วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Excel กับฟังก์ชั่น ODDFPRICE

Excel กับฟังก์ชั่น ODDFPRICE ODDFPRICE เป็นฟังก์ชั่นประเภทการเงิน ของ Excel โดยฟังก์ชั่น ODDFPRICE ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าราคาต่อ $100 ของราคา... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น ODDFPRICE

ODDFPRICE เป็นฟังก์ชั่นประเภทการเงิน ของ Excel

โดยฟังก์ชั่น ODDFPRICE ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าราคาต่อ $100 ของราคาตามตั๋วของหลักทรัพย์ด้วยคาบเวลาที่เหลือ (สั้นหรือยาว)

รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น ODDFPRICE คือ ODDFPRICE(settlement,maturity,issue,firt_coupon,rate,yld,redemption,frequency,basis)

Settlement คือ วันที่ทำข้อตกลงของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อ

maturity คือ วันที่ครบกำหนดชำระของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่หลักทรัพย์หมดอายุลงนั่นเอง

issue คือวันที่ออกจำหน่ายของหลักทรัพย์

first_coupon วันที่ตราสารวันแรกของหลักทรัพย์

rate คือ อัตราดอกเบี้ยของหลักทรัพย์

yld คือผลตอบแทนรายปีของหลักทรัพย์

redemption คือ มูลค่าไถ่ถอนของหลักทรัพย์ต่อมูลค่าตามตราสาร $100

frequency คือ จำนวนครั้งในการชำระค่าตราสารต่อปี

ในกรณีที่เป็นการชำระแบบรายปี frequency=1

ถ้าเป็นการชำระแบบรายครึ่งปี frequency=2

และถ้าเป็นการชำระแบบรายไตรมาส frequency=4

basis คือ ชนิดของหลักเกณฑ์ในการนับจำนวนวัน

ฟังก์ชั่นที่มีความเกี่ยวข้องกับ ODDFPRICE ได้แก่ DATE, ODDFYIELD, ODDLPRICE, ODDLYIELD

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น ODDFPRICE มีดังนี้

1.ระบายเซลล์ A2:A10 แล้วพิมพ์ Settlement Date แล้วกด Enter พิมพ์ Maturity Date แล้วกด Enter พิมพ์ Issue Date แล้วกด Enter พิมพ์ First Coupon Date แล้วกด Enter พิมพ์ Rate กด Enter พิมพ์ Yield แล้วกด Enter พิมพ์ Redemption แล้วกด Enter พิมพ์ Frequency แล้วกด Enter พิมพ์ Basis แล้วกด Enter

2. ระบายเซลล์ B2:B10 แล้วพิมพ์ 11/11/1999 แล้วกด Enter พิมพ์ 1/3/2012 แล้วกด Enter พิมพ์ 15/10/1999 แล้วกด Enter พิมพ์ 1/3/2000 แล้วกด Enter พิมพ์ 6% แล้วกด Enter พิมพ์ 6.5% แล้วกด Enter พิมพ์ 100 แล้วกด Enter พิมพ์ 2 แล้วกด Enter พิมพ์ 1 แล้วกด Enter

3. คลิกเซลล์ B12 แล้วพิมพ์ =oddfprice(b2,b3,b4,b5,b6,b7,b8,b9,b10) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 95.81156

วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Excel กับฟังก์ชั่น IMSQRT

Excel กับฟังก์ชั่น IMSQRT ฟังก์ชั่น IMSQRT จัดเป็นฟังก์ชั่นด้านวิศวกรรมของ Excel ทำหน้าที่ ส่งกลับค่ารกที่สองของจำนวนเชิงซ้อน ในรูปแบบข้อคว... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น IMSQRT

ฟังก์ชั่น IMSQRT จัดเป็นฟังก์ชั่นด้านวิศวกรรมของ Excel

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่ารกที่สองของจำนวนเชิงซ้อน ในรูปแบบข้อความ x+yi หรือ x+yj

โดยที่ inumber คือ จำนวนเชิงซ้อนที่คุณต้องการหาค่ารากที่สอง

ฟังก์ชั่นที่มีความเกี่ยวข้อง คือ IMAGINARY, IMREAL, IMSUM

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น IMSQRT ให้เราลองทำตามดังต่อไปนี้

1. คลิกที่เซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 2+3i

2. ระบายเซลล์ A3:A6 แล้วพิมพ์ x จากนั้นกด Enter พิมพ์ y แล้วกด Enter พิมพ์ r แล้วกด Enter พิมพ์ Theta

3. ระบายเซลล์ A8:A9 แล้วพิมพ์ a กด Enter แล้วพิมพ์ b แล้วกด Enter

4. ระบายเซลล์ B3:B4 แล้วพิมพ์ 2 แล้วกด Enter พิมพ์ 3 แล้วกด Enter

5. คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =sqrt(b3^2+b4^2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3.605551

6. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =atan(b4/b3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.982794

7. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =sqrt(b5)*cos(b6/2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1.674149

8. คลิกเซลล์ B9 แล้วพิมพ์ =sqrt(b5)*sin(b6/2) และกด Enter จะแสดงค่า 0.895977

9. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =complex(b8,b9) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1.67414922803554+0.895977476129838i

10. คลิกเซลล์ B12 แล้วพิมพ์ =imsqrt(a2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1.67414922803554+0.895977476129838i

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Excel กับฟังก์ชั่น NPV

Excel กับฟังก์ชั่น NPV NPV จัดเป็นฟังก์ชั่นประเภท การเงิน ของ Excel ฟังก์ชั่น NPV ทำหน้าที่ส่งกลับมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV-net present... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น NPV

NPV จัดเป็นฟังก์ชั่นประเภท การเงิน ของ Excel

ฟังก์ชั่น NPV ทำหน้าที่ส่งกลับมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV-net present value) ของเงินลงทุน ซึ่งเป็นผลการคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยที่ระบุ ชุดข้อมูลของงวดกาชำระเงิน (ค่าเป็นลบ) และชุดข้อมูลของรายได้ (ค่าเป็นบวก) ในอนาคต

รูปแบบสูตร NPV(rate,value1,value2,…)

rate คือ อัตราส่วนลดในช่วง 1 งวด

Value1, Value2 … คือ อาร์กิวเมนต์ที่ 1 ถึง 29 ซึ่งจะใช้แทนการชำระเงินและรายได้

ฟังก์ชั่นที่มีความเกี่ยวข้องกับฟังก์ชั่น NPV คือ FV, IRR, PV, XNPV

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น NPV ให้ทำตามตัวอย่างด้านล่างนี้

1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ 4%

2. ระบายเซลล์ B3:B7 แล้วพิมพ์ 10000 จากนั้นกด CTRL+ENTER

3. คลิกเซลล์ B9 แล้วพิมพ์ =npv(b2,b3:b7) และกด Enter จะโชว์ $44,518.22

4. ระบายเซลล์ E2:E6 แล้วพิมพ์ -100000 แล้วกด Enter พิมพ์ 2000 และกด Enter พิมพ์ 50000 แล้วกด Enter พิมพ์ 30000 แล้วกด Enter พิมพ์ 25000 แล้วกด Enter

5. คลิกเซลล์ E8 แล้วพิมพ์ =irr(e2:e6) และกด Enter จะแสดงค่า 3%

6. คลิกเซลล์ E10 แล้วพิมพ์ =npv(2%,e2:e6) และกด Enter จะแสดงค่า $1,357.87

7. คลิกเซลล์ E12 แล้วพิมพ์ =npv(e8,e2:e6) แล้วกด Enter จะแสดงค่า $-0.00

Excel กับฟังก์ชั่น NPER

Excel กับฟังก์ชั่น NPER ฟังก์ชั่น NPER ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าจำนวนคาบเวลาทั้งหมดในการชำระเงินสำหรับการลงทุน จำนวนดังกล่าวถูกคำนวณโดยมีพื้นฐาน... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น NPER

ฟังก์ชั่น NPER ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าจำนวนคาบเวลาทั้งหมดในการชำระเงินสำหรับการลงทุน จำนวนดังกล่าวถูกคำนวณโดยมีพื้นฐานอยู่บนการชำระเงินเป็นงวด ยอดการชำระเงินที่คงที่ และอัตราดอกเบี้ยต่อคาบเวลาที่คงที่

รูปแบบสูตรคือ NPER(rate,pmt,pv,fv,type)

rate คือ อัตราดอกเบี้ยต่องวด

pmt คือ ยอดการชำระเงินในแต่ละงวด ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยทั่วไป pmt จะรวมเงินต้นและดอกเบี้ยเข้าด้วยกัน แต่จะไม่รวมอากรและภาษี

pv คือ มูลค่าปัจจุบันหรือเงินก้อนที่มีค่าเท่ากับการชำระในอนาคตแต่ละงวด รวมกัน

fv คือ มูลค่าอนาคต หรือ ดุลเงินสดที่คุณต้องการให้เป็นหลังจากได้ชำระเงิน งวดสุดท้ายแล้ว ถ้าละไว้จะถือว่า fv เท่ากับ 0 (ตัวอย่างเช่น มูลค่าอนาคตของหนี้สินเท่ากับ 0)

type คือ ตัวเลข 0 หรือ 1 ซึ่งใช้บ่งชี้กำลังกำหนดชำระเงิน

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง : FV, IPMT, PMT, PPMT, PV, RATE

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น NPER ให้ลองทำตามสูตรต่อไปนี้

1. ระบายเซลล์ A2:A6 แล้วพิมพ์ Rate และกด Enter พิมพ์ PMT แล้วกด Enter พิมพ์ PV แล้วกด Enter พิมพ์ FV แล้วกด Enter พิมพ์ Type แล้วกด Enter

2. ระบายเซลล์ B2:B5 แล้วพิมพ์ 4% แล้วกด Enter พิมพ์-100 แล้วกด Enter

3. คลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =nper(b2,b3,b4,b5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 32.45646

4. หากต้องการฝากเงินทุกเดือนและต้องการหาอัตราดอกเบี้ยให้ใช้สูตร =nper(b2/12,b3,b4,b5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 76.59505 ซึ่งหมายถึงจะต้องฝากทั้งหมด 76 งวด หากกำหนดสูตรเพิ่มเป็น =nper(b2/12,b3,b4,b5)/12 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 6.382921 จะตก 6 ปีเศษ ซึ่งจะขึ้นกับการคิดว่าจะคิดเป็นเดือน เป็นปีหรือเป็นสัปดาห์

5. หากพิมพ์ -200 ที่เซลล์ B3 แล้วกด Enter ซึ่งหมายถึงฝากเงินงวดละ 200 บาท ผลที่เซลล์ B7 จะแสดงค่า 41.35519 หมายถึง 41 งวด ถึงจะได้เงินฝากพร้อมดอกเบี้ย 4% เป็นเงิน 10000 บาท

Excel กับฟังก์ชั่น IMDIV

Excel กับฟังก์ชั่น IMDIV IMDIV คือฟังก์ชั่นทางด้านวิศวกรรม ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าผลหารของจำนวนเชิงซ้อน 2 จำนวนในรูปแบบข้อความ x+yi หรือ x+yj... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น IMDIV

IMDIV คือฟังก์ชั่นทางด้านวิศวกรรม ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าผลหารของจำนวนเชิงซ้อน 2 จำนวนในรูปแบบข้อความ x+yi หรือ x+yj

สูตร : IMDIV (inumber1, inumber2)

inumber1 คือ ตัวเศษเชิงซ้อนหรือตัวตั้งหาร

inumber2 คือ ตัวส่วนเชิงซ้อนหรือตัวหาร

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง : IMAGINARY, IMREAL, IMSUM

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น IMDIV

1. คลิกที่เซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 1+2i แล้วคลิกเซลล์ A3 จากนั้นพิมพ์ 3+4i

2. ระบายเซลล์ A4:A7 พิมพ์ a กด Enter พิมพ์ b แล้วกด enter พิมพ์ c แล้วกด Enter พิมพ์ d

3. ระบายเซลล์ B4:B7 แล้วพิมพ์ 1 แล้วกด Enter พิมพ์ 2 แล้วกด Enter พิมพ์ 3 กด Enter พิมพ์ 4 กด Enter

4. คลิกเซลล์ B9 แล้วพิมพ์ =(b4*b6+b5*b7)/(b6^2+b7^2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.44

5. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =(b5*b6-b4*b7)/(b6^2+b7^2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.08

6. คลิกเซลล์ B11 แล้วพิมพ์ =complex(b9,b10) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.44+8E-002i

7. คลิกเซลล์ B12 แล้วพิมพ์ =imdiv(a2,a3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.44+8E-002i

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Excel กับฟังก์ชั่น IMCOS

Excel กับฟังก์ชั่น IMCOS IMCOS เป็นฟังก์ชั่น ประเภท วิศวกรรม IMCOS ทำหน้าที่ส่งกลับค่าโคไซน์ของจำนวนเชิงซ้อนในรูปแบบข้อความ x + yi หรือ x ... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น IMCOS

IMCOS เป็นฟังก์ชั่น ประเภท วิศวกรรม

IMCOS ทำหน้าที่ส่งกลับค่าโคไซน์ของจำนวนเชิงซ้อนในรูปแบบข้อความ x + yi หรือ x + yj

รูปแบบสูตร คือ IMCOS(inumber)

โดยที่ inumber คือ จำนวนเชิงซ้อนที่คุณต้องการหาค่าโคไซน์

รูปแบบสูตรทางคณิตศาสตร์ คือ Cos(x+yi) = cos(x)cosh(y)-sin(x)sinh(y)i

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ IMAGINARY, IMREAL, IMSUM

ให้ลองทำตามตัวอย่างต่อไปนี้

1. คลิกที่เซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 1+2i

2. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =complex(cos(1)*cosh(2),-sin(1)*sinh(2)) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2.03272300701967-3.0518977991518i

3. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ = imcos(a2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2.03272300701967-3.0518977991518i

Excel กับฟังก์ชั่น IMSUB

Excel กับฟังก์ชั่น IMSUB ฟังก์ชั่น IMSUB เป็นฟังก์ชั่นประเภท วิศวกรรม ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าผลต่างของจำนวนเชิงซ้อน 2 จำนวน ในรูปแบบข้อความ x... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น IMSUB

ฟังก์ชั่น IMSUB เป็นฟังก์ชั่นประเภท วิศวกรรม

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าผลต่างของจำนวนเชิงซ้อน 2 จำนวน ในรูปแบบข้อความ x+yi หรือ x+yj

รูปบบสูตร IMSUB(inumber1, inumber2)

โดยที่ inumber1 คือ จำนวนเชิงซ้อนที่ต้องการลบด้วย inumber2

inumber2 คือ จำนวนเชิงซ้อนที่นำไปลบออกจาก inumber1

รูปแบบสูตรทางคณิตศาสตร์ คือ (a+bi)-(c+di)=(a-c)+(b-d)i

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องได้แก่ IMAGINARY, IMREAL, IMSUm

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น IMSUB

1. คลิกที่เซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 5+2i แล้วคลิกที่เซลล์ B2 แล้วพิมพ์ 8+1i

2. ระบายเซลล์ A3:A8 พิมพ์ a กด Enter พิมพ์ b กด Enter พิมพ์ c กด enter พิมพ์ d กด Enter พิมพ์ x กด Enter พิมพ์ y กด Enter

3. ระบายเซลล์ B3:B6 พิมพ์ 5 กด Enter พิมพ์ 2 กด Enter พิมพ์ 8 กด Enter พิมพ์ 1 กด Enter

4. คลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =b3-b5 แล้วกด Enter จะแสดงค่า -3

5. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =b4-b6 แล้วกด Enter จะแสดง 1

6. คลิกเซลล์ B9 แล้วพิมพ์ =complex(b7,b8) แล้วกด Enter จะแสดง -3+i

7. คลิกเซลล์ B11 แล้วพิมพ์ =imsub(a2,b2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า -3+i

วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Excel กับฟังก์ชั่น IMSIN

Excel กับฟังก์ชั่น IMSIN ฟังก์ชั่น IMSIN จัดเป็นฟังก์ชั่นทางด้านวิศวกรรมของ Excel ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าไซน์ของจำนวนเชิงซ้อน ในรูปแบบข้อความ ... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น IMSIN

ฟังก์ชั่น IMSIN จัดเป็นฟังก์ชั่นทางด้านวิศวกรรมของ Excel

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าไซน์ของจำนวนเชิงซ้อน ในรูปแบบข้อความ x+yi หรือ x+yj

รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น IMSIN คือ IMSIN(inumber)

โดยที่ inumber คือ จำนวนเชิงซ้อนที่คุณต้องการหาค่าไซน์

รูปแบบสูตรทางคณิตศาสตร์ คือ sin(x+yi)=sin(x)cosh(y)-cos(x)sinh(y)i

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องคือ IMAGINARY, IMREAL, IMSUM

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น IMSIN ให้เราลองทำตามดังต่อไปนี้

1. คลิกที่เซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 2+3i

2. ระบายเซลล์ A2:A3 แล้วพิมพ์ x จากนั้นกด Enter พิมพ์ y แล้วกด Enter

3. ระบายเซลล์ A6:A7 แล้วพิมพ์ a จากนั้นกด Enter พิมพ์ b จากนั้นกด Enter

4. ระบายเซลล์ B3:B4 แล้วพิมพ์ 2 จากนั้นกด Enter พิมพ์ 3 แล้วกด Enter

5. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =sin(b3)*cosh(b4)แล้วกด Enter จะแสดงค่า 9.154499

6. คลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =-cos(b3)*sinh(b4) และกด Enter จะแสดงค่า 4.168907

7. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =complex(b6,b7) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 9.15449914691143+4.16890695996656i คลิกเซลล์ B9 แล้วพิมพ์ =imsin(a2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 9.15449914691143+4.16890695996656i

Excel กับฟังก์ชั่น Now

Excel กับฟังก์ชั่น Now ฟังก์ชั่น Now เป็นฟังก์ชั่น วันที่และเวลา บน Excel ฟังก์ชั่น Now ทำหน้าที่ส่งกลับค่าเลขลำดับ (Serial Number) ของวันท... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น Now

ฟังก์ชั่น Now เป็นฟังก์ชั่น วันที่และเวลา บน Excel

ฟังก์ชั่น Now ทำหน้าที่ส่งกลับค่าเลขลำดับ (Serial Number) ของวันที่หรือเวลาปัจจุบัน

รูปแบบสูตร คือ NOW()

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวกับได้แก่ Date, Day, Hour, Minute, Month, Weekday, Year

ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชั่น Now ให้ทำตามตัวอย่างต่อไปนี้

1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =now() และกด Enter จะแสดงวัน เดือน ปี และ ปี ค.ศ. พร้อมทั้งเวลา ในขณะนั้น

2. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =now() แล้วกด Enter จากนั้นคลิกเซลล์ B3 แล้วเลือก เมนู Edit แล้วเลือกคำสั่ง Clear แล้วคลิก Formats จะเห็นที่เซลล์ B3 จะแสดงค่า 37393.60646

3. คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์=today() แล้วกด Enter จะแสดงเฉพาะวัน เดือน และปี ค.ศ. ในขณะนั้น โดยไม่โชว์เวลา

4. คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =int(now()) แล้วกด Enter จะแสดง วัน เดือน ปี ค.ศ. ส่วนเวลาจะถูกปัด ทำให้ไม่โชว์เวลา เนื่องจาก int เป็นการปัดตัวเลขให้เป็นจำนวนเต็ม

Excel กับฟังก์ชั่น NA

Excel กับฟังก์ชั่น NA ฟังก์ชั่น NA คือ ฟังก์ชั่นทางด้านข้อมูล ของ Excel ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าความผิดพลาด #N/A ซึ่ง #N/A เป็นค่าความผิดพลาดที... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น NA

ฟังก์ชั่น NA คือ ฟังก์ชั่นทางด้านข้อมูล ของ Excel

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าความผิดพลาด #N/A ซึ่ง #N/A เป็นค่าความผิดพลาดที่หมายถึง “ค่าที่ไม่พร้อมใช้งาน” ให้ใช้ #N/A เพื่อทำเครื่องหมายเซลล่าด้วยการโอน #N/A ในเซลล์ที่ซึ่งคุณได้ทำข้อมูลหายไป คุณสามารถหลีกเหลี่ยงปัญหาของการไม่ตั้งใจรวมทั้งเซลล์ว่างในการคำนวณของคุณ (เมื่อสูตรมีการอ้างถึงเซลล์ที่มี #N/A สูตรจะส่งค่ากลับ #N/A เป็นค่าความผิดพลาดออกมา)

รูปแบบสูตรคือ NA()

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง เช่น IS FUNCTIONS

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น NA() มีดังนี้

1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =na() แล้วกด Enter จะแสดงค่า #N/A

2. คลิกเซลล์ C2 แล้วพิมพ์ =if(error.type(b2)=7,”Not Available”) และกด Enter จะแสดงค่า Not Available

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Excel กับฟังก์ชั่น N

Excel กับฟังก์ชั่น N ฟังก์ชั่น N เป็นฟังก์ชั่น ประเภทข้อมูล ของ Excel ทำหน้าที่ ส่งตัวเลขที่มาจากเซลล์ที่กำหนด รูปแบบสูตรคือ N(value) value... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น N

ฟังก์ชั่น N เป็นฟังก์ชั่น ประเภทข้อมูล ของ Excel

ทำหน้าที่ ส่งตัวเลขที่มาจากเซลล์ที่กำหนด

รูปแบบสูตรคือ N(value)

value คือค่าที่คุณต้องการให้แปลง โดยฟังก์ชั่น N จะแปลงค่าต่างๆตามรายการในตารางต่อไปนี้

ให้ลองทำตามตัวอย่างต่อไปนี้

1. คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 100 จากนั้นคลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =n(a2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 100

2. คลิกเซลล์ A3 แล้วพิมพ์ TRUE จากนั้นคลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์=n(a3)

แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1

3. คลิกเซลล์ A4 แล้วพิมพ์ FALSE จากนั้นคลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =n(a4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0

4. คลิกเซลล์ A5 แล้วพิมพ์ CIS จากนั้นคลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =n(a5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0

5. คลิกเซลล์ A6 แล้วพิมพ์ =”1/1/01” จากนั้นคลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =n(a6) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0

6. คลิกเซลล์ A7 แล้วพิมพ์ 1/1/01 จากนั้นคลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =n(a7) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 36892

วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Excel กับฟังก์ชั่น MULTINOMIAL

Excel กับฟังก์ชั่น MULTINOMIAL MULTINOMIAL คือ ฟังก์ชั่นทางด้านคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ ของ Excel ทำหน้าที่ ส่งกลับอัตราส่วนของแฟกทอเรียลของ... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น MULTINOMIAL

MULTINOMIAL คือ ฟังก์ชั่นทางด้านคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ ของ Excel

ทำหน้าที่ ส่งกลับอัตราส่วนของแฟกทอเรียลของผลรวมของค่ากับผลคูณของแฟกทอเรียล

รูปแบบสูตรคือ MULTINOMIAL(number1,number2,…)

number1, number2… คือค่า 1 ถึง 29 ใดๆที่คุณต้องการหาค่าอเนกนาม (multinomial)

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องคือ FACT, FACTDOUBLE

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น MULTINOMIAL ให้เราลองทำตามตัวอย่างนี้ดู

1. ระบายเซลล์ A2:B4 แล้วพิมพ์ a แล้วกด Enter พิมพ์ b แล้วกด Enter พิมพ์ c แล้วกด Enter พิมพ์ 3 แล้วกด Enter พิมพ์ 5 แล้วกด Enter พิมพ์ 8 แล้วกด Enter

2. คลิกเซลล์ B5 แล้วคลิกปุ่ม Auto Sum จะแสดงค่าผลรวมคือ 16

3. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =fact(b5) และกด Enter จะแสดงค่า 2.09228E+13

4. คลิกเซลล์ C2 แล้วพิมพ์=fact(b2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 6 จากนั้น Auto Fill สูตรมาที่เซลล์ C4

5. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =b6/(c2*c3*c4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 720720

6. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ multinomial(b2:b4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 720720

Excel กับฟังก์ชั่น MROUND

Excel กับฟังก์ชั่น MROUND ฟังก์ชั่น MROUND เป็นฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติของ Excel ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าตัวเลขที่ปัดเศษขึ้นไปยังตัว... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น MROUND

ฟังก์ชั่น MROUND เป็นฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติของ Excel

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าตัวเลขที่ปัดเศษขึ้นไปยังตัวพหุคูณที่ต้องการ

รูปแบบสูตร MROUND(number,multiple)

โดยที่ number คือค่าที่จะปัดเศษ

multiple คือพหุคุณที่คุณต้องการปัดเศษตัวเลขขึ้น

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ CEILING, EVEN, FLOOR, ODD, ROUND, ROUNDOWN, ROUNDP, TRUNC

ให้ลองทำตามตัวอย่างต่อไปนี้

1. คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 14 จากนั้นคลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ 3

2. คลิกเซลล์ C2 แล้วพิมพ์ =a2/b2 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 4.666667

3. คลิกเซลล์ D2 แล้วพิมพ์=round(c2,0) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 5

4. คลิกเซลล์ E2 แล้วพิมพ์ =d2*b2 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 15

5. คลิกเซลล์ F2 แล้วพิมพ์=mround(a2,b2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 15

6. ระบายเซลล์ A3:B3 แล้วพิมพ์ 1.3 แล้วกด Enter พิมพ์ 0.2

7. ระบายเซลล์ C2:F2 แล้ว Auto Fill สูตรลงมาแถวที่ 3 จะโชว์ผลการคำนวณ

8. ระบายเซลล์ A4:B4 แล้วพิมพ์ 11 กด Enter แล้วพิมพ์ 7

9. ระบายเซลล์ C3:F3 แล้ว Auto Fill สูตรลงมาแถวที่ 4 จะแสดงผลการคำนวณ

10. ระบายเซลล์ A5:B5 แล้วพิมพ์ 25 แล้วกด Enter พิมพ์ 7

11. หากระบายเซลล์ C4:F4 แล้ว Auto Fill สูตรลงมาแถวที่ 5 จะแสดงผลการคำนวณออกมา

วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Excel and How to wrap text automatically

Excel and How to wrap text automatically 1. In a worksheet, select the cells that you want to format. 2. On the Home tab, in... thumbnail 1 summary

Excel and How to wrap text automatically

1. In a worksheet, select the cells that you want to format.

2. On the Home tab, in the Alignment group, click Wrap Text


 
 



  •  Data in the cell wraps to fit the column width. When you change the column width, data wrapping adjusts automatically.
  •  If all wrapped text is not visible, it may be because the row is set to a specific height


Excel and How to adjust the row height

Excel and How to adjust the row height 1. Select the cell or range for which you want to adjust the row height. 2. On the Home... thumbnail 1 summary
Excel and How to adjust the row height

1. Select the cell or range for which you want to adjust the row height.
2. On the Home tab, in the Cells group, click Format.










3. Under Cell Size , do one of the following:
  •  To automatically adjust the row height, click AutoFit Row Height.
  •  To specify a row height, click Row Height, and then type the row height that you want in the Row height box.

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Excel กับฟังก์ชั่น MONTH

Excel กับฟังก์ชั่น MONTH MONTH คือฟังก์ชั่นประเภท วันที่และเวลาของ Excel ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าเดือนซึ่งเป็นจำนวนเต็มจาก 1 (มกราคม) ถึง 1... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น MONTH

MONTH คือฟังก์ชั่นประเภท วันที่และเวลาของ Excel

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าเดือนซึ่งเป็นจำนวนเต็มจาก 1 (มกราคม) ถึง 12 (ธันวาคม) ค่านี้ถูกหามาจากเลขลำดับ (Serial number) ที่ระบุ

รูปแบบสูตร คือ MONTH(serial_number)

Serial_number คือ วันที่ในเดือนที่คุณจะค้นหา ซึ่งควรจะใส่วันที่โดยใช้ฟังก์ชั่น DATE หรือใช้ผลลัพธ์ของสูตรหรือฟังก์ชั่นอื่นๆ ตัวอย่างเช่น ใช้สูต DATE(2008,5,23) เพื่อแทนวันที่ 23 ของพฤษภาคม ค.ศ. 2008 เนื่องจากอาจเกิดปัญหาขึ้นได้หากใส่วันที่ในรูปแบบข้อความ

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง คือ DAY, HOUR, MINUTE, NOW, WEEKDAY, YEAR

ให้ทดลองทำตามตัวอย่างต่อไปนี้

1. คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 12-Aug-01

2. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =month(a2) และกด Enter จะโชว์ 8 ซึ่งหมายถึง Aug คือเดือนที่ 8

3. หากคลิกเซลล์ A3 แล้วพิมพ์ 37211 และคลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =month(a3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 11

4. ให้คลิกเซลล์ A3 แล้วคลิกเมนู Format แล้วเลือกคำสั่ง Cells จากนั้นเลือกรูปแบบวันที่เป็น 4-Mar-97 แล้วคลิกปุ่ม OK ที่เซลล์ A3 จะแสดงค่า 16-Nov-01 ซึ่งเดือน Nov คือ เดือนที่ 11 นั่นเอง

5. คลิกเซลล์ A4 แล้วพิมพ์ =”1-Mar-02” แล้วกด Enter

6. คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =month(a4) และกด Enter จะแสดงค่า 3

Excel กับฟังก์ชั่น MAXA

Excel กับฟังก์ชั่น MAXA ฟังก์ชั่น MAXA คือฟังก์ชั่นทางด้านสถิติของ Excel ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าที่มากที่สุดในชุดของค่าที่ระบุ ข้อความและค่าตร... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น MAXA

ฟังก์ชั่น MAXA คือฟังก์ชั่นทางด้านสถิติของ Excel

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าที่มากที่สุดในชุดของค่าที่ระบุ ข้อความและค่าตรรกศาสตร์ เช่น TRUE และ FALSE จะนำมาเปรียบเทียบกัน เช่นเดียวกับตัวเลข

รูปแบบสูตร MAXA(value1, value2,…)

value1, value2, ….. คือค่า 1 ถึง 30 ค่าที่ต้องการค้นหาค่ามากที่สุด

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ DMAX, MINA

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น MAXA ให้ทำดังนี้

1. ระบายเซลล์ B2:B8 แล้วพิมพ์ 0.2 แล้วกด Enter พิมพ์ 0.5 แล้วกด Enter พิมพ์ 0.5 แล้วกด Enter พิมพ์ 0.48 แล้วกด Enter พิมพ์ 0.24 แล้วกด Enter พิมพ์ 0.6 แล้วกด Enter พิมพ์ 0.8 กด Enter จากนั้น Copy ไปยัง C2:C8

2. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =max(b2:b8) แล้วก Enter จะแสดงค่า 0.8 หากพิมพ์ TRUE เข้าไปในเซลล์ B3 แล้วกด Enter ผลที่เซลล์ B10 จะแสดง 0.8 เช่นเดิม

3. หากพิมพ์ TRUE เข้าไปในเซลล์ C3 แล้วคลิกเซลล์ C10 แล้วพิมพ์ =max(c2:c8) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1 หากพิมพ์ FALSE เข้าไปที่เซลล์ C3 และกด Enter ผลที่เซลล์ C10 จะแสดงค่า 0.8 เพราะฉะนั้น maxa จะตรวนเช็คข้อความด้วย ไม่เหมือน max ที่ตรวจเช็คเฉพาะตัวเลข

วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Excel กับฟังก์ชั่น IMPRODUCT

Excel กับฟังก์ชั่น IMPRODUCT ฟังก์ชั่น IMPRODUCT จัดเป็นฟังก์ชั่นด้านวิศวกรรม ของ Excel ทำหน้าที่ ส่งกลังค่าผลคูณของจำนวนเชิงซ้อน 2 ถึง 29 ... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น IMPRODUCT

ฟังก์ชั่น IMPRODUCT จัดเป็นฟังก์ชั่นด้านวิศวกรรม ของ Excel

ทำหน้าที่ ส่งกลังค่าผลคูณของจำนวนเชิงซ้อน 2 ถึง 29 จำนวนในรูปแบบข้อความ x+yi หรือ x+yj

รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น IMPRODUCT บน Excel คือ IMPRODUCT(inumber, inumber2,…)

inumber1, inumber2 …. คือ จำนวนเชิงซ้อน 1 ถึง 29 จำนวนที่ต้องการคูณ

รูปแบบสูตรทางคณิตศาสตร์ คือ (a+bi)(c+di)=(ac-bc)+(ad+bc)i

ฟังก์ชั่นที่มีความเกี่ยวข้องกับฟังก์ชั่น IMPRODUCT ได้แก่ IMAGINARY, IMREAL, IMSUM

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น IMPRODUCT ให้เราทดลองทำตามตัวอย่างต่อไปนี้ครับ

1. คลิกที่เซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 2+3i จากนั้นพิมพ์ 4-5i ที่เซลล์ A3

2. ระบายเซลล์ A4:A7 แล้วพิมพ์ a แล้วกด Enter พิมพ์ b แล้วกด Enter พิมพ์ c แล้วกด Enter พิมพ์ d แล้วกด Enter

3. คลิกที่เซลล์ A9 แล้วพิมพ์ x แล้วกด Enter พิมพ์ y แล้วกด Enter

4. ระบายเซลล์ B4:B7 แล้วพิมพ์ 2 แล้วกด Enter พิมพ์ 3 แล้วกด Enter พิมพ์ 4 แล้วกด Enter พิมพ์ -5 แล้วกด Enter

5. คลิกเซลล์ B9 แล้วพิมพ์ =b4*b6-b5*b7 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 23

6. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =b4*b7+b5*b6 แล้วกด enter จะแสดงค่า 2

7. คลิกเซลล์ B11 แล้วพิมพ์ =complex(b9,b10) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 23+2i

8. คลิกเซลล์ B13 แล้วพิมพ์ =improduct(a2,a3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 23+2i

วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Excel กับฟังก์ชั่น ISTEXT

Excel กับฟังก์ชั่น ISTEXT ISTEXT เป็นฟังก์ชั่นประเภทข้อความ ทำหน้าที่ ตรวจสอบว่าเซลล์ใดๆว่ามีข้อความอยู่ในเซลล์นั้นๆหรือเปล่า ถ้าเซลล์นั้นม... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น ISTEXT

ISTEXT เป็นฟังก์ชั่นประเภทข้อความ

ทำหน้าที่ ตรวจสอบว่าเซลล์ใดๆว่ามีข้อความอยู่ในเซลล์นั้นๆหรือเปล่า ถ้าเซลล์นั้นมีข้อความอยู่จริง จะส่งกลับค่า True กลับมา

รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น ISTEXT คือ ISTEXT(value)

value คือค่าที่คุณต้องการให้ทดสอบ ค่า Value สามารถเป็นค่าว่างเปล่า (เซลล์ว่าง) ค่าความผิดพลาด ตรรกะ ข้อความ ตัวเลข หรือค่าการอ้างอิงหรือชื่อซึ่งอ้างอิงกับอะไรก็ได้ที่คุณต้องการทดสอบ

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง คือ ERROR, TYPE, ISEVEN, ISODD, TYPE

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น ISTEXT

1. คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 0 จากนั้นคลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์=istext(a2) และกด Enter จะแสดงค่า FALSE

2. คลิกเซลล์ C2 แล้วพิมพ์ =isnontext(b2) และกด Enter จะแสดงค่า TRUE

3. คลิกเซลล์ A3 แล้วพิมพ์ aaa จากนั้นคลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =istext(a3) และกด Enter จะแสดงค่า TRUE

4. คลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ =isnontext(b3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า FALSE

5. คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =istext(a4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า FALSE เนื่องจากเซลล์ A4 ไม่มีข้อความ

6. คลิกเซลล์ C4 แล้วพิมพ์ =isnontext(b4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า TRUE

7. คลิกเซลล์ A5 แล้วพิมพ์ =”” แล้วกด Enter จากนั้นคลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =istext(a5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า True จากนั้นคลิกเซลล์ C5 แล้วพิมพ์ =isnontext(b5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า FALSE

วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Excel กับการใช้ Control Listbox ของ Form Controls

Excel กับการใช้ Control Listbox ของ Form Controls เห็นขึ้นหัวข้อไว้อย่างนี้ แล้วมือใหม่ถึงกับงงเต็กกันเลยทีเดียว ทำไมจึงบอกว่า การใช้ C... thumbnail 1 summary
Excel กับการใช้ Control Listbox ของ Form Controls

เห็นขึ้นหัวข้อไว้อย่างนี้ แล้วมือใหม่ถึงกับงงเต็กกันเลยทีเดียว ทำไมจึงบอกว่า การใช้ Control Listbox ของ Form Controls..

สาเหตุที่กล่าวอย่างนี้ก็เพราะว่า Listbox มีอยู่ 2 ตัว ตัวแรกอยู่ในส่วนของ Form Controls

และอีกตัวหนึ่งอยู่ในส่วน ActiveX Controls นั่นเอง

ซึ่งก็มีวิธีใช้ที่คล้ายๆกัน แต่ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว ตั้งแต่เรื่องการกำหนดค่าของข้อมูล ที่จะให้ Listbox เก็บ จนถึง เรื่องของการเขียน Source code ให้

สำหรับตัวอย่างนี้ เราจะทดลองใช้ Control Listbox ที่อยู่ในส่วน Form Controls น่ะครับ ตามที่ได้ขึ้นหัวข้อไว้

โดยให้เราลองทำตามตัวอย่างดังต่อไปนี้

1. เปิด Excel ขึ้นมา

2. คลิ้กที่ แท็บ Developer หรือ เรียกอีกอย่างว่า แท็บ นักพัฒนา นั่นเอง

3. ในส่วนของ Controls ให้เราคลิ้กที่ Insert (หรือ Insert Controls นั่นเอง

4. นำ Listbox ที่อยู่ในส่วนของ Form Controls มาวางบน Excel sheet1 1 ตัว

5. คลิ้กขวาที่ Listbox ตัวนี้ แล้วเลือก คำสั่ง format control

6. กล่อง format control จะปรากฏขึ้นมา ให้เราคลิ้กที่แท็บ Control แล้วกำหนดค่าในส่วนของ Input range เป็น $A$1:$A$2 แล้วคลิ้ก Ok ไป

7. ที่เซลล์ A1 พิมพ์คำว่า “dd” แล้วกด Enter

8. ที่เซลล์ A2 พิมพ์คำว่า “ee” แล้วกด Enter

9. คลิ้กขวาที่ Listbox Control อีกครั้ง แล้วเลือกคำสั่ง Assign macro…

10. กล่องโต้ตอบ Assign macro จะปรากฏขึ้น ให้เราคลิ้กที่ New เพื่อสร้าง macro หรือ เขียน Source code vba ควบคุม listbox นั่นเอง

11. ในตัวอย่างนี้เราจะให้โปรแกรมทำงานดังนี้คือ เมื่อเราคลิ้กรายการใน listbox ที่รายการใด จะดึงข้อมูล ในรายการที่ถูกคลิ้กออกมาแสดงด้วย MsgBox

12. หลังจากที่เราคลิ้กที่ ปุ่ม New แล้วให้เราใส่ คำสั่ง ต่อไปนี้ ลงไป

Sub ListBox1_Change()

Select Case Sheet1.Shapes("List Box 1").ControlFormat.ListIndex

Case 1

MsgBox Sheet1.Shapes("List Box 1").ControlFormat.List(1)

Case 2

MsgBox Sheet1.Shapes("List Box 1").ControlFormat.List(2)

End Select

End Sub

13. สั่งรันโปรแกรมดูน่ะครับ แล้วลองคลิ้กรายการใน listbox ดูแล้วจะเข้าใจเองครับ

Excel กับการสร้าง Chart ด้วยฟังก์ชั่น Cos และ ฟังก์ชั่น PI

Excel กับการสร้าง Chart ด้วยฟังก์ชั่น Cos และ ฟังก์ชั่น PI รูปร่างของ Chart จะออกมาเป็นอย่างไรนั้น นอกจากขึ้นอยู่กับ Chart Type ที่เราเ... thumbnail 1 summary

Excel กับการสร้าง Chart ด้วยฟังก์ชั่น Cos และ ฟังก์ชั่น PI

รูปร่างของ Chart จะออกมาเป็นอย่างไรนั้น นอกจากขึ้นอยู่กับ Chart Type ที่เราเลือกแล้ว ยังขึ้นกับช่วงของข้อมูลที่เราเลือกมาสร้าง Chart อีกด้วย

Excel ได้เตรียม Chart Type ต่างๆมาให้เราเลือกมากมาย เช่น Column Chart, Line Chart, Pie Chart, Bar Chart, Area Chart, Scatter Chart และอื่นๆอีกหลาย Type ด้วยกัน อันนี้มันก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกใช้ Chart แบบใด เพื่อจะสื่อความหมายที่สุด อย่างเช่น

เราต้องการทำ Chart ที่แสดงถึงความแตกต่างของการใช้อินเตอร์เน็ตระหว่างชายและหญิง เราอาจจะใช้ Column Chart มา สร้าง Chart แบ่งกั้นซ้ายขวา ระหว่างชายและหญิงก็ได้ หรืออาจจะใช้ Chart Type แบบ Pie แทนก็ใช้ได้เช่นกัน

อีกตัวอย่างหนึ่ง ถ้าเราต้องการสร้างกราฟที่สื่อถึงความ Hot หรือ แนวโน้มของสินค้า ว่า มีคนสนใจมากน้อยเพียงใดในแต่ละเดือนแต่ละเทศกาล เราก็สามารถใช้ chart Type แบบ line ได้ ซึ่ง Chart แบบ line ก็สามารถทำหน้าที่ได้ดีสำหรับงานเช่นนี้

วันนี้ จะมาแสดงตัวอย่าง Chart แบบ Pie แบบง่ายๆ โดย สร้างจากฟังก์ชั่น Cos, pi ให้ดูกัน มาเริ่มกันเลย

1. พิมพ์ที่เซลล์ A1 ว่า =RAND()*360

2. แล้ว Auto Fill ลงมาจนถึง A20

3. พิมพ์ที่เซลล์ B1 ว่า =COS(A1)*PI()/180

4. แล้ว Auto Fill ลงมาจนถึง B20

5. เลือกเซลล์ B1 จนถึง B20 ด้วย เม้าส์

6. คลิ้กที่แท็บ Insert เลือก chart type แบบ pi

7. จะได้ Chart pi ตามที่ต้องการ

8. ให้เราลองกด F9 เพื่อให้โปรแกรม Excel สุ่มตัวเลขในช่อง A1 ถึง A20 แล้วดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับ chart ครับ




จาก Chart ด้านบน เราจะเห็นว่า Chart Pi สวยงามทีเดียว มีการแบ่งข้อมูลแต่ละตัวเป็นซีกๆ และใส่สีที่ต่างกันด้วย (เราสามารถกำหนดสี และส่วนประกอบต่างๆเพิ่มเติมได้)

ลองคลิ้กที่ Chart Title แล้วเปลี่ยนเป็น Pi Chart ดูครับ

ส่วนข้อความตัวเลขบนตัว chart เราสามารถคลิ้กแล้วเปลี่ยนได้ครับรวมทั้งสีของ Chart ด้วย โดยคลิ้กขวาที่ Chart แล้วเลือก Format Data Labels… หรือ Format Data Series….

Excel กับฟังก์ชั่น IMABS

Excel กับฟังก์ชั่น IMABS IMABS เป็นฟังก์ชั่นทางด้านวิศวกรรม ของ Excel ทำหน้าที่ส่งกลับค่าสัมบูรณ์ (absolute) ของจำนวนเชิงซ้อนซึ่งอยู่ในรูปแ... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น IMABS

IMABS เป็นฟังก์ชั่นทางด้านวิศวกรรม ของ Excel

ทำหน้าที่ส่งกลับค่าสัมบูรณ์ (absolute) ของจำนวนเชิงซ้อนซึ่งอยู่ในรูปแบบข้อความ x+yi หรือ x+yj

รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น IMABS คือ IMABS(inumber)

โดยที่ inumber คือ จำนวนเชิงซ้อนที่คุณต้องการหาค่าสัมบูรณ์

รูปแบบสูตรทางคณิตศาสตร์ของฟังก์ชั่น IMABS คือ IMABS(z)=|z|=((x*x)+(y*y))*1/2

โดยที่ z=x+yi

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องได้แก่ IMAGINARY, IMREAL, IMSUM

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น IMABS ให้ทำตามตัวอย่างด้านล่างนี้ครับ

1. คลิกที่เซลล์ A2 แล้วพิมพ์ =5+2i

2. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =sqrt(5^2+2^2) และกด Enter จะแสดงค่า 5.385165

3. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =imabs(a2) และกด Enter จะแสดงค่า 5.385165 ออกมา

วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Excel กับฟังก์ชั่น IMPOWER

Excel กับฟังก์ชั่น IMPOWER IMPOWER คือฟังก์ชั่นประเภท วิศวกรรมของ Excel ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าจำนวนเชิงซ้อนในรูปแบบของข้อความ x+yi หรือ x+yj ... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น IMPOWER

IMPOWER คือฟังก์ชั่นประเภท วิศวกรรมของ Excel

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าจำนวนเชิงซ้อนในรูปแบบของข้อความ x+yi หรือ x+yj ที่ถูกยกกำลัง

รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น IMPOWER ที่ใช้บน Excel

IMPOWER(inumber,number)

โดยที่ inumber คือ จำนวนเชิงซ้อนที่คุณต้องการยกกำลัง

number คือค่าเลขชี้กำลัง (Power) ที่ใช้นการยกกำลังจำนวนเชิงซ้อน

ฟังก์ชั่นที่มีความคล้ายกับฟังก์ชั่น IMPOWER ได้แก่

IMAGINARY, IMREAL, IMSUM เป็นต้น

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น IMPOWER บน Excel ให้เราลองทำตามตัวอย่างต่อไปนี้ครับ

1. คลิกที่เซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 1+3i

2. ระบายเซลล์ A3:A9 แล้วพิมพ์ x กด Enter พิมพ์ y แล้วกด Enter พิมพ์ n แล้วกด enter พิมพ์ r แล้วกด enter พิมพ์ Theta

3. พิมพ์ a แล้วกด enter พิมพ์ b แล้วกด enter

4. ระบายเซลล์ B3:B5 พิมพ์ 1 กด Enter พิมพ์ 3 กด Enter พิมพ์ 2 แล้วกด Enter

5. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =sqrt(b3^2+b4^2) และกด Enter จะแสดงค่า 3.162278

6. คลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =atan(b4/b3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1.249046

7. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =b6^b5*cos(b5*b7) แล้วกด Ener จะแสดงค่า -8

8. คลิกเซลล์ B9 แล้วพิมพ์ =b6^b5*sin(b5*b7) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 6

9. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =complex(b8,b9) แล้วกด Enter จะแสดงค่า -8+6i

10. คลิกเซลล์ B12 แล้วพิมพ์ =impower(a2,2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า -8+6i

Excel กับการตอบสนองต่อการคลิ้กของเซลล์

Excel กับการตอบสนองต่อการคลิ้กของเซลล์ Cell click Event on Excel เราทราบดีว่า Excel มี Control ที่ตอบสนองต่อการคลิ้กอยู่ 2 แบบ แบบแร... thumbnail 1 summary

Excel กับการตอบสนองต่อการคลิ้กของเซลล์

Cell click Event on Excel

เราทราบดีว่า Excel มี Control ที่ตอบสนองต่อการคลิ้กอยู่ 2 แบบ

แบบแรกคือ ปุ่ม button ที่อยู่ในส่วนของ Control form

แบบที่สองคือ ปุ่ม button ที่อยู่ในส่วนของ ActiveX Control

เราสามารถเขียน Macro หรือ VBA เพื่อควบคุมให้ปุ่มดังกล่าวตอบสนองต่อการคลิ้กได้อยู่แล้ว

แต่ Excel ก็ยังมี Event ที่ตอบสนองต่อการคลิ้กของ Cell มาให้เราเช่นกัน

กล่าวคือ สมมติว่าเราต้องการที่จะ ให้ Excel รู้ว่าเราคลิ้กที่เซลล์ใดๆ เราจะต้องเขียน Macro หรือ VBA ในส่วนใดเพื่อสนองความต้องการนี้

ยกตัวอย่างเช่น

หากเราจะเขียนโปรแกรมประมาณว่า เมื่อผู้ใช้คลิ้กที่ เซลล์ A1 ซึ่งเราพิมพ์ว่าสีแดง อยู่ในเซลล์นี้ แล้วให้ Excel ใส่สี แดงที่เซลล์ B1 ให้ เราจะทำอย่างไร

เรามาลองดูตัวอย่างของโปรแกรมลักษณะนี้กัน ให้เราทำตามตัวอย่างด้านล่างนี้ครับ เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น

1. ให้เราพิมพ์ที่เซลล์ A1 ว่า “สีแดง”

2. ให้เราพิมพ์ที่เซลล์ A2 ว่า “สีน้ำเงิน”

3. ให้เราพิมพ์ที่เซลล์ A3 ว่า “สีเขียว”

4. ให้เราพิมพ์ที่เซลล์ A4 ว่า “สีเหลือง”

5. ให้เราพิมพ์ที่เซลล์ A5 ว่า “สีชมพู”

6. ส่วน B1:B5 ให้เราปล่อยว่างไว้

7. จัดรูปแบบเซลล์โดยตีกรอบด้วยสีดำเส้นหนาๆหน่อยที่เซลล์ A1:B5

8. ส่วนที่ A6 พิมพ์คำว่า Reset แล้วใส่สีจัดรูปแบบตามภาพด้านล่างนี้ครับ

9

. เมื่อออกแบบทุกอย่างได้ดังภาพแล้ว ให้เรากด Alt+F11 เพื่อไปยังหน้าจอ VBA แล้วใส่ Source code ต่อไปนี้ ลงไปครับ
Private Sub Worksheet_SelectionChange(ByVal Target As Range)

If (Target.Address = Range("a1").Address) Then

Range("b1").Select

With Selection.Interior



.Color = vbRed 'red color



End With

End If

' blue color

If (Target.Address = Range("a2").Address) Then

Range("b2").Select

With Selection.Interior



.Color = vbBlue 'blue color



End With

End If

'green color

If (Target.Address = Range("a3").Address) Then

Range("b3").Select

With Selection.Interior



.Color = vbGreen 'green color



End With

End If

'yellow color

If (Target.Address = Range("a4").Address) Then

Range("b4").Select

With Selection.Interior



.Color = vbYellow



End With

End If

'Magenta color (pink color)

If (Target.Address = Range("a5").Address) Then

Range("b5").Select

With Selection.Interior



.Color = vbMagenta



End With

End If

'Reset to white color

If (Target.Address = Range("a6").Address) Then

Range("b1:b5").Select

With Selection.Interior



.Color = vbWhite



End With

End If



End Sub

10. จากโค้ดเราจะอธิบายแค่บางส่วนเท่านั้นนะครับ เพราะส่วนอื่นๆของ Source code ก็ทำงานเช่นเดียวกัน

เนื่องจากเราจะตรวจสอบว่า ผู้ใช้มีการ click ที่เซลล์ ที่เราต้องการหรือไม่ เราจึงต้องเขียน โค้ดในส่วนของ Worksheet_SelectionChange เพราะเป็นส่วนที่โปรแกรม Excel ใช้เช็คว่า มีการกระทำใดๆเกิดขึ้น หรือ มีอะไรเปลี่ยนแปลงที่เซลล์ใดๆบน Worksheet หรือไม่นั่นเอง
Private Sub Worksheet_SelectionChange(ByVal Target As Range)
เขียนโค้ดบริเวณนี้
End sub

เช่น เราต้องการตรวจสอบว่า เซลล์ A1 มีการคลิ้กหรือไม่ เราก็เขียนว่า
If (Target.Address = Range("a1").Address) Then

โค้ดที่ต้องการให้ทำเมื่อมีการคลิ้กที่เซลล์ A1

End if

สังเกตดีๆน่ะครับ...เอาละเรามาดูคำสั่งภายใน if กันว่า เราให้ทำอะไร

Range("b1").Select

With Selection.Interior



.Color = vbRed 'red color



End With

อธิบายโค้ด

Range(“b1”).Select หมายถึง ให้เลือกที่เซลล์ b1

With Selection.Interior ความหมายคือ พอมีการเลือกแล้วก็จะให้ทำ..

.Color=vbRed หมายถึง ใส่สีแดงเข้าไป (ในที่นี้คือใส่สีแดงให้เซลล์ b1)

End with จบประโยค End with

โค้ดในส่วนอื่นก็ความหมายคล้ายๆกันครับไม่ยาก

ในตัวอย่างวันนี้ เพียงแต่ต้องการให้เรารู้วิธีการตรวจสอบการคลิ้กที่ เซลล์ใดๆ ก็เท่านั้นเองครับ...ถือว่าเป็นเรื่องที่ควรจดจำเอาไปใช้ ...สำหรับใครที่ไม่ต้องการที่จะนำ Command Button ออกมาวางแล้วเขียนโค้ดให้ Command Button วิธีการตรวจสอบการคลิ้กที่เซลล์ นับเป็นวิธีการหนึ่งที่ประหยัดพื้นที่ Sheet เราไปอีกแบบครับ..

เกือบลืมไป ขั้นตอนที่ 11. สั่ง Run ให้โปรแกรมเราทำงาน แล้วลองคลิ้กที่เซลล์ A1 A2 A3 A4 A5 รวมถึง เซลล์ A6 ด้วยน่ะครับ แล้วจะเข้าใจว่าโปรแกรมทำงานอย่างไร


จากภาพด้านบน เราจะเห็นว่า เมื่อเราคลิ้กที่ เซลล์ A1 เซลล์ B1 จะกลายเป็นสีแดง, คลิ้กเซลล์ A2 เซลล์ B2 ก็จะกลายเป็น สีน้ำเงินเป็นต้น

ส่วนที่เซลล์ A6 (Reset) เมื่อเราคลิ้ก....เซลล์ B1:B5 จะกลายเป็นสีขาวตามเดิมครับ

วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Excel ตอน สร้างโปรแกรมนับจำนวนคำ (Count Words)

Excel ตอน สร้างโปรแกรมนับจำนวนคำ (Count Words) เวลาเราพิมพ์บทความหรือข้อความใดๆของ Microsoft Word เราจะเห็นว่าที่ Status ด้านล่าง จะมีการ... thumbnail 1 summary
Excel ตอน สร้างโปรแกรมนับจำนวนคำ (Count Words)

เวลาเราพิมพ์บทความหรือข้อความใดๆของ Microsoft Word เราจะเห็นว่าที่ Status ด้านล่าง จะมีการรายงานว่า เราพิมพ์ไปทั้งหมดกี่คำแล้ว

เราทราบหรือไม่ว่า โปรแกรม Microsoft Word ใช้หลักเกณฑ์อะไรมาเป็นตัวบอกว่า เราพิมพ์ไปกี่คำ...Microsoft Word นับยังไง ใครรู้บ้าง

ถ้าเราใช้ Excel นับจำนวนคำให้เราบ้าง เราจะทำได้หรือไม่ แล้วจะทำได้อย่างไร...วันนี้ เรามีคำตอบมาให้ครับ...

การนับจำนวนคำโดยทั่วไปแล้วเราจะเอาช่องว่างมาเป็นตัวแบ่งแยกว่า เป็นหนึ่งคำ เช่น ประโยคด้านล่าง

1. เงินทอง เป็นของนอกกาย

2. ถุงยางต้องใส่ทุกครั้ง ก่อนมีเพศสัมพันธ์

3. คนรวย ต้อง ช่วย คนจน

จากประโยคตัวอย่างด้านบน เราจะมาดูกันว่าแต่ละข้อหากเรานับเอง เราจะนับได้ ข้อละ กี่คำ...เริ่มจาก ข้อ 1 ก่อนเลยแล้วกัน

Excel กับ สัญลักษณ์ทางดนตรี

Excel กับ สัญลักษณ์ทางดนตรี เมื่อคราวที่ Bruno mars มาแสดงคอนเสิร์ตที่เมืองไทย ผมไม่ได้รู้เรื่องกับคนอื่นเขาเลย ทั้งที่ชอบ คุณ Bruno มา... thumbnail 1 summary
Excel กับ สัญลักษณ์ทางดนตรี

เมื่อคราวที่ Bruno mars มาแสดงคอนเสิร์ตที่เมืองไทย ผมไม่ได้รู้เรื่องกับคนอื่นเขาเลย ทั้งที่ชอบ คุณ Bruno มากอยู่เหมือนกัน เลยอดไปดูซะ

จริงๆแล้วพูดถึง ศิลปินต่างประเทศก็มีชอบอยู่หลายคนครับ เช่น อย่าง Michael Learn to rock (เจ้าเก่าเรานี่เอ), Backstreet boys, Maroon 5, Talor Swift เป็น เพลงไทยก็ฟังน่ะครับ ผมชอบหลายคนเหมือนกัน ศิลปินไทยที่ร้องเพลงได้ไพเราะมีอยู่หลายคน ที่ผมชอบๆ และติดตามผลงานอยู่ ก็เช่น ตูน บอดี้แสลม, โปเตโต้, Slot Machine, Groove Rider และพวกเพลงประกอบละคร (ติดมาจากแฟน) ก็ฟังบ่อย

วันนี้ Excel ไซด์จะพูดเรื่องเบาๆสมองหน่อยน่ะครับ แต่ก็มีสาระอยูนะ ...

ดนตรีจัดเป็นเครื่องมือให้ความบันเทิงแก่คนเราได้เป็นอย่างดี ช่วยทำให้มนุษย์เรามีชีวิตชีวามากขึ้น ช่วยคลายเหงา สามารถเป็นเพื่อนเราได้ในยามแก่เฒ่าได้เป็นอย่างดี

ดนตรีสามารถทำให้คนอายุยืนได้ อันนี้ผมเชื่อน่ะครับว่าเป็นความจริง สังเกตไหมครับว่า คนเรา ถ้าเป็นคนที่ปกติธรรมดาทั่วไป ต้องมีดนตรีในหัวใจ เราจะฟังเพลงสไตล์ไหนไม่สำคัญ มันสำคัญที่ว่าเรามีดนตรีอยู่ในหัวใจของเราหรือเปล่า

ถ้าใครไม่ฟังเพลงอะไรเลย ผมว่าเป็นคนที่แปลกพิกลอยู่น่ะครับว่าไหม

ใน Excel หากเราจะแทรกตัวโน๊ตดนตรีเข้าไปใน Sheet เราสามารถทำได้ 2 ทาง

อย่างแรกคือ ให้เราไปที่ เมนู Insert->Symbol แล้วเลือกมาลง

อย่างที่สอง คือ ใช้ฟังก์ชั่นของ Char ของ Excel (วิธีนี้น่าจะเร็วกว่า) แต่เราต้องทราบว่า หมายเลขอะไรที่จะใส่เข้าไปในฟังก์ชั่น Char เพื่อให้มันดึง สัญลักษณ์ทางดนตรีมาให้เรา

รูปแบบของฟังก์ชั่น Char คือ Char(number)

โดยที่ number มีค่าตั้งแต่ 1ถึง 255

สมมติว่า เราพิมพ์ที่ A1 ว่า =char(65) แล้วกด Enter

เราจะได้อักษร A (ตัวใหญ่) บนเซลล์ A1

ถ้าเราพิมพ์ที่ A1 ว่า =char(33) แล้วกด Enter

เราจะได้สัญลักษณ์ ! บนเซลล์ A1

และสุดท้ายที่เราต้องการในหัวข้อนี้คือ สัญลักษณ์ดนตรี

ถ้าเราพิมพ์ที่ A1 ว่า =char(14) แล้วกด Enter

เราจะได้สัญลักษณ์โน้ตดนตรีบนเซลล์ A1 เป็นต้น




เราจะเห็นว่า หากเราต้องการใส่สัญลักษณ์อย่างรวดเร็ว แล้วเรารู้รหัสของ สัญลักษณ์ เราจะแทรกมันเข้ามาใน Sheet ได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้ คำสั่ง char ช่วย...นี่แหละประโยชน์ของฟังก์ชั่น char ละ

วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Excel กับ ฟังก์ชั่น GAMMAINV

Excel กับ ฟังก์ชั่น GAMMAINV GAMMAINV จัดเป็นฟังก์ชั่น ทางด้านสถิติของ Excel ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าผกผันของการแจกแจงแบบแกมมาสะสม (gamma cumul... thumbnail 1 summary
Excel กับ ฟังก์ชั่น GAMMAINV

GAMMAINV จัดเป็นฟังก์ชั่น ทางด้านสถิติของ Excel

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าผกผันของการแจกแจงแบบแกมมาสะสม (gamma cumulative distribution) ถ้าค่า p=GAMMADIST(x,…) ค่า GAMMAINV(p,…) จะ =x คุณสามารถใช้ฟังก์ชั่นนี้ศึกษาตัวแปรที่อาจมีการแจกแจงแบบเบ้ได้

รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น GAMMAINV(probability,alpha,beta)

Probability คือ ความน่าจะเป็นที่ได้จากการแจกแจงแบบแกมมา

alpha คือ พารามิเตอร์ของการแจกแจง

Beta คือ พารามิเตอร์ที่ใช้สำหรับการแจกแจง ถ้า beta=1 ฟังก์ชั่น GAMMAINV จะส่งกลับค่าการแจกแจงแบบแกมมามาตรฐาน

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องกับ ฟังก์ชั่น GAMMAINV ก็ได้แก่ฟังก์ชั่น GAMMADIST

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น GAMMAINV บน Excel ให้เราลองทำตามตัวอย่างด้านล่างนี้ครับ

1. ระบายเซลล์ A2:B4 แล้วพิมพ์ว่า Probability และกด Enter พิมพ์ Alpha แล้วกด Enter พิมพ์ Beta แล้วกด Enter

2. พิมพ์ 0.654715 แล้วกด Enter พิมพ์ 6 แล้วกด Enter พิมพ์ 3 และกด Enter

3. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =Gammainv(b2,b3,b4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 20.00001

4. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ว่า =gammadist(b6,b3,b4,true) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.654715

Excel กับ ฟังก์ชั่น False

Excel กับ ฟังก์ชั่น False False เป็นฟังก์ชั่นประเภท ตรรกศาสตร์ ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าตรรกศาสตร์ False รูปแบบสูตร FALSE () ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข... thumbnail 1 summary
Excel กับ ฟังก์ชั่น False

False เป็นฟังก์ชั่นประเภท ตรรกศาสตร์

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าตรรกศาสตร์ False

รูปแบบสูตร FALSE()

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ And, Not, True

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น False ให้เราลองทำตามตัวอย่างด้านล่างนี้ครับ

1. คลิกที่เซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =false() และกด Enterจะแสดงค่า False

2. คลิกที่เซลล์ B3 แล้วพิมพ์ false และกด Enter จะแสดงค่า False

3. คลิกที่เซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =if(2=2,false(),true() และกด Enter จะแสดงค่า False

4. คลิกเซลล์ A6 แล้วพิมพ์ 300 จากนั้นคลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ 200

5. คลิกเซลล์ C6 แล้วพิมพ์ =if(b6>a6,true(),false()) แล้วกด Enter จะแสดงค่า False

6. คลิกเซลล์ D6 แล้วพิมพ์ =if(c6,”Yes”,”No”) แล้วกด Enter จะแสดง No

7. หากคลิกที่เซลล์ B6 แล้วพิมพ์ 400 และกด Enter ที่เซลล์ C6 จะแสดงค่า True และที่เซลล์ D6 จะแสดงค่า Yes

วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Excel กับฟังก์ชั่น Intercept

Excel กับฟังก์ชั่น Intercept Intercept เป็นฟังก์ชั่นทางด้านสถิติ ของ Excel ทำหน้าที่ คำนวณหาจุดที่เส้นจะตัดแกน y โดยการใช้เส้นถดถอยที่ถ... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น Intercept

Intercept เป็นฟังก์ชั่นทางด้านสถิติ ของ Excel

ทำหน้าที่ คำนวณหาจุดที่เส้นจะตัดแกน y โดยการใช้เส้นถดถอยที่ถูกลากผ่านค่า x และ y ที่รู้อยู่แล้วโดยวิธี best-fit ใช้จุดที่เส้นจะตัดกันเมื่อคุณต้องการกำหนดค่าของตัวแปรตามเมื่อตัวแปรต้นเป็น O (ศูนย์) ตัวอย่างเช่น คุณสามารถใช้ฟังก์ชั่น intercept ในการทำนายค่าความต้านทาไฟฟ้าของเหล็กที่ 0 องศาเซลเซียส เมื่อจุดข้อมูลของคุณได้จากอุณหภูมิปกติของห้องหรือสูงกว่า

รูปแบบสูตร คือ Intercept(known_y’s,known_x’s)

known_y’s คือ ชุดของค่าสังเกตหรือข้อมูลที่ไม่เป็นอิสระ (y)

known_x’s
คือ ชุดของค่าสังเกตหรือข้อมูลที่เป็นอิสระ (x)

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Forecast, Growth, Linest, Logest,Pearson,rsq,slope,steyx,trend

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น intercept ให้ลองทำตามตัวอย่างต่อไปนี้

1. รายเซลล์ A2:A8 แล้วพิมพ์ x แล้วกด Enter พิมพ์ 50 กด Enter

พิมพ์ 60 กด Enter พิมพ์ 70 และก Enter พิมพ์ 80 กด Enter พิมพ์ 90 กด Enter พิมพ์ 100 กด Enter

2. ระบายเซลล์ B2:B8 แล้วพิมพ์ Y และกด Enter พิมพ์ 122 กด Enter พิมพ์ 140 กด Enter พิมพ์ 158 แล้วกด Enter พิมพ์ 176 กด Enter พิมพ์ 194 กด Enter พิมพ์ 212 กดEnter

3. คลิกเซลล์ C2 แล้วพิมพ์ XY และคลิกเซลล์ D2 แล้วพิมพ์ X2

4. คลิกเซลล์ A11 พิมพ์ b จากนั้นคลิกเซลล์ A12 พิมพ์ a

5. ระบายเซลล์ A2:B8 แล้วสร้างกราฟแบบ XY(Scatter)

6. คลิกที่จุดของกราฟ แล้วคลิกเมนู Chart แล้วเลือก Add Trendline

7. คลิกแท็บ Options แล้วคลิกเลือก Display equation on chart แล้วคลิกปุ่ม OK จะแสดงค่า y=1.8x+32

8. คลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ =a3*b3 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 6100 จากนั้น Auto Fill ลงมาที่เซลล์ C8

9. คลิกเซลล์ D3 แล้วพิมพ์ =a3^2 และกด Enter จะแสดงค่า 2500 จากนั้น Auto Fill ลงมาที่เซลล์ D8

10. ระบายเซลล์ A10:D10 แล้วคลิกปุ่ม Auto Sum

11. คลิกเซลล์ B11 แล้วพิมพ์ =(6*c10-a10*b10)/(6*d10-a10^2) และกด enter จะโชว์ 1.8

12. คลิกเซลล์ B12 แล้วพิมพ์ =b3=b11*a3 แล้วกด Enter จะโชว์ 32

13. คลิกเซลล์ B12 แล้วพิมพ์ =intercept(b3:b8,a3:a8) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 32 ออกมา

Excel กับฟังก์ชั่น HYPGEOMDIST

Excel กับฟังก์ชั่น HYPGEOMDIST HYPGEOMDIST เป็นฟังก์ชั่นประเภท สถิติ ของ Excel ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าการแจกแจงแบบไฮเพอร์จีออเมตริก ฟังก์ชั่น ... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น HYPGEOMDIST

HYPGEOMDIST เป็นฟังก์ชั่นประเภท สถิติ ของ Excel

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าการแจกแจงแบบไฮเพอร์จีออเมตริก ฟังก์ชั่น HYPGEOMDIST จะส่งกลับความน่าจะเป็นของจำนวนตัวอย่าง

รูปแบบสูตร HYPGEOMDIST(sample_s,number_s,sample,population_s,number_population)

sample_s
คือจำนวนครั้งที่สำเร็จ (Success) ในชุดตัวอย่าง

number_sample คือขนาดของตัวอย่าง

Population_s
คือ จำนวนครั้งที่สำเร็จจากประชากรทั้งหมด

number_population คือขนาดของประชากร

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง คล้ายคลึงกัน ได้แก่ BINOMDIST, COMBIN, FACT, NEGBINOMDIST,PERMUT

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น HYPGEOMDIST ให้ทำดังนี้

1. คลิกที่เซลล์ A2 แล้วพิมพ์ Sample(x) และกด Enter

2. พิมพ์ Number Sample (n) และกด Enter พิมพ์ Population (M) และกด Enter พิมพ์ Number Population (N) และกด Enter

3. คลิกเซลล์ C4 แล้วพิมพ์ 8 คลิกเซลล์ C5 แล้วพิมพ์ 20

4. คลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ 4 และคลิกเซลล์ C2 แล้วพิมพ์ 1

5. คลิกเซลล์ C7 แล้วพิมพ์ =combin(c4,c2)*combin(c5-c4,c3-c2)/combin(c5,c3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.363261

6. คลิกเซลล์ C8 แล้วพิมพ์ว่า =hypgeomdist(c2,c3,c4,c5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.363261

Excel กับฟังก์ชั่น HYPERLINK

Excel กับฟังก์ชั่น HYPERLINK HYPERLINK คือ ฟังก์ชั่นทางด้านการค้นหาและอ้างอิง ของ Excel ทำหน้าที่ สร้างทางลัดเพื่อเปิดเอกสารที่เก็บอยู่บนฮา... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น HYPERLINK

HYPERLINK คือ ฟังก์ชั่นทางด้านการค้นหาและอ้างอิง ของ Excel

ทำหน้าที่ สร้างทางลัดเพื่อเปิดเอกสารที่เก็บอยู่บนฮาร์ดดิสก์ของคุณบนเซิร์ฟเวอร์เครือข่าย บนอินทราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ต เมื่อคุณคลิกเซลล์ที่บรรจุฟังก์ชั่นการเชื่อมโยงหลายมิติ Microsoft Excel จะเปิดแฟ้มที่เก็บไว้ที่ link_location

รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น HYPERLINK คือ HYPERLINK(link_location,friendly_name)

โดยที่ link_location คือ เส้นทาง และชื่อแฟ้มที่ไปยังเอกสารที่จะถูกเปิดขึ้นเป็นข้อความ โดยสามารถอ้างถึงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งในเอกสารได้ เช่น เซลล์ หรือช่วงของเซลล์ที่ระบุภายในแผ่นงานหรือสมุดงาน Excel หรืออ้างถึงที่คั่นหนังสือที่เก็บอยู่ในเอกสาร Microsoft Word ก็ได้ และระบุเส้นทางที่ไปยังแฟ้มที่เก็บอยู่บนฮาร์ดไดรฟ์ หรือเส้นทางแบบที่เป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับการตั้งชื่อสากล (UNC) ระบุตำแหน่งทรัพยากรแบบมาตรฐาน (URL) บนอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ตก็ได้

link_location อาจเป็นสายอักขระข้อความซึ่งอยู่ภายในเครื่องหมายอัญประกาศหรือเซลล์ที่มีการเชื่อมโยงเป็นสายอักขระข้อความ

ถ้าตัวข้ามที่ระบุไว้ใน link_location ไม่มีอยู่หรือไม่สามารถนำทางไปได้ก็จะส่งกลับค่าความผิดพลาดขึ้นเมื่อคุณคลิกที่เซลล์

friendly_name คือข้อความหรือค่าตัวเลขที่ต้องการให้แสดงในเซลล์ ถ้าไม่ใส่ค่าอะไรไว้ friendly_name จะแสดงข้อความเป็นสีน้ำเงิน และขีดเส้นใต้ไว้ เซลล์ที่แสดง link_location จะเป็นข้อความตัวข้าม

friendly_name อาจเป็นค่า สายอักขระข้อความ ชื่อ หรือเซลล์ที่มีข้อความตัวข้ามหรือคี่มีข้อความตัวข้าม

ถ้า friendly_name ส่งกลับค่าความผิดพลาด (ตัวอย่างเช่น #VALUE!) เซลล์จะแสดงค่าความผิดพลาดแทนที่จะเป็นข้อความตัวข้าม

ฟังก์ชั่นที่มีความเกี่ยวข้องหรือใช้งานไปในแนวทางคล้ายกับฟังก์ชั่น HYPERLINK ไม่มี

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น HYPERLINK ให้เราทำตามตัวอย่างดังต่อไปนี้

1. คลิกที่เซลล์ B2 แล้วพิมพ์ http://รูปสาวสวย.blogspot.com และกด Enter

2. คลิกที่เซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =hyperlink(“http://www.รูปสาวสวย.blogspot.com”) แล้วกด Enter หรือจะใช้วิธีนี้ก็ได้คือ พิมพ์ =hyperlink(a2) แล้วกด Enter จะแสดงคำว่า http://www.รูปสาวสวย.blogspot.com

3. หากคลิกที่เซลล์ B2 แล้วพิมพ์ว่า =hyperlink(a2,”รูปสาวสวย”) และกด Enter จะปรากฏข้อความ รูปสาวสวย ที่ B2

4. ไม่ว่าจะใช้วิธีการใดก็แล้วแต่ เมื่อนำเมาส์ไปคลิกที่เซลล์ B2 โปรแกรมจะไปเปิดเว็บไซด์ที่ได้ระบุชื่อให้โชว์ขึ้นมา ซึ่งผู้ใช้จะต้องต่ออินเทอร์เน็ตไว้ด้วยนั่นเอง จะได้เปิดเว็บไซด์ได้เมื่อเราคลิ้กลิ้งค์

5. คลิกเซลล์ A3 แล้วพิมพ์ว่า \\myfiles\excelfile\abc.xls แล้วกด Enter

6. หากคลิกที่เซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =hyperlink(a3) และกด Enter จะแสดงค่า \\myfiles\excelfile\abc.xls

7. คลิกเซลล์ D3 แล้วพิมพ์ My Excel file

8. ที่เซลล์ B3 ให้พิมพ์ =hyperlink(a3,d3) และกด Enter จะแสดงค่า My Excel file