วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Microsoft Excel : วิธีใช้ฟังก์ชั่น INTRATE

ฟังก์ชั่น INTRATE เป็นฟังก์ชั่นทางการเงิน ที่ทำหน้าที่ส่งกลับค่าอัตราดอกเบี้ยสำหรับหลักทรัพย์ที่ลงทุนเต็มจำนวนซึ่ง ฟังก์ชั่น INTRATE ใน Ms ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชั่น INTRATE เป็นฟังก์ชั่นทางการเงิน ที่ทำหน้าที่ส่งกลับค่าอัตราดอกเบี้ยสำหรับหลักทรัพย์ที่ลงทุนเต็มจำนวนซึ่ง ฟังก์ชั่น INTRATE ใน Ms excel มีรูปแบบของสูตรคือ INTRATE(settlement,maturity,investment,redemtion,basis) settlement คือ วันที่ทำข้อตกลงของหลักทรัพย์ซึ่งก็คือวันที่ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อ maturity คือ วันที่ครบกำหนดชำระของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่หลักทรัพย์หมดอายุลงนั่นเอง investment คือ จำนวนเงินที่ลงทุนในหลักทรัพย์ redemtion คือ มูลค่าของการไถ่ถอนที่จะได้รับ ณ วันครบกำหนด basis คือ ชนิดของหลักเกณฑ์ในการนับจำนวนวัน ฟังก์ที่มีความเกี่ยวข้องกับฟังก์ชั่นนี้คือ RECEIVED เมื่อทราบความหมายของพารามิเตอร์แต่ละตัวแล้ว จากนี้ไปเราจะลองของกัน ที่เซลล์ A2 ให้พิมพ์คำว่า Settlement Date ที่เซลล์ A3 ให้พิมพ์คำว่า Maturity Date ที่เซลล์ A4 ให้พิมพ์คำว่า Investment ที่เซลล์ A5 ให้พิมพ์คำว่า Redemtion ที่เซลล์ A6 ให้พิมพ์คำว่า Basis ที่เซลล์ A9 ให้พิมพ์ B ที่เซลล์ A10 ให้พิมพ์คำว่า DIM ที่เซลล์ B2 ให้พิมพ์ 15/2/2000 ที่เซลล์ B3 ให้พิมพ์ 15/5/2000ที่เซลล์ B4 ให้พิมพ์ 100 ที่เซลล์ B5 ให้พิมพ์ 101.5 ที่เซลล์ B6 ให้พิมพ์ 2 ที่เซลล์ B9 ให้พิมพ์ 360 ที่เซลล์ B10 ให้พิมพ์ =b3-b2 แล้วกด Enter จะแสดงผลคือ 30/3/00 ที่เซลล์ B10 แล้วเลือกเมนู Edit แล้วเลือก Clear และคลิกเลือก Formats จะแสดง 90 ที่เซลล์ B12 ให้พิมพ์ (b5-b4)*b9/b4/b10 แล้วกด Enter จะแสดง 0.06 ที่เซลล์ B14 ให้พิมพ์ =intrate(b2,b3,b4,b5,b6) แล้วกด Enter จะโชว์ค่า 0.06 ออกมา

วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Ms Excel วิธีใช้ ฟังก์ชั่น NETWORKDAYS

ฟังก์ชั่น NETWORKDAYS เป็นฟังก์ชั่นประเภทวันที่และเวลา ทำหน้าที่ส่งกลับค่าจำนวนวันทำงานทั้งหมดระหว่าง start_date และ end_date วันทำงานยกเว้น... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชั่น NETWORKDAYS เป็นฟังก์ชั่นประเภทวันที่และเวลา ทำหน้าที่ส่งกลับค่าจำนวนวันทำงานทั้งหมดระหว่าง start_date และ end_date วันทำงานยกเว้นวันหยุดสัปดาห์และวันที่ใดๆที่แสดงไว้อยู่ใน Holiday ให้ใช้ ฟังก์ชั่น NETWORKDAYS เพื่อคำนวณผลประโยชน์ของลูกจ้างที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนวันที่ทำงานในช่วงเวลาหนึ่ง สูตร : NETWORKDAYS(start_date,end_date,holidays) start_date คือ วันที่ ที่ใช้แทนวันที่เริ่มต้น end_date คือ วันที่ ที่ใช้แทนวันที่สิ้นสุด holidays คือ ช่วงของวันที่หนึ่งวันหรือมากกว่าที่จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ ซึ่งจะแยกออกจากวันทำงาน เช่น วันหยุดแห่งรัฐ และสหพันธรัฐ รวมทั้งวันหยุดอิสระโดยสามารถใส่รายการเป็นแบบช่วงเซลล์ที่มีวันที่หรือค่าคงที่แบบอาร์เรย์ของหมายเลขอนุกรมที่ใช้แทนวันที่ได้ ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องได้แก่ EDATE,EOMONTH,NOW,WORKDAY ให้ทดลองพิมพ์สูตรที่ MsExcel ดังนี้ - ระบายเซลล์ A2:A4 แล้วพิมพ์ Start Date จากนั้นกด Enter พิมพ์ End Date แล้วกด Enter พิมพ์ Holiday แล้วกด Enter - คลิกที่เซลล์ B2 แล้วพิมพ์ 1-Dec-01 - คลิกที่เซลล์ B3 แล้วพิมพ์ 31-Dec-01 - คลิกที่เซลล์ B4 แล้วพิมพ์ 5-Dec-01 - คลิกที่เซลล์ B5 แล้วพิมพ์ 10-Dec-01 - คลิกที่เซลล์ B6 แล้วพิมพ์ 25-Dec-01 - คลิกที่เซลล์ B7 แล้วพิมพ์ 31-Dec-01 - คลิกที่เซลล์ D2 แล้วพิมพ์ =networkdays(b2,b3,b4:b7) แล้วกด Enter จะแสดง 17

Ms Excel กับ วิธีใช้ ฟังก์ชั่น TANH

ฟังก์ชั่น TANH คือ ฟังก์ชั่นประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าไฮเพอร์โบลิกแทนเจนต์ของจำนวนที่ระบุ รูปแบบของฟังก์ชั่น TANH ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชั่น TANH คือ ฟังก์ชั่นประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าไฮเพอร์โบลิกแทนเจนต์ของจำนวนที่ระบุ รูปแบบของฟังก์ชั่น TANH คือ TANH(number) number คือ ค่าจำนวนจริงใดๆ ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชั่นนี้คือ ATANH,COSH,SINH เรามาลองใช้งานฟังก์ชั่นนี้กันดู ที่เซลล์ B2 ให้พิมพ์ 1 ที่เซลล์ B4 ให้พิมพ์ =sinh(b2)/cosh(b2) และกด Enter จะแสดงค่า 0.761594 ที่เซลล์ B5 ให้พิมพ์ =tanh(b2) และกด Enter จะแสดงค่า 0.761594

วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Ms Excel กับ วิธีใช้ ฟังก์ชั่น TAN

ฟังก์ชั่น TAN คือ ฟังก์ชั่นประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ มีหน้าที่ ส่งกลับค่าแทนเจนต์ของมุม ฟังก์ชั่น TAN มีรูปแบบดังนี้ TAN(number) numbe... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชั่น TAN คือ ฟังก์ชั่นประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ มีหน้าที่ ส่งกลับค่าแทนเจนต์ของมุม ฟังก์ชั่น TAN มีรูปแบบดังนี้ TAN(number) number คือ มุมในหน่วยเรเดียนที่คุณต้องการค่าแทนเจนต์ ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชั่นนี้คือ ATAN,ATAN2,PI ตัวอย่างการใช้งาน ที่เซลล์ B2 ให้พิมพ์ 0.785398 ที่เซลล์ B3 ให้พิมพ์ =tan(b2) และกด Enter จะแสดงค่า 1 ที่เซลล์ C2 ให้พิมพ์ =45*pi()/180 และกด Enter จะแสดงค่า 0.785398 จากนั้นคลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ =tan(c2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1

Ms excel & วิธีใช้งาน ฟังก์ชั่น DATE

ฟังก์ชั่น DATE จัดเป็น ฟังก์ชั่นประเภทวันที่และเวลาซึ่งทำหน้าที่ส่งกลับค่าตัวเลขที่เป็นค่าวันที่ที่ใช้ในรหัสวัน รูปแบบของ ฟังก์ชั่น DATE คื... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชั่น DATE จัดเป็น ฟังก์ชั่นประเภทวันที่และเวลาซึ่งทำหน้าที่ส่งกลับค่าตัวเลขที่เป็นค่าวันที่ที่ใช้ในรหัสวัน รูปแบบของ ฟังก์ชั่น DATE คือ DATE(year,month,day) parameter แต่ละตัวในวงเล็บมีความหมายดังนี้ year อาร์กิวเมนต์ปีสามารถใช้เลขตั้งแต่ 1 หลักจนถึง 4 หลัก ซึ่ง Microsoft excel จะแปลง อาร์กิวเมนต์ปีตามระบบวันที่ที่คุณใช้อยู่ ซึ่งโดย ค่าเริ่มต้นแล้วโปรแกรม Microsoft excel สำหรับ windows ใช้ระบบวันที่แบบ 1900 ส่วนโปรแกรม Microsoft excel สำหรับ Macintosh ใช้ระบบวันที่ 1904 ในกรณีที่เป็นระบบวันที่แบบ 1900 ถ้าค่า year อยู่ระหว่าง 0 (ศูนย์) และ 1899 (นับตัวเลขนี้ด้วย) Microsoft Excel จะบวกค่านั้นเข้ากับ 1900 เพื่อคำนวณปี ตัวอย่าง เช่น DATE(108,1,2) จะส่งกลับค่า January 2, 2008 (1900+108) ถ้าค่า Year อยู่ระหว่าง 1900 และ 9999 (นับตัวเลขนี้ด้วยครับ) Microsoft excel จะใช้ค่านั้นเป็นค่าปี ตัวอย่าง เช่น DATE(2008,1,2) จะส่งกลับค่า January 2, 2008 ถ้าค่า year มีค่าน้อยกว่า 0 หรือเท่ากับ 10000 หรือมากกว่า โปรแกรม Microsoft excel จะส่งกลับ #NUM! เป็นค่าความผิดพลาดในกรณีที่เป็นระบบวันที่แบบ 1904 ถ้าค่า year อยู่ระหว่าง 4 และ 1899 (นับตัวเลขนี้ด้วย) Microsoft Excel จะบวกค่านั้นเข้ากับ 1900 เพื่อคำนวณปี ตัวอย่าง เช่น DATE(108,1,2) จะส่งกลับค่า January 2,2008 (1900+108) ถ้าค่า year อยู่ระหว่าง 1904 และ 9999 (นับตัวเลขนี้ด้วย) Microsoft Excel จะใช้ค่านั้นเป็นค่าปี ตัวอย่าง เช่น DATE(2008,1,2) จะส่งกลับค่า january 2,2008 ถ้าค่า year น้อยกว่า 4 หรือเท่ากับ 10000 หรือมากกว่า หรือ year อยู่ระหว่าง 1900 และ 1903 (ครอบคลุม) โปรแกรม Microsoft excel จะส่งกลับ #NUM!เป็นค่าความผิดพลาด month คือตัวเลขที่แสดงถึงเดือนในหนึ่งปี ถ้าค่า month มากกว่า 12 ก็จะบวกตัวเลขนั้นของเดือนเข้ากับเดือนแรกในปีที่ระบุไว้ ตัวอย่างเช่น DATE(2008,14,2) จะส่งกลับค่าหมายเลขอนุกรมที่ใช้แสดงถึง February 2, 2009 day คือตัวเลขที่ใช้แสดงถึงวันใน 1 เดือน ถ้าค่า day มากกว่าตัวเลขของ วันในเดือนที่ระบุไว้ ก็จะบวกตัวเลขนั้นของวันเข้ากับวันแรกในเดือน ตัวอย่างเช่น DATE(2008,1,35) จะส่งกลับค่าหมายเลขอนุกรมที่ใช้แสดงถึง February 4,2008 ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชั่น DATE() คือ DATEVALUE,DAY,MONTH,NOW,TIMEVALUE,TODAY,YEAR ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น DATE() ที่เซลล์ B2 ให้พิมพ์ =DATE(1,5,1)และกด enter จะแสดง 1/5/01 หากต้องการกำหนดรูปแบบวันที่ใหม่ ให้คลิ๊กที่ Menu format และเลือกคำสั่ง Cells คลิกแท็บ Numberแล้วเลือก DATE จากนั้นเลือกรูปแบบที่ต้องการโดยเลือกรูปแบบปี ค.ศ. เป็นแบบโชว์ 4 ตัว และคลิกปุ่ม ok จะเห็นปีค.ศ.เป็น 1901 หากต้องการกำหนดให้ปีเป็น 2001 ให้คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =DATE(101,5,1) และกด Enter จะแสดง 1/5/01 คลิกแท็บ Numberแล้วเลือก Date จากนั้นเลือกรูปแบบที่ต้องการ โดยเลือกรูปแบบปี ค.ศ.เป็นแบบโชว์ 4 ตัวและคลิกปุ่ม ok จะเห็นปี ค.ศ. เป็น 2001 คลิ๊กที่เซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =date(2001,5,1) และกด Enter จะแสดง 1/5/01 คลิ๊กแท๊บ Number แล้วเลือก DATE() จากนั้นเลือกรูปแบบที่ต้องการโดยเลือกรูปแบบปี ค.ศ. เป็นแบบโชว์ 4 ตัว และคลิกปุ่ม ok จะเห็นปี ค.ศ. เป็น 2001 หากระบายเซลล์ที่กำหนดวันที่แล้ว Clear Formats รูปแบบวันที่จะเห็นว่าวันที่กลายเป็นจำนวนวัน โดยเริ่มนับจากวันที่ 1/1/1900 ลบกับวันที่ที่ระบุล่าสุด

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Microsoft Excel : ฟังก์ชั่น CUMPRINC กับหน้าที่ของมัน

ฟังก์ชั่น CUMPRINC จัดเป็นฟังก์ชั่นทางการเงิน มีหน้าทีคืนค่าเงินต้นสะสมเพื่อจ่ายเงินกู้ระหว่าง start_period และend_period รูปแบบของสูตร CUM... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชั่น CUMPRINC จัดเป็นฟังก์ชั่นทางการเงิน มีหน้าทีคืนค่าเงินต้นสะสมเพื่อจ่ายเงินกู้ระหว่าง start_period และend_period รูปแบบของสูตร CUMPRINC คือ CUMPRINC(rate,nper,pv,start_period,end_period,type) ลองมาดูกันว่า parameter ที่อยู่ในวงเล็บแต่ละตัวมีความหมายว่าอย่างไรกันบ้าง rate คือ ให้ใส่อัตราดอกเบี้ยในช่องนี้ nper คือ จำนวนครั้งทั้งหมดของการชำระเงิน pv (present value) คือ มูลค่าปัจจุบัน คือ คาบเวลาแรกในการคำนวณ ซึ่งคาบเวลาการจ่ายเงินเป็นจำนวนที่เริ่มต้นด้วย 1 end_period คือ คาบเวลาสิ้นสุดในการคำนวณ type คือ การกำหนดเวลาของการจ่ายเงิน ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องคือฟังก์ชั่น CUMIPMT เรามาลองใช้งานสูตรนี้กันดูครับ ที่เซลล์ A1 ให้พิมพ์คำว่า Rate ที่เซลล์ A2 ให้พิมพ์คำว่า Nperiods ที่เซลล์ A3 ให้พิมพ์คำว่า PV ที่เซลล์ A4 ให้พิมพ์คำว่า Start_period ที่เซลล์ A5 ให้พิมพ์คำว่า End_period ที่เซลล์ A6 ให้พิมพ์คำว่า type ที่เซลล์ b1 ให้พิมพ์ 8% ที่เซลล์ b2 ให้พิมพ์ 10 ที่เซลล์ b3 ให้พิมพ์ 10000 ที่เซลล์ b4 ให้พิมพ์ 1 ที่เซลล์ b5 ให้พิมพ์ 3 ที่เซลล์ b6 ให้พิมพ์ 0 ที่เซลล์ D1 ให้พิมพ์คำว่า Rate ที่เซลล์ D2 ให้พิมพ์คำว่า Nperiods ที่เซลล์ D3 ให้พิมพ์คำว่า PV ที่เซลล์ D4 ให้พิมพ์คำว่า Start_period ที่เซลล์ D5 ให้พิมพ์คำว่า End_period ที่เซลล์ D6 ให้พิมพ์คำว่า type ที่เซลล์ E1 ให้พิมพ์ 8% ที่เซลล์ E2 ให้พิมพ์ 10 ที่เซลล์ E3 ให้พิมพ์ 10000 ที่เซลล์ E4 ให้พิมพ์ 1 ที่เซลล์ E5 ให้พิมพ์ 1 ที่เซลล์ E6 ให้พิมพ์ 0 ที่เซลล์ F1 ให้พิมพ์ 8% ที่เซลล์ F2 ให้พิมพ์ 10 ที่เซลล์ F3 ให้พิมพ์ 10000 ที่เซลล์ F4 ให้พิมพ์ 2 ที่เซลล์ F5 ให้พิมพ์ 2 ที่เซลล์ F6 ให้พิมพ์ 0 ที่เซลล์ G1 ให้พิมพ์ 8% ที่เซลล์ G2 ให้พิมพ์ 10 ที่เซลล์ G3 ให้พิมพ์ 10000 ที่เซลล์ G4 ให้พิมพ์ 3 ที่เซลล์ G5 ให้พิมพ์ 3 ที่เซลล์ G6 ให้พิมพ์ 0 ที่เซลล์ C8 ให้พิมพ์คำว่า Payment ที่เซลล์ B8 ให้พิมพ์ =CUMPRINC(b1,b2,b3,b4,b5,b6) แล้วกด Enter จะแสดงค่า -2240.97 ที่เซลล์ D8 ให้พิมพ์ =PMT(b1,b2,b3,b6) แล้วกด Enter จะแสดงค่า $-1490.29 ที่เซลล์ E8 ให้พิมพ์ =PMT(e1,e4,e2,e3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า $-800.00 จากนั้น Auto fill สูตรจากเซลล์ E8 ไปยังเซลล์ G8 จะได้ผลคือ $-744.78 และ $-685.13 ที่เซลล์ E9 ให้พิมพ์ =$d$8-e8 แล้วกด Enter จากนั้น Auto fill สูตรจากเซลล์ E9 ไปจนถึง G9 ที่เซลล์ B10 ให้พิมพ์ =SUM(e9:g9) แล้วกด Enter จะแสดงค่า $-2240.97 ซึ่งได้ผลลัพธ์เหมือนช่อง B8

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ฟังก์ชัน COUPDAYSNCเป็น ฟังก์ชั่นประเภทการเงิน

หน้าที่ของฟังก์ชั่นนี้ใน ms excel คือ ส่งกลับค่าจำนวนวันจากวันที่ซื้อตั๋วจนถึงวันที่บนหน้าตั๋วถัดไป รูปแบบสูตร COUPDAYSNC(settlement,maturit... thumbnail 1 summary
หน้าที่ของฟังก์ชั่นนี้ใน ms excel คือ ส่งกลับค่าจำนวนวันจากวันที่ซื้อตั๋วจนถึงวันที่บนหน้าตั๋วถัดไป รูปแบบสูตร COUPDAYSNC(settlement,maturity,frequency,basis) settlement คือ วันที่ทำข้อตกลงของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อ maturity คือวันที่ครบกำหนดชำระของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่หลักทรัพย์หมดอายุลงนั่นเอง frequency คือจำนวนครั้งในการชำระค่าตราสารต่อปี frequency=2 และถ้าเป็นการชำระแบบรายไตรมาส frequency=4 basis คือ ชนิดของหลักเกณฑ์ในการนับจำนวนวัน ฟังก์ชั่นที่มีความเกี่ยวข้องกับฟังก์ชั่นนี้คือ COUPDAYBS, COUPDAYS, COUPNCD, COUPNUM, COUPPCD, DATE เรามาทดลองใช้สูตรนี้กันเลย ที่เซลล์ A1 ให้พิมพ์ settlement ที่เซลล์ A2 ให้พิมพ์ maturity ที่เซลล์ A3 ให้พิมพ์ frequency ที่เซลล์ A4 ให้พิมพ์ basis ที่เซลล์ B1 ให้พิมพ์ 5-Feb-00 ที่เซลล์ B2 ให้พิมพ์ 1-Jan-01 ที่เซลล์ B3 ให้พิมพ์ 2 ที่เซลล์ B4 ให้พิมพ์ 1 ที่เซลล์ C3 ให้พิมพ์ ="1/7/00"-b1 แล้วกด Enter จากนั้นคลิกที่เซลล์ C3แล้วเลือกเมนู Edit จากนั้นเลือกคำสั่ง Clear และคลิก Formats จะแสดงค่า 147 ออกมา คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =COUPDAYSNC(b1,b2,b3,b4) และกด enter จะแสดงตัวเลข 147 ออกมา หากเราพิมพ์ 0 ที่เซลล์ B4 เมื่อเราคลิกที่เซลล์ B6 จะโชว์ 146 จากนั้นให้คลิกที่เซลล์ C4 แล้วพิม์ =days360(b1, "1/7/00")แล้วกด enter จะโชว์ตัวเลข 146

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ฟังก์ชัน SUMIF ประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

ความหมาย บวกเซลล์ที่ตรงกับเงื่อนไขหรือเกณฑ์ที่ระบุ สูตร SUMIF(range,criteria,sum_range) range คือ ช่วงของเซลล์ที่คุณต้องการประเมิน criteria ... thumbnail 1 summary
ความหมาย บวกเซลล์ที่ตรงกับเงื่อนไขหรือเกณฑ์ที่ระบุ สูตร SUMIF(range,criteria,sum_range) range คือ ช่วงของเซลล์ที่คุณต้องการประเมิน criteria คือเงื่อนไขหรือเกณฑ์ซึ่งอยู่ในรูปแบบตัวเลข นิพจน์ หรือข้อความซึ่งจะถูกใช้เป็นตัวบ่งบอกว่าเซลล์ใดจะถูกรวมเข้า ตัวอย่างเช่น criteria อาจแสดงเป็น 32, "32","32","apples" sum_range คือเซลล์จริงที่จะหาผลรวม ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง COUNTIF,SUM ให้ทดลองพิมพ์สูตรในโปรแกรม Excel ดังนี้ 1. ที่เซลล์ A1 ให้พิมพ์ Code 2. ที่เซลล์ A2 ให้พิมพ์ a 3. ที่เซลล์ A3 ให้พิมพ์ a 4. ที่เซลล์ A4 ให้พิมพ์ a 5. ที่เซลล์ A5 ให้พิมพ์ b 6. ที่เซลล์ A6 ให้พิมพ์ b 7. ที่เซลล์ A7 ให้พิมพ์ b 8. ที่เซลล์ A10 ให้พิมพ์ Code 9. ที่เซลล์ A11 ให้พิมพ์ a 10. ที่เซลล์ B1 ให้พิมพ์ Amount, B2 พิมพ์ 100, B3 พิมพ์ 200, B4 พิมพ์ 300, B5 พิมพ์ 250, B6 พิมพ์ 600, B7 พิมพ์ 200, B10 พิมพ์ Amount, B11 พิมพ์ sumif(a2:a7,a11,b2:b7) กด Enter จะโชว์ 600 หากพิมพ์ b ที่เซลล์ A11 และกด Enter จะเห็นผลในเซลล์ B11 จะแสดง 1050