วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การหาค่า Union และ Intersection (Excel 2016)

การหาค่า Union และ Intersection Union ยู เนียน (อังกฤษ: union ) หรือ ส่วนรวม คือการดำเนินการของเซต เป็นการสร้างเซตใหม่ซึ่งเป็นผลจากการรวม... thumbnail 1 summary
การหาค่า Union และ Intersection
Union ยู เนียน (อังกฤษ: union) หรือ ส่วนรวม คือการดำเนินการของเซต เป็นการสร้างเซตใหม่ซึ่งเป็นผลจากการรวมสมาชิกทั้งหมดของเซตต้นแบบเข้าด้วย กัน เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ ∪ (คล้ายอักษรตัวใหญ่ U)




Intersection อินเตอร์เซกชัน (อังกฤษ: intersection) หรือ ส่วนร่วม คือการดำเนินการของเซต เป็นการสร้างเซตใหม่ซึ่งเป็นผลจากการหาสมาชิกทั้งหมดที่เหมือนกันในเซตต้นแบบ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ ∩ (คล้ายอักษรตัวใหญ่ U กลับหัว)





1 Union ใน Excel

ในตัวอย่างนี้จะเป็นการหา Union โดยการบวกตัวเลข 2 เรนจ เข้าด้วยกัน...ให้สังเกตว่าเราจะใช้สัญลักษณ์ , เป็นตัวคั่นระหว่างข้อมูลสองเรนจดังภาพด้านล่างนี้



แล้วใช้ สูตร SUM ระบุช่วงให้ครอบคลุมทั้งสองเรนจ์ เหมือนการใช้สูตร Sum ทั่วไปทุกอย่าง เช่น
=SUM(B2:C6,C5:D9)  คำตอบที่ได้คือ 98

2 Intersection หาผลรวมของตัวเลขที่ตัดกันภายในกลุ่ม 2 กลุ่มเท่านั้น ส่วนที่ไม่ตัดกันจะไม่เอามาคำนวณ...โดยให้สังเกตว่ามีการเคาะ spacebar 1 ครั้ง เพื่อเป็นการบอก Excel ว่า เราจะทำ Intersection ให้กับข้อมูล 2 เรนจ นี้




เราจะเห็นว่า = S๊UM(B2:C6 C5:D9) มีค่าเท่ากับ = SUM(C5:C6) นั้นเอง
คำตอบที่ได้คือ 9 (เกิดจาก 8+1  นั่นคือนำส่วนที่ตัดกันมาบวกกันเท่านั้น)

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การวางแบบ Paste Special + การ Skip Blanks (การข้ามช่องว่าง)

วันนี้เราจะมาสอนเรื่องของการ Copy แล้ววางแบบ พิเศษ หรือที่เรียกว่า Paste Special กัน โดยใช้คำสั่ง Skip Blanks ที่มีมาให้ในกล่องโต้ตอบ Paste... thumbnail 1 summary
วันนี้เราจะมาสอนเรื่องของการ Copy แล้ววางแบบ พิเศษ หรือที่เรียกว่า Paste Special กัน โดยใช้คำสั่ง Skip Blanks ที่มีมาให้ในกล่องโต้ตอบ Paste Special มาดูซิว่ามัน พิเศษยังไง

1.พิมพ์ค่า 6,7,8,9,10...,20 ลงไปในเซลล์ A1 ถึง A15 ตามภาพด้านล่างนี้
2. พิมพ์ค่า 8 10 12 14 20 22 26 29 ลงไปในเซลล์ B1 ถึง B15 ตามภาพด้านล่างนี้ สังเกตว่าคอลัมน์นี้ มีการพิมพ์ 1 ช่อง เว้น 1 ช่อง



3. เลือก เซลล์ B1 ถึง B15 แล้วคลิ้กขวาแล้วเลือกคำสั่ง Copy


4. คลิ้กที่เซลล์ A1 แล้วคลิ้กขวา...แล้วกดที่คำสั่ง Paste Special... 1 ครั้ง กล่องโต้ตอบก็จะปรากฏขึ้นมา
5. ตรง paste เลือก All
    ตรง Operation เลือก None
    และทำเครื่องหมายถูกที่ Skip blanks
    แล้วกด Ok



6. ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ตัวเลขที่อยู่ในคอลัมน์ B จะเข้าไปแทรกแทนที่ ตัวเลขในคอลัมน์ A ...โดยที่จะข้ามช่องว่างในคอลัมน์ B ไป...กล่าวคือ ช่องไหนในคอลัมน์ B ไม่มีตัวเลข มันก็จะไม่แทนที่ตัวเลขที่อยู่ในช่องคอลัมน์ A ...ดังภาพด้านล่างนี้


วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Excel 2016 กับการหาค่า Fibonacci (ฟีโบนัชซี)

Fibonacci (ฟีโบนัชซี) คือ จำนวนถัดไปเท่ากับผลบวกของจำนวนสองจำนวนก่อนหน้า และสองจำนวนแรกก็คือ 0 และ 1 ตามลำดับ อ่านแล้วงงไหม ผู้เขียน เขียน... thumbnail 1 summary
Fibonacci (ฟีโบนัชซี) คือ จำนวนถัดไปเท่ากับผลบวกของจำนวนสองจำนวนก่อนหน้า และสองจำนวนแรกก็คือ 0 และ 1 ตามลำดับ
อ่านแล้วงงไหม ผู้เขียน เขียนเองยังงงเลย ... เอาเป็นว่าจะยกตัวอย่างให้เห็นก็แล้วกันน่ะ ว่ามันคืออะไร ไอ้ Fibonacci (ฟีโบนัชซี) เนี่ยะ

Fibonacci (ฟีโบนัชซี) จะถูกกำหนดให้ค่าแรกเป็น 0,1 ก่อนเสมอ
ส่วนจำนวนลำดับที่ 3 คือ จำนวนสองจำนวนก่อนหน้า บวกกัน ดังนั้นลำดับเลขตัวต่อไปที่ต่อจาก 0,1, คือ 1 นั่นคือ 0,1,1
โดย 0,1,1 เกิดจาก 0+1=1 ได้เท่ากับ 0,1,1
เลขลำดับที่ 4 คือ 2 เกิดจาก 1+1 ดังนั้น Fibonacci (ฟีโบนัชซี) ตำแหน่งที่ 4 คือ 0,1,1,2
เลขลำดับที่ 5 คือ 3 เกิดจาก 1+2 ดังนั้น Fibonacci (ฟีโบนัชซี) ตำแหน่งที่ 5 คือ 0,1,1,2,3
เลขลำดับที่ 6 คือ 5 เกิดจาก 2+3 ดังนั้น Fibonacci (ฟีโบนัชซี) ตำแหน่งที่ 6 คือ 0,1,1,2,3,5
เลขลำดับที่ 7 คือ 8 เกิดจาก 3+5 ดังนั้น Fibonacci (ฟีโบนัชซี) ตำแหน่งที่ 7 คือ 0,1,1,2,3,5,8
เลขลำดับที่ 8 คือ 13 เกิดจาก 8+5 ดังนั้น Fibonacci (ฟีโบนัชซี) ตำแหน่งที่ 8 คือ 0,1,1,2,3,5,8,13
และลำดับต่อๆไปก็ทำในทำนองเดียวกันครับ หวังว่าคงเข้าใจได้ไม่ยาก

ชื่อของจำนวน Fibonacci(ฟีโบนัชชี) ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ เลโอนาร์โดแห่งปีซา (Leonardo de Pisa) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามฟีโบนัชชี (Fibonacci) ผู้ค้นพบจำนวนฟีโบนัชชีในต้นศตวรรษที่ 13

 การนำไปใช้
จำนวนฟีโบนัชชีมีความสำคัญในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของยูคลีเดียนอัลกอริทึมซึ่งใช้ในการหาตัวหารร่วมมากของจำนวนเต็มสองจำนวน โดยยูคลิเดียนอัลกอริทึมจะทำงานได้ช้าที่สุดถ้าข้อมูลเข้าเป็นจำนวนฟีโบนัชชีสองตัวที่ติดกัน
ยูริ มาทิยาเซวิช พิสูจน์ได้ว่าจำนวนฟีโบนัชชีมีนิยามในรูปของผลเฉลยของสมการไดโอแฟนไทน์ ซึ่งความจริงข้อนี้นำไปสู่การแก้ปัญหาข้อที่ 10 ของฮิลแบร์ท

คร่าวๆ พอน่ะครับ เอาแค่พอเข้าใจ และทราบถึงประโยชน์ของ Fibonacci (ฟีโบนัชชี) ก็พอ
เรามาเข้าเรื่อง Excel กันดีกว่า...เราจะเห็นว่า การหารค่า Fibonacci (ฟีโบนัซซี) ไม่ใช่เรื่องยากเลย แต่ถ้าเราจะมานั่งบวกเองไปเรื่อยๆ ก็คงไม่ใช่เรื่อง มันเสียเวลาเกินไป ... เป็นโปรแกรมเมอร์ก็ต้องทำให้มันง่ายดีกว่า ก็ใช้ Excel นี่แหละ ช่วยหา Fibonacci ให้เลย

การหาค่า Fibonacci (ฟีโบนัชชี) ด้วย Excel 2016 (เวอร์ชั่นอื่นก็ใช้หาได้น่ะ)
1. พิมพ์ 0 ที่เซลล์ a1 แล้วกด Enter
2. พิมพ์ 1 ที่เซลล์ a2 แล้วกด Enter
3. พิมพ์ =A1+A2 แล้วกด Enter จะได้ผลลัพธ์เป็น 1
4. Auto fill เซลล์ A3 ลงไปยังเซลล์ A18 ก็จะได้ผลลัพธ์ดังภาพด้านล่างนี้


วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การสร้าง Custom Lists (รายการแบบกำหนดเอง) ใน Excel 2016

Custom Lists ใน Excel 2016 Custom Lists คือ รายการที่จะปรากฏเมื่อเราทำ Auto fill สิ่งที่ไม่ใช่ สูตร เช่น เราพิมพ์คำว่า "จันทร์" ... thumbnail 1 summary
Custom Lists ใน Excel 2016
Custom Lists คือ รายการที่จะปรากฏเมื่อเราทำ Auto fill สิ่งที่ไม่ใช่ สูตร เช่น
เราพิมพ์คำว่า "จันทร์" ที่เซลล์ A1 แล้วทำการ Auto fill ลงมาที่ เซลล์ A5 เราก็จะได้ค่า Lists ออกมาเป็น
ที่เซลล์ A1 = จันทร์
ที่เซลล์ A2 = อังคาร
ที่เซลล์ A3 = พุธ
ที่เซลล์ A4 = พฤหัสบดี
ที่เซลล์ A5 = ศุกร์
อย่างนี้เป็นต้น
ค่าเหล่านี้ถูกกำหนดไว้แล้วใน Excel เมื่อเรา Auto Fill มันจึงแสดงค่าตามลำดับออกมา
แต่ถ้าหากเราต้องการ สร้าง Lists ขึ้นมาเอง ก็สามารถทำได้เช่นกัน
เช่น ถ้าเราต้องการ สร้าง Lists เกี่ยวกับชื่อเพื่อนของเรา ที่เรียงลำดับตายตัวดังนี้ คือ แนน,นก,น้ำ,หนิง,นุ๊ก
เราต้องสร้าง Custom Lists ขึ้นมา
วิธีการสร้าง Custom Lists ให้ทำดังนี้
 
1. คลิ้กที่เมนู File->Options
2. กล่อง Excel Options จะปรากฏขึ้นมา
3. คลิ้กที่ Advanced
4.เลื่อน สรอลบาร์ลงมาด้านล่าง มองหาคำว่า Edit Custom Lists... ซึ่งอยู่ในส่วน Gerneral
5. เมื่อเห็น Edit Custom Lists แล้ว ให้คลิ้กที่ Edit Custom Lists... 1 ครั้ง
6. กล่องโต้ตอบ Custom Lists จะปรากฏขึ้นมา ให้ใส่ค่า แนน,นก,น้ำ,หนิง,นุ๊ก
ลงไปในส่วนของ List entries :
แนน
นก
น้ำ
หนิง
นุ๊ก

จากนั้นกด Add
7. เมื่อกด Add แล้ว แนน,นก,น้ำ,หนิง,นุ๊ก จะเข้าไปอยู่ใน Custom Lists :



8. ให้เรากด Ok เพื่อปิดกล่อง Custom Lists, กด Ok เพื่อปิดกล่อง Excel Options เป็นอันเสร็จ

การใช้งาน Custom Lists ที่สร้างขึ้นมา 
1. ลองพิมพ์คำว่า แนน ที่เซลล์ A1
2. auto fill คำว่า แนน ที่เซลล์ A1 ลงมายังเซลล์ A5
3. สังเกตผลลัพธ์ที่ได้