วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559

Excel Vba : Show Message Box On Excel 2007 With VBA

 Excel tips : 6 วันนี้จะนำเสนอการ แสดง Message Box ใน Ms Excel 2007 โดยการเขียนโค้ดด้วย VBA ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วย เพิ่มความสามารถให้ Ms E... thumbnail 1 summary
 Excel tips : 6
วันนี้จะนำเสนอการ แสดง Message Box ใน Ms Excel 2007 โดยการเขียนโค้ดด้วย VBA ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วย เพิ่มความสามารถให้ Ms Excel
วิธีการเขียนแสดง Message Box โดยใช้ VBA ทำได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เปิด Microsoft Excel 2007 ขึ้นมา
ขั้นตอนที่ 2 ไปที่แท็บ "นักพัฒนา"
ขั้นตอนที่ 3 คลิ้กที่คำสั่ง แทรก เลื่อนเมาส์มาที่ ตัววบคุม Activex ที่ปุ่ม Commandbutton
จากนั้นคลิ้ก 1 ครั้งแล้วนำมาวางไว้บนพื้นที่ทำงานของ Excel จากนั้นคลิ้กขวาที่ Commandbutton แล้วเลือกคำสั่ง Property จากป๊อบอัพเมนู จากนั้น จะขึ้นกล่อง Properties ขึ้นมา จากนั้น ให้เราพิมพ์ที่ช่อง Caption ว่า Show Message Box แล้วกด Enter ที่ปุ่ม Commandbutton จะถูกจ่าหน้าบนตัวมันว่า Show Message Box


ขั้นตอนที่ 4 ดับเบิ้ลคลิ้กที่ Commandbutton1 แล้ว พิมพ์ โค๊ดดังภาพด้านล่างนี้


ขั้นตอนที่ 5 กลับมาที่ Microsoft Excel โดย กด Alt+F11 แล้วไปคลิ้กที่ แท็บ นักพัฒนา จากนั้นคลิ้กที่ปุ่ม โหมดออกแบบให้เด้งขึ้นดังภาพ ต่อมาคลิ้กที่ปุ่ม Commandbutton1 ของเรา
ผลลัพธ์ที่ได้คือ กล่อง Message Box จะแสดงขึ้นมาดังภาพ


เกร็ดเล็ก เกร็ดน้อยเกี่ยวกับปุ่ม โหมดออกแบบ

ถ้าปุ่มยุบลงแบบดังภาพด้านล่างนี้แสดงว่าอยู่ใน โหมดของการแก้ไข หรือ อยู่ในโหมดออกแบบเราจะสามารถแก้ไข้ข้อความบนปุ่ม เขียนโค้ดกำกับเพื่อสั่งงานต่างๆได้


ถ้าปุ่มเด้งขึ้นดังภาพด้านล่างแสดงว่าอยู่ในโหมดแสดงผล โหมดนี้เราจะไม่สามารถแก้ไขข้อความบนปุ่ม ไม่สามารถเขียนโค้ดให้ปุ่ม Commandbutton1 1ได้ เช่นถ้าเราต้องการแก้ไขข้อความว่า Show Message Box ไปเป็นข้อความอื่น เราไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากไม่ได้อยู่ในโหมดแก้ไข (โหมดออกแบบ) เราต้องกดที่ปุ่ม โหมดออกแบบ ให้ยุบก่อนจึงจะสามารถแก้ไข ข้อความ Show Message Box ไปเป็นข้อความอย่างอื่นได้



วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การหาค่า Union และ Intersection (Excel 2016)

การหาค่า Union และ Intersection Union ยู เนียน (อังกฤษ: union ) หรือ ส่วนรวม คือการดำเนินการของเซต เป็นการสร้างเซตใหม่ซึ่งเป็นผลจากการรวม... thumbnail 1 summary
การหาค่า Union และ Intersection
Union ยู เนียน (อังกฤษ: union) หรือ ส่วนรวม คือการดำเนินการของเซต เป็นการสร้างเซตใหม่ซึ่งเป็นผลจากการรวมสมาชิกทั้งหมดของเซตต้นแบบเข้าด้วย กัน เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ ∪ (คล้ายอักษรตัวใหญ่ U)




Intersection อินเตอร์เซกชัน (อังกฤษ: intersection) หรือ ส่วนร่วม คือการดำเนินการของเซต เป็นการสร้างเซตใหม่ซึ่งเป็นผลจากการหาสมาชิกทั้งหมดที่เหมือนกันในเซตต้นแบบ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ ∩ (คล้ายอักษรตัวใหญ่ U กลับหัว)





1 Union ใน Excel

ในตัวอย่างนี้จะเป็นการหา Union โดยการบวกตัวเลข 2 เรนจ เข้าด้วยกัน...ให้สังเกตว่าเราจะใช้สัญลักษณ์ , เป็นตัวคั่นระหว่างข้อมูลสองเรนจดังภาพด้านล่างนี้



แล้วใช้ สูตร SUM ระบุช่วงให้ครอบคลุมทั้งสองเรนจ์ เหมือนการใช้สูตร Sum ทั่วไปทุกอย่าง เช่น
=SUM(B2:C6,C5:D9)  คำตอบที่ได้คือ 98

2 Intersection หาผลรวมของตัวเลขที่ตัดกันภายในกลุ่ม 2 กลุ่มเท่านั้น ส่วนที่ไม่ตัดกันจะไม่เอามาคำนวณ...โดยให้สังเกตว่ามีการเคาะ spacebar 1 ครั้ง เพื่อเป็นการบอก Excel ว่า เราจะทำ Intersection ให้กับข้อมูล 2 เรนจ นี้




เราจะเห็นว่า = S๊UM(B2:C6 C5:D9) มีค่าเท่ากับ = SUM(C5:C6) นั้นเอง
คำตอบที่ได้คือ 9 (เกิดจาก 8+1  นั่นคือนำส่วนที่ตัดกันมาบวกกันเท่านั้น)

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การวางแบบ Paste Special + การ Skip Blanks (การข้ามช่องว่าง)

วันนี้เราจะมาสอนเรื่องของการ Copy แล้ววางแบบ พิเศษ หรือที่เรียกว่า Paste Special กัน โดยใช้คำสั่ง Skip Blanks ที่มีมาให้ในกล่องโต้ตอบ Paste... thumbnail 1 summary
วันนี้เราจะมาสอนเรื่องของการ Copy แล้ววางแบบ พิเศษ หรือที่เรียกว่า Paste Special กัน โดยใช้คำสั่ง Skip Blanks ที่มีมาให้ในกล่องโต้ตอบ Paste Special มาดูซิว่ามัน พิเศษยังไง

1.พิมพ์ค่า 6,7,8,9,10...,20 ลงไปในเซลล์ A1 ถึง A15 ตามภาพด้านล่างนี้
2. พิมพ์ค่า 8 10 12 14 20 22 26 29 ลงไปในเซลล์ B1 ถึง B15 ตามภาพด้านล่างนี้ สังเกตว่าคอลัมน์นี้ มีการพิมพ์ 1 ช่อง เว้น 1 ช่อง



3. เลือก เซลล์ B1 ถึง B15 แล้วคลิ้กขวาแล้วเลือกคำสั่ง Copy


4. คลิ้กที่เซลล์ A1 แล้วคลิ้กขวา...แล้วกดที่คำสั่ง Paste Special... 1 ครั้ง กล่องโต้ตอบก็จะปรากฏขึ้นมา
5. ตรง paste เลือก All
    ตรง Operation เลือก None
    และทำเครื่องหมายถูกที่ Skip blanks
    แล้วกด Ok



6. ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ตัวเลขที่อยู่ในคอลัมน์ B จะเข้าไปแทรกแทนที่ ตัวเลขในคอลัมน์ A ...โดยที่จะข้ามช่องว่างในคอลัมน์ B ไป...กล่าวคือ ช่องไหนในคอลัมน์ B ไม่มีตัวเลข มันก็จะไม่แทนที่ตัวเลขที่อยู่ในช่องคอลัมน์ A ...ดังภาพด้านล่างนี้


วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Excel 2016 กับการหาค่า Fibonacci (ฟีโบนัชซี)

Fibonacci (ฟีโบนัชซี) คือ จำนวนถัดไปเท่ากับผลบวกของจำนวนสองจำนวนก่อนหน้า และสองจำนวนแรกก็คือ 0 และ 1 ตามลำดับ อ่านแล้วงงไหม ผู้เขียน เขียน... thumbnail 1 summary
Fibonacci (ฟีโบนัชซี) คือ จำนวนถัดไปเท่ากับผลบวกของจำนวนสองจำนวนก่อนหน้า และสองจำนวนแรกก็คือ 0 และ 1 ตามลำดับ
อ่านแล้วงงไหม ผู้เขียน เขียนเองยังงงเลย ... เอาเป็นว่าจะยกตัวอย่างให้เห็นก็แล้วกันน่ะ ว่ามันคืออะไร ไอ้ Fibonacci (ฟีโบนัชซี) เนี่ยะ

Fibonacci (ฟีโบนัชซี) จะถูกกำหนดให้ค่าแรกเป็น 0,1 ก่อนเสมอ
ส่วนจำนวนลำดับที่ 3 คือ จำนวนสองจำนวนก่อนหน้า บวกกัน ดังนั้นลำดับเลขตัวต่อไปที่ต่อจาก 0,1, คือ 1 นั่นคือ 0,1,1
โดย 0,1,1 เกิดจาก 0+1=1 ได้เท่ากับ 0,1,1
เลขลำดับที่ 4 คือ 2 เกิดจาก 1+1 ดังนั้น Fibonacci (ฟีโบนัชซี) ตำแหน่งที่ 4 คือ 0,1,1,2
เลขลำดับที่ 5 คือ 3 เกิดจาก 1+2 ดังนั้น Fibonacci (ฟีโบนัชซี) ตำแหน่งที่ 5 คือ 0,1,1,2,3
เลขลำดับที่ 6 คือ 5 เกิดจาก 2+3 ดังนั้น Fibonacci (ฟีโบนัชซี) ตำแหน่งที่ 6 คือ 0,1,1,2,3,5
เลขลำดับที่ 7 คือ 8 เกิดจาก 3+5 ดังนั้น Fibonacci (ฟีโบนัชซี) ตำแหน่งที่ 7 คือ 0,1,1,2,3,5,8
เลขลำดับที่ 8 คือ 13 เกิดจาก 8+5 ดังนั้น Fibonacci (ฟีโบนัชซี) ตำแหน่งที่ 8 คือ 0,1,1,2,3,5,8,13
และลำดับต่อๆไปก็ทำในทำนองเดียวกันครับ หวังว่าคงเข้าใจได้ไม่ยาก

ชื่อของจำนวน Fibonacci(ฟีโบนัชชี) ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลีชื่อ เลโอนาร์โดแห่งปีซา (Leonardo de Pisa) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามฟีโบนัชชี (Fibonacci) ผู้ค้นพบจำนวนฟีโบนัชชีในต้นศตวรรษที่ 13

 การนำไปใช้
จำนวนฟีโบนัชชีมีความสำคัญในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของยูคลีเดียนอัลกอริทึมซึ่งใช้ในการหาตัวหารร่วมมากของจำนวนเต็มสองจำนวน โดยยูคลิเดียนอัลกอริทึมจะทำงานได้ช้าที่สุดถ้าข้อมูลเข้าเป็นจำนวนฟีโบนัชชีสองตัวที่ติดกัน
ยูริ มาทิยาเซวิช พิสูจน์ได้ว่าจำนวนฟีโบนัชชีมีนิยามในรูปของผลเฉลยของสมการไดโอแฟนไทน์ ซึ่งความจริงข้อนี้นำไปสู่การแก้ปัญหาข้อที่ 10 ของฮิลแบร์ท

คร่าวๆ พอน่ะครับ เอาแค่พอเข้าใจ และทราบถึงประโยชน์ของ Fibonacci (ฟีโบนัชชี) ก็พอ
เรามาเข้าเรื่อง Excel กันดีกว่า...เราจะเห็นว่า การหารค่า Fibonacci (ฟีโบนัซซี) ไม่ใช่เรื่องยากเลย แต่ถ้าเราจะมานั่งบวกเองไปเรื่อยๆ ก็คงไม่ใช่เรื่อง มันเสียเวลาเกินไป ... เป็นโปรแกรมเมอร์ก็ต้องทำให้มันง่ายดีกว่า ก็ใช้ Excel นี่แหละ ช่วยหา Fibonacci ให้เลย

การหาค่า Fibonacci (ฟีโบนัชชี) ด้วย Excel 2016 (เวอร์ชั่นอื่นก็ใช้หาได้น่ะ)
1. พิมพ์ 0 ที่เซลล์ a1 แล้วกด Enter
2. พิมพ์ 1 ที่เซลล์ a2 แล้วกด Enter
3. พิมพ์ =A1+A2 แล้วกด Enter จะได้ผลลัพธ์เป็น 1
4. Auto fill เซลล์ A3 ลงไปยังเซลล์ A18 ก็จะได้ผลลัพธ์ดังภาพด้านล่างนี้


วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การสร้าง Custom Lists (รายการแบบกำหนดเอง) ใน Excel 2016

Custom Lists ใน Excel 2016 Custom Lists คือ รายการที่จะปรากฏเมื่อเราทำ Auto fill สิ่งที่ไม่ใช่ สูตร เช่น เราพิมพ์คำว่า "จันทร์" ... thumbnail 1 summary
Custom Lists ใน Excel 2016
Custom Lists คือ รายการที่จะปรากฏเมื่อเราทำ Auto fill สิ่งที่ไม่ใช่ สูตร เช่น
เราพิมพ์คำว่า "จันทร์" ที่เซลล์ A1 แล้วทำการ Auto fill ลงมาที่ เซลล์ A5 เราก็จะได้ค่า Lists ออกมาเป็น
ที่เซลล์ A1 = จันทร์
ที่เซลล์ A2 = อังคาร
ที่เซลล์ A3 = พุธ
ที่เซลล์ A4 = พฤหัสบดี
ที่เซลล์ A5 = ศุกร์
อย่างนี้เป็นต้น
ค่าเหล่านี้ถูกกำหนดไว้แล้วใน Excel เมื่อเรา Auto Fill มันจึงแสดงค่าตามลำดับออกมา
แต่ถ้าหากเราต้องการ สร้าง Lists ขึ้นมาเอง ก็สามารถทำได้เช่นกัน
เช่น ถ้าเราต้องการ สร้าง Lists เกี่ยวกับชื่อเพื่อนของเรา ที่เรียงลำดับตายตัวดังนี้ คือ แนน,นก,น้ำ,หนิง,นุ๊ก
เราต้องสร้าง Custom Lists ขึ้นมา
วิธีการสร้าง Custom Lists ให้ทำดังนี้
 
1. คลิ้กที่เมนู File->Options
2. กล่อง Excel Options จะปรากฏขึ้นมา
3. คลิ้กที่ Advanced
4.เลื่อน สรอลบาร์ลงมาด้านล่าง มองหาคำว่า Edit Custom Lists... ซึ่งอยู่ในส่วน Gerneral
5. เมื่อเห็น Edit Custom Lists แล้ว ให้คลิ้กที่ Edit Custom Lists... 1 ครั้ง
6. กล่องโต้ตอบ Custom Lists จะปรากฏขึ้นมา ให้ใส่ค่า แนน,นก,น้ำ,หนิง,นุ๊ก
ลงไปในส่วนของ List entries :
แนน
นก
น้ำ
หนิง
นุ๊ก

จากนั้นกด Add
7. เมื่อกด Add แล้ว แนน,นก,น้ำ,หนิง,นุ๊ก จะเข้าไปอยู่ใน Custom Lists :



8. ให้เรากด Ok เพื่อปิดกล่อง Custom Lists, กด Ok เพื่อปิดกล่อง Excel Options เป็นอันเสร็จ

การใช้งาน Custom Lists ที่สร้างขึ้นมา 
1. ลองพิมพ์คำว่า แนน ที่เซลล์ A1
2. auto fill คำว่า แนน ที่เซลล์ A1 ลงมายังเซลล์ A5
3. สังเกตผลลัพธ์ที่ได้

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

การหาค่า Average,Count, Numerical Count, Mini, Max, Sum โดยไม่ต้องพิมพ์สูตร (Excel 2016)

การหาค่าบางค่าใน Excel บางทีเราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพิมพ์สูตรเองให้เมื่อย อย่างเช่น การหาค่าเฉลี่ย,การนับจำนวนเซลล์ที่มีตัวเลข,การนับจำนวนเซ... thumbnail 1 summary
การหาค่าบางค่าใน Excel บางทีเราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพิมพ์สูตรเองให้เมื่อย อย่างเช่น การหาค่าเฉลี่ย,การนับจำนวนเซลล์ที่มีตัวเลข,การนับจำนวนเซลล์ที่มีข้อมูล,การหาค่าต่ำสุด,การหาค่าสูงสุด,การหาผลรวม (ผมบวก) ของจำนวนใดๆ...
   Excel อนุญาตให้เรา Select ข้อมูลใน เซลล์นั้นๆ แล้ว ทราบคำตอบของ ผลมรวม,ค่าเฉลี่ย, จำนวนของเซลล์ฺที่มีข้อมูลได้เลย โดยเราแค่เลือกข้อมูลในเซลล์นั้น แล้วมองไปที่ด้านล่าง ตรง Status bar ของ Excel เราก็จะเห็นคำตอบทันที...เพราะ Excel คำนวณค่าเบื้องต้นให้เสร็จสรรพนั่นเอง แต่ข้อมูลอย่างเช่น Count Numerical,Minimux, Maximum หรือบางค่า อาจไม่แสดง เราอยากให้แสดง ก็แค่คลิ้กขวาที่ Status bar ด้านล่างแล้วก็ทำเครื่องหมายถูกหน้าคำสั่ง ที่ต้องการให้ Excel คำนวณผลลัพธ์ให้อัตโนมัติ...ดังภาพด้านล่างนี้ (หากภาพมีขนาดเล็กมองไม่เห็น ให้คลิ้กที่ภาพ เพื่อขยายภาพครับ)




โดย
Average คือ ค่าเฉลี่ยของตัวเลขที่อยู่ในเซลล์ที่เลือกบวกกันแล้วหารจำนวนเซลล์ที่มีตัวเลขอยู่..ในตัวอย่างนี้ จำนวนที่มีตัวเลขอยู่ มีแค่ 5 เซลล์ ดังนั้นบวกตัวเลขทั้งหมดเสร็จแล้วก็หารด้วย 5
Count Numerical คือ จำนวนเซลล์ที่มีตัวเลขอยู่
Count คือ จำนวนเซลล์ที่มีข้อมูลอยู่ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข,ข้อความ,ตัวเลขปนข้อความ หรืออะไรก็ตาม มันนับหมด จากตัวอย่างจะเห็นว่าเซลล์ที่เราเลือก มีข้อมูลอยู่ทั้งหมด... 6 เซลล์ด้วยกัน
Min หรือ Minimum คือ ตัวเลขที่มีค่าน้อยที่สุด
Max หรือ Maximum คือ ตัวเลขที่มีค่ามากที่สุด
Sum คือ ผลบวกของตัวเลขทั้งหมดในเซลล์ที่เราเลือกอยู่

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559

Rept Function In Excel 2016 | ฟังก์ชั่น Rept ใน Excel 2016

ฟังก์ชั่น Rept คือฟังก์ชั่น ที่มีหน้าที่ ทำซ้ำ text ตามจำนวนที่เรากำหนด ไวยากรณ์ (Syntax) ของฟังก์ชั่น Rept คือ Rept(text,number_times) ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชั่น Rept คือฟังก์ชั่น ที่มีหน้าที่ ทำซ้ำ text ตามจำนวนที่เรากำหนด

ไวยากรณ์ (Syntax) ของฟังก์ชั่น Rept คือ Rept(text,number_times)
โดย text คือ โดยที่ text อาจเป็นตัวเลข,ข้อความ,เครื่องหมายพิเศษ หรืออื่น
number_times คือ จำนวนครั้งที่ต้องการให้ copy หรือทำซ้ำ text นั้นออกมา
ตัวอย่างเช่น
=Rept("computer",2) แล้วกด Enter คำตอบที่ได้คือ computercomputer
=Rept("computer ",2) แล้วกด Enter คำตอบที่ได้คือ computer computer

จะสังเกตเห็นว่า Rept ตัวแรก ผลลัพธ์ออกมาเป็น computercomputer ติดกันเลย ไม่มีการเว้นวรรค
Rept ในบรรทัดที่สอง คำตอบคือ computer computer คำตอบออกมา 2 ครั้งและตัวหนังสือไม่ติดกัน
เพราะในบรรทัดที่สองมีการเคาะแป้นเว้นวรรค 1 ครั้ง ที่หลังตัว r นั้นเอง
ส่วนตัวเลขที่ 2 ก็คือ number_times นั่นเอง
หากว่าอยากเห็นคำตอบที่มากขึ้น หลากหลายขึ้นก็แค่ลองเปลี่ยนตัวเลข 2 เป็นเลขอื่น ลองเปลี่ยนคำจาก computer เป็นคำอื่นๆดู..
 




Right Function In Excel 2016 | Excel กับฟังก์ชั่น Right

Excel กับฟังก์ชั่น Right ฟังก์ชั่น Right เป็นฟังก์ชั่นประเภทข้อความ หน้าที่ของฟังก์ชั่น Right คือ ทำหน้าที่ดึงเอาอักขระออกมาจากข้อความ... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น Right

ฟังก์ชั่น Right เป็นฟังก์ชั่นประเภทข้อความ

หน้าที่ของฟังก์ชั่น Right คือ ทำหน้าที่ดึงเอาอักขระออกมาจากข้อความที่ต้องการดึง โดยเราเป็นคนกำหนดเองว่าจะดึงออกมากี่ตัวอักษร

เมื่อคราวที่แล้วเราเคยนำเสนอฟังก์ชั่น Left ที่ใช้ดึงอักขระออกมาจากซ้ายไปขวา

โดยฟังก์ชั่น Right จะดึงเอาอักขระออกมาจากข้อความที่กำหนดจากขวามาซ้าย ฟังก์ชั่นนี้การทำงานไม่ได้ซับซ้อนอะไร หากเราเคยใช้ฟังก์ชั่น Left มาก่อน เราจะเข้าใจฟังก์ชั่น Right ได้ทันที

เรามาดูรูปแบบของฟังก์ชั่น Right ว่ามีรูปแบบอย่างไร

ฟังก์ชั่น Right มีรูปแบบดังนี้

Right(text,num_chars)
หรือ

Right(text,num_bytes)

text คือสายอักขระข้อความที่มีอักขระที่คุณต้องการแยก

num_chars ระบุจำนวนอักขระที่คุณต้องการแยก โดยมีหน่วยเป็นไบต์

เรามาดูตัวอย่างดีกว่าจะได้เข้าใจง่ายขึ้น

1 เปิด Excel ขึ้นมาครับ

2 ที่ Sheet1 ที่เซลล์ A1 ให้เราพิมพ์คำว่า Microsoft Excel 2010

3 ที่เซลล์ B1 พิมพ์ว่า =Right(A1,10) แล้วกด Enter จะได้คำตอบที่ช่อง B1 เป็น Excel 2010

4 ที่เซลล์ B2 พิมพ์ว่า =Right(A1,1) แล้วกด Enter จะได้คำตอบที่ เซลล์ B2 เป็น 0

5 ที่เซลล์ B3 พิมพ์ว่า =Right(A1,2) แล้วกด Enter จะได้คำตอบที่ช่องเซลล์ B3 =10

6 ที่เซลล์ B4 พิมพ์ว่า =Right(A1,3) แล้วกด Enter จะได้คำตอบที่เซลล์ B4 =010

7 ที่เซลล์ B5 พิมพ์ว่า =Right(A1,7) แล้วกด Enter จะได้คำตอบที่เซลล์ B5 = el 2010


จากตัวอย่างที่ยกมาให้เห็น เราจะสังเกตว่า มีการดึงตัวอักษรจากขวามือออกมาแสดง เช่น ในข้อ 7 =Right(A1,7) หมายถึง ว่าให้ดึงตัวอักษรจากขวามือโดยนับจากขวามือตั้งแต่ตัวที่ 1 ถึงตัวที่ 7 นั่นเอง โดยช่องว่างก็นับด้วย

เข้าใจน่ะครับ ไม่มีอะไรยาก...ลองเล่นดูแล้วคุณจะรู้ว่า อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง


Right Function In Excel 2016

วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

Left Function In Excel 2016 | ฟังก์ชั่น Left ใน Excel 2016

ฟังก์ชั่น Left คือ ฟังก์ชัน ของ Excel ที่ใช้ในการดึงอักขระหรือข้อความออกมา..โดยดึงจากด้านซ้ายสุด รูปแบบไวยากรณ์ของฟังก์ชัน Left คือ LEFT... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชั่น Left คือ ฟังก์ชัน ของ Excel ที่ใช้ในการดึงอักขระหรือข้อความออกมา..โดยดึงจากด้านซ้ายสุด
รูปแบบไวยากรณ์ของฟังก์ชัน Left คือ LEFT(text, [num_chars])

โดยที่ text คือ ข้อความ,ตัวเลข,วันที่,ฯลฯ
เช่น computer,the number 78, 56790,internet mobile, Open mind, ฯลฯ

num_chars คือ จำนวนของ text ที่เราต้องการแยกออกมา
เช่น
ที่ A1 มีคำว่า computer อยู่ เราต้องการจะแยกเอาเฉพาะคำว่า com ออกมา...ให้เราพิมพ์สูตรที่ B1 ว่า
=Left(A1,3) แล้วกด Enter ที่เซลล์  B1 จะได้คำตอบเป็น Com อย่างนี้เป็นต้น
คำอธิบาย :
Left(A1,3) หมายถึง ให้ดึงเอา text ออกมา 3 อักขระ โดยเริ่มดึงอักขระจากด้านซ้ายมือ นับไปจนครบ 3 อักขระ โดยที่
C คือ อักขระตัวที่ 1
O คือ อักขระตัวที่ 2
m คือ อักขระตัวที่ 3
p คือ อักขระตัวที่ 4
u คือ อักขระตัวที่ 5
t คือ อักขระตัวที่ 6
e คือ อักขระตัวที่ 7
r คือ อักขระตัวที่ 8

ให้เราลองเปลี่ยนตัวเลข จาก 3 เป็นเลขอื่นดู

...ถ้าเราไม่ใส่ค่า num_chars ลงไป ฟังก์ชั่น Left จะกำหนดให้กลายเป็น 1 อัตโนมัติ เช่น =Left(A1) แล้วกด Enter คำตอบที่ได้คือ C

=Left(A1) กับ =Left(A1,0) ไม่เหมือนกัน
เพราะว่า...
=Left(A1) หมายถึง =Left(A1,1) กล่าวคือ Left(A1) num_chars = 1 (แม้เราจะไม่เขียนก็ตาม)
แต่ Left(A1,0) num_cars = 0

โดยที่ Left(A1) คำตอบคือ c
และ Left(A1,0) คำตอบคือ ช่องว่าง,ค่าว่างๆ (มันไม่ดึงอะไรมาเลย)

ตัวอย่าง สูตร Left เพิ่มเติม
Left Function In Excel 2016

Microsoft Excel : ฟังก์ชั่น GCD (การหา ห.ร.ม ด้วย Excel ) | Greatest Common Divisor (Excel 2016)

ฟังก์ชั่น GCD เป็นฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์ และ ตรีโกณมิติ ประโยชน์ของฟังก์ชั่น GCD คือ ส่งกลับค่าหารร่วมมาก หรือ ห.ร.ม. ของจำนวนเต็มสองหร... thumbnail 1 summary

ฟังก์ชั่น GCD เป็นฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์ และ ตรีโกณมิติ

ประโยชน์ของฟังก์ชั่น GCD คือ ส่งกลับค่าหารร่วมมาก หรือ ห.ร.ม. ของจำนวนเต็มสองหรือมากกว่าสองตัว ตัวหารร่วมมากคือจำนวนเต็มที่มีค่าที่มากสุดซึ่งหารทั้ง number1 และ number2 โดยไม่เหลือเศษ

รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น GCD คือ GCD(number1,number2,…)

Number1, number2, .. คือ ค่า 1 ถึง 29 ค่า ถ้าค่าใดไม่ใช่จำนวนเต็มก็จะถูกปัดเศษทิ้ง

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชั่น GCD คือ ฟังก์ชั่น LCM

เราลองมาสังเกตค่าที่ได้จากการใช้ ฟังก์ชั่น GCD ดูว่า ได้ผลเป็นอย่างไร โดยให้ผู้ใช้พิมพ์ตามตัวอย่างต่อไปนี้ลงบน Microsoft Excel ที่ Sheet 1 ดังต่อไปนี้

• คลิกที่เซลล์ A2 แล้วพิมพ์ Num1 แล้วกด Enter จากนั้นพิมพ์ Num2 แล้วกด Enter

• คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ 3 จากนั้นกด Enter จากนั้นพิมพ์ 4 แล้วกด Enter

• คลิกที่เซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =gcd(b2,b3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1

• คลิกที่เซลล์ C2 แล้วพิมพ์ 12 แล้วกด Enter จากนั้นพิมพ์ 8 แล้วกด Enter

• คลิกที่เซลล์ C5 แล้วพิมพ์ =gcd(c2,c3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 4

• คลิกเซลล์ D2 แล้วพิมพ์ 10 แล้วกด Enter จากนั้นพิมพ์ 1 แล้วกด Enter

• คลิกที่เซลล์ D5 แล้วพิมพ์ =gcd(d2,d3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1

• คลิกเซลล์ E2 แล้วพิมพ์ 8 แล้วกด Enter จากนั้นพิมพ์ 0 แล้วกด Enter

• คลิกที่เซลล์ E5 แล้วพิมพ์ =gcd(e2,e3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 8

• คลิกซลล์ B7 แล้วพิมพ์ 12 แล้วกด Enter จากนั้นพิมพ์ 15 แล้วกด Enter แล้วพิมพ์ 6 แล้วกด Enter

• คลิกที่เซลล์ B11 แล้วพิมพ์ =gcd(b7,b8,b9) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3 ออกมา

ตัวอย่าง ฟังก์ชั่น GCD เพิ่มเติม
 Greatest Common Divisor (GCD) (Excel 2016)


วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

Find Function In Excel 2016 | Excel กับฟังก์ชั่น FIND

Excel กับฟังก์ชั่น FIND ฟังก์ชั่น Find จัดเป็นฟังก์ชั่นด้านข้อความ ทำหน้าที่ คือ ค้นหาสายอักขระข้อความ ภายในสายอักขระข้อความอีกอัน และ... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น FIND
ฟังก์ชั่น Find จัดเป็นฟังก์ชั่นด้านข้อความ

ทำหน้าที่ คือ ค้นหาสายอักขระข้อความ ภายในสายอักขระข้อความอีกอัน และส่งค่าตัวเลขที่เป็นตำแหน่งเริ่มต้นของสายอักขระที่พบ โดยนับจากอักขระแรกของ within_text เรายังสามารถใช้ SEARCH เพื่อค้นหาสายอักขระข้อความภายในสายอักขระข้อความอีกอันได้ โดยมีข้อแตกต่างจาก SEARCH ตรงที่ FIND จะให้ความสำคัญกับตัวพิมพ์ใหญ่ เล็ก แลไม่สามารถใช้สัญลักษณ์ตัวแทนได้

รูปแบบสูตร คือ FIND(find_text,within_text,start_num)

find_text คือ ข้อความที่คุณต้องการค้นหา

within_text
คือ ข้อความที่มีข้อความที่คุณต้องการค้นหา

start_num ใช้ระบุหมายเลขอักขระที่ต้องการให้เริ่มทำการค้นหา โดยอักขระตัวแรกใน within_text เป็นอักขระหมายเลข 1 ถ้าคุณไม่ได้ใส่ค่าให้กับ start_num ก็จะใช้ค่า 1

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง คือ Exact, Len, Mid, Search

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น Find มีดังต่อไปนี้

1 คลิกที่เซลล์ A2 แล้วพิมพ์ Computer Information System จากนั้น Auto Fill ลงมาจนถึงเซลล์ A5

2 คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =find(“C”,a2) และกด Enter จะโชว์ 1

3 คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =find(“s”,a3,2) และกด Enter จะแสดงค่า 24

4 คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =find(“s”,a4,25) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 28

5 คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =find(“S”,a3,2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 22

6 คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =find(“o”,a5,3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 13

7 คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =find(“o”,a5,2) และกด Enter จะแสดงค่า 2

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2559

Format row height and column width in Excel 2016 | การปรับขนาดความสูงของแถว และ ความกว้างของคอลัมน์ ใน Excel 2016

เราสามารถปรับขนาดความสูงของแถว และ ความกว้างของคอลัมน์ ใน Excel ได้ หลายๆวิธี เช่น วิธีง่ายๆเลยคือ    การปรับ ความกว้าง ความยาว ของ Row แ... thumbnail 1 summary
เราสามารถปรับขนาดความสูงของแถว และ ความกว้างของคอลัมน์ ใน Excel ได้ หลายๆวิธี เช่น วิธีง่ายๆเลยคือ
   การปรับ ความกว้าง ความยาว ของ Row และ Column
1. ถ้าเราต้องการจะปรับความสูงของแถว(Row) (แถวในแนวนอน)
เช่น อยากจะปรับความสูงของแถวที่ 2 ให้เราเลื่อน mouse ไปบริเวณเส้นใต้เลข 2 (คือเส้นแบ่งระหว่างแถว 2 กับแถว 3) พอเม้าส์กลายเป็นกากบาทสีดำก็ให้เรากดเม้าส์ซ้ายค้างไว้แล้วลากลงมา...แถว 2 ก็จะสูงขึ้น... ถ้าลากขึ้นไป (ขึ้นไปยังด้านบนตรงที่แถว 1 อยู่) แถวก็จะหดแคบลง

2. ถ้าเราต้องการจะปรับความกว้างของคอลัมน์ (Column) (แถวในแนวตั้ง)
เช่น อยากจะปรับความกว้างของคอลัมน์ B ให้กว้างขึ้น...ก็ให้เราเลื่อนเม้าส์ ไปบริเวณเส้นคั้นระหว่าง B กับ C พอเม้าส์กลายเป็นกากบาทสีดำ ก็ให้เรากดเม้าส์ซ้ายค้างไว้แล้วลากไปทางขวามือ (ลากไปทางฝั่ง C) ก็จะทำให้คอลัมน์ B กว้างขึ้น..กลับกัน ถ้าเราลากมาทางซ้าย คอลัมน์ B ก็จะแคบลงครับ...

                        การปรับ ความกว้าง ความยาว ของ Row และ Column โดยใช้คำสั่งจาก Pop-up menu 

1. ถ้าจะปรับความสูงของแถว 1 ก็ให้เราคลิ้กที่เลข 1 แล้วคลิ้กขวา จากนั้นเลือกคำสั่ง Row Height...
แล้วกรอกค่าที่ต้องการลงไป จากนั้นกด OK  แล้วสังเกตผลที่ได้ว่า แถว กว้างขึ้นหรือแคบลงหรือไม่อย่างไร...
2. ถ้าจะปรับความสูงของคอลัมน์ A ก็ให้เราคลิ้กที่ตัว A แล้วคลิ้กขวา จากนั้นเลือกคำสั่ง Column widths... แล้วกรอกค่าที่ต้องการลงไป แล้วคลิ้กที่ Ok แล้วสังเกตผลที่ได้ว่า คอลัมน์ กว้างหรือแคบลงหรือไม่อย่างไร...


                      การปรับ ความสูงของแถว หรือ ความกว้างของคอลัมน์อีกแบบหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การปรับความสูง ความกว้างให้หดตัวพอดีกับข้อความที่อยู่ในแถวหรือในคอลัมน์นั้นๆ โดยแทนที่จะคลิ้กแล้วลาก อย่างเช่นข้อที่ผ่านมา เราก็เปลี่ยนมาเป็นการ Double click แทน...

How To Do A Strikethrough In Excel (Excel 2016) | การขีดฆ่าตัวอักษรด้วย Excel 2016

ถ้าเราสามารถเข้าถึงตัวจัดการ Font ได้ การจะหาวิธีขีดฆ่าตัวอักษร ก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร แต่บางทีการใช้เม้าส์ คลิ้กเข้าไปยังตัวจัดการ Font ที... thumbnail 1 summary
ถ้าเราสามารถเข้าถึงตัวจัดการ Font ได้ การจะหาวิธีขีดฆ่าตัวอักษร ก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร แต่บางทีการใช้เม้าส์ คลิ้กเข้าไปยังตัวจัดการ Font ที่อยู่ในหน้า แท็บ Home ก็อาจจะสร้างความรำคาญใจให้กับคนที่กับลังปวดนิ้วมือ เช่น ปวดนิ้วชี้ เนื่องจากใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน...การใช้คีย์ลัด หรือ Shortcut จึงเป็นหนทางที่สะดวก เพื่อมือเรายุ่งอยู่กับคีย์บอร์ดเสียส่วนใหญ่

การขีดฆ่าตัวอักษรด้วย Excel 2016 หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า การทำ Strikethrough นั่นเอง ซึ่งก็มีอยู่ 2 วิธี ที่จะนำเสนอ .... จริงๆ แล้วบางคนบอกว่ามันมี 3 หรือ 4 วิธี โดยที่วิธีที่สามคือ การคลิ้กขวาที่ข้อความที่เราต้องการทำตัว ขีดฆ่า แล้วเลือก Format cells... ซึ่งก็สะดวกเช่นกัน และวิธีที่ 4 ก็คงเป็นเรื่องของการเขียนโค้ดด้วย vba เป็นต้น
แต่ในวิดีโอด้านล่างนี้ เราจะสาธิตวิธีที่ 1 และ 2 นั่นคือ
1. การเข้าถึงแท็บ Format cells... โดยการใช้เม้าคลิ้กที่ แท็บ Home แล้วไปในส่วนของการจัดการ Font
2. การใช้ Shortcut key หรือการกดแป้นลัด โดยกด Ctrl+5 โดยที่ เลข 5 คือเลข 5 ที่อยู่ฝั่งตัวอักษรน่ะครับ ไม่ใช่อยู่ฝั่ง Numlock...โดยเราต้องเลือกอักษรที่ต้องการทำตัวขีดฆ่าก่อน จากนั้นก็กด ctrl+5 หนึ่งครั้ง..ตัวอักษรหรือข้อความที่ถูกเลือกก็จะกลายเป็นตัวขีดฆ่า...เมื่อเรากด Ctrl+5 อีกครั้ง Excel ก็จะยกเลิกการขีดฆ่าตัวอักษรนั้น...การใช้คีย์ลัดสะดวกรวดเร็วเช่นนี้เอง

วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2559

การแทรกแถว (Row) หรือ คอลัมน์ (Column) จำนวนมากๆ ใน 1 คลิ้ก

การแทรกแถว หรือ คอลัมน์ ใน Excel เราทราบดีว่าต้องคลิ้กที่แถวใดๆหรือคอลัมน์ใดๆ จากนั้นคลิ้กขวา 1 ครั้งแล้วคลิ้กที่ Insert แถว หรือ คอลัมน์ ก... thumbnail 1 summary
การแทรกแถว หรือ คอลัมน์ ใน Excel เราทราบดีว่าต้องคลิ้กที่แถวใดๆหรือคอลัมน์ใดๆ จากนั้นคลิ้กขวา 1 ครั้งแล้วคลิ้กที่ Insert แถว หรือ คอลัมน์ ก็จะเพิ่มขึ้นมา 1 แถวเสมอ

การเพิ่มแถวหลายๆ แถว โดยการกดคำสั่ง Insert เพียงครั้งเดียว ให้เราทำดังนี้
1. เลือกแถวมากกว่า 1 แถว เช่น ในภาพด้านล่างนี้ เราต้องการเพิ่มแถว 3 แถวเหนือ 1,2,3 ก็ให้เราเลือก แถว 1,2,3
2. จากนั้นคลิ้กขา แล้วคลิ้กที่คำสั่ง Insert ดังภาพด้านล่างนี้


3. เมื่อเราคลิ้กที่คำสั่ง Insert แล้ว เราก็จะได้ แถว 3 แถว เพิ่มขึ้นมา เหนือแถว 1,2,3 ดังภาพด้านล่างนี้
เราจะเห็นว่า การแทรกแถวหลายๆแถว มีหลักการคือ เลือกแถวหลายๆแถว แล้วใช้คำสั่ง insert ปกติ ก็จะได้ แถวเพิ่มมาหลายๆแถวตามจำนวนที่เราเลือกแถวไว้แล้ว...ง่ายดีประหยัดเวลาด้วย..เหมาะสำหรับมือใหม่อย่างยิ่ง...
ส่วนการเพิ่มคอลัมน์ (Column) หลายๆคอลัมน์ ก็ใช้หลักการเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนจากเลือกแถวแนวนอน มาเป็นเลือกแบบแถวแนวตั้งแทน (Column) แค่นั้นเองครับ..

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2559

แปลงตัวเลขเป็นคำอ่านภาษาอังกฤษ (Convert a numeric value into English words in Excel 2016)

ไม่ได้อัพเดทบทความเสียนานหลายเดือน เนื่องจากมีงานอื่นต้องทำมากโข วันนี้เราจะนำเสนอเรื่องของ VBA Excel กันเสียที...ช่วงก่อนหน้านี้จะอัพ... thumbnail 1 summary


ไม่ได้อัพเดทบทความเสียนานหลายเดือน เนื่องจากมีงานอื่นต้องทำมากโข วันนี้เราจะนำเสนอเรื่องของ VBA Excel กันเสียที...ช่วงก่อนหน้านี้จะอัพเดทเรื่องของการใช้งานฟังก์ชั่น Excel หรือ สูตร Excel เสียมากกว่า ไม่ค่อยได้เกี่ยวข้องกับการใช้ VBA เลย...โดยเนื้อหาในวันนี้จะเป็นเรื่องของ การแปลงตัวเลขให้เป็นคำอ่านภาษาอังกฤษ...

โดยปกติแล้ว Excel มีฟังก์ชั่นที่ชื่อว่า Bahttext เพื่อใช้เปลี่ยนตัวเลขให้เป็นคำอ่านแบบภาษาไทย เช่น

=Bahttext(50) กด Enter ก็จะได้ ห้าสิบบาทถ้วน

=Bahttext(70) กด Enter ก็จะได้ เจ็ดสิบบาทถ้วน

=Bahttext(153.25) กด Enter ก็จะได้ หนึ่งร้อยห้าสิบสามบาทยี่สิบห้าสตางค์ อย่างนี้เป็นต้น

คำถามคือว่า แล้วเราจะทำยังไงให้ มันอ่านตัวเลขเป็นภาษาอังกฤษ เช่น

เลข 100 มันก็จะอ่านว่า One Hundred

เลข 10 มันก็จะอ่านว่า Ten

เลข 5 มันก็จะอ่านว่า Five  อย่างนี้เป็นต้น

จากปัญหานี้ เมื่อเราลองเช็คที่ Excel เราพบว่า ไม่มีฟังก์ชั่นใดๆเลยใน Excel ที่สามารถแปลงตัวเลขให้เป็นคำอ่านภาษาอังกฤษ...ทางออกของเรื่องนี้คือ VBA หรือ การเขียนโปรแกรมควบคุม Excel ด้วย โปรแกรม Visual Basic for Application ที่ฝั่งอยู่ใน Microsoft Office Excel ทุกเวอร์ชั่น

ขั้นตอนการใช้งาน เขียนโปแกรม แปลงตัวเลขเป็นคำอ่านภาษาอังกฤษ

1 เปิดโปรแกรม Microsoft Excel ขึ้นมา

2 พิมพ์ 10 ที่เซลล์ A1 แล้วกด Enter
   พิมพ์ 50.25 ที่เซลล์ A2 แล้วกด Enter

   พิมพ์ 1720.03 ที่เซลล์ A3 แล้วกด Enter

   พิมพ์ 29384 ที่เซลล์ A4 แล้วกด Enter
   พิมพ์ 5 ที่เซลล์ A5 แล้วกด Enter
เราก็จะได้ข้อมูลดังภาพด้านล่างนี้...ให้เราขยายคอลัมน์ B
ให้มีความกว้างพอสมควรเพื่อรองรับคำอ่านที่อาจจะมีความยาวเกินขอบเขตคอลัมน์ (ดูภาพประกอบ)



3. กด ALT ค้างไว้แล้วกดปุ่ม F11 แล้วปล่อยปุ่มทั้งสอง
   โปรแกรม Microsoft Visual Basic จะเปิดตัวขึ้นมาตามภาพด้านล่างนี้


4 คลิ้กขวาบริเวณพื้นที่สีขาวว่างๆ แล้วคิล้กที่คำสั่ง


5 Copy โค๊ดด้านล่างนี้

Option Explicit

'Main Function

Function ConvertNumberToWord(ByVal MyNumber)

    Dim Dollars, Cents, Temp
    Dim DecimalPlace, Count
    ReDim Place(9) As String
    Place(2) = " Thousand "
    Place(3) = " Million "
    Place(4) = " Billion "
    Place(5) = " Trillion "
    ' String representation of amount.
    MyNumber = Trim(Str(MyNumber))
    ' Position of decimal place 0 if none.
    DecimalPlace = InStr(MyNumber, ".")
    ' Convert cents and set MyNumber to dollar amount.
    If DecimalPlace > 0 Then
        Cents = GetTens(Left(Mid(MyNumber, DecimalPlace + 1) & _
                  "00", 2))
        MyNumber = Trim(Left(MyNumber, DecimalPlace - 1))
    End If
    Count = 1
    Do While MyNumber <> ""
        Temp = GetHundreds(Right(MyNumber, 3))
        If Temp <> "" Then Dollars = Temp & Place(Count) & Dollars
        If Len(MyNumber) > 3 Then
            MyNumber = Left(MyNumber, Len(MyNumber) - 3)
        Else
            MyNumber = ""
        End If
        Count = Count + 1
    Loop
    Select Case Dollars
        Case ""
            Dollars = "No Dollars"
        Case "One"
            Dollars = "One Dollar"
         Case Else
            Dollars = Dollars & " Dollars"
    End Select
    Select Case Cents
        Case ""
            Cents = " "
        Case "One"
            Cents = " and One Cent"
              Case Else
            Cents = " and " & Cents & " Cents"
    End Select
    ConvertNumberToWord = Dollars & Cents
End Function
      
' Converts a number from 100-999 into text
Function GetHundreds(ByVal MyNumber)
    Dim Result As String
    If Val(MyNumber) = 0 Then Exit Function
    MyNumber = Right("000" & MyNumber, 3)
    ' Convert the hundreds place.
    If Mid(MyNumber, 1, 1) <> "0" Then
        Result = GetDigit(Mid(MyNumber, 1, 1)) & " Hundred "
    End If
    ' Convert the tens and ones place.
    If Mid(MyNumber, 2, 1) <> "0" Then
        Result = Result & GetTens(Mid(MyNumber, 2))
    Else
        Result = Result & GetDigit(Mid(MyNumber, 3))
    End If
    GetHundreds = Result
End Function
      
' Converts a number from 10 to 99 into text.
Function GetTens(TensText)
    Dim Result As String
    Result = ""           ' Null out the temporary function value.
    If Val(Left(TensText, 1)) = 1 Then   ' If value between 10-19...
        Select Case Val(TensText)
            Case 10: Result = "Ten"
            Case 11: Result = "Eleven"
            Case 12: Result = "Twelve"
            Case 13: Result = "Thirteen"
            Case 14: Result = "Fourteen"
            Case 15: Result = "Fifteen"
            Case 16: Result = "Sixteen"
            Case 17: Result = "Seventeen"
            Case 18: Result = "Eighteen"
            Case 19: Result = "Nineteen"
            Case Else
        End Select
    Else                                 ' If value between 20-99...
        Select Case Val(Left(TensText, 1))
            Case 2: Result = "Twenty "
            Case 3: Result = "Thirty "
            Case 4: Result = "Forty "
            Case 5: Result = "Fifty "
            Case 6: Result = "Sixty "
            Case 7: Result = "Seventy "
            Case 8: Result = "Eighty "
            Case 9: Result = "Ninety "
            Case Else
        End Select
        Result = Result & GetDigit _
            (Right(TensText, 1))  ' Retrieve ones place.
    End If
    GetTens = Result
End Function
     
' Converts a number from 1 to 9 into text.
Function GetDigit(Digit)
    Select Case Val(Digit)
        Case 1: GetDigit = "One"
        Case 2: GetDigit = "Two"
        Case 3: GetDigit = "Three"
        Case 4: GetDigit = "Four"
        Case 5: GetDigit = "Five"
        Case 6: GetDigit = "Six"
        Case 7: GetDigit = "Seven"
        Case 8: GetDigit = "Eight"
        Case 9: GetDigit = "Nine"
        Case Else: GetDigit = ""
    End Select
End Function

6 คลิกขวาที่พื้นที่ขาวๆ บน Module แล้วคลิ้กวาง โค้ดลงไปก็จะได้โค้ดเข้าไปใน Module ดังภาพด้านล่างนี้




7 กด ALT+F11 อีกครั้งเพื่อกลับมาที่ Excel

8 ที่ เซลล์ B1 พิมพ์สูตรว่า  =ConvertNumberToWord(A1)

  แล้ว Copy สูตรลงมาถึง เซลล์ B5 เราก็จะได้คำตอบดังภาพด้านล่างนี้