วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน VARP และวิธีการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน VARP และวิธีการใช้งาน (Excel 2010) ฟังก์ชัน VARP เป็นฟังก์ชันทางด้านส ฟังก์ชัน ถิติ ฟังก์ชัน VARP เป็นฟังก์ชันทางด้านคำนวณหาค่าค... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน VARP และวิธีการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน VARP เป็นฟังก์ชันทางด้านสฟังก์ชัน ถิติ

ฟังก์ชัน VARP เป็นฟังก์ชันทางด้านคำนวณหาค่าความแปรปรวนโดยใช้ประชากรทั้งหมดในการคำนวณ

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน VARP(number1,number2,…)

โดยที่ number1, number2, … คืออาร์กิวเมนต์ตัวเลข 1 ถึง 30 อาร์กิวเมนต์ที่ได้มาจากประชากร

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง เช่น DVAR, DVARP

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน DVARP (Excel 2010)

1. ระบายเซลล์ B1:B9 แล้วพิมพ์ X จากนั้นกด Enter

2. พิมพ์ 10 แล้วกด Enter

3. พิมพ์ 50 แล้วกด Enter

4. พิมพ์ 30 แล้วกด Enter

5. พิมพ์ 60 แล้วกด Enter

6. พิมพ์ 45 แล้วกด Enter

7. พิมพ์ 60 แล้วกด Enter

8. พิมพ์ 70 แล้วกด Enter

9. พิมพ์ 55 แล้วกด Enter

10. คลิกเซลล์ A10 พิมพ์ Sum

11. คลิกเซลล์ A11 แล้วพิมพ์ N

12. คลิกเซลล์ A13 แล้วพิมพ์ Varp Calc แล้วคลิกเซลล์ A15 พิมพ์ Varp Function

13. คลิกเซลล์ C1 แล้วพิมพ์ X^2 จากนั้นระบายเซลล์ C2:C9 จากนั้นพิมพ์ =b2^2 แล้วกด Ctrl+Enter จะแสดงผลให้เห็น

14. ระบายเซลล์ B10:C10 จากนั้นดับเบิ้ลคลิกปุ่ม Auto Sum จะได้ผลเป็น 17751

15. คลิกเซลล์ B11 แล้วพิมพ์ =count(b2:b9) แล้วกด Enter จะแสดง 8

16. คลิกเซลล์ B13 แล้วพิมพ์ =(b11*c10-b10^2)/b11^2 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 325

17. คลิกเซลล์ B15 แล้วพิมพ์ =varp(b2:b9) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 325

วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน TRIMMEAN และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน TRIMMEAN และวิธีการใช้งาน ฟังก์ชัน TRIMMEAN เป็นฟังก์ชันประเภท สถิติ ทำหน้าที่ ส่งกลับค่ามัชฌิม (ค่าเฉลี่ย) ของชุดข้อมูลที่เหลือหล... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน TRIMMEAN และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน TRIMMEAN เป็นฟังก์ชันประเภท สถิติ

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่ามัชฌิม (ค่าเฉลี่ย) ของชุดข้อมูลที่เหลือหลังจากตัดบางส่วนของชุดข้อมูลออกไป ฟังก์ชัน TRIMMEAN จะคำนวณค่ามัชฌิม โดยนำมาแยกเปอร์เซ็นต์ของจุดข้อมูลจากด้านบน และด้านล่างของชุดข้อมูล

คุณสามารถใช้ฟังก์ชันนี้เมื่อคุณต้องการแยกข้อมูลที่อยู่นอกประเด็นการวิเคราะห์ของคุณ

รูปแบบสูตร Excel ของฟังก์ชัน TRIMMEAN(array,percent)

array คือ ช่วงหรืออาร์เรย์ของค่าที่จะใช้ในการตัดออกแล้วหาค่าเฉลี่ยของส่วนที่เหลือ

Percent คือจำนวนเศษส่วนของจุดข้อมูลที่จะตัดออกจากการคำนวณตัวอย่างเช่น ถ้า Percent = 0.2 จะมี 4 จุดที่ถูกตัดออกจากชุดข้อมูลที่มี 20 (20 x 0.2) : 2 จุดจากด้านบนและ 2 จากด้านล่างของชุด

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Average, Geomean


ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Trimmean บน Excel

1. เลือกเซลล์ B2:B11 แล้วพิมพ์ 4 จากนั้นกด Enter

2. พิมพ์ 5 แล้วกด Enter

3. พิมพ์ 6 แล้วกด Enter

4. พิมพ์ 7 แล้วกด Enter

5. พิมพ์ 2 แล้วกด Enter

6. พิมพ์ 3 แล้วกด Enter

7. พิมพ์ 4 แล้วกด Enter

8. พิมพ์ 5 แล้วกด Enter

9. พิมพ์ 1 แล้วกด Enter

10. พิมพ์ 2 แล้วกด Enter

11. Copy ข้อมูลของช่อง B2:B11 ไปยัง C2:C11

12. ระบายเซลล์ C2:C11 แล้วคลิกปุ่ม A to Z เพื่อเรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก

13. คลิกเซลล์ D10 แล้วพิมพ์ =average(c3:c10) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3.875

14. คลิกเซลล์ B13 แล้วพิมพ์ =trimmean(b2:b11,.2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3.875

วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน STDEVA และวิธีการใช้งานบน Excel

ฟังก์ชัน STDEVA และวิธีการใช้งานบน Excel ฟังก์ชัน STDEVA เป็นฟังก์ชันประเภทสถิติ ทำหน้าที่ ประมาณค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจากตัวอย่างของประชา... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน STDEVA และวิธีการใช้งานบน Excel

ฟังก์ชัน STDEVA เป็นฟังก์ชันประเภทสถิติ ทำหน้าที่ ประมาณค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจากตัวอย่างของประชากรโดยให้รวมค่าตรรกศาสตร์ และข้อความในการคำนวณด้วย ข้อความและค่าตรรกศาสตร์ FALSE มีค่าเป็น 0 ส่วนค่าตรรกศาสตร์ TRUE มีค่าเป็น 1

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน STDEVA คือ STDEVA(value1,value2,…)

โดยที่ Value1, Value2, … คือค่าที่ 1 ถึง 30 เป็นค่าที่สอดคล้องกับตัวอย่างประชากร คุณสามารถใช้อาร์เรย์เดี่ยวหรือการอ้างอิงถึงอาร์เรย์ แทนอาร์กิวเมนต์ต่างๆที่คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาคได้

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องได้แก่ DSTDEV, DSTDEVP, STDEV, STDEVPA

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน STDEVA

1. ระบายเซลล์ B1:C1 พิมพ์ X แล้วกด Enter พิมพ์ X^2 แล้วกด Enter แล้วคลิกเซลล์ A2 พิมพ์ Number

2. ระบายเซลล์ A10:A11 พิมพ์ Sum แล้วกด enter พิมพ์ N แล้วกด Enter คลิกเซลล์ A13 แล้วพิมพ์ STDEVA Calc จากนั้นคลิกเซลล์ A15 แล้วพิมพ์ STDEVA

3. ระบายเซลล์ B2:B9 แล้วพิมพ์ 10 แล้วกด Enter พิมพ์ 5 แล้วกด Enter พิมพ์ 7 แล้วกด Enter พิมพ์ 12 แล้วกด Enter พิมพ์ 6 แล้วกด Enter พิมพ์ 7 แล้วกด Enter พิมพ์ 5 แล้วกด Enter พิมพ์ True แล้วกด Enter

4. ระบายเซลล์ C2:C9 แล้วพิมพ์ =b2^2 จากนั้นกด Ctrl+Enter จะแสดงผลการคำนวณให้เห็น

5. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์สูตร =sum(b2:b9)+1 แล้วกด Enter จากนั้น คลิกเซลล์ C10 แล้วคลิกปุ่ม Auto Sum

6. คลิกเซลล์ B11 แล้วพิมพ์ =counta(b2:b9) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 8

7. คลิกเซลล์ B13 แล้วพิมพ์ =sqrt((b11*c10-b10^2)/(b11*(b11-1))) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3.335416

8. คลิกเซลล์ B15 แล้วพิมพ์ =stdeva(b2:b9) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3.335416

9. ในกรณีที่เซลล์ B9 มีค่าเป็น False ให้ใช้ Auto Sum ธรรมดา ไม่ต้องใส่เป็น +1 ต่อท้าย

วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน UPPER และวิธีการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน UPPER และวิธีการใช้งาน (Excel 2010) UPPER คือ ฟังก์ชันประเภท ข้อความ มีหน้าที่ทำให้ข้อความเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ รูปแบบ สูตร Excel ของ ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน UPPER และวิธีการใช้งาน (Excel 2010)

UPPER คือ ฟังก์ชันประเภท ข้อความ มีหน้าที่ทำให้ข้อความเป็นตัวพิมพ์ใหญ่

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชัน UPPER คือ UPPER(text)

โดยที่ text คือข้อความที่คุณต้องการแปลงให้เป็นพิมพ์ใหญ่ สามารถเป็นได้ทั้งการอ้างอิงหรือสารอักขระข้อความ

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับ ฟังก์ชัน UPPER ได้แก่ Lower, Proper

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน UPPER บน Excel

1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ cis จากนั้นคลิกเซลล์ C2 แล้วพิมพ์ =upper(2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า CIS

2. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ Cis จากนั้นคลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ =upper(b3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า CIS

3. คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ 120 จากนั้นคลิกเซลล์ C4 แล้วพิมพ์ =upper(b4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 120 เพราะฉะนั้นฟังก์ชัน Upper จะไม่สามารถใช้กับข้อมูลที่เป็นตัวเลข

ฟังก์ชัน True และวิธีการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน True และวิธีการใช้งาน (Excel 2010) ฟังก์ชัน True เป็นฟังก์ชันประเภทตรรกศาสตร์ ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าตรรกศาสตร์ TRUE กลับมา รูปแบบ ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน True และวิธีการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน True เป็นฟังก์ชันประเภทตรรกศาสตร์

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าตรรกศาสตร์ TRUE กลับมา

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน True คือ True()

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง เช่น And, False, Not

ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน True บน Excel

1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =true() แล้วกด Enter จะแสดงค่า True

2. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ true แล้วกด Enter จะได้ผลคือ True เช่นกัน

3. คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ true แล้วกด Enter จะแสดงผลคือ True โปรแกรมจะถือว่าเป็นข้อความ ไม่ใช่ฟังก์ชัน

4. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ 20 จากนั้นคลิกเซลล์ C6 แล้วพิมพ์ =if(b6-20,true,false) แล้วกด Enter จะแสดงค่า True เพราะเงื่อนไขเป็นจริง

5. หากพิมพ์ 40 ที่เซลล์ B6 แล้วกด Enter จะเห็นผลที่เซลล์ C6 จะแสดงค่า False เนื่องจากเงื่อนไขเป็นเท็จ อย่างนี้เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน VARA และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน VARA และวิธีการใช้งาน VARA คือฟังก์ชัน ทางด้านสถิติของ Excel VARA ทำหน้าที่ ประมาณหาค่าความแปรปรวน จากตัวอย่างของประชากรโดยให้... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน VARA และวิธีการใช้งาน

VARA คือฟังก์ชัน ทางด้านสถิติของ Excel

VARA ทำหน้าที่ ประมาณหาค่าความแปรปรวน จากตัวอย่างของประชากรโดยให้รวมข้อความและค่าตรรกศาสตร์ เช่น TRUE และ FALSE ในการคำนวณด้วย

รูปแบบ สูตร Excel ของ VARA คือ VARA(value1,value2,…)

โดยที่ value1, value2, … คืออาร์กิวเมนต์ค่า 1 ถึง 30 อาร์กิวเมนต์ที่ได้มาจากตัวอย่างของประชากร

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับ ฟังก์ชัน VARA ได้แก่ DVAR, DVARP, VAR, VARPA

ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน VARA


1. ระบายเซลล์ B1:B9 แล้วพิมพ์ X แล้วกด Enter

2. พิมพ์ 10 แล้วกด Enter

3. พิมพ์ 50 แล้วกด Enter

4. พิมพ์ 40 แล้วกด Enter

5. พิมพ์ 60 แล้วกด Enter

6. พิมพ์ 45 แล้วกด Enter

7. พิมพ์ True แล้วกด Enter

8. พิมพ์ 70 แล้วกด Enter

9. พิมพ์ 55 แล้วกด Enter

10. คลิกเซลล์ A10 แล้วพิมพ์ Sum คลิกเซลล์ A11 แล้วพิมพ์ N คลิกเซลล์ A13 แล้วพิมพ์ Vara Calc แล้วคลิกเซลล์ A15 แล้วพิมพ์ Vara Function

11. คลิกเซลล์ C1 พิมพ์ X^2 จากนั้นระบายเซลล์ C2:c9 จากนั้นพิมพ์ =b2^2 แล้วกด Ctrl+Enter จะแสดงผลให้เห็น

12. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =sum(b2:b9)+1 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 331 หากมีข้อความที่เป็น False หรือข้อความอื่น ไม่ต้องพิมพ์สูตรเป็น +1 เพิ่มเข้าไป

13. คลิกเซลล์ C10 จากนั้นดับเบิ้ลคลิกปุ่ม Auto Sum จะได้ผลเป็น 17751

14. คลิกเซลล์ B11 แล้วพิมพ์ =counta(b2:b9) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 8

15. คลิกเซลล์ B13 แล้วพิมพ์ =(b11*c10-b10^2)/(b11/(b11-1)) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 579.4107

16. คลิกเซลล์ B15 แล้วพิมพ์ =vara(b2:b9) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 579.4107

วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน Type และวิธีการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน Type และวิธีการใช้งาน (Excel 2010) ฟังก์ชัน Type คือ ฟังก์ชัน ประเภท ข้อมูล ของ Excel หน้าที่ของมันคือ ส่งกลับค่าตัวเลขบอกชนิดขอ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Type และวิธีการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน Type คือ ฟังก์ชัน ประเภท ข้อมูล ของ Excel หน้าที่ของมันคือ ส่งกลับค่าตัวเลขบอกชนิดของข้อมูล

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชั่น Type คือ Type(value)

โดยที่ Value สามารถเป็นค่า Microsoft Excel ใด ๆ ก็ได้ เช่น ตัวเลข ข้อความ ค่าตรรกะ และอื่นๆ

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Type


1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ 123 จากนั้นคลิกเซลล์ C2 แล้วพิมพ์ =type(b2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1 หมายถึงตัวเลข

2. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ CIS จากนั้นคลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ =type(b3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2 หมายถึงตัวหนังสือ

3. คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ True จากนั้นคลิกเซลล์ C4 แล้วพิมพ์ =type(b4) แล้วกด Enter จะแสดง 4 หมายถึงลอจิก (Logic) หรือค่าตรรกศาสตร์

4. คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =#REF!+8 แล้วกด Enter จะแสดงค่า #REF! จากนั้นคลิกเซลล์ C5 แล้วพิมพ์ =type(b5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 16 หมายถึง Error

5. คลิกเซลล์ B6 พิมพ์ 1 คลิกเซลล์ B7 พิมพ์ 2 จากนั้นคลิกเซลล์ C6 แล้วพิมพ์ =type(b6:b7) แล้วกด Ctrl+Shift+Enter จะแสดงค่า 64 หมายถึง อาร์เรย์ (Array)

6. คลิกเซลล์ C7 แล้วพิมพ์ =type({1,2}) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 64 หมายถึง อาร์เรย์ (Array) เช่นกัน

วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน TRUNC และวิธีการใช้งาน (Excel)

ฟังก์ชัน TRUNC และวิธีการใช้งาน (Excel) ฟังก์ชัน TRUNC เป็นฟังก์ชันประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ หน้าที่ของ TRUNC คือ ปัดเศษตัวเลขทิ้งให้เ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน TRUNC และวิธีการใช้งาน (Excel)
ฟังก์ชัน TRUNC เป็นฟังก์ชันประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

หน้าที่ของ TRUNC คือ ปัดเศษตัวเลขทิ้งให้เป็นจำนวนเต็ม โดยการเอาทศนิยมหรือเศษส่วนออก

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน TRUNC คือ TRUNC(number,num_digits)

number คือตัวเลขที่คุณต้องการตัดเศษทิ้ง

num_digits คือจำนวนที่ใช้ระบุความแม่นยำของการตัดเศษ ซึ่งมีค่าเริ่มต้น คือ 0 (ศูนย์)

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน TRUNC ได้แก่ CEILING, FLOOR, INT, MOD, ROUND

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน TRUNC บน Excel

1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ 2.5 จากนั้นคลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =trunk(b2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2

2. คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =int(b2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2

3. คลิกเซลล์ C2 แล้วพิมพ์ -5.2 จากนั้นคลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ =trunk(c2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า -5

4. คลิกเซลล์ C4 แล้วพิมพ์ =int(c2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า -6

5. คลิกเซลล์ D2 แล้วพิมพ์ 1.45 จากนั้นคลิกเซลล์ D3 แล้วพิมพ์ =trunk(d2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1 หากแก้สูตรที่เซลล์ D3 เป็น =trunk(d2,1) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1.4 และถ้าแก้สูตรที่เซลล์ D3 เป็น =trunk(d22) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1.45 แล้วกด Ctrl+z (undo)

วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน TTEST และการใช้งานบน Excel

ฟังก์ชัน TTEST ฟังก์ชัน TTEST จัดเป็นฟังก์ชัน ด้านสถิติ TTEST ทำหน้าที่ส่งกลับค่าความน่าจะเป็นที่ได้จากการทำ t-test(student) เราใช้ฟังก์ชัน... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน TTEST

ฟังก์ชัน TTEST จัดเป็นฟังก์ชัน ด้านสถิติ

TTEST ทำหน้าที่ส่งกลับค่าความน่าจะเป็นที่ได้จากการทำ t-test(student) เราใช้ฟังก์ชัน TTEST ในการกำหนดว่าตัวอย่างสองตัวอย่างมาจากกลุ่มประชากรที่เป็นพื้นฐานสองกลุ่มเดียวกันที่มีค่ามัชฌิมเดียวกัน

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน TTEST คือ TTEST(array1,array2,tails, type)

array1 คือ ชุดข้อมูลชุดแรก

array2 คือ ชุดข้อมูลที่สอง

tails ระบุจำนวนทางการแจกแจงที่ต้องการให้ใช้ ถ้าต้องการใช้การแจกแจงแบบด้านเดียว ให้ใช้ tails =1 แล้วถ้าต้องการใช้การแจกแจงแบบสองด้านให้ใช้ tails = 2

type คือ ชนิดของการทำ t-test

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องได้แก่ TDIST, TINV

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน TTEST บน Excel

1. เลือกเซลล์ B2:B10 แล้วพิมพ์ 61.36 แล้วกด Enter พิมพ์ 57.76 แล้วกด Enter พิมพ์ 71.94 แล้วกด Enter พิมพ์ 61.77 แล้วกด Enter พิมพ์ 58.66 แล้วกด Enter พิมพ์ 71.61 แล้วกด Enter พิมพ์ 71.52 แล้วกด Enter พิมพ์ 58.67 แล้วกด Enter พิมพ์ 62.77 แล้วกด Enter

2. เลือกเซลล์ C2:C7 แล้วพิมพ์ 56.92 แล้วกด Enter พิมพ์ 58.3 แล้วกด Enter พิมพ์ 67.48 แล้วกด Enter พิมพ์ 53.96 แล้วกด Enter พิมพ์ 62 แล้วกด Enter พิมพ์ 59.61 แล้วกด Enter พิมพ์ 52.02 แล้วกด Enter พิมพ์ 61.6 แล้วกด Enter พิมพ์ 64.83 แล้วกด Enter พิมพ์ 58.55 แล้วกด Enter พิมพ์ 52.53 แล้วกด Enter พิมพ์ 64.74 แล้วกด Enter พิมพ์ 55.51 แล้วกด Enter พิมพ์ 66.18 แล้วกด Enter พิมพ์ 55.51 แล้วกด Enter พิมพ์ 54.18 แล้วกด Enter

3. เลือกเซลล์ A18:A22 แล้วพิมพ์ mean แล้วกด Enter พิมพ์ std แล้วกด Enter พิมพ์ var แล้วกด enter พิมพ์ n แล้วกด enter พิมพ์ var/n แล้วกด Enter พิมพ์ L22^2/(n-1) แล้วกด Enter พิมพ์ Sp แล้วกด Enter พิมพ์ t แล้วกด Enter พิมพ์ df แล้วกด Enter

4. คลิกเซลล์ B18 แล้วพิมพ์ =average(b2:b10) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 64.00667 จากนั้นคลิกเซลล์ C18 แล้วพิมพ์ =average(C2:C17) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 58.995

5. คลิกเซลล์ B19 แล้วพิมพ์ =stdev(b2:b10) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 5.987729 จากนั้นคลิกเซลล์ C19 แล้วพิมพ์ =stdev(c2:c17) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 5.000836

6. คลิกเซลล์ B20 แล้วพิมพ์ =b19^2 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 35.8529 จากนั้นคลิกเซลล์ C20 แล้วพิมพ์ =c19^2 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 25.00836

7. คลิกเซลล์ B21 แล้วพิมพ์ =count(b2:b10) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 9 จากนั้นคลิกเซลล์ C21 แล้วพิมพ์ =count(c2:c17) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 16

8. คลิกเซลล์ B22 แล้วพิมพ์ =b20/b21 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3.983656 จากนั้นคลิกเซลล์ C22 แล้วพิมพ์ =c20/c21 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1.563022

9. คลิกเซลล์ B23 แล้วพิมพ์ =b22^2(b21-1) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1.983689 จากนั้นคลิกเซลล์ C23 แล้วพิมพ์ =c22^2/(c21-1) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.162869

10. คลิกเซลล์ B24 แล้วพิมพ์ =sqrt((8*b20+15*c20)/23) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 5.364734

11. คลิกเซลล์ B25 แล้วพิมพ์ =(b18-c18)/(b24*sqrt(1/b21+1/c21)) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2.24205 จากนั้นคลิกเซลล์ C25 แล้วพิมพ์ =(b18-c18)/sqrt(b20/b21+c20/c21) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2.127971

12. คลิกเซลล์ B26 แล้วพิมพ์ =b21+c21-2 แล้วกด Enter จะแสดงค่าเป็น 23 จากนั้นคลิกเซลล์ C26 แล้วพิมพ์ =(b22+c22)^2(b23+c23) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 14.33254

13. คลิกเซลล์ B27 แล้วพิมพ์ =tdist(b25,b26,2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.034897 จากนั้นคลิกเซลล์ C27 แล้วพิมพ์ =tdist(c26:c26,2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.051588

14. คลิกเซลล์ B29 แล้วพิมพ์ =ttest(b2:b10,c2:c17,2,2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.034897

15. คลิกเซลล์ C29 แล้วพิมพ์ =ttest(b2:b10,c2:c17,2,3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.05115

วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน Var และ ตัวอย่างการใช้งานบน Excel

ฟังก์ชัน Var และ ตัวอย่างการใช้งานบน Excel ฟังก์ชัน Var เป็นฟังก์ชันด้านสถิติของ Excel หน้าที่ของมันก็คือ ประมาณค่าความแปรปรวนโดยใช้ค่าตัวอ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Var และ ตัวอย่างการใช้งานบน Excel

ฟังก์ชัน Var เป็นฟังก์ชันด้านสถิติของ Excel หน้าที่ของมันก็คือ ประมาณค่าความแปรปรวนโดยใช้ค่าตัวอย่างเป็นพื้นฐาน

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน Var คือ Var(number1,number2,..)

โดยที่ number1, number2, … คืออาร์กิวเมนต์ตัวเลข 1 ถึง 30 อาร์กิวเมนต์ที่ได้มาจากตัวอย่างของประชากร

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับ ฟังก์ชัน var ได้แก่ Dvar, Dvarp

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน var

1. ระบายเซลล์ B1:B9 แล้วพิมพ์ X จากนั้นกด Enter พิมพ์ 10 แล้วกด Enter พิมพ์ 50 แล้วกด Enter พิมพ์ 30 แล้วกด Enter พิมพ์ 60 แล้วกด Enter พิมพ์ 45 แล้วกด Enter พิมพ์ 60 แล้วกด Enter พิมพ์ 70 แล้วกด Enter พิมพ์ 55 แล้วกด Enter

2. คลิกเซลล์ A10 แล้วพิมพ์ Sum แล้วคลิกเซลล์ A11

3. พิมพ์ N แล้วคลิกเซลล์ A13 พิมพ์ Var Calc แล้วคลิกเซลล์ A15 พิมพ์ Var Function

4. คลิกเซลล์ C1 แล้วพิมพ์ x^2 จากนั้นระบายเซลล์ C2:C9 จากนั้นพิมพ์ =b2^2 แล้วกด Ctrl+Enter จะแสดงค่าให้เห็น

5. เลือกเซลล์ B10:C10 จากนั้นคลิกปุ่ม Auto Sum

6. คลิกเซลล์ B13 แล้วพิมพ์ =(b11*c10-b10^2)/(b11*(b11-1)) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 371.4286

7. คลิกเซลล์ B15 แล้วพิมพ์ =var(b2:b9) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 371.4286

ฟังก์ชัน Poisson และ ตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน Poisson และ ตัวอย่างการใช้งาน Poisson คือ ฟังก์ชันด้านสถิติ ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าการแจกแจงแบบปัวซอง (Poisson) การใช้งานทั่วไปขอ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Poisson และ ตัวอย่างการใช้งาน

Poisson คือ ฟังก์ชันด้านสถิติ ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าการแจกแจงแบบปัวซอง (Poisson) การใช้งานทั่วไปของการแจกแจงปัวซอง คือ การทำนายจำนวนของเหตุการณ์ในเวลาที่ระบุ เช่น จำนวนรถยนต์ที่มาถึงด่านเก็บค่าผ่านทางบริเวณพื้นที่ทางด่วนใน 1 นาที

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชัน Poisson คือ Poisson(x, mean, cumulative)

โดยที่ x คือ จำนวนของเหตุการณ์

mean คือ ค่าตัวเลขที่คาดไว้

Cumulative คือ ค่าตรรกะที่กำหนดรูปแบบของการแจกแจงความน่าจะเป็นที่จะถูกส่งกลับมา ถ้า cumulative เป็น True ฟังก์ชัน Poisson จะส่งกลับค่าความน่าจะเป็นปัวซองสะสมที่จำนวนของการเกิดเหตุการณ์สุ่มอยู่ ระหว่างศูนย์ถึง x แต่ถ้า cumulative เท่ากับ False จะส่งกลับค่าฟังก์ชันมวลรวมความน่าจะเป็นปัวซองที่จำนวนของการเกิดเหตุการณ์ จะเท่ากับ x

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน Poisson ได้แก่ Expondist


ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Poisson

1. เลือกเซลล์ A2:A4 แล้วพิมพ์ X แล้วกด Enter

2. พิมพ์ Mean แล้วกด Enter

3. พิมพ์ Cumulative แล้วกด Enter

4. คลิกเซลล์ A6 แล้วพิมพ์ P Calc แล้วกด Enter

5. คลิกเซลล์ A8 แล้วพิมพ์ P แล้วกด Enter

6. เลือกเซลล์ B2:B4 แล้วพิมพ์ 0 แล้วกด Enter

7. พิมพ์ 5 แล้วกด Enter

8. พิมพ์ FALSE แล้วกด Enter

9. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =exp(-b3)*b3^b2/fact(b2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.006738

10. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =poisson(b2,b3,b4) แล้วกด Enter tจะแสดงค่า 0.006738

11. เลือกเซลล์ C2:C4 แล้วพิมพ์ 1 แล้วกด Enter

12. พิมพ์ 5 แล้วกด Enter

13. พิมพ์ FALSE แล้วกด Enter

14. เลือกเซลล์ D2:D4 แล้วพิมพ์ 2 แล้วกด Enter

15. พิมพ์ 5 แล้วกด Enter

16. พิมพ์ FALSE แล้วกด Enter

17. เลือกเซลล์ E2:E4 แล้วพิมพ์ 2 แล้วกด Enter

18. พิมพ์ 5 แล้วกด Enter

19. พิมพ์ TRUE แล้วกด Enter

20. คลิกเซลล์ B8 แล้ว Auto Fill สูตรมาที่เซลล์ E8 จะปรากฏผลการคำนวณแสดงให้เห็น

21. คลิกเซลล์ E10 แล้วพิมพ์ =sum(b8:d8) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.124652 ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เท่ากันกับเซลล์ E8