Excel กับฟังก์ชั่น NPER
ฟังก์ชั่น NPER ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าจำนวนคาบเวลาทั้งหมดในการชำระเงินสำหรับการลงทุน จำนวนดังกล่าวถูกคำนวณโดยมีพื้นฐานอยู่บนการชำระเงินเป็นงวด ยอดการชำระเงินที่คงที่ และอัตราดอกเบี้ยต่อคาบเวลาที่คงที่
รูปแบบสูตรคือ NPER(rate,pmt,pv,fv,type)
rate คือ อัตราดอกเบี้ยต่องวด
pmt คือ ยอดการชำระเงินในแต่ละงวด ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยทั่วไป pmt จะรวมเงินต้นและดอกเบี้ยเข้าด้วยกัน แต่จะไม่รวมอากรและภาษี
pv คือ มูลค่าปัจจุบันหรือเงินก้อนที่มีค่าเท่ากับการชำระในอนาคตแต่ละงวด รวมกัน
fv คือ มูลค่าอนาคต หรือ ดุลเงินสดที่คุณต้องการให้เป็นหลังจากได้ชำระเงิน งวดสุดท้ายแล้ว ถ้าละไว้จะถือว่า fv เท่ากับ 0 (ตัวอย่างเช่น มูลค่าอนาคตของหนี้สินเท่ากับ 0)
type คือ ตัวเลข 0 หรือ 1 ซึ่งใช้บ่งชี้กำลังกำหนดชำระเงิน
ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง : FV, IPMT, PMT, PPMT, PV, RATE
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น NPER ให้ลองทำตามสูตรต่อไปนี้
1. ระบายเซลล์ A2:A6 แล้วพิมพ์ Rate และกด Enter พิมพ์ PMT แล้วกด Enter พิมพ์ PV แล้วกด Enter พิมพ์ FV แล้วกด Enter พิมพ์ Type แล้วกด Enter
2. ระบายเซลล์ B2:B5 แล้วพิมพ์ 4% แล้วกด Enter พิมพ์-100 แล้วกด Enter
3. คลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =nper(b2,b3,b4,b5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 32.45646
4. หากต้องการฝากเงินทุกเดือนและต้องการหาอัตราดอกเบี้ยให้ใช้สูตร =nper(b2/12,b3,b4,b5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 76.59505 ซึ่งหมายถึงจะต้องฝากทั้งหมด 76 งวด หากกำหนดสูตรเพิ่มเป็น =nper(b2/12,b3,b4,b5)/12 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 6.382921 จะตก 6 ปีเศษ ซึ่งจะขึ้นกับการคิดว่าจะคิดเป็นเดือน เป็นปีหรือเป็นสัปดาห์
5. หากพิมพ์ -200 ที่เซลล์ B3 แล้วกด Enter ซึ่งหมายถึงฝากเงินงวดละ 200 บาท ผลที่เซลล์ B7 จะแสดงค่า 41.35519 หมายถึง 41 งวด ถึงจะได้เงินฝากพร้อมดอกเบี้ย 4% เป็นเงิน 10000 บาท
ฟังก์ชั่น NPER ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าจำนวนคาบเวลาทั้งหมดในการชำระเงินสำหรับการลงทุน จำนวนดังกล่าวถูกคำนวณโดยมีพื้นฐานอยู่บนการชำระเงินเป็นงวด ยอดการชำระเงินที่คงที่ และอัตราดอกเบี้ยต่อคาบเวลาที่คงที่
รูปแบบสูตรคือ NPER(rate,pmt,pv,fv,type)
rate คือ อัตราดอกเบี้ยต่องวด
pmt คือ ยอดการชำระเงินในแต่ละงวด ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยทั่วไป pmt จะรวมเงินต้นและดอกเบี้ยเข้าด้วยกัน แต่จะไม่รวมอากรและภาษี
pv คือ มูลค่าปัจจุบันหรือเงินก้อนที่มีค่าเท่ากับการชำระในอนาคตแต่ละงวด รวมกัน
fv คือ มูลค่าอนาคต หรือ ดุลเงินสดที่คุณต้องการให้เป็นหลังจากได้ชำระเงิน งวดสุดท้ายแล้ว ถ้าละไว้จะถือว่า fv เท่ากับ 0 (ตัวอย่างเช่น มูลค่าอนาคตของหนี้สินเท่ากับ 0)
type คือ ตัวเลข 0 หรือ 1 ซึ่งใช้บ่งชี้กำลังกำหนดชำระเงิน
ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง : FV, IPMT, PMT, PPMT, PV, RATE
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น NPER ให้ลองทำตามสูตรต่อไปนี้
1. ระบายเซลล์ A2:A6 แล้วพิมพ์ Rate และกด Enter พิมพ์ PMT แล้วกด Enter พิมพ์ PV แล้วกด Enter พิมพ์ FV แล้วกด Enter พิมพ์ Type แล้วกด Enter
2. ระบายเซลล์ B2:B5 แล้วพิมพ์ 4% แล้วกด Enter พิมพ์-100 แล้วกด Enter
3. คลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =nper(b2,b3,b4,b5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 32.45646
4. หากต้องการฝากเงินทุกเดือนและต้องการหาอัตราดอกเบี้ยให้ใช้สูตร =nper(b2/12,b3,b4,b5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 76.59505 ซึ่งหมายถึงจะต้องฝากทั้งหมด 76 งวด หากกำหนดสูตรเพิ่มเป็น =nper(b2/12,b3,b4,b5)/12 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 6.382921 จะตก 6 ปีเศษ ซึ่งจะขึ้นกับการคิดว่าจะคิดเป็นเดือน เป็นปีหรือเป็นสัปดาห์
5. หากพิมพ์ -200 ที่เซลล์ B3 แล้วกด Enter ซึ่งหมายถึงฝากเงินงวดละ 200 บาท ผลที่เซลล์ B7 จะแสดงค่า 41.35519 หมายถึง 41 งวด ถึงจะได้เงินฝากพร้อมดอกเบี้ย 4% เป็นเงิน 10000 บาท