Excel กับ ฟังก์ชั่น DSUM
DSUM เป็นฟังก์ชั่นประเภทฐานข้อมูล ทำหน้าที่ บวกจำนวนในคอลัมน์ในรายการ หรือในฐานข้อมูลที่ตรงกับเงื่อนไขที่คุณระบุ
รูปแบบของ ฟังก์ชั่น DSUM คือ DSUM(database, field, criteria)
Database คือ ช่วงของเซลล์ที่ประกอบขึ้นเป็นรายการหรือฐานข้อมูลโดยรายการข้อมูลที่สัมพันธ์กันที่อยู่ในแถวของข้อมูลที่สัมพันธ์กันเรียกว่า ระเบียน และคอลัมน์ของข้อมูลที่เรียกว่า เขตข้อมูล ซึ่งแถวแรกของรายการประกอบด้วยป้ายชื่อของแต่ละคอลัมน์
Field ทำหน้าที่บ่งชี้คอลัมน์ที่ถูกใช้ในฟังก์ชั่น โดยอาจจะกำหนดเป็นข้อความโดยใช้ป้ายชื่อคอลัมน์ที่คร่อมด้วยเครื่องหมายอัญประกาศคู่ เช่น “อายุ” หรือ “ผลตอบแทน” หรือกำหนดเป็นตัวเลขที่แสดงถึงตำแหน่งของคอลัมน์ภายในรายการ เช่น 1 หมายถึง คอลัมน์แรก ส่วน 2 หมายถึง คอลัมน์ที่สอง และต่อๆไป
Criteria คือ ช่วงของเซลล์ที่มีเงื่อนไขตามที่คุณระบุ โดยสามารถใช้ช่วงใดก็ได้เป็นอาร์กิวเมนต์ของเกณฑ์ ตราบใดที่ช่วงนั้นมีป้ายชื่อคอลัมน์อย่างน้อยหนึ่งคอลัมน์ และมีเซลล์อย่างน้อยหนึ่งเซลล์อยู่ใต้ป้ายชื่อคอลัมน์ที่ใช้ในการระบุเงื่อนไขให้กับคอลัมน์
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น DSUM
1. ระบายเซลล์ A1:A7 แล้วพิมพ์ Name และกด Enter พิมพ์ Somboon และกด Enter พิมพ์ Amorn และกด Enter
2. พิมพ์ Boripat และกด Enter พิมพ์ Pipat และกด Enter พิมพ์ Pirat และกด Enter พิมพ์ Chonticha และกด Enter
3. ระบายเซลล์ B1:B7 แล้วพิมพ์ Province และกด Enter พิมพ์ Bangkok และกด Enter พิมพ์ Bangkok และกด Enter
4. พิมพ์ Bangkok และกด Enter พิมพ์ Rayong และกด Enter พิมพ์ Chonburi และกด Enter พิมพ์ Rayong และกด Enter
5. ระบายเซลล์ C1:C7 แล้วพิมพ์ Amount และกด Enter พิมพ์ 12000 และกด Enter พิมพ์ 25000 และกด Enter
6. พิมพ์ 14000 และกด Enter พิมพ์ 3000 แล้วกด Enter พิมพ์ 15000 และกด Enter พิมพ์ 30000 และกด Enter
7. ระบายเซลล์ A1:C1 แล้ว Copy ไปยังเซลล์ A9
8. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ Rayong
9. คลิกเซลล์ C12 แล้วพิมพ์ =dsum(a1:c7,c1, a9:c10) และกด Enter จะแสดงค่า 33000
10. หากคลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ Bangkok และกด Enter ที่เซลล์ C12 จะแสดงค่า 51000
11. คลิกเซลล์ C10 แล้วพิมพ์ <=20000 และกด Enter ที่เซลล์ C12 จะแสดงค่า 26000
DSUM เป็นฟังก์ชั่นประเภทฐานข้อมูล ทำหน้าที่ บวกจำนวนในคอลัมน์ในรายการ หรือในฐานข้อมูลที่ตรงกับเงื่อนไขที่คุณระบุ
รูปแบบของ ฟังก์ชั่น DSUM คือ DSUM(database, field, criteria)
Database คือ ช่วงของเซลล์ที่ประกอบขึ้นเป็นรายการหรือฐานข้อมูลโดยรายการข้อมูลที่สัมพันธ์กันที่อยู่ในแถวของข้อมูลที่สัมพันธ์กันเรียกว่า ระเบียน และคอลัมน์ของข้อมูลที่เรียกว่า เขตข้อมูล ซึ่งแถวแรกของรายการประกอบด้วยป้ายชื่อของแต่ละคอลัมน์
Field ทำหน้าที่บ่งชี้คอลัมน์ที่ถูกใช้ในฟังก์ชั่น โดยอาจจะกำหนดเป็นข้อความโดยใช้ป้ายชื่อคอลัมน์ที่คร่อมด้วยเครื่องหมายอัญประกาศคู่ เช่น “อายุ” หรือ “ผลตอบแทน” หรือกำหนดเป็นตัวเลขที่แสดงถึงตำแหน่งของคอลัมน์ภายในรายการ เช่น 1 หมายถึง คอลัมน์แรก ส่วน 2 หมายถึง คอลัมน์ที่สอง และต่อๆไป
Criteria คือ ช่วงของเซลล์ที่มีเงื่อนไขตามที่คุณระบุ โดยสามารถใช้ช่วงใดก็ได้เป็นอาร์กิวเมนต์ของเกณฑ์ ตราบใดที่ช่วงนั้นมีป้ายชื่อคอลัมน์อย่างน้อยหนึ่งคอลัมน์ และมีเซลล์อย่างน้อยหนึ่งเซลล์อยู่ใต้ป้ายชื่อคอลัมน์ที่ใช้ในการระบุเงื่อนไขให้กับคอลัมน์
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น DSUM
1. ระบายเซลล์ A1:A7 แล้วพิมพ์ Name และกด Enter พิมพ์ Somboon และกด Enter พิมพ์ Amorn และกด Enter
2. พิมพ์ Boripat และกด Enter พิมพ์ Pipat และกด Enter พิมพ์ Pirat และกด Enter พิมพ์ Chonticha และกด Enter
3. ระบายเซลล์ B1:B7 แล้วพิมพ์ Province และกด Enter พิมพ์ Bangkok และกด Enter พิมพ์ Bangkok และกด Enter
4. พิมพ์ Bangkok และกด Enter พิมพ์ Rayong และกด Enter พิมพ์ Chonburi และกด Enter พิมพ์ Rayong และกด Enter
5. ระบายเซลล์ C1:C7 แล้วพิมพ์ Amount และกด Enter พิมพ์ 12000 และกด Enter พิมพ์ 25000 และกด Enter
6. พิมพ์ 14000 และกด Enter พิมพ์ 3000 แล้วกด Enter พิมพ์ 15000 และกด Enter พิมพ์ 30000 และกด Enter
7. ระบายเซลล์ A1:C1 แล้ว Copy ไปยังเซลล์ A9
8. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ Rayong
9. คลิกเซลล์ C12 แล้วพิมพ์ =dsum(a1:c7,c1, a9:c10) และกด Enter จะแสดงค่า 33000
10. หากคลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ Bangkok และกด Enter ที่เซลล์ C12 จะแสดงค่า 51000
11. คลิกเซลล์ C10 แล้วพิมพ์ <=20000 และกด Enter ที่เซลล์ C12 จะแสดงค่า 26000