สูตรเอ็กเซลการแลกแบงค์
ต้องขอบอกก่อนว่า สูตรที่ใช้ในการแลกแบ็งค์ใน Excel ไม่มี..เพราะว่าปัญหาแบบนี้มันเป็นปัญหาที่เราต้องแก้ไปตามเงื่อนไข เป็นกรณีๆไป แต่เราก็สามารถใช้ Excel จัดการปัญหาพวกนี้ได้ โดยใช้ฟังก์ชั่นที่ Excel เตรียมมาให้เป็นตัวชวย ฟังก์ชั่นที่เป็นตัวช่วยสำหรับเรื่องการแลกเงินนั้น มีอยู่ไม่กี่ฟังก์ชั่น นอกนั้นก็ใช้ บวก ลบ คูณ หาร ปกติก็ใช้ได้แล้ว ฟังก์ชั่นที่ว่าคือ ฟังก์ชั่น Mod ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นในการหาร แล้วเอาเศษมาเป็นคำตอบ เช่น ถ้าเราป้อนสูตรว่า =mod(20,2) ที่ช่อง a1 แล้วกด Enter ที่ช่อง a1 ก็จะได้คำตอบออกมาว่า 0.....หมายความว่า 20/2 ลงตัว (นั่นคือเหลือเศษ 0....0 จึงเป็นคำตอบสำหรับการใช้ Mod) อย่างนี้เป็นต้น....แล้วเราก็ใช้ if ช่วยตรวจสอบต่อไป
ปัญหาอย่างหนึ่งของมนุษย์เราก็คือเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ไม่จบไม่สิ้นตั้งแต่เกิดยันแก่ตาย ต้องยุ่งเกี่ยวกับการทำมาหาเงินทั้งสิ้น แม้แต่เรื่องทอนเงินก็ยังมีปัญหา สมมุติเรามีเงินอยู่ 100 บาท เราอยากจะเอาเงิน 100 บาทเนี่ย ไปแลกเป็นแบงค์ 20 บาท ถามว่าจะได้ กี่ใบ คำตอบก็ง่ายมาก ไม่ต้องใช้เครื่องคิดเลขก็คิดได้ ตอบ 5 ใบ ครบ 100 บาท พอดี..แต่ทีนี้คนเรามันยังวุ่นวายไม่พอ มันมีความต้องการเพิ่มตลอดเวลา..จากปัญหาเดิม อยากจะแลกเงินอีกนั่นแหละ แต่ว่าคราวนี้สมมติว่าเป็นเงินสัก 355 แต่ว่าอยากทราบว่าจะได้แบงค์ 20 บาท กี่ใบ และเหรียญ 10 กี่เหรียญ แล้วเหลือเศษกี่บาท หลังจากแลกเป็นแบ็งค์ 20 เหรียญ 10 แล้ว...ถ้าตัวเลขน้อยๆมันจะไม่ค่อยมีปัญหาหรอกครับ อย่างเช่นเราไปซื้อของที่ห้าง หรือ ที่ 7 11 (เซเว่น) เงินที่เราไปแลกไม่ค่อยเยอะหรอกครับ...เราสามารถคิดได้อย่างรวดเร็วด้วยสมองเรานี่แหละ เครื่องคิดเลขไม่ต้อง...แล้วไอ้ปัญหาแลกเงินๆ ทองนี่มันไปเกิดกับใครกันละ...คำตอบคือ มันก็เกิดกับพวกธนาคารบ้าง, หรือใครที่ทำการค้า มีเงินเยอะ ต้องแลกเงิน เป็นเศษๆแบบนี้เยอะๆบ่อยๆ บางทีมีคนมาขอแลกเงิน แล้วก็มากำหนดเงื่อนไขให้เราต้องหามาแลกให้ (ทำไมเราต้องตามใจมันว่ะ) อย่างนี่เป็นต้น
อย่างเช่น บางคนก็อยากได้แบ็งค์ 50 แบ็งค์ 100 เหรียญบาท เหรียญ 10 เหรียญ 5 บาท หรือแม้แต่กระทั่ง เศษสตางค์ ก็มีคนมาขอแลกเป็น 50 สตางค์ 25 สตางค์อย่างนี้เป็นต้น
เขียนมาซะยืดยาวยังไม่ได้ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆสักตัวอย่างเลย...ว่าแล้วเรามายกตัวอย่างการใช้ Excel แลกเงินตามเงื่อนไขที่กำหนดกันดีกว่า
ในตัวอย่างนี้ เราจะกำหนดเงื่อนไขว่า เมื่อผู้ใช้ป้อนจำนวนเงินลงไปต้องเป็นจำนวนเต็มห้ามมีจุดทศนิยมน่ะ....จะให้โปรแกรมแจ้งมาให้ทราบว่า จะแลกแบ็งค์ 20 ได้กี่ใบ เหรียญ 10 กี่เหรียญ และ เหลือเศษกี่บาท ...ตามนี้เลยน่ะ
1 เปิด Excel ขึ้นมาครับ
2 ที่เซลล์ a1 ให้พิมพ์ว่า “จำนวนเงินทั้งหมดที่ป้อนเข้ามา”
3 ที่เซลล์ b1 ให้พิมพ์ว่า “จำนวนแบงค์ 20 ที่ได้ (ใบ)”
4 ที่เซลล์ c1 ให้พิมพ์ว่า “จำนวนเหรียญ 10 (เหรียญ)”
5 ที่เซลล์ D1 ให้พิมพ์ว่า “เศษเงินที่เหลือ (บาท)”
6 ที่เซลล์ A2 ให้ใส่ตัวเลขลงไป สมมุติว่าใส่เลข 7895464
7 ที่เซลล์ B2 ให้พิมพ์สูตรว่า =INT(A2/20) แล้วกด Enter จะได้คำตอบเป็น 394773
8 ที่เซลล์ C2 ให้พิมพ์สูตรว่า =IF((MOD(A2/20,1)*20)=10,1,INT((MOD(A2/20,1)*20)/10))แล้วกด Enter จะได้คำตอบเป็น 0
9 ที่เซลล์ D2 ให้พิมพ์สูตรว่า =MOD((MOD(A2/20,1)*20)/10,1)*10 แล้วกด Enter จะได้คำตอบเป็น 4
จบแล้วครับ เราก็จะสามารถแก้ปัญหาตามที่โจทย์กำหนดได้แล้วครับ...ให้ลองเปลี่ยนตัวเลขในเซลล์ A2 ดูครับแล้วดูผลลัพธ์ว่าเป็นยังไง
อย่างเช่น บางคนก็อยากได้แบ็งค์ 50 แบ็งค์ 100 เหรียญบาท เหรียญ 10 เหรียญ 5 บาท หรือแม้แต่กระทั่ง เศษสตางค์ ก็มีคนมาขอแลกเป็น 50 สตางค์ 25 สตางค์อย่างนี้เป็นต้น
เขียนมาซะยืดยาวยังไม่ได้ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆสักตัวอย่างเลย...ว่าแล้วเรามายกตัวอย่างการใช้ Excel แลกเงินตามเงื่อนไขที่กำหนดกันดีกว่า
ในตัวอย่างนี้ เราจะกำหนดเงื่อนไขว่า เมื่อผู้ใช้ป้อนจำนวนเงินลงไปต้องเป็นจำนวนเต็มห้ามมีจุดทศนิยมน่ะ....จะให้โปรแกรมแจ้งมาให้ทราบว่า จะแลกแบ็งค์ 20 ได้กี่ใบ เหรียญ 10 กี่เหรียญ และ เหลือเศษกี่บาท ...ตามนี้เลยน่ะ
1 เปิด Excel ขึ้นมาครับ
2 ที่เซลล์ a1 ให้พิมพ์ว่า “จำนวนเงินทั้งหมดที่ป้อนเข้ามา”
3 ที่เซลล์ b1 ให้พิมพ์ว่า “จำนวนแบงค์ 20 ที่ได้ (ใบ)”
4 ที่เซลล์ c1 ให้พิมพ์ว่า “จำนวนเหรียญ 10 (เหรียญ)”
5 ที่เซลล์ D1 ให้พิมพ์ว่า “เศษเงินที่เหลือ (บาท)”
6 ที่เซลล์ A2 ให้ใส่ตัวเลขลงไป สมมุติว่าใส่เลข 7895464
7 ที่เซลล์ B2 ให้พิมพ์สูตรว่า =INT(A2/20) แล้วกด Enter จะได้คำตอบเป็น 394773
8 ที่เซลล์ C2 ให้พิมพ์สูตรว่า =IF((MOD(A2/20,1)*20)=10,1,INT((MOD(A2/20,1)*20)/10))แล้วกด Enter จะได้คำตอบเป็น 0
9 ที่เซลล์ D2 ให้พิมพ์สูตรว่า =MOD((MOD(A2/20,1)*20)/10,1)*10 แล้วกด Enter จะได้คำตอบเป็น 4
จบแล้วครับ เราก็จะสามารถแก้ปัญหาตามที่โจทย์กำหนดได้แล้วครับ...ให้ลองเปลี่ยนตัวเลขในเซลล์ A2 ดูครับแล้วดูผลลัพธ์ว่าเป็นยังไง