วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เทคนิคการใช้งาน Excel 2000 ตอนที่ 3

เทคนิคการใช้งาน Excel 2000 ตอนที่ 3 1.5.3 การทำงานกับ Range Name เราอาจจะคุ้นเคยกับการใช้ คำสั่ง Insert, Name กันมาแล้ว แต่มีวิธีที่ใช้งานไ... thumbnail 1 summary
เทคนิคการใช้งาน Excel 2000 ตอนที่ 3

1.5.3 การทำงานกับ Range Name


เราอาจจะคุ้นเคยกับการใช้ คำสั่ง Insert, Name กันมาแล้ว แต่มีวิธีที่ใช้งานได้อย่างรวดเร็วกว่าการไปกำหนดจากใน Menu นั่นคือ การกำหนดจาก “Name Box” ซึ่งอยู่ที่ด้านซ้ายของ Formular Bar

1.5.4 การกระโดดไปยัง Range Name ใดๆ

- Click ที่ “Name Box”

- เลือกชื่อ Range ที่ต้องการ Pointer ก็จะกระโดดไปยังพื้นที่ที่เป็นชื่อนั้น

1.5.6 การใช้ Scroll Lock


ปุ่ม Scroll Lock มีประโยชน์ในการจดจำตำแหน่งของ Active Cell หรือ Range ที่เรากำลังเลือกไว้ โดยปกติค่า Scroll Lock ไม่ได้ On อยู่ การเลื่อนจอภาพจะทำให้ Active Cell เลื่อนตามไปด้วย แต่ถ้าเรากดปุ่ม Scroll Lock ค้างไว้ จากนั้นเลื่อนจอภาพไปในทิศทางต่างๆ ตามต้องการ เมื่อต้องการกลับมาที่ Active Cell ใหม่ ก็ทำได้โดยการกดปุ่ม Ctrl+ Backspace Pointer ก็จะกับมาที่ Active Cell ตามเดิม

1.6 การเลือกข้อมูล (Selection)

การเลือก Range ภายใน Worksheet มีได้หลายแบบ ทั้งการเลือกแบบ Cell เดียว, หลาย Cell ที่ติดกัน และ หลาย Cell ที่ไม่ติดกัน

1.6.1 การใช้ปุ่ม Shift

ปุ่ม Shift สามารถนำมาใช้กับการทำงานร่วมกับคำสั่งอื่นๆ ได้หลายคำสั่ง เช่น

· คำสั่ง Go to

ปกติถ้ากด F5 ใส่ Address ลงไปแล้ว Click Ok จะเป็นการกระโดดไปยัง Address นั้นๆ แต่ถ้าก่อน Click Ok ให้กดปุ่ม Shift ค้างไว้ด้วย จะเป็นการเลือกพื้นที่ตั้งแต่ตำแหน่งที่ Pointer อยู่ (Active cell) ไปจนถึง ตำแหน่งที่กำหนดไว้ใน Go To

· Name Box


ถ้านำมาใช้ร่วมกับ Name Box โดยการกด Shift ค้างไว้ จะเป็นการเลือกพื้นที่ตั้งแต่ตำแหน่งที่ Pointer อยู่ (Active Cell) ไปจนถึงพื้นที่ที่เป็นชื่อ ของ Range นั้น

· Double Click ที่ Cell Border
ถ้ามีการกด Shift ค้างไว้แล้ว Double Click ที่ Cell Border (ดังที่กล่าวมาข้างต้น) จะเป็นการแรเงาพื้นที่ด้วย

· ภายใน Dialog Box
Dialog Box ใด ๆ ที่มีการกำหนด Range ได้ด้วย เราสามารถใช้การกดปุ่ม shift เพื่อเลือก Range ที่ไม่ติดกันได้มากกว่า 1 Range ด้วย

เทคนิคการใช้งาน Excel 2000 ตอนที่ 2

เทคนิคการใช้งาน Excel 2000 ตอนที่ 2 1.5 การเคลื่อนย้าย Pointer (Move) 1.5.1 การเคลื่อนย้าย Pointer ด้วย Keyboard แป้นพิมพ์ที่ใช้... thumbnail 1 summary

เทคนิคการใช้งาน Excel 2000 ตอนที่ 2

1.5 การเคลื่อนย้าย Pointer (Move)

1.5.1 การเคลื่อนย้าย Pointer ด้วย Keyboard
แป้นพิมพ์ที่ใช้
ความหมาย
Page Up หรือ Page Down
เลื่อนขึ้นลง 1 จอภาพ
Alt + PgUp หรือ Alt + PgDn
เลื่อนไปทางซ้ายหรือขวา 1 จอภาพ
Tab
ไปที่ Cell ถัดไป (ที่ใม่ได้ Lock ไว้)
Home
ไปซ้ายสุดของ Row ปัจจุบัน
End, Enter
ไป Column สุดท้ายของ Row ปัจจุบันที่มีข้อมูล
Ctrl + Home
ไปที่ Cell A1
Ctrl+End หรือ End, Home
ไป Cell สุดท้ายของ Worksheet (Cell ที่เป็นจุดตัดกันของ Row สุดท้ายกับ Column สุดท้ายที่ใช้งาน
Ctrl + ปุ่มลูกศรขึ้นลง หรือ End
ไปที่ Cell สุดท้ายที่มีข้อมูล ภายใน Range นั้น
กดปุ่ม Scroll Lock ให้ on, Home
ไปที่มุมบนด้านซ้ายของ Windows
กดปุ่ม Scroll Lock ให้ on, End
ไปที่มุมล่างด้านขวาของ Windows
Ctrl + PgUp หรือ Ctrl + PgDn
ไปที่ Worksheet ก่อนหน้านี้ หรือ Worksheet ถัดไป
Ctrl+ Tab หรือ Ctrl+ Shift + Tab
ไปที่ Workbook (หรือ Windows) ก่อนหน้านี้หรือถัดไป
F6 หรือ Shift + F6
ไปที่ส่วนแบ่งจอภาพ (Pane) ก่อนหน้าหรือถัดไป
Ctrl + Backspace
มาที่ Active Cell (กรณีที่เลื่อนจอภาพไปจนมองไม่เห็น Active Cell และต้องการกลับมาที่ Active Cell ใหม่)
หมายเหตุ +หมายถึง ให้กดแป้นพิมพ์พร้อมกัน และ, หมายถึง ให้กดแป้นพิมพ์ตามลำดับ

1.5.2 การ Double Click ที่ Border ของ Active Cell


ทำได้ง่ายๆ โดยการ Double Click ที่ Border ทั้ง 4 ด้านของ Active Cell จะทำให้ Pointer เลื่อนไปยัง Cell ที่มีข้อมูลเป็น Cell สุดท้ายภายใน Row หรือ Column นั้น ๆ (Double Click ที่ left หรือ Right จะเลื่อนภายใน Row แต่ถ้า Double Click ที่ Top หรือ Bottom จะเลื่อนภายใน Column)

- ถ้า Double Click ที่ Border ทางด้านขวาของ cell A1 จะทำให้ Pointer เลื่อนไปยัง Cell D1

- ถ้า Double Click ที่ Border ทางด้านซ้ายของ Cell D1 จะทำให้ Pointer เลื่อนไปยัง Cell A1

- ถ้า Double Click ที่ Border ทางด้านล่างของ Cell A1 จะทำให้ Pointer เลื่อนไปยัง Cell A9

- ถ้า Double Click ที่ Border ทางด้านบนของ Cell A9 จะทำให้ Pointer เลื่อนไปยัง Cell A1

วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เทคนิคการใช้งาน Excel 2000 ตอนที่ 1

เทคนิคการใช้งาน Excel 2000 ตอนที่ 1 มีเทคนิคต่างๆ มากมายใน Excel 2000 ที่สามารถนำมาใช้ในการทำงานให้สะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิ... thumbnail 1 summary

เทคนิคการใช้งาน Excel 2000 ตอนที่ 1

มีเทคนิคต่างๆ มากมายใน Excel 2000 ที่สามารถนำมาใช้ในการทำงานให้สะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ดังต่อไปนี้

1.1 จอภาพเร้นลับ ที่คุณสามารถค้นพบได้ใน Excel 2000 ลองทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ดูจะได้เห็นภาพที่ซ่อนอยู่

1. เปิดใช้งาน Workbook กดปุ่ม F5 จะได้จอภาพ “Go To”

2. จากนั้นให้เราพิมพ์ที่ช่อง Reference : ดังนี้ x2000:L2000 เสร็จแล้ว click ที่ ok

3. กดปุ่ม Tab 1 ครั้ง แล้วกดปุ่ม Ctrl+ Shift ค้างไว้ แล้ว Click ที่ Icon “Chart Wizard” บน Toolbar จะได้รายชื่อของทีมงานพัฒนา Microsoft Excel 2000 ปรากฏขึ้นมาตามลำดับ

4. หยุดการทำงานได้โดยการกดปุ่ม Esc

1.2 ความลับของ Shortcut Bar

1.21 การใช้ Office Shortcut Bar

Office Shortcut Bar เป็นส่วนที่สามารถวางไว้ที่ตำแหน่งใดๆ บนจอภาพได้ โดยการวางตำแหน่งนั้น ทำได้ 2 ลักษณะคือ

· Deck เป็นการวาง Shortcut ไว้ที่ด้านบนของจอภาพในแนวยาวเหมือน Toolbar อื่นๆ

· Floating สามารถลาก Shortcut นี้ไปวางไว้ในส่วนใดๆ ของจอภาพได้

การเปลี่ยนไปมาระหว่าง 2 ตำแหน่งนี้ ทำได้โดย Double Click ที่ Title Bar ของ Office Shortcut Bar

1.2.2 การตกแต่ง Shortcut Bar
สามารถตกแต่ง Shortcut Bar ให้สวยงามตรงตามต้องการได้ โดยกด Right Click ที่ Icon ซ้ายสุดของ Shortcut Bar จะได้พบ Menu มาให้เลือก “Customize”

- การสร้าง Toolbar ใหม่ ให้เรียกใช้ Customize Menu จากนั้น เลือก Toolbar Tab

- การสลับที่ Icon ใน Toolbar ให้คลิ้กที่ Icon “Move ขึ้นหรือลง เพื่อสลับที่ Icon ที่ต้องการ

- เพิ่ม Toolbar ใหม่โดยการเลือก “Add Toolbar”

- นอกจากนั้นอาจสลับที่แต่ละ Icon ใน Shortcut Bar ได้โดยการกดปุ่ม Alt ค้างไว้ แล้ว Drag เพื่อลาก Icon ที่ต้องการสลับที่กันได้

1.2.3 ความลับของ Toolbar

- Keyboardที่ใช้ควบคุมการทำงานของ Toolbar

ก่อนอื่นจะต้องเข้าสู่การทำงานของ Toolbar ก่อน โดยการกดปุ่ม Alt หรือ กดปุ่ม F10 จะปรากฏแถบสว่างให้เห็นที่ Menu “File” จากนั้นจึงใช้แป้นพิมพ์ต่อไปนี้ในการควบคุมการทำงานของ (กด F10 ครั้งแรก จะเข้าสู่ Menu ของโปรแกรม Excel ดังนั้นให้กด Ctrl + Tab เพื่อข้ามไปยัง Toolbar แต่ละตัวที่แสดงบนจอภาพ เช่น Standard Toolbar Formatting Toolbar)
Keyboard
ความหมาย
Ctrl + Tab
เลือก Toolbar ถัดไป
Ctrl + Shift + Tab
เลือก Toolbar ก่อนหน้านี้
Tab หรือ ลูกศรซ้าย
เลือก Icon ต่อไป
Shift + Tab หรือ ลูกศรขวา
เลือก Icon ก่อนหน้านี้
Enter
เลือกใช้ Icon นั้น
Shift + Enter
แสดง Menu หรือจอภาพ ของ Icon นั้น



1.3 การพิมพ์ (Print)

การพิมพ์จาก Icon “Print”

- การเลื่อนตัวชี้ Mouse ไปที่ Icon “Print” จะแสดงชื่อ “Default Print” มาให้ เมื่อ Click ที่ไอคอน Print ข้อมูลนั้นก็จะถูกส่งออกทางเครื่องพิมพ์ในทันที

- สามารถ Drag เอกสารที่สร้างเป็น Icon ไว้ไปบน Icon “Printer” เอกสารนั้นก็จะถูกพิมพ์ออกมาได้

1.4 การกำหนดค่าเริ่มต้นก่อนเข้าสู่โปรแกรม Excel 2000 (Startup)

เมื่อเข้าสู่ Excel 2000 จะได้จอภาพว่าง 1 จอภาพ ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะปกติ แต่ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงลักษณะดังกล่าวทำได้โดยการเปลี่ยนแปลงค่าเริ่มต้นเสียใหม่ โดยมีตัวเลือกให้เลือกดังนี้ (กำหนดใน Explorer โดยเรียกจอภาพ Properties ของ Excel ขึ้นมาแก้ไข)
ตัวเลือก
ความหมาย
“path/filename”
กำหนดให้เรียกใช้งาน Workbook ที่กำหนดทันที่ที่เข้าสู่ Excel
/r “path/filename”
กำหนดให้เรียกใช้งาน Workbook ที่กำหนด โดยให้อ่านได้อย่างเดียว (Read-Only)
/e
เข้าสู่ Excel 2000 โดยไม่ต้องแสดง Logo ของ Excel 2000 และไม่ต้องแสดงจอภาพ Workbook ว่างๆมาให้ด้วย
/p “path/folder name”
กำหนดชื่อ Folder (Directory) ที่ Excel จะเรียกข้อมูลมาใช้งาน (ถ้ากำหนดตัวเลือกนี้เอาไว้ ตัวเลือกที่กำหนดในคำสั่ง Tools, Options, General, Default File Location จะไม่ทำงาน


วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

แจกเกมส์ Tetris ทำจาก Excel ครับ

ย้อนวัยไปเล่นเกมส์ Tetris กันดีกว่า (ทำจาก Excel คับ) Downloand Tetris game เป็นเกมส์ที่เราคงเคยเล่นมาตั้งแต่สมัยเด็ก ปัจจุบันเกมส์นี้... thumbnail 1 summary

ย้อนวัยไปเล่นเกมส์ Tetris กันดีกว่า (ทำจาก Excel คับ)
Downloand

Tetris game เป็นเกมส์ที่เราคงเคยเล่นมาตั้งแต่สมัยเด็ก
ปัจจุบันเกมส์นี้ก็ยังไม่ตายไปไหนเพียงแต่ว่าเราไม่ค่อยได้เล่น
ก็เท่านั้น สำหรับคนที่เขาเล่นก็ยังคงเล่นอยู่เช่นเดิม แม้แต่ใน
เมืองนอก็มีการเล่นเกมส์นี้กันอย่างแพร่หลายเช่นเดิม
โดยแข่งกันทำ Score ว่าใครจะทำได้มากกว่ากัน แล้วก็จะได้
รับของรางวัลกันไปสำหรับผู้ชนะเลิศมีคะแนนสูง
  ปกติแล้ว game มักจะถูกเขียนด้วยภาษา C, Vb,Pascal อะไรประมาณนี้ แต่เกมส์ Tetris ที่เห็นอยู่นี้เขียนขึ้นด้วย Excel 2007, 2010 หรือ จะใช้ Excel เวอร์ชั่นต่ำกว่านี้ก็ย่อมทำได้เช่นกัน...