frequency=2 และถ้าเป็นการชำระแบบรายไตรมาส frequency=4

Basis คือ ชนิดของหลักเกณฑ์ในการนับจำนวนวัน

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น DURATION

1. ระบายเซลล์ A1:A6 แล้วพิมพ์ Settlement Date และกด Enter พิมพ์ Maturity Date และกด Enter

2. พิมพ์ Coupon และกด Enter พิมพ์ Yld และกด Enter พิมพ์ Frequency และกด Enter พิมพ์ Basis และกด Enter

3. ระบายเซลล์ B1:B6 แล้วพิมพ์ 1/1/00 และกด Enter พิมพ์ 1/1/01 และกด Enter

4. พิมพ์ 6% และกด Enter พิมพ์ 7% และกด Enter พิมพ์ 2 และกด Enter พิมพ์ 1 และกด Enter

5. คลิกเซลล์ B8 และพิมพ์ =duration(b1,b2,b3,b4,b5,b6) และกด Enter จะแสดงค่า 0.985368267

Excel กับ ฟังก์ชั่น DSUM

Excel กับ ฟังก์ชั่น DSUM DSUM เป็นฟังก์ชั่นประเภทฐานข้อมูล ทำหน้าที่ บวกจำนวนในคอลัมน์ในรายการ หรือในฐานข้อมูลที่ตรงกับเงื่อนไขที่คุณระบุ ร... thumbnail 1 summary
Excel กับ ฟังก์ชั่น DSUM

DSUM เป็นฟังก์ชั่นประเภทฐานข้อมูล ทำหน้าที่ บวกจำนวนในคอลัมน์ในรายการ หรือในฐานข้อมูลที่ตรงกับเงื่อนไขที่คุณระบุ

รูปแบบของ ฟังก์ชั่น DSUM คือ DSUM(database, field, criteria)

Database คือ ช่วงของเซลล์ที่ประกอบขึ้นเป็นรายการหรือฐานข้อมูลโดยรายการข้อมูลที่สัมพันธ์กันที่อยู่ในแถวของข้อมูลที่สัมพันธ์กันเรียกว่า ระเบียน และคอลัมน์ของข้อมูลที่เรียกว่า เขตข้อมูล ซึ่งแถวแรกของรายการประกอบด้วยป้ายชื่อของแต่ละคอลัมน์

Field ทำหน้าที่บ่งชี้คอลัมน์ที่ถูกใช้ในฟังก์ชั่น โดยอาจจะกำหนดเป็นข้อความโดยใช้ป้ายชื่อคอลัมน์ที่คร่อมด้วยเครื่องหมายอัญประกาศคู่ เช่น “อายุ” หรือ “ผลตอบแทน” หรือกำหนดเป็นตัวเลขที่แสดงถึงตำแหน่งของคอลัมน์ภายในรายการ เช่น 1 หมายถึง คอลัมน์แรก ส่วน 2 หมายถึง คอลัมน์ที่สอง และต่อๆไป

Criteria คือ ช่วงของเซลล์ที่มีเงื่อนไขตามที่คุณระบุ โดยสามารถใช้ช่วงใดก็ได้เป็นอาร์กิวเมนต์ของเกณฑ์ ตราบใดที่ช่วงนั้นมีป้ายชื่อคอลัมน์อย่างน้อยหนึ่งคอลัมน์ และมีเซลล์อย่างน้อยหนึ่งเซลล์อยู่ใต้ป้ายชื่อคอลัมน์ที่ใช้ในการระบุเงื่อนไขให้กับคอลัมน์

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น DSUM

1. ระบายเซลล์ A1:A7 แล้วพิมพ์ Name และกด Enter พิมพ์ Somboon และกด Enter พิมพ์ Amorn และกด Enter

2. พิมพ์ Boripat และกด Enter พิมพ์ Pipat และกด Enter พิมพ์ Pirat และกด Enter พิมพ์ Chonticha และกด Enter

3. ระบายเซลล์ B1:B7 แล้วพิมพ์ Province และกด Enter พิมพ์ Bangkok และกด Enter พิมพ์ Bangkok และกด Enter

4. พิมพ์ Bangkok และกด Enter พิมพ์ Rayong และกด Enter พิมพ์ Chonburi และกด Enter พิมพ์ Rayong และกด Enter

5. ระบายเซลล์ C1:C7 แล้วพิมพ์ Amount และกด Enter พิมพ์ 12000 และกด Enter พิมพ์ 25000 และกด Enter

6. พิมพ์ 14000 และกด Enter พิมพ์ 3000 แล้วกด Enter พิมพ์ 15000 และกด Enter พิมพ์ 30000 และกด Enter

7. ระบายเซลล์ A1:C1 แล้ว Copy ไปยังเซลล์ A9

8. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ Rayong

9. คลิกเซลล์ C12 แล้วพิมพ์ =dsum(a1:c7,c1, a9:c10) และกด Enter จะแสดงค่า 33000

10. หากคลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ Bangkok และกด Enter ที่เซลล์ C12 จะแสดงค่า 51000

11. คลิกเซลล์ C10 แล้วพิมพ์ <=20000 และกด Enter ที่เซลล์ C12 จะแสดงค่า 26000

Excel กับ ฟังก์ชั่น DSTDEVP

Excel กับ ฟังก์ชั่น DSTDEVP DSTDEVP เป็นฟังก์ชั่นประเภท ฐานข้อมูล ทำหน้าที่ คำนวณหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้ประชากรทั้งหมดซึ่งเป็นราย... thumbnail 1 summary
Excel กับ ฟังก์ชั่น DSTDEVP

DSTDEVP เป็นฟังก์ชั่นประเภท ฐานข้อมูล

ทำหน้าที่ คำนวณหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้ประชากรทั้งหมดซึ่งเป็นรายการที่ถูกเลือกมาจากฐานข้อมูล โดยใช้เงื่อนไขที่คุณระบุ

รูปแบบสูตร DSTDEVP(database, field, criteria)

Database คือ ช่วงของเซลล์ที่ประกอบขึ้นเป็นรายการหรือฐานข้อมูลโดยรายการของข้อมูลที่สัมพันธ์กันที่อยู่ในแถวของข้อมูลที่สัมพันธ์กันเรียกว่า ระเบียน และคอลัมน์ของข้อมูลเรียกว่า เขตข้อมูล ซึ่งแถวแรกของรายการประกอบด้วยป้ายชื่อของแต่ละคอลัมน์

Field ทำหน้าที่บ่งชี้คอลัมน์ที่ถูกใช้ในฟังก์ชั่น โดยอาจจะกำหนดเป็นข้อความโดยใช้ป้ายชื่อคอลัมน์ที่คร่อมด้วยเครื่องหมายอัญประกาศคู่ เช่น “อายุ” หรือ “ผลตอบแทน” หรือ กำหนดเป็นตัวเลขที่แสดงถึงตำแหน่งของคอลัมน์ภายในจรายการ เช่น 1 หมายถึง คอลัมน์แรก ส่วน 2 หมายถึงคอลัมน์ที่สอง และต่อๆไป

Criteria คือ ช่วงของเซลล์ที่มีเงื่อนไขตามที่คุณระบุ โดยสามารถใช้ช่วงใดก็ได้เป็นอาร์กิวเมนต์ของเกณฑ์ ตราบใดที่ช่วงนั้นมีป้ายชื่อคอลัมน์อย่างน้อยหนึ่งคอลัมน์ และมีเซลล์อย่างน้องหนึ่งเซลล์อยู่ใต้ป้ายชื่อคอลัมน์ที่ใช้ในการระบุเงื่อนไขให้กับคอลัมน์

ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชั่น DSTDEVP

1. ระบายเซลล์ A1:A7 แล้วพิมพ์ Name และกด Enter พิมพ์ Somboon และกด Enter พิมพ์ Amorn และกด Enter

2. พิมพ์ Boripat และกด Enter พิมพ์ Pipat และกด Enter พิมพ์ Pipat และกด Enter พิมพ์ Chonticha และกด Enter

3. ระบายเซลล์ B1:B7 แล้วพิมพ์ Province และกด Enter พิมพ์ Bangkok และกด Enter พิมพ์ Bangkok และกด Enter

4. พิมพ์ Bangkok และกด Enter พิมพ์ Rayong และกด Enter พิมพ์ Chonburi และกด Enter พิมพ์ Rayong และกด Enter

5. ระบายเซลล์ C1:C7 แล้วพิมพ์ Amount และกด Enter พิมพ์ 12000 และกด Enter พิมพ์ 25000 และกด Enter

6. พิมพ์ 14000 และกด Enter พิมพ์ 3000 และกด Enter พิมพ์ 15000 และกด Enter พิมพ์ 30000 และกด Enter

7. ระบายเซลล์ A1:C1 แล้ว Copy ไปยังเซลล์ A9

8. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ Rayong

9. คลิกเซลล์ C12 แล้วพิมพ์ =dstdevp(a1:c7, c1, a9:c10) และกด Enter จะแสดงค่า 13500

10. สำหรับวิธีการคำนวณให้ทดลอง Copy ตัวเลข 3000 และ 30000 มาไว้ที่เซลล์ E5 และ E6

11. คลิกเซลล์ E8 แล้วพิมพ์ =average(e5:e6) และกด Enter จะแสดงค่า 16500

12. คลิกเซลล์ F5 แล้วพิมพ์ =(e5-$e$8)^2 จากนั้นกด Enter จะแสดงค่า 182250000 แล้ว Auto Fill มาที่เซลล์ F6

13. คลิกเซลล์ F7 แล้วคลิกปุ่ม Auto Sum จะได้ผลลัพธ์เป็น 364500000

14. คลิก E10 แล้วพิมพ์ =sqrt(f7/2) และกด Enter จะได้ค่า 13500

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Excel กับ ฟังก์ชั่น CORREL

Excel กับ ฟังก์ชั่น CORREL CORREL เป็นฟังก์ชั่น ประเภทสถิติ ของ Excel ทำหน้าที่ ส่งกลับสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของช่วงเซลล์ใน array1 และ ar... thumbnail 1 summary
Excel กับ ฟังก์ชั่น CORREL

CORREL เป็นฟังก์ชั่น ประเภทสถิติ ของ Excel ทำหน้าที่ ส่งกลับสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของช่วงเซลล์ใน array1 และ array2 ให้ใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติทั้งสอง

รูปแบบของฟังก์ชั่น คือ CORREL(array1,array2)
Array1 คือ ช่วงเซลล์ที่มีค่า

Array2 คือ ช่วงเซลล์ที่ 2 ที่มีค่า

ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชั่น CORREL

1. ระบายเซลล์ A2:A8 แล้วพิมพ์ a และกด Enter จากนั้นพิมพ์ b และกด Enter

2. พิมพ์ c และกด Enter พิมพ์ Mean และกด Enter

3. ระบายเซลล์ B1:B6 แล้วพิมพ์ X และกด Enter พิมพ์ 3 และกด Enter พิมพ์ 4 และกด Enter

4. พิมพ์ 5 และกด Enter พิมพ์ 5 และกด Enter และพิมพ์ 8 แล้วกด Enter

5. ระบายเซลล์ C1:C6 แล้วพิมพ์ Y และกด Enter พิมพ์ 9 และกด Enter พิมพ์ 11 และกด Enter

6. พิมพ์ 12 และกด Enter พิมพ์ 15 และกด Enter และพิมพ์ 17 แล้วกด Enter

7. ระบายเซลล์ D1:H1 แล้วพิมพ์ (x-xbar) และกด Enter พิมพ์ (y-ybar) และกด Enter พิมพ์ DxE แล้วกด Enter

8. พิมพ์ D^2 และกด Enter แล้วพิมพ์ E^2 และกด Enter

9. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =average(b2:b6) และกด Enter จากนั้น Auto Fill สูตรจากเซลล์ B8 ไปที่เซลล์ C8

10. คลิกเซลล์ D2 แล้วพิมพ์ b2-$b$8 จากนั้น Auto Fill ลงมาที่เซลล์ D6

11. คลิกเซลล์ E2 แล้วพิมพ์ =c2-$c$8 จากนั้น Auto Fill ลงมาที่เซลล์ E6

12. คลิกเซลล์ F2 แล้วพิมพ์ =d2*e2 จากนั้น Auto Fill ลงมาที่เซลล์ F6

13. คลิกเซลล์ G2 แล้วพิมพ์ =d2^2 จากนั้น Auto Fill ลงมาที่เซลล์ G6

14. คลิกเซลล์ H2 แล้วพิมพ์ =e2^2 จากนั้น Auto Fill ลงมาที่เซลล์ H6

15. ระบายเซลล์ B7:H7 แล้วคลิกปุ่ม Auto Sum

16. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =17/sqrt(g7*h7) และกด Enter จะโชว์ 0.92051

17. คลิกเซลล์ B12 แล้วพิมพ์ =correl(b2:b6, c2:c6) และกด Enter จะโชว์ 0.92051

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Excel กับ ฟังก์ชั่น BIN2HEX

Excel กับ ฟังก์ชั่น BIN2HEX BIN2HEX เป็นฟังก์ชั่นประเภท วิศวกรรม ทำหน้าที่ แปลงตัวเลขฐานสองให้เป็นตัวเลขฐานสิบหก รูปแบบสูตรของฟังก... thumbnail 1 summary
Excel กับ ฟังก์ชั่น BIN2HEX
BIN2HEX เป็นฟังก์ชั่นประเภท วิศวกรรม
ทำหน้าที่ แปลงตัวเลขฐานสองให้เป็นตัวเลขฐานสิบหก
รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น คือ BIN2HEX(number, places)
Number คือ ตัวเลขฐานสองที่ต้องการแปลง และต้องมีตัวเลขไม่เกิน 10 อักขระ (10 บิต) ซึ่งบิตที่มีนัยสำคัญที่สุดคือ บิตเครื่องหมาย ส่วนบิตที่เหลืออีก 9 บิตคือ บิตขนาด โดยจะแสดงตัวเลขติดลบด้วยสัญกรณ์เติมเต็มฐานสอง
Places คือจำนวนของอักขระที่ใช้ถ้า places ไม่ได้ใส่ค่าอะไรไว้ BIN2HEX จะใช้จำนวนน้อยที่สุดของอักขระที่จำเป็น places มีประโยชน์สำหรับการเพิ่มบิตที่ค่าผลลัพธ์ โดยใส่ 0 (ศูนย์) ไว้ข้างหน้า
ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง เช่น DEC2BIN, HEX2BIN, OCT2BIN
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น BIN2HEX
ที่ Excel คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 1111011 แล้วกด Enter
ที่ Excel คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =bin2hec(a2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 78
สำหรับวิธีการคิด ให้แยกตัวเลขออกมาดังนี้
ที่ Excel คลิกที่เซลล์ E3 แล้วพิมพ์ 111 คลิกที่เซลล์ F3 แล้วพิมพ์ 1011
ที่ Excel คลิกที่เซลล์ E4 โดยใช้วิธีคำนวณตามตัวอย่างแล้วผลจะเป็น 7
ที่ Excel คลิกที่เซลล์ F4 แล้วคำนวณตามผลจะเป็น 11 เพราะฉะนั้นจะเป็น B
เพราะฉะนั้น เมื่อผลเป็น 9 จะแสดงค่า 9 หากผลเป็น 10 จะแสดงผลเป็น a และผลเป็น 11 จะแสดงค่า b
หากผลเป็น 12 จะแสดงค่า c หากผลเป็น 13 จะแสดงผลเป็น d และผลเป็น 14 จะแสดงค่า e ส่วนผลเป็น 15 จะแสดงค่า f
หากที่เซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =bin2hex(a2,4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 007B
ที่ Excel คลิกที่เซลล์ A3 แล้วพิมพ์ 111111
พิมพ์ 11 ที่เซลล์ E6 ส่วนที่ F6 พิมพ์ 1111
ที่ Excel ที่เซลล์ E7 เมื่อคำนวณจะได้ผลเป็น 3
ที่ Excel ที่เซลล์ F7 เมื่อคำนวณจะได้ผลเป็น F
ที่ Excel คลิกที่เซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =bin2hex(a3,4) แสดงค่าเป็น 003F

วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Excel กับ ฟังก์ชั่น Max เรียนผ่านตัวอย่าง

Excel กับ ฟังก์ชั่น Max เรียนผ่านตัวอย่าง ฟังก์ชั่น Max เป็นฟังก์ชั่นประเภท สถิติ ทำหน้าที่ส่งกลับค่าที่มากที่สุดในชุดของค่าที่ระบ... thumbnail 1 summary


Excel กับ ฟังก์ชั่น Max เรียนผ่านตัวอย่าง
ฟังก์ชั่น Max เป็นฟังก์ชั่นประเภท สถิติ
ทำหน้าที่ส่งกลับค่าที่มากที่สุดในชุดของค่าที่ระบุ
รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น Max ที่ใช้บน Excel คือ MAX(number1,number2,…)
โดยที่ number1, number2,… คือตัวเลข 1 ถึง 30 ตัวเลขที่ต้องการค้นหาค่ามากสุด
ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง DMAX, MAXA, MIN, MINA
ตัวอย่างการใช้ฟังก์ชั่น MAX ให้ทำดังต่อไปนี้
·      ที่ Excel ระบายเซลล์ B2:B8 แล้วพิมพ์ 20 กด Enter พิมพ์ 30 กด Enter พิมพ์ 50 กด Enter พิมพ์ 48 กด Enter พิมพ์ 24 กด Enter พิมพ์ 60 กด Enter พิมพ์ 80 กด Enter
·      ที่ Excel คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =max(b2,b3,b4,b5,b6,b7,b8) แลกด Enter จะแสดงค่า 80 ออกมา
·      ที่ Excel คลิกเซลล์ B11 แล้วพิมพ์ =max(b2:b8) และกด Enter จะแสดงออกมาเป็น 80 เช่นกัน

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Excel กับ ฟังก์ชั่น ASIN

Excel กับ ฟังก์ชั่น ASIN ASIN เป็นฟังก์ชั่นประเภทคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติของ Excel ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าอาร์กไซน์ของ number ค่าอาร์กไซน์คือ... thumbnail 1 summary
Excel กับ ฟังก์ชั่น ASIN

ASIN เป็นฟังก์ชั่นประเภทคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติของ Excel

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าอาร์กไซน์ของ number ค่าอาร์กไซน์คือ มุมของไซน์ที่เป็นตัวเลข ค่าที่ส่งกลับจะอยู่ในหน่วยมุมเรเดียนที่อยู่ในช่วง -1 ถึง 1

ฟังก์ชั่น ASIN มีรูปแบบดังที่ใช้ใน Excel ดังนี้ ASIN(number)

โดยที่ number เป็นค่าไซน์ของมุมที่คุณต้องการและต้องมีค่าอยู่ระหว่าง -1 ถึง 1

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชั่น ASIN คือ ฟังก์ชั่นเหล่านี้ ASINH, PI, SIN

ตัวอย่างการใช้ งาน ฟังก์ชั่น ASIN

ที่ Excel ให้คลิกที่เซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =asin(0.5) และกด Enter จะโชว์ 0.523599

ที่ Excel ให้คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =asin(0.5)*180/pi() แล้วกด Enter จะแสดงค่า 30 ออกมา

ที่ Excel ให้คลิกที่เซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =asin(2) และกด Enter จะแสดงค่าออกมาคือ #NUM!

ที่ Excel คลิกที่เซลล์ C2 แล้วพิมพ์ asin(b2) และกด Enter จะแสดงค่า 0.5 ออกมา

วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Excel กับ ฟังก์ชั่นทางด้านการเงินการธนาคาร (Financial)

                       Excel กับ ฟังก์ชั่นทางด้านการเงินการธนาคาร (Financial) สำหรับฟังก์ชั่นทางด้านการเงินนั้น ประกอบไปด้วย ACCRINT,AC... thumbnail 1 summary
                       Excel กับ ฟังก์ชั่นทางด้านการเงินการธนาคาร (Financial)

สำหรับฟังก์ชั่นทางด้านการเงินนั้น ประกอบไปด้วย ACCRINT,ACCRINTM, AMORDEGRC, AMORLINC, COUPDAYBS, COUPDAYS, COUPDAYSNC, COUPNCD, COUPNUM, COUPPCD, CUMIPMT, CUMPRINC, DB, DDB, DISC, DOLLARDE, DOLLARFR, DURATION, EFFECT, FV, FVSCHEDULE, INTRATE, IPMT, IRR, ISPMT, MDURATION, MIRR, NOMINAL, NPER, NPV, ODDFPRICE, ODDFYIELD, ODDLPRICE, ODDLYIELD, PMT, PPMT, PRICE, PRICEDISC, PRICEMAT, PV, RATE, RECEIVED, SLN, SYD, TBILLEG, TBILLPRICE, TBILLYIELD, VDB, XIRR, XNPV, YIELD, YIELDDISC, YIELDMAT และได้แยกออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ ซึ่งจะแบ่งได้ดังนี้

· ฟังก์ชันการแปลงตัวเลขทางการเงิน จะประกอบด้วย DOLLARDE, DOLLARFR

· ฟังก์ชั่น Coupon จะประกอบด้วย COUPDAYS, COUPDAYS, COUPDAYSNC, COUPNCD, COUPNUM, COUPPCD

· ฟังก์ชั่นหาค่าเสื่อมราคา จะประกอบด้วย DB, DDB, SLN, SYD, VDB

· ฟังก์ชันหาอัตราผลตอบแทนภายใน จะประกอบด้วย IRR, MIRR, XIRR

· ฟังก์ชันคำนวณการกู้ยืนเงิน จะประกอบด้วย CUMIMPT, CUMPRINC, EFFECT, IPMT, NOMINAL, NPER, PMT, PPMT, RATE

· ฟังก์ชั่นหามูลค่าทางการเงินตามระยะเวลา จะประกอบด้วย FV, FVSCHEDULE, NPV, PV, XNPV

· ฟังก์ชันคำนวณพันธบัตร จะประกอบด้วย ACCRINT, ACCRINTM, DISC, DURATION, INTRATE, MDURATION, ODDFPRICE, ODDFYIELD, ODDLPRICE, ODDLYIELD, PRICE, PRICEDISC, PRICEMAT, RECEIVED, YIELD, YIELDDISC, YIELDMAT

· ฟังก์ชันของตั๋วเงินคลัง จะประกอบด้วย TBILLEG, TBILLPRICE, TBILLYIELD

Excel กับ ฟังก์ชั่น Call

                                      Excel กับ ฟังก์ชั่น Call ฟังก์ชั่น Call เป็นฟังก์ชั่น ภายนอก Excel ทำหน้าที่ เรียกใช้กระบวนงาน (proce... thumbnail 1 summary
                                      Excel กับ ฟังก์ชั่น Call

ฟังก์ชั่น Call เป็นฟังก์ชั่น ภายนอก Excel ทำหน้าที่ เรียกใช้กระบวนงาน (procedure) ใน Dynamic link library หรือ code resource ฟังก์ชั่นนี้มีรูปแบบใช้ 2 แบบ ให้ใช้รูปแบบการใช้ที่ 1 เท่านั้น กับ Code resource ที่ได้จดทะเบียนก่อนหน้านี้ ซึ่งจะใช้อาร์กิวเมนต์จากฟังก์ชั่น REGISTER และให้ใช้รูปแบบการใช้ที่ 2 ในการจดทะเบียนพร้อมกัน และเรียก code resource

รูปแบบ ที่หนึ่ง คือ Call (register_id, argument1,…)

รูปแบบที่ สอง คือ Call(module_text,procedure,type_text,argument1,…)

Register_id คือ การส่งกลับค่าโดย REGISTER ที่ได้ปฏิบัติการก่อนหน้านี้ หรือฟังก์ชั่น REGISTER.ID

Argument1,… คือ อาร์กิวเมนต์ที่ผ่านไปให้กับกระบวนงาน

Module_text คือ ข้อความที่อ้างซึ่งระบุชื่อของ dynamic link library (DLL) ที่ประกอบด้วยกระบวนงานใน Microsoft Excel สำหรับ Windows

File_text คือ ชื่อของแฟ้มที่ประกอบด้วย code resource ใน Microsoft Excel สำหรับ Macintosh

Procedure คือ ข้อความที่ระบุขื่อของฟังก์ชั่นใน DLL ใน Microsoft Excel สำหรับ Windows คุณยังสามารถใช้ค่าลำดับที่ ของฟังก์ชั่นจากประโยคคำสั่ง EXPORTS ในแฟ้มนิยามโมดูล (.DEF) ค่าลำดับที่จะต้องอยู่ในแบบของข้อความ

Resource คือชื่อของ code resource ใน Microsoft Excel สำหรับ Macintosh คุณยังสามารถใช้หมายเลขทรัพยากรได้อีกด้วย หมายเลขทรัพยากรจะต้องไม่อยู่ในแบบของข้อความ

Type_text คือ ข้อความที่ระบุชนิดข้อมูลของค่าที่คืนมาและอาร์กิวเมนต์ทั้งหมดไปที่ DLL หรือ code resource ตัวอักษรตัวแรกของ type_text จะระบุค่าที่ส่งกลับมา มีการอธิบายรายละเอียดรหัสที่คุณใช้สำหรับ type_text ใน การใช้ ฟังก์ชั่น CALL และ REGISTER สำหรับ DLLs แบบเอกเทศหรือ code resource (XLLs) โดยคุณสามารถละอาร์กิวเมนต์นี้ได้

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง : REGISTER.ID

ให้ทดลองพิมพ์สูตรในโปรแกรม Excel ดังต่อไปนี้ แล้วสังเกตผลที่ได้

· ที่ Excel คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =register.id(“kernel32”,”GetTickCount”,”J”)และกด Enter จะแสดงค่า -1439170560

· ที่ Excel คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =call(b2) และกด Enter จะแสดงค่า 22711845

· ที่ Excel คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ = call(“kernel32”, “GetTickCount”,”J”) และกด Enter จะแสดงค่า 22747775

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Excel กับ 10 ฟังก์ชั่นที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย

1.     Excel กับ ฟังก์ชั่น AVERAGE AVERAGE คือ ฟังก์ชั่น สถิติ ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต) ของอาร์กิวเมนต์ทั้งหมด... thumbnail 1 summary


1.    Excel กับ ฟังก์ชั่น AVERAGE
AVERAGE คือ ฟังก์ชั่น สถิติ ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต) ของอาร์กิวเมนต์ทั้งหมด
สูตร AVERAGE(number1,number2,…)
Number1, number2, คือ อาร์กิวมนต์ 1 ถึง 30 อาร์กิวมนต์ที่เป็นตัวเลขซึ่งคุณต้องการหาค่าเฉลี่ย
ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง คือ AVEDEV, AVERAGEA, GEOMEAN, HARMEAN, MEDIAN, MODE, TRIMMEAN
ตัวอย่างการใช้สูตร AVERAGE บน Excel
ที่ Excel ระบายเซลล์ B2:B5 แล้วพิมพ์ 2 และกด Enter
ที่ Excel พิมพ์ 3และกด Enter แล้วพิมพ์ 4 แล้วกด Enter จากนั้นพิมพ์ 5 แล้วกด Enter
ที่ Excel คลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =sum(b2:b5)/count(b2:b5) และกด Enter จะโชว์ 3.5
คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =average(b2:b5) และกด Enter จะโชว์ 3.5
2.    Excel กับ ฟังก์ชั่น AVERAGEA
เป็นฟังก์ชั่น ประเภทสถิติ  ทำหน้าที่ คำนวณค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต) ของค่าในรายการของอาร์กิวเมนต์ นอกเหนือจากตัวเลข ข้อความและค่าตรรกศาสตร์อย่างเช่น TRUE และ FALSE ก็รวมอยู่ในการคำนวณด้วย
สูตร AVERAGE บน Excel คือ AVERAGE(value,value2,…)
Value1, value, … คือเซลล์ 1 ถึง 30 เซลล์ (ช่วงของเซลล์) หรือ ค่าต่างๆ ที่ต้องการหาค่าเฉลี่ย
ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง คือ AVEDEV, AVERAGE
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น AVERAGEA
ที่ Excel ให้ระบายเซลล์ B2:B6 แล้วพิมพ์ 2 และกด Enter จากนั้นพิมพ์ 3 และกด Enter
ที่ Excel พิมพ์ 4 และกด Enter แล้วพิมพ์ 5 และกด Enter จากนั้นพิมพ์ 9 และกด Enter
ที่ Excel คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =average(b2:b6) และกด Enter จะโชว์ 4.6
ที่ Excel หากคลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ true และกด Enter ที่เซลล์ B8 จะโชว์ 4.75
ที่ Excel คลิกเซลล์ B9 แล้วพิมพ์ =average(b2:b6) และกด Enter จะโชว์ 4
ที่ Excel ให้เคลื่อนย้ายข้อมูลในเซลล์ B8:B9 ไปที่ เซลล์ F8
ที่ Excel ให้คลิกที่เซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =sum(b2:b6) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 19
ที่ Excel ให้คลิกที่เซลล์ B9 แล้วพิมพ์ =count(b2:b6) แล้วกด Enter จะโชว์ 4
ที่ Excel ให้คลิกที่เซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =b8/b9 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 4.75
ที่ Excel ให้คลิกที่เซลล์ c8 แล้วพิมพ์ =sum(b2:b6)+1 แล้วกด Enter จะได้ผลลัพธ์เป็น 20
ที่ Excel คลิกที่เซลล์ C9 แล้วพิมพ์ =counta(b2:b6) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 5
ที่ Excel คลิกเซลล์ C10 แล้วพิมพ์ c8/c9 แล้วกด Enter จะโชว์ 4
3.    Excel กับ ฟังก์ชั่น BAHTTEXT
BAHTTEXT เป็น Function ประเภท ข้อความ บน Excel ทำหน้าที่ ส่งกลับอักขระซึ่งถูกระบุโดยตัวเลข โดยฟังก์ชั่น BAHTTEXT มีรูปแบบสูตร คือ BAHTTEXT(number)
โดยที่ number คือ ตัวเลขที่คุณต้องการแปลงเป็นข้อความ หรือจะเป็นการอ้างอิงไปยังเซลล์ ที่มีตัวเลขอยู่ หรือเป็นสูตรที่ได้ประเมินค่าออกมาเป็นตัวเลขก็ได้
บน Excel คลิกที่เซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 1234.5 แล้วกด Enter
บน Excel คลิกที่เซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =bahttext(a2) แล้วกด Enter
บน Excel คลิกที่เซลล์ B2 แล้วเลือกรูปแบบตัวหนังสือเป็น AngsanaUPC แล้วเลือกขนาด 14 Point จากนั้นคลิก OK จะเห็นที่หน้าจอโชว์ หนึ่งพันสองร้อยสามสิบสี่บาทห้าสิบสตางค์
บน Excel คลิกเซลล์ A3 แล้วพิมพ์ 101 แล้วคลิกที่เซลล์ A4 แล้วพิมพ์ 21
จากนั้น Auto Fill สูตรจากเซลล์ B2 ลงมาที่เซลล์ B4

4.    Excel กับฟังก์ชั่น BESSELI
BESSELI เป็นฟังก์ชั่น วิศวกรรม ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าฟังก์ชั่น BESSEI ที่ปรับเปลี่ยนแล้วซึ่งจะเท่ากับ ฟังก์ชั่น BESSEL ที่ประเมินไว้สำหรับเฉพาะอาร์กิวเมนต์จินตภาพอย่างแท้จริง
รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น คือ BESSELI(x,n)
โดยที่ x คือค่าซึ่งใช้ประเมินฟังก์ชั่น
และ n คือ ลำดับที่ของฟังก์ชั่น BESSEL หากค่า n ไม่ใช่จำนวนเต็ม ก็จะถูกตัดเศษทศนิยมทิ้ง
ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องคือ BESSELJ, BESSELK, BESSELY
ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชั่น BESSELI บน Excel ให้ทำดังนี้
ที่ Excel ให้คลิกที่เซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =besseli(2,2) และกด Enter จะโชว์ 0.688948
ที่ Excel ให้คลิกที่เซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =besseli(2,3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.21274
5.    Excel กับฟังก์ชั่น BESSELJ
BESSELJ เป็นฟังก์ชั่นประเภท วิศวกรรม ทำหน้าที่ส่งกลับค่าของฟังก์ชั่น Bessel โดยที่ BESSELJ มีรูปแบบดังนี้ BESSELJ(x,n)
โดยที่ x คือค่าซึ่งใช้ประเมินฟังก์ชั่น
และ n คือลำดับที่ของฟังก์ชั่น Bessel หากค่า n ไม่ใช่จำนวนเต็ม ก็จะถูกจตัดเศษทศนิยมทิ้ง
ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องก็ได้แก่ BESSELI, BESSELK, BESSELY
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น BESSELJ บน Excel ทำได้ดังนี้
บน Excel ให้คลิกที่เซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =besselj(2,3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.128943 ออกมา
6.    Excel กับฟังก์ชั่น BESSELK
BESSELK เป็นฟังก์ชั่นประเภท วิศวกรรม ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าของฟังก์ชั่น Bessel ที่ถูกปรับเปลี่ยนแล้ว ซึ่งจะเท่ากับฟังก์ชั่น Bessel ที่ประเมินไว้สำหรับอาร์กิวเมนต์จินตภาพอย่างแท้จริง
รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่นคือ BESSELK(x,n)
โดยที่ x คือ ค่าซึ่งใช้ประเมินฟังก์ชั่น
และ n คือลำดับที่ของฟังก์ชั่น หากค่า  n ไม่ใช่จำนวนเต็ม ก็จะถูกตัดเศษทศนิยมทิ้ง
ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง คือ BESSELI, BESSELJ, BESSELY
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น BESSELK บน Excel
ที่ Excel ให้เราคลิกที่เซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =besselk(2,3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.647385
7.    Excel กับฟังก์ชั่น BESSELY
BESSELY เป็นฟังก์ชั่นประเภท วิศวกรรม  ทำหน้าที่ส่งกลับฟังก์ชั่น Bessel ซึ่งจะเรียกว่าฟังก์ชั่นเวเบอร์ (Weber) หรือ ฟังก์ชั่นนอยมัน์ (Neumann) ก็ได้
รูปแบบสูตร ของฟังก์ชั่น BESSELY คือ BESSELY(x,n)
โดยที่ x คือค่าซึ่งใช้ประเมินฟังก์ชั่น
และ n คือ ลำดับที่ของฟังก์ชั่น หากค่า n ไม่ใช่จำนวนเต็ม ก็จะถูกตัดเศษทศนิยมทิ้ง
ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องคือ BESSELI, BESSELJ, BESSELK
ตัวอย่างการใช้ ฟังก์ชั่น BESSELY บน Excel
บน Excel ให้คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =BESSELY(3.5,2) และกด Enter จะแสดงผลลัพธ์เป็น 0.045271
8.    Excel กับฟังก์ชั่น BETADIST
BETADIST เป็นฟังก์ชั่นทางสถิติของ Excel
ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าการแจกแจงความน่าจะเป็นแบบเบต้าสะสม (cumulative beta probability function) โดยทั่วไปแล้วจะใช้ฟังก์ชั่นนี้เพื่อศึกษาค่าความผันแปรในระดับเปอร์เซ็นต์ของค่าบางค่าที่มีต่อตัวอย่าง เช่น จำนวนชั่วโมงในหนึ่งวันที่คนใช้ในการดูโทรทัศน์
รูปแบบสูตรของ Function คือ BETADIST(x,alpha,beta,A,B)
โดยที่ X คือ ค่าระหว่าง A และ B ที่ใช้ในการประเมินหาค่าการแจกแจงความน่าจะเป็นแบบเบต้าสะสม (cumulative beta probability function)
Alpha คือ พารามิเตอร์ของการแจกแจง
A คือ ขอบต่ำสุดในช่วงของ x (ใส่หรือไม่ก็ได้)
B คือ ขอบสูงสุดในช่วงของ x (ใส่หรือไม่ก็ได้)
ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องคือ BETAINV
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น BETADIST บน Excel
บน Excel ให้เราคลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =betadist(3,8,10,15) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.685471
บน Excel หากเรากำหนดสูตรเป็น =betadist(6,8,10,1,5) แล้วกด Enter จะโชว์ #NUM!
9.    Excel กับฟังก์ชั่น BETAINV
BETAINV เป็นฟังก์ชั่น ประเภท สถิติ ของ Excel มีหน้าที่ ส่งกลับค่าผกผันของการแจกแจงความน่าจะเป็นแบบเบต้าสะสม (Cumulative beta probability density function) นั่นคือ ถ้า probability = BETADIST(x,…) แล้ว BETAINV(probability,…) = x การแจกแจงเบต้าสะสมสามารถใช้ในการวางแผนโครงการเพื่อจำลองเวลาในการทำงานแล้วเสร็จที่เป็นไปได้ เมื่อทราบเวลาในการทำงานแล้วเสร็จโดยเฉลี่ยและความแปรปรวน
รูปแบบสูตร ของฟังก์ชั่น BETAINV(probability, alpha, beta, A,B)
Probability คือ ความน่าจะเป็นที่เกี่ยวข้องกับการแจกแจงแบบเบต้า
Alpha คือ พารามิเตอร์ของการแจกแจง
Beta คือ พารามิเตอร์ของการแจกแจง
A คือ ขอบต่ำสุดในช่วง x (ใส่หรือไม่ก็ได้)
B คือ ขอบสูงสุดในช่วงของ x (ใส่หรือไม่ก็ได้)
ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชั่น BETAINV ทำได้ดังนี้
บน Excel คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =betainv(0.6854706,8,10,1,5) และกด Enter จะโชว์ 3
10.                       Excel กับฟังก์ชั่น BIN2DEC
BIN2DEC เป็นฟังก์ชั่นประเภท วิศวกรรม บน Excel ทำหน้าที่ แปลงตัวเลขฐานสองให้เป็นตัวเลขฐานสิบ รูปแบบสูตรของ BIN2DEC คือ BIN2DEC(number)
โดยที่ number คือตัวเลขฐานสองที่ต้องการแปลง และต้องมีตัวเลขไม่เกิน 10 อักขระ (10 บิต) ซึ่งบิตที่มีนัยสำคัญที่สุดคือบิตเครื่องหมาย ส่วนบิตที่เหลืออีก 9บิตคือบิตขนาด โดยจะแสดงค่าตัวเลขติดลบด้วยสัญกรณ์เติมเต็มฐานสอง
รูปแบบฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง คือ DEC2BIN, HEX2BIN, OCT2BIN
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น BIN2DEC บน Excel
ที่ Excel ให้คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 1111 จากนั้นคลกเซลล์ A3 แล้วพิมพ์ 1010
ที่ Excel คลิกที่เซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =bin2dec(a2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 15 สำหรับวิธีการคำนวณจะทำได้ดังต่อไปนี้ 1x20+1x21+0x22+1x23
ที่ Excel ให้คลิกที่เซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =bin2dec(a3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 10 สำหรับวิธีการคำนวณ จะทำดังนี้
0x20+1x21+0x22+1x23