วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สูตร Excel กับการใช้งานฟังก์ชั่น Choose เลือกข้อมูลจากชุดข้อมูลที่กำหนด

สูตร Excel กับการใช้งานฟังก์ชั่น Choose เลือกข้อมูลจากชุดข้อมูลที่กำหนด การใช้สูตร Excel ในวันนี้ เราจะไปทำความรู้จัก สูตร หรือ ฟังก์ชั... thumbnail 1 summary

สูตร Excel กับการใช้งานฟังก์ชั่น Choose เลือกข้อมูลจากชุดข้อมูลที่กำหนด

การใช้สูตร Excel
ในวันนี้ เราจะไปทำความรู้จัก สูตร หรือ ฟังก์ชั่นที่ชื่อว่า Choose ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นที่ มือใหม่ทั้งหลายอาจจะไม่เคยได้ใช้มากเท่าไหร่นัก แต่นับว่าเป็นฟังก์ชั่นที่มีประโยชน์เช่นเดียวกับ ฟังก์ชั่นอื่นๆของ Excel

ฟังก์ชั่น Choose มีรูปแบบคือ Choose(index, value 1,value 2,value 3…value n)

โดยที่พารามิเตอร์ข้างในมีความหมายดังนี้
index คือ ลำดับของตัวเลขที่เราต้องการดึง...ดึงจากไหนละ..คำตอบก็คือ ดึงมาจาก Value 1 ถึง Value n นั่นเอง...พออธิบายแบบนี้แล้ว แทบจะไม่ต้องทำตัวอย่างให้ดูด้วยซ้ำ ใช่ไหมล่ะ มันง่ายเสียยิ่งกว่าปอกกล้วยเข้าปากเสียอีก อันนี้เรื่องจริง

Value 1, Value 2, Value 3….Value n คือ ค่าที่เราจะใส่เข้าไป ค่านั้นอาจเป็นตัวเลข หรือ ข้อความ, หรือ อักขระก็ได้

ถ้าเป็นตัวเลข ก็เช่น 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ,10

ถ้าเป็นตัวหนังสือ เป็นข้อความ เป็นตัวอักษร จะต้องใส่เครื่องหมาย “” ครอบด้วย ไม่งั้นมันจะ error เพราะไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ฟังก์ชั่น หรือ สูตร choose ได้กำหนดไว้..Excel กำหนดมาอย่างไรก็ต้องใช้อย่างนั้นจริงไหม อย่าไปฝืน (เพื่อนผมมันชอบฝืนใช้ พอ Error ก็ดันโทษคนออกแบบ Excel อีกว่า ทำไมต้องทำแบบนี้ เอาเข้าไป เผาเพื่อนซะเลย)

เรามาดูตัวอย่างที่เป็นภาพประกอบดีกว่า จะได้เข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น...ภาพย่อมสื่อความหมายมากกว่าข้อความ หรือ คำพูดจริงไหม

ตัวอย่างการใช้ สูตร Excel ...สูตร choose ตัวอย่างที่ 1

ถ้าเราพิมพ์ที่เซลล์ A1 ว่า =choose(3,”su”,”ch”,”at”,”k”,”h”,”o”,”n”,”p”,”r”,”a”) แล้วกด Enter 1 ครั้ง ที่เซลล์ A1 ก็จะได้คำตอบว่า at ดังภาพด้านล่างนี้ เป็นต้น



ตัวอย่างการใช้ สูตร Excel …. สูตร choose ตัวอย่างที่ 2

แต่ถ้าหากเราพิมพ์ที่เซลล์ A1 ว่า =choose(2,1,99,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12) แล้วกด Enter 1 ครั้ง เราก็จะได้คำตอบที่เซลล์ A1 เป็น 99 ดังภาพด้านล่างนี้ครับ



จาก 2 ตัวอย่างที่ได้กล่าวมา เราจะพบว่า สูตร Choose หรือ ฟังก์ชั่น Choose มันก็ทำงานเช่นนี้แหละคือ ดึงเอาค่าในตำแหน่งที่เราระบุออกมาแสดง...อย่างที่ได้กล่าวไปว่า รูปแบบสูตร คือ choose(index,value1,value2,valu3….เรื่อยไป)

โดย index คือ ตำแหน่งที่เราจะดึงออกมาจาก value นั่นเอง...เข้าใจแล้วใช่ไหมเอ่ย

ที่นี้เรามาดู ตัวอย่างการใช้สูตร Excel...สูตร choose ในตัวอย่างที่ 3 กันหากเรากำหนดสูตรเป็นแบบนี้ เหตุใดมันจึงได้คำตอบเป็น 0

สมมติว่าเราพิมพ์ที่ A1 ว่า =choose(2,1,,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12) แล้วกด Enter จะได้ผลลัพธ์เป็น 0



จากภาพเราจะเห็นว่าที่เซลล์ a1 คำตอบคือ 0 สาเหตุก็เพราะว่าเรา เว้นค่าไว้ไม่ใส่อะไรแบบนี้ ฟังก์ชั่น choose จะคืนค่า ศูนย์มาให้...อาจมีบางคนบอกว่า แม้ก็ไม่ใส่อะไรให้มันก็ต้องเป็นศูนย์แปลกตรงไหน...แต่อย่าลืมว่า ยังมีมือใหม่อีกหลายคนอาจคิดว่า ทำไมมันไม่แสดงเป็นช่องว่างละ...แล้วอย่างนี้ถ้าต้องการให้มันแสดงค่าว่างๆจะต้องเขียนสูตรว่าอย่างไร....คำตอบอยู่ที่ภาพด้านล่างนี้ครับ

....ถ้าหากเราพิมพ์ที่เซลล์ a1 ว่า

=choose(2,1,””,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12) แล้วกด Enter จะได้ผลลัพธ์เป็น ช่องว่าง

สังเกตว่าที่ตำแหน่งที่ 2 เราไม่ได้เว้นว่างไว้เฉยๆ แต่เราใช้เครื่องหมาย “” ครอบ ค่าว่างๆไว้ เพื่อบอกให้ ฟังก์ชั่น choose ทราบว่า เราต้องการให้แสดงค่าว่างๆน่ะ ไม่ใช่ค่าตัวเลขใดๆ ...จากภาพด้านบนเราจะเห็นอยู่แล้วว่า เซลล์ A1 = “” โอเค ตัวอย่างเพียงเท่านี้ คงจะทำให้เราเข้าใจ สูตรนี้ได้ดีแล้วล่ะ

อ่อเกือบลืมไปครับ สมมติว่า เราระบุที่ตำแหน่ง index เป็นค่า น้อยกว่า 1 มันจะแสดง error ออกมานะครับ...เพราะว่ามันไม่มีตำแหน่งข้อมูลอะไรอยู่ในตำแหน่งที่น้อยกว่า 1 เข้าใจน่ะครับ...error ที่ว่าก็คือ #value นั่นแหละครับ

สำหรับค่า value ที่อยู่ใน สูตร choose เราใส่ได้ไม่เกิน 254 ตัวเท่านั้นน่ะครับ ใส่เกินนี้ไม่ได้ครับ เขากำหนดมาเท่านี้จริงๆ...ความสงสัยเกี่ยวกับฟังก์ชั่นนี้หากมีเพิ่มเติมให้ลองหาคำตอบดูครับ เช่น ตรงตำแหน่ง index เราใส่เป็นเลข เศษส่วนได้ไหม, ใส่เป็นจำนวนทศนิยมได้ไหม อะไรแบบนี้ ให้เราไปลองดูครับ....ส่วนในช่อง value เราใส่ได้อยู่แล้วครับ เป็นเรื่องปกติ..วันนี้ขอจบสูตรนี้แต่เพียงเท่านี้ก่อนน่ะครับ เดี๋ยวจะไปรับลูก่อน อิๆ