วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน CEILING และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน CEILING และตัวอย่างการใช้งาน CEILING เป็นฟังก์ชัน ประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ หน้าที่ของฟังก์ชัน CEILING คือ ส่งกลับค่าตัวเ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน CEILING และตัวอย่างการใช้งาน

CEILING เป็นฟังก์ชัน ประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

หน้าที่ของฟังก์ชัน CEILING คือ ส่งกลับค่าตัวเลขที่ปัดเศษขึ้นให้เป็นจำนวนเต็มที่ใกล้เคียงที่สุด หรือผลคูณของค่านัยสำคัญ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการจะหลีกเลี่ยงการใช้เหรียญสลึงในการตั้งราคา และผลิตภัณฑ์ของคุณราคา 10.22 ให้ใช้สูตร =CEILING(10.22,0.5) เพื่อปัดราคาขึ้นไปให้เป็นเหรียญที่ใกล้เคียงที่สุด

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน CEILING คือ CEILING(number,significance)

โดยที่ number คือ ค่าที่ต้องการปัดเศษทศนิยมขึ้น

significance คือ ค่าผลคูณของการปัดเศษทศนิยมขึ้น

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน CEILING คือ Even, Floor, Int, Odd, Round, RounDown,RoundUP, Trunc

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน CEILING

1. คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 12.26 แล้วกด Enter

2. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =ceiling(a2,.25) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 12.5

3. คลิกเซลล์ A3 แล้วพิมพ์ =12.15 แล้วกด Enter

4. คลิกเซลล B3 แล้วพิมพ์ =ceiling(a3,.25) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 12.25

5. คลิกเซลล์ A3 แล้วพิมพ์ =12.26 แล้วกด Enter

6. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =ceiling(a3,.5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 12.5

7. คลิกเซลล์ A4 แล้วพิมพ์ 2.03 แล้วกด Enter

8. คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =ceiling(a4,2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 4

9. คลิกเซลล์ A5 แล้วพิมพ์ =12.26 แล้วกด Enter

10. คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =ceiling(a5,10) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 20

11. คลิกเซลล์ A6 แล้วพิมพ์ 250 แล้วกด Enter

12. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =ceiling(a6,a100) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 300

13. คลิกเซลล์ A7 แล้วพิมพ์ -123.45 แล้วกด Enter

14. คลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =ceiling(a7,1) แล้วกด Enter จะแสดงค่า #NUM!

วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน Bin2oct และวิธีการใช้งานฟังก์ชัน

ฟังก์ชัน Bin2oct และวิธีการใช้งานฟังก์ชัน ฟังก์ชัน Bin2oct คือ ฟังก์ชันประเภทวิศวกรรม Bin2oct ทำหน้าที่ แปลงตัวเลขฐานสองให้เป็นเลขฐานแป... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Bin2oct และวิธีการใช้งานฟังก์ชัน

ฟังก์ชัน Bin2oct คือ ฟังก์ชันประเภทวิศวกรรม

Bin2oct ทำหน้าที่ แปลงตัวเลขฐานสองให้เป็นเลขฐานแปด

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน Bin2oct คือ Bin2oct(number,places)

โดยที่ number คือ ตัวเลขฐานสองที่ต้องการแปลง และต้องมีตัวเลขไม่เกิน 10 อักขระ (10 บิต) ซึ่งบิตที่มีนัยสำคัญที่สุดคือบิตเครื่องหมาย ส่วนบิตที่เหลืออีก 9 บิต คือ บิตขนาด โดยจะแสดงตัวเลขติดลบด้วยสัญกรณ์เติมเต็มฐานสอง

places คือ จำนวนของอักขระที่ใช้ ถ้าค่า places ถูกละไว้ ฟังก์ชัน Bin2oct จะใช้จำนวนน้อยที่สุดของอักขระที่จำเป็น โดย ค่า places มีประโยชน์สำหรับการรองรับค่าผลลัพธ์ที่มี 0 (ศูนย์) ไว้ข้างหน้า

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน Bin2oct ได้แก Dec2bin, Hex2bin, Oct2bin

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Bin2oct

1. คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 101110 แล้วกด Enter

2. ที่เซลล์ B2 พิมพ์ =bin2oct(a2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 56

ฟังก์ชัน BESSELJ และตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน BESSELJ และตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010) BESSELJ คือ ฟังก์ชันประเภท วิศวกรรม มีหน้าที่ ส่งกลับค่าฟังก์ชัน Bessel รูปแบบ สูตร Exc... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน BESSELJ และตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010)

BESSELJ คือ ฟังก์ชันประเภท วิศวกรรม มีหน้าที่ ส่งกลับค่าฟังก์ชัน Bessel

รูปแบบ สูตร Excel ของ BESSELJ คือ BESSELJ(x,n)

โดยที่ ค่า x คือ ค่าที่ใช้ประเมินฟังก์ชัน

n คือ ลำดับที่ของฟังก์ชัน Bessel หากค่า n ไม่ใช่จำนวนเต็ม ก็จะถูกตัดเศษทศนิยมทิ้ง

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน Besselj ได้แก่ besseLl, besseLk,BesseLY

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน
1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =besselj(2,3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.128943

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน AVEDEV และตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน AVEDEV และตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010) AVEDEV เป็นฟังก์ชันประเภทสถิติ มีหน้าที่หลักคือ ส่งกลับค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต) ของอา... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน AVEDEV และตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010)

AVEDEV เป็นฟังก์ชันประเภทสถิติ มีหน้าที่หลักคือ ส่งกลับค่าเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต) ของอาร์กิวเมนต์ทั้งหมด

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน AVEDEV คือ AVEDEV(number1,number2,…)

โดยที่ number1, number2, … คือ อาร์กิวเมนต์ 1 ถึง 30 อาร์กิวเมนต์ที่คุณต้องการหาค่าเฉลี่ยของส่วนเบี่ยงเบนสัมบูรณ์ คุณสามารถใช้อาร์เรย์หรืออ้างอิงถึงอาร์เรย์หนึ่งแทนการใช้อาร์กิวเมนต์ที่แยกด้วยเครื่องหมายจุดภาค

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน AVEDEV คือ AVERAGE, AVERAGEA, DEVSQ, STDEV, STDEVP, VAR, VARP


ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน AVEDEV

1. เลือกเซลล์ B2:B5 แล้วพิมพ์ 3 แล้วกด Enter

2. พิมพ์ 4 แล้วกด Enter แล้วพิมพ์ 8 แล้วกด Enter จากนั้นพิมพ์ 6 แล้วกด Enter

3. ที่เซลล์ A6 พิมพ์ X bar

4. ที่เซลล์ B6 พิมพ์ =average(b2:b5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 5.25

5. คลิกที่เซลล์ C2 แล้วพิมพ์ =abs(b2-$b$6) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2.26

6. Auto Fill สูตรจากเซลล์ C2 ลงไปจนถึงเซลล์ C5 จะแสดงผลตั้งแต่เซลล์ C2 ลงไปตามลำดับดังนี้ 2.25, 1.25, 2.75, 0.75

7. คลิกเซลล์ C7 แล้วพิมพ์ =sum(c2:c5)/count(b2:b5) จะแสดงค่า 1.75

8. คลิกเซลล์ C9 แล้วพิมพ์ =avedev(b2:b5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1.75

9. คลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =sum(b2:b5)/count(b2:b5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 5.25

วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน ASINH และ ตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน ASINH และ ตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010) ASINH เป็นฟังก์ชันประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ หน้าที่ของ ฟังก์ชัน ASINH คือ ส่งกลับค่า... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน ASINH และ ตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010)

ASINH เป็นฟังก์ชันประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

หน้าที่ของ ฟังก์ชัน ASINH คือ ส่งกลับค่าไฮเพอร์โบลิกไซน์ผกผัน (Hyperbolic Sine) ของ number ค่าไฮเพอร์โบลิกไซน์ผกผันคือค่าที่มีไฮเพอร์โบลิกไซน์ (Hyperbolic Sine) เป็น number ดังนั้นค่าของ ASINH(SINH(number)) จึงเท่ากับ number

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน ASINH คือ ASINH(number)

โดยที่ number คือจำนวนจริงใดๆ

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน ASINH ได้แก่ ACOSH, ATANH, SINH

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน ASINH

1. คลิกเซลล์ B1 แล้วพิมพ์ =Ln(12+sqrt(12^2+1)) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3.179785

2. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =asinh(12) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3.179785

3. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =asinh(-12) แล้วกด Enter จะแสดงค่า -3.17979

4. คลิกเซลล์ C2 แล้วพิมพ์ =sinh(B2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 12

5. คลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ =sinh(B3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า -12

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน BINOMDIST และวิธีการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน BINOMDIST และวิธีการใช้งาน Binomdist คือ ฟังก์ชันด้านสถิติของ Excel หน้าที่ของฟังก์ชัน Binomdist คือ ส่งกลับค่าความน่าจะเป็นของการ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน BINOMDIST และวิธีการใช้งาน

Binomdist คือ ฟังก์ชันด้านสถิติของ Excel

หน้าที่ของฟังก์ชัน Binomdist คือ ส่งกลับค่าความน่าจะเป็นของการแจกแจงแบบทิวนามแต่ละค่าให้ใช้ Binomdist ในโจทย์ที่มีจำนวนการทดสอบหรือการทดลองที่แน่นอน เมื่อผลลัพธ์ของการทดลองใดก็ได้ออกมาเป็นสำเร็จหรือล้มเหลวเท่านั้น เมื่อการทดลองเป็นอิสระและเมื่อความน่าจะเป็นที่สำเร็จเป็นค่าคงที่ตลอดการทดลอง

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน Binomdist ได้แก่ Binomdist(number_s,trails,probability_s,cumulative)

number_s คือ จำนวนครั้งที่ได้รับผลสำเร็จในการทดลองทั้งหมด

trails คือ จำนวนครั้งที่ทดลองทั้งหมดซึ่งเป็นอิสระกัน

probability_s คือความน่าจะเป็นของการที่จะได้รับผลสำเร็จในการทดลองแต่ละครั้ง

cumulative คือค่าตรรกศาสตร์ที่กำหนดรูปแบบของฟังก์ชัน ถ้าค่า cumulative เท่ากับ TRUE แล้ว BINOMDIST จะส่งกลับฟังก์ชันการแจกแจงความถี่สะสม (cumulative distribution function) หรือ ความน่าจะเป็นที่มี number_s สำเร็จมากที่สุด ถ้าเท่ากับ FALSE ก็จะส่งกลับฟังก์ชันความน่าจะเป็นแบบรวมหรือความน่าจะเป็นที่เท่ากับ number_s

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน Binomdist ก็ได้แก่ Combin, Critbinom, Fact, Hypgeomdist, Negbinomdist, Permut, Prob

ตัวอย่างการใช้สูตร Binomdist


1. ระบายเซลล์ A2:A5 แล้วพิมพ์ Number S แล้วกด Enter จากนั้นพิมพ์ Trials แล้วกด Enter

2. พิมพ์ Probability S แล้วกด Enter แล้วพิมพ์ Cumulative แล้วกด Enter

3. เลือกเซลล์ B2:B5 แล้วพิมพ์ 11 แล้วกด Enter จากนั้นพิมพ์ 20 แล้วกด Enter

4. พิมพ์ 0.4 แล้วกด Enter พิมพ์ FALSE แล้วกด Enter

5. เลือกเซลล์ C2:C5 แล้วพิมพ์ 11 แล้วกด Enter จากนั้นพิมพ์ 20 แล้วกด Enter

6. พิมพ์ 0.4 แล้วกด Enter แล้วพิมพ์ TRUE แล้วกด Enter

7. คลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =combin(b3,b2)*b4^b2*(1-b4)^b3-b2) แล้วกด Enter จะได้ 0.0070995

8. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =binomdist(b2,b3,b4,b5) แล้วกด Enter จะได้ 0.070995

9. คลิกเซลล์ C8 แล้วพิมพ์ =binomdist(c2,c3,c4,c5) แล้วกด Enter จะได้ 0.943474

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน Concatenate และวิธีการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน Concatenate และวิธีการใช้งาน Concatenate คือฟังก์ชันประเภทข้อความ ทำหน้าที่ รวมหลายๆสายอักขระข้อความเป็นหนึ่งสายอักขระข้อความ รูปแ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Concatenate และวิธีการใช้งาน

Concatenate คือฟังก์ชันประเภทข้อความ

ทำหน้าที่ รวมหลายๆสายอักขระข้อความเป็นหนึ่งสายอักขระข้อความ

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน Concatenate คือ Conatenate(text1,text2,…)

โดยที่ text1, text2, .. เป็น 1 ถึง 30 รายการข้อความที่คุณต้องการรวมให้เป็นรายการข้อความเดียว รายการข้อความสามารถเป็นสายอักขระข้อความ ตัวเลข หรือการอ้างอิงเซลล์เดียวก็ได้

ข้อสังเกต

ตัวดำเนินการ “&” สามารถใช้แทนที่ Concatenate เพื่อรวมรายการข้อความเข้าด้วยกัน

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Concatenate คือ

1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =concatenate(“CD”, Training”) และกด Enter จะแสดงค่า CD Training

2. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =”CD “ & “Training” แล้วกด Enter จะแสดงค่า CD Training

3. คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ CIS

4. คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ Training Center

5. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =b4&b5 แล้วกด Enter จะแสดงค่า CISTraining Center

6. ที่เซลล์ B6 หากพิมพ์ =b4& “ “ & b5 แล้วกด Enter จะแสดงค่ CIS Training Center

7. คลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =concatenate(b4,b5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า CIS Training Center

8. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ Training Center และคลิกเซลล์ C8 จากนั้น พิมพ์ 1

9. คลิกเซลล์ D8 แล้วพิมพ์ =concatenate(b8,c8) แล้วกด Enter จะแสดงค่า Training Center1

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน Combin และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน Combin และตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน Combin บน Excel คือฟังก์ชันประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ ทำหน้าที่ ส่งกลับจำนวนวิธีจัดหมู่สำ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Combin และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน Combin บน Excel คือฟังก์ชันประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

ทำหน้าที่ ส่งกลับจำนวนวิธีจัดหมู่สำหรับจำนวนรายการ โดยเราใช้ Combin เพื่อหาจำนวนวิธีจัดหมู่ที่เป็นไปได้สำหรับจำนวนรายการทั้งหมดที่ระบุ

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน Combin คือ Combin(number,number_chosen)
โดยที่

number คือ จำนวนรายการข้อมูล

number_chosen คือ จำนวนรายการข้อมูลในวิธีจัดหมู่แต่ละวิธี

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน combin ก็ได้แก่ Binomdist, Critbinom, Fact, Hypgeomdist, Negbinomdist, Permut เป็นต้น

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Combin


1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ = fact(5)/fact(2)/fact(3) จากนั้นกด Enter จะแสดงค่า 10

2. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =combin(5,2) จากนั้นกด Enter จะแสดงค่า 10

ฟังก์ชัน Columns และตัวอย่างการใช้งาน Excel 2010

ฟังก์ชัน Columns และตัวอย่างการใช้งาน Columns คือ ฟังก์ชัน ด้านการค้นหาและการอ้างอิง Columns ทำหน้าที่ ส่งกลับจำนวนของคอลัมน์ สำหรับอาร์เ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Columns และตัวอย่างการใช้งาน

Columns คือ ฟังก์ชัน ด้านการค้นหาและการอ้างอิง

Columns ทำหน้าที่ ส่งกลับจำนวนของคอลัมน์ สำหรับอาร์เรย์หรือการอ้างอิงที่ระบุ

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน Columns คือ Columns(array)

array คืออาร์เรย์หรือสูตรอาร์เรย์ หรือการอ้างอิงไปยังช่วงเซลล์ที่ต้องการหาค่าจำนวนคอลัมน์

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องได้แก่ Column, Rows

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน columns

1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =columns(c1) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1

2. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =columns(e2:g3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3

3. คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =columns({1,2,3;4,5,6}) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3

4. ระบายเซลล์ E6:G8 จากนั้นพิมพ์ CISArea ที่ Name Box แล้วกด Enter

5. คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =columns(cisarea) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3

6. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =columns(e2:f4,g7:h9) แล้วกด Enter จำไม่สามารถทำได้ เพราะเงื่อนไขคือให้กำหนดช่วงข้อมูลได้เพียงช่วงเดียวเท่านั้น

ฟังก์ชัน CLEAN และตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน CLEAN และตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010) Clean จัดเป็นฟังก์ชัน ประเภท ข้อความ หน้าที่ของฟังก์ชัน clean คือ เอาอักขระทั้งหมดที่ไม่สา... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน CLEAN และตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010)

Clean จัดเป็นฟังก์ชัน ประเภท ข้อความ

หน้าที่ของฟังก์ชัน clean คือ เอาอักขระทั้งหมดที่ไม่สามารถพิมพ์ได้ออกจากข้อความ โดยใช้ใช้ Clean กับข้อความที่นำเข้าจากโปรแกรมประยุกต์อื่น ซึ่งบรรจุอักขระที่อาจจะไม่พิมพ์ด้วยระบบปฏิบัติการของคุณ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถใช้ Clean เพื่อเอารหัสคอมพิวเตอร์ระดับต่ำบางรหัสออก ซึ่งมักจะอยู่ที่จุดเริ่มต้น และจุดท้ายสุดของแฟ้มข้อมูล และไม่สามารถพิมพ์ได้

รูปแบบ สูตร Excel ของสูตร Clean คือ Clean(text)

โดยที่ text คือข้อมูลบนแผ่นงานใดก็ตามที่ต้องการเอาอักขระที่ไม่สามารถพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ได้ เอาออกไป

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน Clean ก็ได้แก่ Char, Trim

ตัวอย่างการใช้งานสูตร Clean

1. คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ =char(7)&”CIS”&char(7) แล้วกด Enter

2. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =clean(a2) แล้วกด Enter จะเห็นว่าสัญลักษณ์แปลกๆจะถูกตัดทิ้งไป

3. หากต้องการล้างสูตร ให้คลิกเซลล์ B2 จากนั้นกดปุ่ม F2 แล้วกด ปุ่ม F9 แล้วกด Enter

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน ROUNDUP และตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน ROUNDUP และตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010) Roundup เป็นฟังก์ชัน ด้านคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ ทำหน้าที่ ปัดเศษจำนวนขึ้นออกจากค่า 0... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน ROUNDUP และตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010)

Roundup เป็นฟังก์ชัน ด้านคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

ทำหน้าที่ ปัดเศษจำนวนขึ้นออกจากค่า 0 (ศูนย์)

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน Roundup คือ Roundup(number,num_digits)

โดยที่ number คือค่าจำนวนจริงใดๆที่คุณต้องการปัดเศษขึ้น

num_digits คือตำแหน่งทศนิยมที่คุณต้องการปัดเศษ

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องได้แก่ Ceiling, Floor, Int, Mod, Mround, Round, RoundDown, Trunc

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน RoundUp

1. คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 123.45678 จากนั้นคลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =roundup(a2,2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 123.46

2. คลิกเซลล์ A3 แล้วพิมพ์ 123.45678 จากนั้นคลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =roundup(a3,1) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 123.5

3. คลิกเซลล์ A4 แล้วพิมพ์ 123.45678 จากนั้นคลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =roundup(a4,0) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 124

4. คลิกเซลล์ A5 แล้วพิมพ์ 123.45678 จากนั้นคลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =roundup(a5,-1) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 130

5. คลิกเซลล์ A6 แล้วพิมพ์ 123.45678 จากนั้นคลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =roundup(a6,-2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 200

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน ZTEST และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน ZTEST และตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน ZTEST คือ ฟังก์ชัน ด้านสถิติ หน้าที่ของ ZTEST คือ ส่งกลับค่า P สองด้านของการทดสอบค่า z-test โ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน ZTEST และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน ZTEST คือ ฟังก์ชัน ด้านสถิติ หน้าที่ของ ZTEST คือ ส่งกลับค่า P สองด้านของการทดสอบค่า z-test โดยการทดสอบค่า z-test ให้คะแนนมาตรฐานของ x ต่อชุดข้อมูลอาร์เรย์ และส่งกลับค่าความน่าจะเป็นของการแจกแจงปกติแบบสองด้าน คุณสามารถใช้ฟังก์ชันนี้ประเมินความสมควรในการเลือกการสำรวจที่เจาะจงจากประชากรที่เจาะจง

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน ZTEST คือ ZTEST(array,x,sigma)

array คือ อาร์เรย์หรือช่วงของข้อมูลที่จะทำให้ทดสอบค่า x

x คือค่าที่ใช้ทดสอบ

sigma คือส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร (ที่ทราบอยู่แล้ว) ถ้าไม่ใส่ค่าอะไรไว้ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวอย่างจะถูกใช้

ฟังก์ชัที่นเกี่ยวข้อง ก็ได้แก่ CONFIDENCE, NORMDIST, NORMINV,NORMDIST,NORMSINV,STANDARDIZE

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน ZTEST

1. เลือกเซลล์ B2:B11 แล้วพิมพ์ 3 จากนั้นกด Enter พิมพ์ 5 จากนั้นกด Enter พิมพ์ 2 แล้วกด Enter พิมพ์ 8 แล้วกด Enter พิมพ์ 8 แล้วกด Enter พิมพ์ 5 แล้วกด Enter พิมพ์ 4 แล้วกด Enter พิมพ์ 10 แล้วกด Enter พิมพ์ 2 แล้วกด Enter พิมพ์ 9 แล้วกด Enter

2. เลือกเซลล์ D2:D5 แล้วพิมพ์ X แล้วกด Enter พิมพ์ Mean แล้วกด Enter พิมพ์ std แล้วกด Enter พิมพ์ n แล้วกด Enter

3. คลิกเซลล์ E2 แล้วพิมพ์ 5

4. คลิกเซลล์ E3 แล้วพิมพ์ =average(b2:b11) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 5.6

5. คลิกเซลล์ E4 แล้วพิมพ์ =stdev(b2:b11) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2.951459

6. คลิกเซลล์ E5 แล้วพิมพ์ =count(b2:b11) แล้วกด Enter จะแสดงผลเป็น 10

7. คลิกเซลล์ E7 แล้วพิมพ์ =1-normdist((e3-e2)*sqrt(e5)/e4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.260158

8. คลิกเซลล์ E9 แล้วพิมพ์ =ztest(b2:b11,e2) แล้วกด Enter จะแสดงผลเป็น 0.260158

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน YIELDMAT และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน YIELDMAT และวิธีการใช้งาน ฟังก์ชัน YIELDMAT เป็นฟังก์ชันประเภทการเงิน ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าผลตอบแทนต่อปีของหลักทรัพย์ที่จ่ายดอกเบ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน YIELDMAT และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน YIELDMAT เป็นฟังก์ชันประเภทการเงิน

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าผลตอบแทนต่อปีของหลักทรัพย์ที่จ่ายดอกเบี้ย ณ วันครบกำหนด

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน YIELDMAT คือ YIELDMAT(settlement,maturity,issue,rate,pr,basis)

โดยที่ค่าพารามิเตอร์แต่ละตัวมีความหมายดังนี้

Settlement คือวันที่ทำข้อตกลงของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อ

maturity คือวันที่ครบกำหนดชำระของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่หลักทรัพย์หมดอายุลงนั่นเอง

issue คือวันที่ออกจำหน่ายของหลักทรัพย์ซึ่งแสดงอยู่ในรูปแบบหมายเลขอนุกรมของวันที่

rate คืออัตราดอกเบี้ยของหลักทรัพย์ ณ วันออกจำหน่าย

pr คือ ราคาของหลักทรัพย์ต่อมูลค่าตามตราสาร 100 ดอลล่าร์

basis คือชนิดของหลักเกณฑ์ในการนับจำนวนวัน

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องได้แก่ Date, Pricemat

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน YIELDMAL

1. เลือกเซลล์ A2:A7 แล้วพิมพ์ Settlement Date แล้วกด Enter พิมพ์ Maturity Date แล้วกด Enter พิมพ์ ISSUE แล้วกด Enter พิมพ์ Rate แล้วกด Enter พิมพ์ Pr แล้วกด Enter พิมพ์ Basis แล้วกด Enter

2. เลือกเซลล์ A9:A12 แล้วพิมพ์ DIM แล้วกด Enter พิมพ์ DIS แล้วกด Enter พิมพ์ DSM แล้วกด Enter พิมพ์ A แล้วกด Enter

3. เลือกเซลล์ B2:B7 แล้วพิมพ์ 15/2/2001 แล้วกด Enter พิมพ์ 3/11/2001 แล้วกด Enter พิมพ์ 8/11/2000 แล้วกด Enter พิมพ์ 5.25% แล้วกด Enter พิมพ์ 98.75 แล้วกด Enter พิมพ์ 2 แล้วกด Enter

4. คลิกเซลล์ B9 แล้วพิมพ์ =b3-b4 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 25/12/1900 จากนั้นให้คลิกที่เมนู Edit เลือกคำสั่ง Clear แล้วคลิกที่ Formats จะแสดงผล 360

5. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =b2-b4 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 8/4/1900 จากนั้นให้คลิกที่เมนู Edit เลือกคำสั่ง Clear แล้วคลิกที่ Formats จะแสดงค่า 99

6. คลิกเซลล์ B11 แล้วพิมพ์ =b3-b2 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 17/9/1900 จากนั้นให้คลิกที่เมนู Edit แล้วเลือกคำสั่ง Clear แล้วคลิกที่ Formats จะแสดงค่า 261

7. คลิกเซลล์ B12 แล้วพิมพ์ 360

8. คลิกเซลล์ B14 แล้วพิมพ์ =((100+b9/b12*b5*100)/(b6+b10/b12*b5*100)-1)*b12/b11 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.069607

9. คลิกเซลล์ B16 แล้วพิมพ์ =yieldmat(b2,b3,b4,b5,b6,b7) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.069607

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน YearFrac และตัวอย่างการใช้งานบน Excel 2010

ฟังก์ชัน YearFrac และตัวอย่างการใช้งานบน Excel 2010 YearFrac จัดเป็นฟังก์ชันด้าน วันที่และเวลาของ Excel ฟังก์ชัน YearFrac ทำหน้าที่ คำ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน YearFrac และตัวอย่างการใช้งานบน Excel 2010

YearFrac จัดเป็นฟังก์ชันด้าน วันที่และเวลาของ Excel

ฟังก์ชัน YearFrac ทำหน้าที่ คำนวณเศษส่วนของปีที่แสดงด้วยจำนวนเต็มของวัน ระหว่างวันที่สองวันที่ (Start_date และ End_date) ให้เราใช้ฟังก์ชันของแผ่นงาน YearFrac ในการหาสัดส่วนของผลกำไรหรือข้อผูกมัดของทั้งปีเพื่อกำหนดให้ระยะเวลาที่ระบุไว้

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน YearFrac คือ YearFrac(start_date,end_date,basis)


โดยที่พารามิเตอร์แต่ละตัวมีความหมายดังนี้

start_date คือวันที่ที่ใช้แทนวันที่เริ่มต้น

end_date คือวันที่ที่ใช้แทนวันที่สิ้นสุด

basis คือชนิดของหลักเกณฑ์ในการนับจำนวนวัน

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องได้แก่ Edate, Emonth, Networkdays, Now, Workday
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน YearFrac

1. เลือกเซลล์ A2:A4 แล้วพิมพ์ Start Date แล้วกด Enter

2. พิมพ์ End Date แล้วกด Enter

3. พิมพ์ Basis แล้วกด Enter

4. เลือกเซลล์ B2:B4 แล้วพิมพ์ 1/1/2002 แล้วกด Enter

5. พิมพ์ 1/6/2002 แล้วกด Enter

6. พิมพ์ 0 แล้วกด Enter

7. คลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ =days360(b2,b3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 150

8. คลิกเซลล์ C4 แล้วพิมพ์ 360

9. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =yearfrac(b2,b3,b4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.416667

10. คลิกเซลล์ C6 พิมพ์ =c3/c4 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.416667

11. ทดลองแก้ไขตัวเลขที่เซลล์ B4 เป็น 1 หรือ 2 หรือ 3 แล้วกำหนดตัวเลขที่เซลล์ C4 เป็น 365 เพื่อดูผลที่เกิดจากการคำนวณ

วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน XNPV และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน XNPV และวิธีการใช้งาน XNPV คือฟังก์ชันด้านการเงินของ Excel มีหน้าที่คือ ส่งกลับค่าปัจจุบันสุทธิของตารางของสภาพคล่องตัวทางการเงิน... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน XNPV และวิธีการใช้งาน

XNPV คือฟังก์ชันด้านการเงินของ Excel มีหน้าที่คือ ส่งกลับค่าปัจจุบันสุทธิของตารางของสภาพคล่องตัวทางการเงินที่ไม่จำเป็นต้องเป็นคาบเวลา ใช้ฟังก์ชัน NPV ในการคำนวณมูลค่าสุทธิปัจจุบันสำหรับชุดของสภาพคล่องตัวทางการเงินที่เป็นงวด

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน XNPV คือ XNPV(rate,values,dates)
โดยที่ rate คือ อัตราส่วนลดที่ใช้กับสภาพคล่องตัวทางการเงิน

values คือชุด้อมูลของจำนวนเงินที่เกี่ยวข้องกับตารางของรายจ่ายเรียงตามวันที่ รายจ่ายแรกนั้นเลือกเองได้และเกี่ยวข้องกับต้นทุนหรือรายจ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงแรกของการลงทุน ถ้าค่าแรกคือต้นทุนหรือรายจ่าย ค่านั้นจะเป็นค่าลบ รายจ่ายที่ติดตามมาจะลดลงโดยมีพื้นฐานอยู่บนปีที่มี 365 วัน ชุดของค่าจะต้องมีค่าบวกและค่าลบอย่างน้อยอย่างละ 1 จำนวน

dates คือ ตารางเวลาการชำระเงินที่พิจารณาจากกระแสเงินสด ซึ่งวันที่ชำระเงินวันแรกตรงกับวันเริ่มต้นในตารางเวลาการชำระเงิน ส่วนวันที่อื่นๆ ต้องอยู่ต่อจากวันที่นี้ แต่ไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับวันที่

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง IRR, MIRR, NPV, RATE, XIRR

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน XNPV

1. เลือกเซลล์ B1:B7 แล้วพิมพ์ Amount แล้วกด Enter พิมพ์ -1000000 แล้วกด Enter พิมพ์ 150000 แล้วกด Enter พิมพ์ 250000 แล้วกด Enter พิมพ์ 240000 แล้วกด Enter พิมพ์ 220000 แล้วกด Enter พิมพ์ 200000 แล้วกด Enter

2. เลือกเซลล์ C1:C7 แล้วพิมพ์ Date แล้วกด Enter พิมพ์ 1/6/1999 แล้วกด Enter พิมพ์ 1/8/1999 แล้วกด Enter พิมพ์ 1/11/1999 แล้วกด Enter พิมพ์ 1/2/2000 แล้วกด Enter พิมพ์ 1/6/2000 แล้วกด Enter พิมพ์ 1/12/2000 แล้วกด Enter

3. คลิกเซลล์ B9 แล้วพิมพ์ =xnpv(0.04,b2:b7,c2:c7) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 28766.19

4. คลิกเซลล์ B11 แล้วพิมพ์ =xirr(b2:b7,c2:c7) แล้กด Enter จะแสดงค่า 0.079802

วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน XIRR และวิธีการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน XIRR และวิธีการใช้งาน XIRR เป็นฟังก์ชันประเภทการเงิน หน้าที่คือ ส่งกลับค่า IRR(Interanl rate of return) สำหรับตารางของสภาพคล่องต... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน XIRR และวิธีการใช้งาน

XIRR เป็นฟังก์ชันประเภทการเงิน หน้าที่คือ ส่งกลับค่า IRR(Interanl rate of return) สำหรับตารางของสภาพคล่องตัวทางการเงินที่ไม่จำเป็นต้องเป็นคาบเวลา ใช้ IRR ฟังก์ชันในการคำนวณอัตราผลตอบแทนสำหรับชุดของสภาพคล่องตัวทางการเงินทั้งหมด

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน XIRR คือ XIRR(values,dates,guess)

values คือกลุ่มตัวเลขของจำนวนเงินในกระแสเงินสดซึ่งมีระยะเวลาตามรารางของการชำระเงินที่ระบุไว้ dates โดยอาจไม่ต้องชำระเงินงวดแรกก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับต้นทุนหรือรายจ่ายที่เกิดในช่วงเริ่มต้นของการลงทุน ถ้าค่าแรกเป็นต้นทุนหรือรายจ่ายแล้ว ค่าแรกนี้จะมีค่าเป็นลบ และรายจ่ายต่างๆ ที่ติดตามมาจะลดลงตามเกณฑ์การคำนวณระยะเวลาแบบ 1 ปี มี 365 วัน กลุ่มของค่าจะต้องมีค่าที่เป็นลบและค่าที่เป็นบวกอย่างละ 1 ค่า

dates คือ ตารางเวลาการชำระเงินที่พิจารณาจากกระแสเงินสด โดยวันชำระเงินวันแรกจะตรงกับวันเริ่มต้นของกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน ส่วนวันที่อื่นๆ จะอยู่ต่อจากวันที่นี้ และเรียงลำดับวันที่อย่างไรก็ได้ ควรจะใส่วันที่โดยใช้ฟังก์ชัน Date หรือใช้ผลลัพธ์จากสูตรหรือฟังก์ชันอื่นๆ ตัวอย่าง เช่น ใช้คำสั่ง Date(2551,5,23) แทนวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ.2551 เนื่องจากจะมีปัญหาเกิดขึ้นหากใส่วันที่ในรูปแบบข้อความ

guess คือจำนวนที่คุณคาดคะเนว่าใกล้เคียงกับผลลัพธ์ของ XIRR

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน XIRR ได้แก่ IRR, MIRR, NPV, RATE, XNPV

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน XIRR

1. เลือกเซลล์ B1:B7 แล้วพิมพ์ Amount แล้วกด Enter แล้วพิมพ์ =1000000 แล้วกด Enter แล้วพิมพ์ 150000 แล้วกด Enter พิมพ์ 250000 แล้วกด Enter พิมพ์ 240000 แล้วกด Enter แล้วพิมพ์ d220000 แล้วกด Enter พิมพ์ 200000 แล้วกด Enter

2. เลือกเซลล์ C1:C7 แล้วพิมพ์ Date แล้วกด Enter จากนั้นพิมพ์ 1/6/1999 แล้วกด Enter พิมพ์ 1/8/1999 แล้วกด Enter พิมพ์ 1/11/1999 แล้วกด Enter จากนั้นพิมพ์ 1/2/2000 แล้วกด Enter พิมพ์ 1/6/2000 แล้วกด Enter พิมพ์ 1/12/2000 แล้วกด Enter

3. คลิกเซลล์ B9 แล้วพิมพ์ =xirr(b2:b7,c2:c7) แล้วกด Enter จะแสดง 0.079802 หากำหนดเป็น Percentage จะแสดงค่า 7.98%

วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน Stdevp และวิธีการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน Stdevp และวิธีการใช้งาน Stdevp เป็นฟังก์ชันด้าน สถิติ ทำหน้าที่ คำนวณหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้ประชากรทั้งหมดที่ถูกระบุเป็นอาร์... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Stdevp และวิธีการใช้งาน

Stdevp เป็นฟังก์ชันด้านสถิติ ทำหน้าที่ คำนวณหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้ประชากรทั้งหมดที่ถูกระบุเป็นอาร์กิวเมนต์ในการคำนวณ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นการวัดวิธีการกระจายของค่าที่ออกจากค่าเฉลี่ย

รูปแบบ สูตร Excel ของ Stdevp คือ Stdevp(number1,number2,…)

โดยที่ number1,number2,… คืออาร์กิวเมนต์ที่ 1 ถึง 30 เป็นตัวเลขที่สอดคล้องกับประชากร คุณยังสามารถใช้อาร์เรย์เดี่ยวหรือการอ้างอิงถึงอาร์เรย์ แทนที่อาร์กิวเมนต์ต่างๆ ที่คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Stdevp


1. เลือกเซลล์ B1:C1 แล้วพิมพ์ X แล้วกด Enter

2. พิมพ์ X^2 แล้วกด Enter

3. คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ Number

4. เลือกเซลล์ A10:A11 แล้วพิมพ์ Sum แล้วกด Enter

5. พิมพ์ N แล้วกด Enter

6. คลิกเซลล์ A13 แล้วพิมพ์ Stdevp Calc จากนั้นคลิกเซลล์ A15 แล้วพิมพ์ Stdevp

7. เลือกเซลล์ B2:B9 แล้วพิมพ์ 10 แล้วกด Enter พิมพ์ 5 แล้วกด Enter พิมพ์ 7 แล้วกด Enter พิมพ์ 12 แล้วกด Enter พิมพ์ 4 แล้วกด Enter พิมพ์ 7 แล้วกด Enter พิมพ์ 5 แล้วกด Enter พิมพ์ 11 แล้วกด Enter

8. เลือกเซลล์ C2:C9 แล้วพิมพ์ =b2^2 จากนั้นกด Ctrl+Enter จะแสดงผลการคำนวณให้เห็น

9. เลือกเซลล์ B10:C10 แล้วคลิกปุ่ม Auto Sum

10. คลิกเซลล์ B11 แล้วพิมพ์ =count(b2:b9) แล้วกด Enter จะได้ 8

11. คลิกเซลล์ B13 แล้วพิมพ์ =sqrt((b11*c10-b10^2)/(b11^2)) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2.825664

12. คลิกเซลล์ B15 แล้วพิมพ์ =stdevp(b2:b9) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2.825664

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน STDEV และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน STDEV และตัวอย่างการใช้งาน Stdev เป็นฟังก์ชันด้านสถิติ ทำหน้าที่ วิเคราะห์หาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่มีพื้นฐานอยู่บนค่าตัวอย่างส่วนเ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน STDEV และตัวอย่างการใช้งาน

Stdev เป็นฟังก์ชันด้านสถิติ ทำหน้าที่ วิเคราะห์หาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่มีพื้นฐานอยู่บนค่าตัวอย่างส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานคือการวัดวิธีของการกระจายค่าที่ออกจากค่าเฉลี่ย

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน Stdev คือ Stdev(number1,number2,…)

โดยที่ number1, number2,… คืออาร์กิวเมนต์ตัวเลขที่ 1 ถึง 30 ที่สอดคล้องกับตัวอย่างประชากร คุณสามารถใช้อาร์เรย์เดี่ยวหรือการอ้างอิงถึงอาร์เรย์แทนอาร์กิวเมนต์ต่างๆที่คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง Dstdev, Dstdevp, Stdeva, Stdevpa

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Stdev

1. เลือกเซลล์ b1:d1 พิมพ์ x แล้วกด Enter พิมพ์ x^2 แล้วกด Enter พิมพ์ (x-Xbar)^2 แล้วคลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ Number

2. ระบายเซลล์ A10:A13 พิมพ์ Sum แล้วกด Enter พิมพ์ N แล้วกด Enter พิมพ์ X bar แล้วกด Enter พิมพ์ Stdev Calc จากนั้นคลิกเซลล์ A15 แล้วพิมพ์ Stdev

3. เลือกเซลล์ B2:B9 แล้วพิมพ์ 10 แล้วกด Enter พิมพ์ 5 แล้วกด Enter พิมพ์ 8 แล้วกด Enter พิมพ์ 12 แล้วกด Enter พิมพ์ 9 แล้วกด Enter พิมพ์ 7 แล้วกด Enter พิมพ์ 14 แล้วกด Enter พิมพ์ 11 แล้วกด Enter

4. เลือกเซลล์ C2:C9 แล้วพิมพ์ =b2^2 จากนั้นกด Ctrl+Enter จะแสดงผลการคำนวณให้เห็น

5. เลือกเซลล์ B10:C10 แล้คลิกปุ่ม Auto Sum

6. คลิกเซลล์ B11 แล้วพิมพ์ =count(b2:b9) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 8

7. คลิกเซลล์ B12 แล้วพิมพ์ =average(b2:b9) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 9.5

8. คลิกเซลล์ B13 แล้วพิมพ์ =sqrt((b11*c10-b10^2)/(b11*(b11-1))) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2.878492

9. เลือกเซลล์ D2:D9 แล้วพิมพ์ =(b2-$b$12)^2 จากนั้นกด Ctrl+Enter จะแสดงผลการคำนวณขึ้นมา

10. คลิกเซลล์ D10 แล้วคลิกปุ่ม Auto Sum

11. คลิกเซลล์ D13 แล้วพิมพ์ =sqrt(d10/(b11-1)) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2.878492

12. คลิกเซลล์ D15 แล้วพิมพ์ =stdev(b2:b9) แล้วกด Enter จะแสดงคา 2.878492

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน STANDARDIZE และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน STANDARDIZE และตัวอย่างการใช้งาน Standardize คือฟังก์ชันทางด้านสถิติ บน Excel มีหน้าที่ ส่งกลับค่ามาตรฐาน ( normalized value-Z ) จ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน STANDARDIZE และตัวอย่างการใช้งาน

Standardize คือฟังก์ชันทางด้านสถิติ บน Excel มีหน้าที่ ส่งกลับค่ามาตรฐาน (normalized value-Z) จากการแจกแจงโดยใช้ mean และ standard_dev ที่ระบุ

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน Standardize คือ Standardize(x,mean,standard_dev)

โดยที่ค่า x คือค่าที่คุณต้องการหาค่ามาตรฐาน (ค่า z)

mean คือมัชฌิมเลขคณิตของการแจกแจง

standard_dev คือค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของการแจกแจง

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Normdist, Norminv, Normsdist, Normsinv, Ztest

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Standardize

1. เลือกเซลล์ A2:A4 แล้วพิมพ์ X แล้วกด Enter พิมพ์ Mean แล้วกด Enter พิมพ์ Stdev แล้วกด Enter

2. คลิกเซลล์ A6 แล้วพิมพ์ Standardize Calc แล้วคลิกเซลล์ A8 แล้วพิมพ์ Standardize

3. เลือกเซลล์ B2:B4 แล้วพิมพ์ 40 แล้วกด Enter พิมพ์ 38 แล้วกด Enter พิมพ์ 1.25 แล้วกด Enter

4. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =(b2-b3)/b4 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1.6

5. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =standardize(b2,b3,b4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1.6

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน YEAR และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน YEAR และตัวอย่างการใช้งาน YEAR คือฟังก์ชัน ประเภทวันที่และเวลาของ Excel โดยทั่วไปแล้ว ฟังก์ชัน YEAR ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าปี เป็นจำน... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน YEAR และตัวอย่างการใช้งาน

YEAR คือฟังก์ชัน ประเภทวันที่และเวลาของ Excel

โดยทั่วไปแล้ว ฟังก์ชัน YEAR ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าปี เป็นจำนวนเต็มในช่วง 1900-9999 ค่านี้ถูกหามาจากค่าตัวเลขที่ระบุที่ใช้แทนค่าวันที่

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน YEAR คือ YEAR(serial_number)

โดยที่ Serial_number คือ วันที่ในหนึ่งปีที่ต้องการค้นหา ซึ่งควรจะใส่วันที่โดยใช้ฟังก์ชัน DATE หรือใช้ผลลัพธ์จากสูตรหรือฟังก์ชันอื่นๆ ตัวอย่าง เช่น ใช้สูตร DATE(2551,5,23) แทนวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2551 เนื่องจากจะมีปัญหาเกิดขึ้นหากใส่วันที่ในรูปแบบข้อความ

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน Year ก็ได้แก่ Day, Hour, Minute, Month, Now, Second, Today, Weekday

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Year ได้แก่

1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ 0 คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =year(b2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1900

2. คลิกเซลล์ C2 แล้วพิมพ์ 1/5/2001 คลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ =year(c2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2001

3. คลิกเซลล์ D2 แล้วพิมพ์ 375112 คลิกเซลล์ D3 แล้วพิมพ์ =year(d2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2927

4. คลิกเซลล์ D2 จากนั้นกำหนดรูปแบบวันที่เป็น 04-Mar-97 จะปรากฏค่า 07-Jan-2927

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน Workday และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน Workday และตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน Workday เป็นฟังก์ชันด้านวันที่และเวลา ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าเป็นตัวเลขที่แทนวันที่ที่ระบุจำนวน... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Workday และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน Workday เป็นฟังก์ชันด้านวันที่และเวลา ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าเป็นตัวเลขที่แทนวันที่ที่ระบุจำนวนของวันทำงานก่อนหรือหลังวันที่ต้องการ (วันเริ่มต้น) วันทำงานจะไม่รวมวันหยุดสุดสัปดาห์และวันอื่นที่ระบุว่าเป็นวันหยุด ใช้ฟังก์ชัน workday เพื่อคำนวณวันครบกำหนดตามใบแจ้งรายการสินค้าที่ขายให้โดยไม่รวมวันหยุดสุดสัปดาห์หรือวันหยุด เพื่อคาดหมายเวลาส่งของหรือจำนวนของวันทำงานจริง

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน Workday คือ Workday(start_date,days,holidays)

start_date คือวันที่ที่ใช้แทนวันที่เริ่มต้น

days คือจำนวนของวันที่ไม่มีวันสุดสัปดาห์และวันหยุดก่อนหรือหลัง วันเริ่มค่าบวกสำหรบวันในอนาคต ค่าลบมีผลเป็นวันที่ผ่านมาแล้ว

holidays คือรายการที่ประกอบด้วยวันที่หนึ่งวันหรือมากกว่าที่จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ ซึ่งจะแปยกออกจากวันทำงาน เช่น วันหยุดแห่งรัฐและสหพันธรัฐและวันหยุดอิสระโดยสามารถใส่รายการเป็นแบบช่วงเซลล์ที่มีวันที่หรือค่าคงที่แบบอาร์เรย์ของหมายเลขอนุกรมที่ใช้แสดงถึงวันที่ได้

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องได้แก่ Edate, Eomonth, networkdays, Now

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Workday บน Excel 2010

1. เลือกเซลล์ A2:A4 พิมพ์ Start Date แล้วกด Enter พิมพ์ Days แล้วกด Enter

2. พิมพ์ Holiday แล้วกด Enter

3. เลือกเซลล์ B2:B4 แล้วพิมพ์ 3-Dec-2001 แล้วกด Enter

4. พิมพ์ 5 แล้วกด Enter

5. พิมพ์ 5-Dec-2001 แล้วกด Enter

6. คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ 10-Dec-2001 แล้วคลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ 31-Dec-2001

7. คลิกเซลล์ B8 พิมพ์ =workday(b2,b3,b4:b6) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 37237 จากนั้นกำหนดรูปแบบวันที่เป็น 04-Mar-97 จะแสดงค่า 12-Dec-2001

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน VDB และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน VDB และตัวอย่างการใช้งาน VDB คือฟังก์ชันทางด้านการเงินของ Excel หน้าที่ของ ฟังก์ชัน VDB คือ ส่งกลับค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์สำหรับ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน VDB และตัวอย่างการใช้งาน

VDB คือฟังก์ชันทางด้านการเงินของ Excel หน้าที่ของ ฟังก์ชัน VDB คือ ส่งกลับค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์สำหรับคาบเวลาใดๆที่คุณระบุหรือบางส่วนของคาบเวลาใดๆ ที่คุณระบุการคำนวณโดยใช้วิธีดุลที่ลดลงสองเท่า (double-declining balance method) หรือวิธีอื่นๆที่คุณระบุ VDB ย่อมาจาก variable declining balance

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน VDB คือ VDB(cost,salvage,life,start_period,end_period,factor,no_switch)

cost คือต้นทุนแรกเริ่มของสินทรัพย์

salvage คือมูลค่าที่เหลืออยู่หลังจากหักค่าเสื่อมราคาแล้ว (บางครั้งก็เรียกว่ามูลค่าซากของสินทรัพย์)

life คือ ตัวเลขระยะเวลาการเสื่อมราคาของสินทรัพย์ (บางครั้งก็เรียกว่าอายุการใช้งานของสินทรัพย์)

start_period คือคาบเวลาเริ่มต้นที่คุณต้องการคำนวรหาค่าเสื่อมราคาและต้องถูกระบุอยู่ในหน่วยเดียวกับอายุการใช้งานของสินทรัพย์

end_period คือคาบเวลาสิ้นสุดที่คุณต้องการคำนวณหาค่าเสื่อมราคาและต้องถูกระบุอยู่ในหน่วยเดียวกับอายุของสินทรัพย์

factor คืออัตราการลดลงของดุล ถ้าไม่ได้ใส่ค่า factor ไว้ ก็จะถือว่ามีค่าเท่ากับ 2 (วิธีดุลที่ลดลงสองเท่า) แต่ถ้าไม่ต้องการคำนวณด้วยวิธีดุลที่ลดลงสองเท่าให้ดูหัวข้อ DDB

no_switch คือค่าตรรกะที่มีการระบุว่าจะสลับไปยังการหาค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง เมื่อค่าเสื่อมราคานั้นมากกว่าการคำนวณดุลที่ลดลง

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องได้แก่ DDB, SLN,SYD
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน VDB

1. เลือกเซลล์ A2:A8 แล้วพิมพ์ Cost แล้วกด Enter

2. พิมพ์ Salvage แล้วกด Enter

3. พิมพ์ Life แล้วกด Enter

4. พิมพ์ Start Period แล้วกด Enter

5. พิมพ์ End Period แล้วกด Enter

6. พิมพ์ Factor แล้วกด Enter

7. พิมพ์ No switch แล้วกด enter

8. เลือกเซลล์ B2:B8 แล้วพิมพ์ 100000 แล้วกด Enter

9. พิมพ์ 0 แล้วกด Enter

10. พิมพ์ 5 แล้วกด enter

11. พิมพ์ 0 แล้วกด Enter

12. พิมพ์ 1 แล้วกด Enter

13. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =vdb(b2,b3,b4,b5,b6) แล้วกด enter จะแสดงผลของค่าเสื่อมราคาเป็น $40,000.00

14. ทดลองแก้ไขตัวเลขที่ Start Period เป็น 1 และที่ End Period เป็น 2 จะเห็นผลของค่าเสื่อมที่เซลล์ B10 เปลี่ยนไป

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน VARPA และตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน VARPA และตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010) VARPA เป็นฟังก์ชันประเภทสถิติ ทำหน้าที่ คำนวณหาค่าความแปรปรวนจากประชากรทั้งหมด โดยให้รวม... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน VARPA และตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010)

VARPA เป็นฟังก์ชันประเภทสถิติ ทำหน้าที่ คำนวณหาค่าความแปรปรวนจากประชากรทั้งหมด โดยให้รวมข้อความและค่าตรรกศาสตร์ เช่น TRUE และ FALSE ในการคำนวณด้วย

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน VARPA คือ VARPA(value1,value2,…)

โดยที่ value1, value2, … คืออาร์กิวเมนต์ค่า 1 ถึง 30 อาร์กิวเมนต์ที่ได้มาจากประชากร

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง เช่น DVAR, DVARP, VARA

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน VARA

1. เลือกเซลล์ B1:B9 แล้วพิมพ์ X จากนั้นกด Enter พิมพ์ 10 จากนั้นกด Enter พิมพ์ 50 จากนั้นกด Enter พิมพ์ TRUE จากนั้นกด Enter พิมพ์ 60 แล้วกด Enter พิมพ์ 45 แล้วกด Enter พิมพ์ 60 แล้วกด Enter พิมพ์ 70 แล้วกด Enter พิมพ์ 55 แล้วกด Enter

2. คลิกเซลล์ A10 แล้วพิมพ์ Sum แล้วคลิกเซลล์ A11 พิมพ์ N จากนั้นคลิกเซลล์ A13 แล้วพิมพ์ Varpa Calc แล้วคลิกเซลล์ A15 จากนั้นพิมพ์ว่า Varpa Function

3. คลิกเซลล์ C1 แล้วพิมพ์ X^2 จากนั้นระบายเซลล์ C2:C9 จากนั้นพิมพ์ =b2^2 แล้วกด Ctrl+Enter จะแสดงผลให้เห็น

4. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =sum(b2:b9)+1 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 351 หากมีข้อความที่เป็น FALSE หรือข้อความอื่นไม่ต้องพิมพ์สูตรเป็น +1 เพิ่มเข้าไป

5. คลิกเซลล์ C10 จากนั้นดับเบิ้ลคลิกปุ่ม Auto Sum จะได้ผลเป็น 19751

6. คลิกเซลล์ B11 แล้วพิมพ์ =counta(b2:b9) และกด Enter จะแสดงค่า 8

7. คลิกเซลล์ B13 แล้วพิมพ์ =(b11*c10-b10^2)/b11^2 แล้วกด Enterจะแสดงค่า 543.8594

8. คลิกเซลล์ B15 แล้วพิมพ์ =varpa(b2:b9) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 543.8594

วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน SQRTPI และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน SQRTPI และตัวอย่างการใช้งาน SQRTPI คือฟังก์ชันประเภทคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ หน้าที่ของ SQRTPI คือ ส่งกลับค่ารากที่สองของ (number... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน SQRTPI และตัวอย่างการใช้งาน

SQRTPI คือฟังก์ชันประเภทคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

หน้าที่ของ SQRTPI คือ ส่งกลับค่ารากที่สองของ (number*pi)

รูปแบบสูตร Excel ของ ฟังก์ชัน SQRTPI คือ SQRTPI(number)

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องก็ได้แก่ PI, SQRT

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน SQRTPI

1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ 4 จากนั้นคลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =sqrt(b2*pi()) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3.544908

2. คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =sqrtpi(b2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3.544908 จะเห็นได้ว่าผลที่ออกมานั้นจะเหมือนกัน

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน SQRT และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน SQRT และตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน SQRT เป็นฟังก์ชันประเภทคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติของ Excel หน้าที่ของฟังก์ชัน SQRT คือ ส่งกลับค่าร... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน SQRT และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน SQRT เป็นฟังก์ชันประเภทคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติของ Excel

หน้าที่ของฟังก์ชัน SQRT คือ ส่งกลับค่ารากที่สองของจำนวนที่ระบุ

โดยรูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน SQRT คือ SQRT(number)

โดยที่ number คือตัวเลขที่คุณต้องการรกที่สอง

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน SQRT


1. คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 25 จากนั้นคลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =sqrt(a2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 5

2. คลิกเซลล์ A3 แล้วพิมพ์ 40 จากนั้นคลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =sqrt(a3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 6.324555

3. คลิกเซลล์ A4 แล้วพิมพ์ -25 จากนั้นคลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =sqrt(a4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า #NUM! เพราะการคำนวณจะไม่สามารถหาค่าติดลบได้

4. ทดลองแก้ไขสูตรที่เซลล์ B4 ดังนี้ =sqrt(abs(a4)) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 5

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน WEIBULL และตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน WEIBULL และตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010) WEIBULL เป็นฟังก์ชันด้านสถิติบน Excel หน้าที่ของมันคือ หาค่าความน่าจะเป็นของ Weibull di... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน WEIBULL และตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010)

WEIBULL เป็นฟังก์ชันด้านสถิติบน Excel หน้าที่ของมันคือ หาค่าความน่าจะเป็นของ Weibull distribution ที่ x

รูปแบบ สูตร Excel ของ Weibull คือ Weibull(x,alpha,beta,cumulative)

โดยที่ x คือค่าซึ่งใช้ประเมินฟังก์ชัน

alpha คือพารามิเตอร์ของการแจกแจง

beta คือ พารามิเตอร์ของการแจกแจง

cumulative กำหนดรูปแบบของฟังก์ชัน

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Weibull

1. เลือกเซลล์ A2:A5 จากนั้นพิมพ์ x แล้วกด Enter พิมพ์ Alpha กด Enter พิมพ์ Beta แล้วกด Enter พิมพ์ Cumulative แล้วกด Enter

2. เลือกเซลล์ B2:B5 จากนั้นพิมพ์ 100 แล้วกด Enter พิมพ์ 20 แล้วกด Enter พิมพ์ 100 แล้วกด Enter พิมพ์ True แล้วกด Enter

3. เลือกเซลล์ C2:C5 จากนั้นพิมพ์ 100 แล้วกด Enter พิมพ์ 20 แล้วกด Enter พิมพ์ 100 แล้วกด Enter พิมพ์ False แล้วกด Enter

4. คลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =exp((b2/b4)^b3*(-1)) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.367879

5. คลิกเซลล์ B9 แล้วพิมพ์ =1-b7 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.632121

6. คลิกเซลล์ C9 แล้วพิมพ์ =c3/c4^c3*c2^(c3-1)*b7 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.073576

7. คลิกเซลล์ B11 แล้วพิมพ์ =weibull(b2,b3,b4,b5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.632121

8. คลิกเซลล์ C11 แล้วพิมพ์ =weibull(c2,c3,c4,c5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.073576