วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

Excel กับ ฟังก์ชั่น HLOOKUP

Excel กับ ฟังก์ชั่น HLOOKUP HLOOKUP เป็นฟังก์ชั่นประเภท การค้นหาและการอ้างอิง ทำหน้าที่ ค้นหาค่าในแถวบนของตารางหรืออาร์เรย์ของค่า แล... thumbnail 1 summary


Excel กับ ฟังก์ชั่น HLOOKUP
HLOOKUP เป็นฟังก์ชั่นประเภท การค้นหาและการอ้างอิง ทำหน้าที่ ค้นหาค่าในแถวบนของตารางหรืออาร์เรย์ของค่า และส่งกลับค่าในคอลัมน์เดียวกันจากแถวที่คุณระบุในตารางหรืออาร์เรย์ให้ใช้ HLOOKUP เมื่อมีการระบุตำแหน่งของค่าการเปรียบเทียบในแถวพี่พาดขวางด้านบนสุดของตารางและเมื่อคุณต้องการดูลงไปที่จำนวนแถวที่ระบุให้ใช้ VLOOKUP เมื่อมีการระบุตำแหน่งค่าของการเปรียบเทียบในคอลัมน์ด้านซ้ายของข้อมูลที่คุณต้องการค้นหา
รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น HLOOKUP คือ HLOOKUP(lookup_value,table_array,row_index_num,range_lookup)
โดยที่ lookup_value คือ ค่าที่ต้องการค้นหาในแถวแรกของตาราง Lookup_value สามารถเป็นได้ทั้งค่า การอ้างอิง หรือสายอักขระข้อความ
Table_array คือ ตารางของข้อมูลที่ถูกค้นหา ให้ใช้การอ้างอิงไปยังช่วง หรือ ชื่อของช่วง
ค่าในแถวแรกของ table_array สามารถเป็นข้อความ ตัวเลข หรือ ค่าตรรกะ
ถ้า range_lookup เป็น TRUE ค่าในแถวแรกของ table_array จะต้องเรียงลำดับจากน้อยไปหามาก เช่น …-2,-1,0,1,2,.., A-Z, FALSE, TRUE มิฉะนั้น HLOOKUP อาจจะไม่ให้ค่าที่ถูกต้อง ถ้า range_lookup เป็น FALSE ไม่จำเป็นต้องจัดเรียงลำดับ table_array
ข้อความแบบตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กจะมีค่าเท่ากัน
คุณสามารถใส่ค่าเรียงลำดับจากน้อยไปหามาก หรือซ้ายไปขวาได้โดยการเลือกค่า และคลิก Sort บนเมนู Data แล้วคลิก Options คลิก Sort left to right แล้วคลิก OK ภายใต้ Sort by ให้คลิกแถวในรายการ แล้วคลิก Ascending
Row_index_num คือ หมายเลขแถวใน table_array ซึ่งมีการส่งค่าที่ตรงกัน กลับ row_index_num ของ 1 จะส่งกลับค่าแถวที่สองใน table_array และอื่นๆ ถ้า row_index_num น้อยกว่า 1 ฟังก์ชั่น HLOOKUP จะส่งกลับค่าความผิดพลาด #VALUE! ถ้า row_index_num เป็นค่าที่ใหญ่กว่าหมายเลขของแถวบน table_array ฟังก์ชั่น HLOOKUP จะส่งกลับ #REF! เป็นค่าความผิดพลาด
Range_lookup คือ ค่าตรรกะที่ระบุว่าคุณต้องการให้ HLOOKUP ค้นหาค่าที่ตรงกันอย่างแท้จริง หรือตรงกันโดยประมาณ ถ้าเป็น TRUE หรือค่าที่ละไว้ จะส่งกลับค่าที่ตรงกันโดยประมาณ ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่พบค่าที่ตรงกันจริงๆ จะส่งกลับค่าที่ใหญ่ที่สุดถัดไปรองจาก lookup_value ถ้าเป็น FALSE ฟังก์ชั่น HLOOKUP จะค้นหาค่าทีตรงกันจริงๆ ถ้าไม่พบ จะส่งกลับ #N/A เป็นค่าความผิดพลาด
ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง เช่น INDEX, LOOKUP, MATCH, VLOOKUP
ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชั่น HLOOKUP
ที่ Excel คลิกที่เซลล์ B2 แล้วพิมพ์ Access คลิกที่เซลล์ C2 แล้วพิมพ์ Excel คลิกที่เซลล์ D2 แล้วพิมพ์ Word
ที่ Excel คลิกที่เซลล์ B3 แล้วพิมพ์ 4200 คลิกที่เซลล์ C3 แล้วพิมพ์ 3500 คลิกที่เซลล์ D3 แล้วพิมพ์ 3200
ที่ Excel คลิกเซลล์ A6 แล้วพิมพ์ Access
ที่ Excel คลิกที่เซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =hlookup(a6,$b$2:$d$3,2) และกด Enter จะแสดงโชว์ 4200
ที่ Excel คลิกเซลล์ A7 แล้วพิมพ์ Excel แล้วคลิกเซลล์ B7 จากนั้นพิมพ์ =hlookup(a7,$b$2:$d$3,2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3500
ที่ Excel คลิกที่เซลล์ A8 แล้วพิมพ์ EEE แล้วคลิกเซลล์ B8 จากนั้นพิมพ์ hlookup(a8,$b$2:$d$3,2) และกด Enter จะโชว์ 4200
หากคลิกที่เซลล์ A9 แล้วพิมพ์ Word และกด Enter แล้วคลิกเซลล์ B9 จากนั้นพิมพ์ hlookup(a9,$b$2:$d$3,2,false) และกด Enter จะโชว์ 3200

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

Excel กับ ฟังก์ชั่น HOUR

Excel กับ ฟังก์ชั่น HOUR HOUR เป็นฟังก์ชั่นประเภท วันที่และเวลา ทำหน้าที่ส่งกลับค่าชั่วโมงซึ่งเป็นจำนวนเต็มจาก 0 (12.00 A.M.) ถึง 23... thumbnail 1 summary


Excel กับ ฟังก์ชั่น HOUR
HOUR เป็นฟังก์ชั่นประเภท วันที่และเวลา ทำหน้าที่ส่งกลับค่าชั่วโมงซึ่งเป็นจำนวนเต็มจาก 0 (12.00 A.M.) ถึง 23 (11:00 P.M.) ค่านี้ถูกหามาจากเลขลำดับ (Serial Number) ที่ระบุ
รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น HOUR คือ HOUR(serial number)
Serial number คือ เวลาที่มีค่าชั่วโมงที่คุณต้องการค้นหา โดยเวลาอาจถูกป้อนเป็นสายอักขระข้อความในเครื่องหมายอัญประกาศ (ตัวอย่างเช่น “6:45 PM”) เป็นตัวเลขทศนิยม (ตัวอย่างเช่น 0.78125 ซึ่งแทนเวลา 6:45 นาฬิกา) หรือผลลัพธ์ของสูตรหรือฟังก์ชั่นอื่น (ตัวอย่างเช่น TIMEVALUE (“6:45 PM”)
ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง DAY, MINUTE, MONTH,NOW,WEEKDAY,YEAR
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น HOUR
ที่ Excel ให้คลิกที่เซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 0.1 จากนั้นคลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =hour(a2) และกด Enter จะโชว์ 2
ที่ Excel คลิกที่เซลล์ A3 แล้วพิมพ์ 0.1 จากนั้นคลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =hour(a2) และกด Enter จะโชว์ 4
ที่ Excel คลิกที่เซลล์ A4 แล้วพิมพ์ 5:15 จากนั้นคลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =hour(a4) และกด Enter จะโชว์ 5
ที่ Excel คลิกเซลล์ A4 แล้วคลิกเมนู Edit แล้วเลือก Clear และคลิกเลือก Formats จะเห็นเซลล์ A4 โชว์ 0.21875 หากจะโชว์กลับมาเป็น 5:15 เหมือนเดิมให้กด Ctrl+Z ซึ่งหมายถึง Undo
ที่ Excel คลิกที่เซลล์ A5 แล้วพิมพ์ 17:15 จากนั้นคลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =hour(a5) และกด Enter จะแสดงค่า 17
ที่ Excel คลิกที่เซลล์ A6 แล้วพิมพ์ =now() จะแสดงวันที่ เดือน ปี และ เวลา จากนั้น คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ = hour(a6) และกด Enter จะแสดงค่า 11

เอ็กเซล กับฟังก์ชั่น CHAR

เอ็กเซล กับฟังก์ชั่น CHAR ประเภท ข้อความ ทำหน้าที่ คืนอักขระที่ระบุด้วยตัวเลขให้ใช้ CHAR เพื่อแปลหมายเลขหน้ารหัสที่คุณอาจจะได้จากแ... thumbnail 1 summary


เอ็กเซล กับฟังก์ชั่น CHAR
ประเภท ข้อความ
ทำหน้าที่ คืนอักขระที่ระบุด้วยตัวเลขให้ใช้ CHAR เพื่อแปลหมายเลขหน้ารหัสที่คุณอาจจะได้จากแฟ้มบนคอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ ให้เป็นอักขระ
สูตร CHAR(number)
Number คือ ตัวเลขที่มีค่าระหว่าง 1 ถึง 255 ใช้ระบุอักขระที่ต้องการซึ่งเป็นอักขระที่มาจากชุดอักขระองคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างการใช้ฟังก์ชั่น CHAR
ที่ เอ็กเซล คลิ้กที่ A2 แล้วพิมพ์ 66 และกด Enter
คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =char(a2) และกด Enter จะโชว์ B
คลิกเซลล์ A3 แล้วพิมพ์ 123 และกด Enter
คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =char(a3) และกด Enter จะแสดงค่า { ออกมา

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

Excel กับ ฟังก์ชั่น DPRODUCT

Excel กับ ฟังก์ชั่น DPRODUCT ประเภท ฐานข้อมูล ความหมาย คูณค่าในคอลัมน์ในรายการ หรือ ในฐานข้อมูลที่ตรงกับเงื่อนไขที่คุณระบุ สูตร ... thumbnail 1 summary


Excel กับ ฟังก์ชั่น DPRODUCT
ประเภท ฐานข้อมูล
ความหมาย คูณค่าในคอลัมน์ในรายการ หรือ ในฐานข้อมูลที่ตรงกับเงื่อนไขที่คุณระบุ
สูตร : DPRODUCT(database,field,criteria)
Database คือ ช่วงของเซลล์ที่ประกอบขึ้นเป็นรายการหรือฐานข้อมูลโดยรายการของข้อมูลที่สัมพันธ์กันที่อยู่ในแถวของข้อมูลที่สัมพันธ์กันเรียกว่า ระเบียน และคอลัมน์ของข้อมูลเรียกว่า เขตข้อมูล ซึ่งแถวแรกของรายการ ประกอบด้วยป้ายชื่อของแต่ละคอลัมน์
Field ทำหน้าที่บ่งชี้คอลัมน์ที่ถูกใช้ในฟังก์ชั่น โดยอาจจะกำหนดเป็นข้อความโดยใช้ป้ายชื่อคอลัมน์ที่คร่อมด้วยเครื่องหมายอัญประกาศคู่ เช่น “อายุ” หรือ “ผลตอบแทน” หรือกำหนดเป็นตัวเลขที่แสดงถึงตำแหน่งของคอลัมน์ภายในรายการ เช่น 1 หมายถึงคอลัมน์แรก ส่วน 2 หมายถึงคอลัมน์ที่สอง และต่อๆไป
Criteria คือ ช่วงของเซลล์ที่มีเงื่อนไขตามที่คุณระบุ โดยสามารถใช้ช่วงใดก็ได้เป็นอาร์กิวเมนต์ของเกณฑ์ ตราบใดที่ช่วงนั้นมีป้ายชื่อคอลัมน์อย่างน้อยหนึ่งคอลัมน์ และมีเซลล์อย่างน้อยหนึ่งเซลล์อยู่ใต้ป้ายชื่อคอลัมน์ที่ใช้ในการระบุเงื่อนไขให้กับคอลัมน์





ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น DPRODUCT
ที่ Excel ระบายเซลล์ A1:A7 แล้วพิมพ์ Name และกด Enter พิมพ์ Somboon
และกด Enter พิมพ์ Amorn และกด Enter
ที่ Excel พิมพ์ Boripat และกด Enter พิมพ์ Pipat และกด Enter พิมพ์ Pirat และกด Enter พิมพ์ Chonticha และกด Enter
ที่ Excel ระบายเซลล์ B1:B7 แล้วพิมพ์ Province และกด Enter พิมพ์ Bangkok และกด Enter พิมพ์ Bangkok และกด Enter
ที่ Excel พิมพ์ Bangkok และกด Enter พิมพ์ Rayong และกด Enter พิมพ์ Chonburi และกด Enter พิมพ์ Rayong และกด Enter
ที่ Excel ระบายเซลล์ C1:C7 แล้วพิมพ์ Amount และกด Enter พิมพ์ 12000 และกด Enter พิมพ์ 25000 และกด Enter
ที่ Excel พิมพ์ 14000 และกด Enter พิมพ์ 3000 และกด Enter พิมพ์ 15000 และกด Enter พิมพ์ 30000 และกด Enter
ที่ Excel ระบายเซลล์ A1:C1 แล้ว Copy ไปยังเซลล์ A9
ที่ Excel คลิกเซลล์ B10  แล้วพิมพ์ Rayong
ที่ Excel คลิกเซลล์ C12 แล้วพิมพ์ =dproduct(a1:c7,c1,a9:c10) และกด Enter จะโชว์ 90000000 เพราะเป็นการนำเอา 3000*30000 นั่นเอง
หากพิมพ์ Chonburi ที่เซลล์ B10 และกด Enter จะเห็นที่เซลล์ C12 โชว์ 15000
ที่ Excel  หากพิมพ์ Bangkok ที่เซลล์ B10 และกด Enter จะเห็นที่เซลล์ C12 โชว์ 4.2E+12

Excel กับฟังก์ชั่น DSTDEV

Excel กับฟังก์ชั่น DSTDEV ประเภท ฐานข้อมูล ความหมาย ประมาณส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้ค่าตัวอย่างจากฐานข้อมูลที่เลือก โดยใช้ตัวเลขใน... thumbnail 1 summary


Excel กับฟังก์ชั่น DSTDEV
ประเภท ฐานข้อมูล
ความหมาย ประมาณส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้ค่าตัวอย่างจากฐานข้อมูลที่เลือก โดยใช้ตัวเลขในคอลัมน์ของรายการหรือฐานข้อมูลที่ตรงกับเงื่อนไขที่คุณระบุ
สูตร DSTDEV(database,field,criteria)
Database คือ ช่วงของเซลล์ ที่ประกอบขึ้นเป็นรายการหรือฐานข้อมูลโดยรายการของข้อมูลที่สัมพันธ์กันที่อยู่ในแถวของข้อมูลที่สัมพันธ์กันเรียกว่า ระเบียน และคอลัมน์ของข้อมูลเรียกว่า เขตข้อมูล ซึ่งแถวแรกของรายการประกอบด้วยป้ายชื่อของแต่ละคอลัมน์
Field ทำหน้าที่บ่งชี้คอลัมน์ที่ถูกใช้ในฟังก์ชั่น โดยอาจจะกำหนดเป็นข้อความโดยใช้ป้ายชื่อคอลัมน์ที่คร่อมด้วยเครื่องหมายอัญประกาศคู่ เช่น “อายุ” หรือ “ผลตอบแทน” หรือกำหนดเป็นตัวเลขที่แสดงถึงตำแหน่งของคอลัมน์ภายในรายการ เช่น 1 หมายถึง คอลัมน์แรก ส่วน 2 หมายถึงคอลัมน์ที่สอง และต่อๆไป
Criteria คือ ช่วงของเซลล์ที่มีเงื่อนไขตามที่คุณระบุ โดยสามาถใช้ช่วงใดก็ได้เป็นอาร์กิวเมนต์ของเกณฑ์ ตราบใดที่ช่วงนั้นมีป้ายชื่อคอลัมน์อย่างน้อยหนึ่งคอลัมน์ และมีเซลล์อย่างน้อยหนึ่งเซลล์อยู่ใต้ป้ายชื่อคอลัมน์ที่ใช่ในการระบุเงื่อนไขให้กับคอลัมน์






ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น DSTDEV
ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง คือ DSTDEVP
ที่ Excel ระบายเซลล์ A1:A7 แล้วพิมพ์ Name และกด Enter พิมพ์ Somboon และกด Enter พิมพ์ Amorn และกด Enter
ที่ Excel  พิมพ์ Boripat และกด Enter พิมพ์ Pipat และกด Enter พิมพ์ Pirat และกด Enter พิมพ์ Chonticha และกด Enter
ที่ Excel ระบายเซลล์ B1:B7 แล้วพิมพ์ Province และกด Enter พิมพ์ Bangkok และกด Enter พิมพ์ Bangkok และกด Enter
ที่ Excel พิมพ์ Bangkok และกด Enter พิมพ์ Rayong และกด  Enter พิมพ์ Chonburi และกด Enter พิมพ์ Rayong และกด Enter
ที่ Excel ระบายเซลล์ C1:C7  แล้วพิมพ์ Amount และก Enter พิมพ์ 12000 และกด Enter พิมพ์ 25000 และกด Enter
ที่ Excel พิมพ์ 14000 และกด Enter พิมพ์ 3000 และกด Enter พิมพ์ 15000 และกด Enter พิมพ์ 30000 และกด Enter
ระบายเซลล์ A1:C1 แล้ว Copy ไปยังเซลล์ A9
ที่ Excel คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ Rayong
ที่ Excel คลิกเซลล์ C12 แล้วพิมพ์ =dstdev(a1:c7,c1,a9:c10) และกด Enter จะโชว์ 19091.88
สำหรับวิธีการคำนวณให้ทดลอง Copy ตัวเลข 3000 และ 30000 มาไว้ ที่เซลล์ E5 และ E6
ที่ Excel คลิกเซลล์ E8 แล้วพิมพ์ =average(e5:e6) และกด Enter จะโชว์ 16500
ที่ Excel คลิกเซลล์ F5 แล้วพิมพ์ =(e5-$3$8)^2 จากนั้นกด Enter จะโชว์ 182250000 แล้ว Auto Fill มาที่เซลล์ F6
ที่ Excel คลิกเซลล์ F7 แล้วคลิกปุ่ม Auto Sum จะได้ผล 364500000
ที่ Excel คลิก E10 แล้วพิมพ์ =sqrt(f7)/1 และกด Enter จะโชว์ 19091.88