วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Excel Formulas : ฟังก์ชั่น LOOKUP ตรวจสอบว่ามีค่า นั้นอยู่ในช่วงของเซลล์ที่เราทำการตรวจสอบหรือไม่


วันนี้งานที่ทำงานวุ่นวายเหลือเกิน จนรู้สึกว่า วันๆ ไม่มีความสุขเสียเลย เพราะมันเหนื่อย เพลีย ดีหน่อยที่ไม่ค่อยเหนื่อยใจ ไม่อย่างนั้นคงต้องแย่แน่ๆ ร่างกายก็อ่อนแอลงทุกวัน คงต้องหาเวลาออกกำลังกายบ้างล่ะ เฮ้อ พูดถึงเรื่องออกกำลังกาย นี่ เราไม่ได้ออกกำลังกายมานานเท่าไหร่แล้วน่ะ หลายปีแล้วนี่ ไม่เคยได้ออกกำลังกายแม้แต่วันเดียว ทำงานจนตัวเป็นเกลียวจริงๆ
เอาล่ะบ่นพอแล้วล่ะ  มาอับ blog เพื่อเป็นประโยชน์แก่ชาวโลกกันดีกว่า เวลางานยุ่งๆ เนี่ย อะไรก็ไม่ค่อยจะได้ทำ แม้แต่อับ blog  แห่งนี้ แต่ก็จะพยายาม ใส่ข้อมูลใหม่ๆเข้าไปให้มากที่สุดเท่าที่เวลาจะอำนวยแล้วกัน  เข้าเรื่องกันเลยดีกว่าน่ะ
อืม   วันนี้เราจะเสนอเรื่องของ ฟังก์ชั่น LOOKUP กันน่ะ  อืม ใครที่ไม่เคยใช้ ฟังก์ชั่นนี้ หรือ ที่งง ๆ ละก็ วันนี้ เราจะมาไข ข้อกังขา ปลดข้อสงสัยให้กับทุกคน ให้รู้ดำรู้แดงกันไปเลย ว่ามันใช้ยังไงกันไอ้ฟังก์ชัน LOOKUP เนี่ย  
การใช้ Function บน Microsoft Excel มันก็มีวิธีใช้เหมือนกันๆ นั่นคือ พิมพ์ =ก่อน แล้วตามด้วยชื่อฟังก์ชั่น เช่น ฟังก์ชั่น LOOKUP ก็ทำเช่นเดียวกับฟังก์ชั่นอื่นๆ เพียงแต่แตกกต่างกันตรงที่ ฟังก์ชั่น LOOKUP มันก็มี พารามิเตอร์ของมัน มีหน้าที่ของมันนั่นเอง  พูดแล้วเราก็มาดูซิว่า รูปแบบของฟังก์ชั่น LOOKUP มันมีอะไรบ้าง มากันมาเลย
รูปแบบของฟังก์ชั่น LOOKUP คือ LOOKUP(lookup_value,  lookup_vector,  [result_vector])
เรามาดูว่า ตัวแปรที่อยู่ข้างใน มีหน้าที่อะไร แล้วเราต้องใส่ค่าอะไรเข้าไปแทนทีตัวแปรเหล่านี้บ้าง
*  lookup_value  ต้องมี คือ ค่าที่ LOOKUP จะค้นหาในเวกเตอร์แรก Lookup_value อาจเป็นตัวเลข ข้อความ ค่าตรรกะ หรือชื่อ หรือการอ้างอิงที่อ้างอิงไปยังค่า
*  lookup_vector  ต้องมี คือ ช่วงที่มีแถวหนึ่งแถวหรือคอลัมน์หนึ่งคอลัมน์เท่านั้น ค่าใน lookup_vector อาจเป็นข้อความ ตัวเลข หรือค่าตรรกะ
·        ค่าใน lookup_vector จะต้องเรียงลำดับจากน้อยไปหามาก นั่นคือ ..., -2, -1, 0, 1, 2, ..., A-Z, FALSE, TRUE มิฉะนั้น LOOKUP อาจไม่ส่งกลับค่าที่ถูกต้อง ข้อความแบบตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กจะถือว่ามีค่าเท่ากัน
·      result_vector  มีหรือไม่ก็ได้ คือ ช่วงที่ประกอบด้วยแถวหนึ่งแถวหรือคอลัมน์หนึ่งคอลัมน์เท่านั้น อาร์กิวเมนต์ result_vector ต้องมีขนาดเดียวกับ lookup_vector
ข้อสังเกต และข้อควรจดจำ
*  ถ้าฟังก์ชัน LOOKUP ไม่พบ lookup_value ฟังก์ชันนี้จะจับคู่ค่าที่มากที่สุดใน lookup_vector ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ lookup_value
*  ถ้า lookup_value มีค่าน้อยกว่าค่าที่น้อยที่สุดใน lookup_vector LOOKUP จะส่งกลับค่าความผิดพลาด #N/A
เรามาดูตัวอย่างกันดีกว่า 
·      เปิด Microsoft Excel ขึ้นมา
·      พิมพ์ 9 ที่ช่อง a1
·      พิมพ์ 10 ที่ช่อง a2
·      พิมพ์ 11 ที่ช่อง a3
·      พิมพ์ 12 ที่ช่อง a4
·      พิมพ์ 13 ที่ช่อง a5
·      พิมพ์ 14 ที่ช่อง a6
·      พิมพ์ 15 ที่ช่อง a7
·      พิมพ์ 16 ที่ช่อง a8
·      พิมพ์ a ที่ช่อง b1
·      พิมพ์ b ที่ช่อง b2
·      พิมพ์ c ที่ช่อง b3
·      พิมพ์ d ที่ช่อง b4
·      พิมพ์ e ที่ช่อง b5
·      พิมพ์ f ที่ช่อง b6
·      พิมพ์ g ที่ช่อง b7
·      พิมพ์ h ที่ช่อง b8
·      พิมพ์ =LOOKUP(A1,A1:A8,B1:B8) ที่ช่อง c1 แล้วกด Enter ผลลัพธ์ที่ได้คือ a
จากผลลัพธ์ ที่ได้ ทำให้อธิบายได้ดังนี้ ว่า ฟังก์ชั่น LOOKUP ทำหน้าที่จับคู่เปรียบเทียบคล้ายๆกับฟังก์ชัน IF เพราะจากตัวอย่าง เราพิมพ์ว่า =LOOKUP(A1,A1:A8,B1:B8)  ซึ่งที่ช่อง a1 คือ 9 และที่ช่อง a1:a8 (a1 ถึง a8) คือช่วงที่ต้องการเปรียบเทียบ ส่วนช่วง b1:b8 คือช่องของผลลัพธ์ที่ต้องการให้แสดง กรณีเงื่อนไขเป็นจริง
จากคำสั่ง ก็เหมือนกับถามว่า ถ้าช่วง a1:a8 มีค่า เท่ากับค่าที่อยู่ในช่อง a1 จริง ให้เอาค่าที่อยู่ในช่อง b1:b8 ที่ตรงตามช่องตามเงื่อนไขออกมาแสดง  ลองทำตัวอย่างนี้ดูแล้วจะเข้าใจได้ครับ จุ๊บๆ ....:0