วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Excel กับฟังก์ชั่น DVAR

Excel กับฟังก์ชั่น DVAR DVAR เป็นฟังก์ชั่นประเภทฐานข้อมูล ทำหน้าที่ ประมาณค่าความแปรปรวนโดยใช้ค่าตัวอย่างจากฐานข้อมูลโดยการใช้ตัวเลขในคอล... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น DVAR

DVAR เป็นฟังก์ชั่นประเภทฐานข้อมูล ทำหน้าที่ ประมาณค่าความแปรปรวนโดยใช้ค่าตัวอย่างจากฐานข้อมูลโดยการใช้ตัวเลขในคอลัมน์ของรายการหรือฐานข้อมูลที่ตรงกับเงื่อนไขที่คุณระบุ

รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น DVAR(database, field, criteria)

Database คือ ช่วงของเซลล์ที่ประกอบขึ้นเป็นรายการหรือฐานข้อมูลโดยรายการข้อมูลที่สัมพันธ์กันที่อยู่ในแถวของข้อมูลที่สัมพันธ์กันเรียกว่า ระเบียน และคอลัมน์ของข้อมูลที่เรียกว่า เขตข้อมูล ซึ่งแถวแรกของรายการประกอบด้วยป้ายชื่อของแต่ละคอลัมน์

Field ทำหน้าที่บ่งชี้คอลัมน์ที่ถูกใช้ในฟังก์ชั่น โดยอาจจะกำหนดเป็นข้อความโดยใช้ป้ายชื่อคอลัมน์ที่คร่อมด้วยเครื่องหมายอัญประกาศคู่ เช่น “อายุ” หรือ “ผลตอบแทน” หรือกำหนดเป็นตัวเลขที่แสดงถึงตำแหน่งของคอลัมน์ภายในรายการ เช่น 1 หมายถึง คอลัมน์แรก ส่วน 2 หมายถึง คอลัมน์ที่สอง และต่อๆไป

Criteria คือ ช่วงของเซลล์ที่มีเงื่อนไขตามที่คุณระบุ โดยสามารถใช้ช่วงใดก็ได้เป็นอาร์กิวเมนต์ของเกณฑ์ ตราบใดที่ช่วงนั้นมีป้ายชื่อคอลัมน์อย่างน้อยหนึ่งคอลัมน์ และมีเซลล์อย่างน้อยหนึ่งเซลล์อยู่ใต้ป้ายชื่อคอลัมน์ที่ใช้ในการระบุเงื่อนไขให้กับคอลัมน์

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น DVAR

1. ระบายเซลล์ A1:A7 แล้วพิมพ์ Name และกด Enter พิมพ์ Sombut และกด Enter พิมพ์ Amart และกด Enter

2. พิมพ์ Boriput และกด Enter พิมพ์ Pimlapat และกด Enter พิมพ์ Pijit และกด Enter พิมพ์ Chontichawun และกด Enter

3. ระบายเซลล์ B1:B7 แล้วพิมพ์ Province และกด Enter พิมพ์ Bangkok และกด Enter พิมพ์ Bangkok และกด Enter

4. พิมพ์ Bangkok และกด Enter พิมพ์ Rayong และกด Enter พิมพ์ Chonburi และกด Enter พิมพ์ Rayong และกด Enter

5. ระบายเซลล์ C1:C7 แล้วพิมพ์ Amount และกด Enter พิมพ์ 12000 และกด Enter พิมพ์ 25000 และกด Enter

6. พิมพ์ 14000 และกด Enter พิมพ์ 3000 และกด Enter พิมพ์ 15000 และกด Enter พิมพ์ 30000 และกด Enter

7. ระบายเซลล์ A1:C1 แล้ว Copy ไปยังเซลล์ A9

8. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ Bangkok

9. คลิกเซลล์ C12 แล้วพิมพ์ =dvar(a1:c7,c1,a9:c10) และกด Enter จะแสดงค่า 49000000

10. สำหรับวิธีการคำนวณให้ทดลอง Copy ตัวเลข 12000, 25000 และ 14000 มาไว้ที่เซลล์ F4:F6

11. คลิกเซลล์ F8 แล้วพิมพ์ =average(f4:f6) และกด Enter จะแสดงค่า 17000

12. คลิกเซลล์ G4 แล้วพิมพ์ =(f4-$f$8)^2 จากนั้นกด Enter จะแสดงค่า 25000000 แล้ว Auto Fill ลงมาที่เซลล์ G6

13. คลิกเซลล์ G7 แล้วคลิกปุ่ม Auto Sum จะได้ผล 98000000

14. คลิก G10 แล้วพิมพ์ =g7/2 และกด Enter จะแสดงค่า 49000000

Excel กับ ฟังก์ชั่น EXACT

Excel กับ ฟังก์ชั่น EXACT EXACT เป็นฟังก์ชั่นประเภท ข้อความของ Excel ทำหน้าที่ เปรียบเทียบข้อความ 2 สายอักขระข้อความ แล้วส่งค่า TRUE กลับ... thumbnail 1 summary
Excel กับ ฟังก์ชั่น EXACT

EXACT เป็นฟังก์ชั่นประเภท ข้อความของ Excel ทำหน้าที่ เปรียบเทียบข้อความ 2 สายอักขระข้อความ แล้วส่งค่า TRUE กลับ ถ้ามีความเหมือนกันทุกประการ และจะส่งค่า FALSE กลับถ้าไม่เหมือนกัน

ฟังก์ชั่น EXACT ให้ความสำคัญในเรื่องตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็กด้วย แต่ละเว้นความแตกต่างเรื่องการจัดรูปแบบ ให้ใช้ฟังก์ชั่น EXACT เพื่อทดสอบข้อความที่กำลังป้อนลงในเอกสาร

รูปแบบสูตร EXACT(text1,text2)

โดยที่ text1 คือ สารอักขระข้อความแรก

Text2 คือ สายอักขระข้อความที่สอง

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง ก็ได้แก่ DELTA, LEN, SEARCH

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น EXACT

1. คลิกที่เซลล์ A2 แล้วให้พิมพ์ CIS จากนั้นคลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ CIS

2. คลิกเซลล์ C2 แล้วพิมพ์ =exact(a2,b2) และกด Enter จะแสดงค่า TRUE

3. คลิกเซลล์ A3 แล้วพิมพ์ CIS จากนั้นคลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ Cis

4. คลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ =exact(a3,b3) และกด Enter จะแสดงค่า FALSE

5. คลิกที่เซลล์ A4 แล้วพิมพ์ Cis จากนั้นคลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ Cos

6. คลิกเซลล์ C4 แล้วพิมพ์ =exact(a4,b4) และกด Enter จะแสดงค่า FALSE

7. ระบายเซลล์ A7:B9 แล้วพิมพ์ตัวเลข 1,2,3,4,5,6 และระบายเซลล์ D7:E9 แล้วพิมพ์ ตัวเลข 1, 2, 3, 4, 5, 6

8. คลิกเซลล์ B11 แล้วพิมพ์ =exact(a7:b9, d7:e9) และกด Ctrl +Shift + Enter จะแสดงค่า TRUE ออกมา

9. หากแก้ไขตัวเลขในเซลล์ใดเซลล์หนึ่ง ผลที่เซลล์ B11 จะแสดงค่า FASLE ทันที

Excel กับ ฟังก์ชั่น EVEN

Excel กับ ฟังก์ชั่น EVEN EVEN เป็นฟังก์ชั่นของ Excel ประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ ทำหน้าที่ ปัด number ขึ้นให้เป็นจำนวนคู่ที่อยู่ใกล้ที... thumbnail 1 summary
Excel กับ ฟังก์ชั่น EVEN

EVEN เป็นฟังก์ชั่นของ Excel ประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

ทำหน้าที่ ปัด number ขึ้นให้เป็นจำนวนคู่ที่อยู่ใกล้ที่สุด คุณสามารถใช้ฟังก์ชั่นนี้เพื่อดำเนินรายการที่มาเป็นคู่ๆ ตัวอย่างเช่น ลังบรรจุหนึ่งรองรับรายการสิ่งของได้หนึ่งหรือสองแถวดังกล่าว จะเต็มก็ต่อเมื่อจำนวนสิ่งของปัดขึ้นมาเป็นจำนวนคู่ที่ใกล้ที่สุด ซึ่งตรงกับปริมาตรความจุของลังพอดี

รูปแบบสูตรงของ ฟังก์ชั่น EVEN คือ EVEN(number)

โดยที่ number คือ ค่าที่จะปัดเศษ

ฟังก์ชั่นที่มีความเกี่ยวข้องกับฟังก์ชั่น EVEN คือ CEILING, FLOOR, INT, ISEVEN, ISODD, ODD, ROUND, TRUNC

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น EVEN มีดังนี้

1. คลิกที่เซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 25

2. คลิกที่เซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =even(a2) และกด Enter จะได้ค่า 26

3. คลิกที่เซลล์ A3 แล้วพิมพ์ 4.5 จากนั้นคลิกที่เซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =even(a3) และกด Enter จะแสดงค่า 6

4. คลิกที่เซลล์ A4 แล้วพิมพ์ -1 จากนั้นคลิกที่เซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =even(a4) และกด Enter จะแสดงค่า -2

5. คลิกที่เซลล์ A5 แล้วพิมพ์ -4.5 จากนั้นคลิกที่เซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =even(a5) และกด Enter จะแสดงค่า -6


Excel กับ ฟังก์ชั่น DURATION

Excel กับ ฟังก์ชั่น DURATION DURATION เป็นฟังก์ชั่นประเภทการเงินของ Excel ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าช่วงเวลา Macauley สำหรับมูลค่าที่ตราไว้บนหน้า... thumbnail 1 summary
Excel กับ ฟังก์ชั่น DURATION

DURATION เป็นฟังก์ชั่นประเภทการเงินของ Excel ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าช่วงเวลา Macauley สำหรับมูลค่าที่ตราไว้บนหน้าตั๋วของจำนวน $100 ช่วงเวลาถูกนิยามเป็นค่าเฉลี่ยน้ำหนักตามมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดและใช้เป็นตัววัดผลของราคาพันธบัตรเพื่อเปลี่ยนแปลงให้เป็นผลตอบแทน

รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น DURATION คือ DURATION(settlement, maturity, coupon, yld, frequency, basis)

Settlement คือ วันที่ทำข้อตกลงของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อ

Maturity คือ วันครบกำหนดชำระของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่หลักทรัพย์หมดอายุลงนั่นเอง

Coupon คือ อัตราตราสารรายปีของหลักทรัพย์

Yld คือ ผลตอบแทนรายปีของหลักทรัพย์

Frequency คือ จำนวนครั้งในการชำระค่าตราสารต่อปี ในกรณีที่เป็นการชำระแบบรายปี frequency=1 ถ้าเป็นการชำระแบบรายครึ่งปี frequency=2 และถ้าเป็นการชำระแบบรายไตรมาส frequency=4

Basis คือ ชนิดของหลักเกณฑ์ในการนับจำนวนวัน

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น DURATION

1. ระบายเซลล์ A1:A6 แล้วพิมพ์ Settlement Date และกด Enter พิมพ์ Maturity Date และกด Enter

2. พิมพ์ Coupon และกด Enter พิมพ์ Yld และกด Enter พิมพ์ Frequency และกด Enter พิมพ์ Basis และกด Enter

3. ระบายเซลล์ B1:B6 แล้วพิมพ์ 1/1/00 และกด Enter พิมพ์ 1/1/01 และกด Enter

4. พิมพ์ 6% และกด Enter พิมพ์ 7% และกด Enter พิมพ์ 2 และกด Enter พิมพ์ 1 และกด Enter

5. คลิกเซลล์ B8 และพิมพ์ =duration(b1,b2,b3,b4,b5,b6) และกด Enter จะแสดงค่า 0.985368267

Excel กับ ฟังก์ชั่น DSUM

Excel กับ ฟังก์ชั่น DSUM DSUM เป็นฟังก์ชั่นประเภทฐานข้อมูล ทำหน้าที่ บวกจำนวนในคอลัมน์ในรายการ หรือในฐานข้อมูลที่ตรงกับเงื่อนไขที่คุณระบุ ร... thumbnail 1 summary
Excel กับ ฟังก์ชั่น DSUM

DSUM เป็นฟังก์ชั่นประเภทฐานข้อมูล ทำหน้าที่ บวกจำนวนในคอลัมน์ในรายการ หรือในฐานข้อมูลที่ตรงกับเงื่อนไขที่คุณระบุ

รูปแบบของ ฟังก์ชั่น DSUM คือ DSUM(database, field, criteria)

Database คือ ช่วงของเซลล์ที่ประกอบขึ้นเป็นรายการหรือฐานข้อมูลโดยรายการข้อมูลที่สัมพันธ์กันที่อยู่ในแถวของข้อมูลที่สัมพันธ์กันเรียกว่า ระเบียน และคอลัมน์ของข้อมูลที่เรียกว่า เขตข้อมูล ซึ่งแถวแรกของรายการประกอบด้วยป้ายชื่อของแต่ละคอลัมน์

Field ทำหน้าที่บ่งชี้คอลัมน์ที่ถูกใช้ในฟังก์ชั่น โดยอาจจะกำหนดเป็นข้อความโดยใช้ป้ายชื่อคอลัมน์ที่คร่อมด้วยเครื่องหมายอัญประกาศคู่ เช่น “อายุ” หรือ “ผลตอบแทน” หรือกำหนดเป็นตัวเลขที่แสดงถึงตำแหน่งของคอลัมน์ภายในรายการ เช่น 1 หมายถึง คอลัมน์แรก ส่วน 2 หมายถึง คอลัมน์ที่สอง และต่อๆไป

Criteria คือ ช่วงของเซลล์ที่มีเงื่อนไขตามที่คุณระบุ โดยสามารถใช้ช่วงใดก็ได้เป็นอาร์กิวเมนต์ของเกณฑ์ ตราบใดที่ช่วงนั้นมีป้ายชื่อคอลัมน์อย่างน้อยหนึ่งคอลัมน์ และมีเซลล์อย่างน้อยหนึ่งเซลล์อยู่ใต้ป้ายชื่อคอลัมน์ที่ใช้ในการระบุเงื่อนไขให้กับคอลัมน์

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น DSUM

1. ระบายเซลล์ A1:A7 แล้วพิมพ์ Name และกด Enter พิมพ์ Somboon และกด Enter พิมพ์ Amorn และกด Enter

2. พิมพ์ Boripat และกด Enter พิมพ์ Pipat และกด Enter พิมพ์ Pirat และกด Enter พิมพ์ Chonticha และกด Enter

3. ระบายเซลล์ B1:B7 แล้วพิมพ์ Province และกด Enter พิมพ์ Bangkok และกด Enter พิมพ์ Bangkok และกด Enter

4. พิมพ์ Bangkok และกด Enter พิมพ์ Rayong และกด Enter พิมพ์ Chonburi และกด Enter พิมพ์ Rayong และกด Enter

5. ระบายเซลล์ C1:C7 แล้วพิมพ์ Amount และกด Enter พิมพ์ 12000 และกด Enter พิมพ์ 25000 และกด Enter

6. พิมพ์ 14000 และกด Enter พิมพ์ 3000 แล้วกด Enter พิมพ์ 15000 และกด Enter พิมพ์ 30000 และกด Enter

7. ระบายเซลล์ A1:C1 แล้ว Copy ไปยังเซลล์ A9

8. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ Rayong

9. คลิกเซลล์ C12 แล้วพิมพ์ =dsum(a1:c7,c1, a9:c10) และกด Enter จะแสดงค่า 33000

10. หากคลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ Bangkok และกด Enter ที่เซลล์ C12 จะแสดงค่า 51000

11. คลิกเซลล์ C10 แล้วพิมพ์ <=20000 และกด Enter ที่เซลล์ C12 จะแสดงค่า 26000

Excel กับ ฟังก์ชั่น DSTDEVP

Excel กับ ฟังก์ชั่น DSTDEVP DSTDEVP เป็นฟังก์ชั่นประเภท ฐานข้อมูล ทำหน้าที่ คำนวณหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้ประชากรทั้งหมดซึ่งเป็นราย... thumbnail 1 summary
Excel กับ ฟังก์ชั่น DSTDEVP

DSTDEVP เป็นฟังก์ชั่นประเภท ฐานข้อมูล

ทำหน้าที่ คำนวณหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้ประชากรทั้งหมดซึ่งเป็นรายการที่ถูกเลือกมาจากฐานข้อมูล โดยใช้เงื่อนไขที่คุณระบุ

รูปแบบสูตร DSTDEVP(database, field, criteria)

Database คือ ช่วงของเซลล์ที่ประกอบขึ้นเป็นรายการหรือฐานข้อมูลโดยรายการของข้อมูลที่สัมพันธ์กันที่อยู่ในแถวของข้อมูลที่สัมพันธ์กันเรียกว่า ระเบียน และคอลัมน์ของข้อมูลเรียกว่า เขตข้อมูล ซึ่งแถวแรกของรายการประกอบด้วยป้ายชื่อของแต่ละคอลัมน์

Field ทำหน้าที่บ่งชี้คอลัมน์ที่ถูกใช้ในฟังก์ชั่น โดยอาจจะกำหนดเป็นข้อความโดยใช้ป้ายชื่อคอลัมน์ที่คร่อมด้วยเครื่องหมายอัญประกาศคู่ เช่น “อายุ” หรือ “ผลตอบแทน” หรือ กำหนดเป็นตัวเลขที่แสดงถึงตำแหน่งของคอลัมน์ภายในจรายการ เช่น 1 หมายถึง คอลัมน์แรก ส่วน 2 หมายถึงคอลัมน์ที่สอง และต่อๆไป

Criteria คือ ช่วงของเซลล์ที่มีเงื่อนไขตามที่คุณระบุ โดยสามารถใช้ช่วงใดก็ได้เป็นอาร์กิวเมนต์ของเกณฑ์ ตราบใดที่ช่วงนั้นมีป้ายชื่อคอลัมน์อย่างน้อยหนึ่งคอลัมน์ และมีเซลล์อย่างน้องหนึ่งเซลล์อยู่ใต้ป้ายชื่อคอลัมน์ที่ใช้ในการระบุเงื่อนไขให้กับคอลัมน์

ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชั่น DSTDEVP

1. ระบายเซลล์ A1:A7 แล้วพิมพ์ Name และกด Enter พิมพ์ Somboon และกด Enter พิมพ์ Amorn และกด Enter

2. พิมพ์ Boripat และกด Enter พิมพ์ Pipat และกด Enter พิมพ์ Pipat และกด Enter พิมพ์ Chonticha และกด Enter

3. ระบายเซลล์ B1:B7 แล้วพิมพ์ Province และกด Enter พิมพ์ Bangkok และกด Enter พิมพ์ Bangkok และกด Enter

4. พิมพ์ Bangkok และกด Enter พิมพ์ Rayong และกด Enter พิมพ์ Chonburi และกด Enter พิมพ์ Rayong และกด Enter

5. ระบายเซลล์ C1:C7 แล้วพิมพ์ Amount และกด Enter พิมพ์ 12000 และกด Enter พิมพ์ 25000 และกด Enter

6. พิมพ์ 14000 และกด Enter พิมพ์ 3000 และกด Enter พิมพ์ 15000 และกด Enter พิมพ์ 30000 และกด Enter

7. ระบายเซลล์ A1:C1 แล้ว Copy ไปยังเซลล์ A9

8. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ Rayong

9. คลิกเซลล์ C12 แล้วพิมพ์ =dstdevp(a1:c7, c1, a9:c10) และกด Enter จะแสดงค่า 13500

10. สำหรับวิธีการคำนวณให้ทดลอง Copy ตัวเลข 3000 และ 30000 มาไว้ที่เซลล์ E5 และ E6

11. คลิกเซลล์ E8 แล้วพิมพ์ =average(e5:e6) และกด Enter จะแสดงค่า 16500

12. คลิกเซลล์ F5 แล้วพิมพ์ =(e5-$e$8)^2 จากนั้นกด Enter จะแสดงค่า 182250000 แล้ว Auto Fill มาที่เซลล์ F6

13. คลิกเซลล์ F7 แล้วคลิกปุ่ม Auto Sum จะได้ผลลัพธ์เป็น 364500000

14. คลิก E10 แล้วพิมพ์ =sqrt(f7/2) และกด Enter จะได้ค่า 13500

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Excel กับ ฟังก์ชั่น CORREL

Excel กับ ฟังก์ชั่น CORREL CORREL เป็นฟังก์ชั่น ประเภทสถิติ ของ Excel ทำหน้าที่ ส่งกลับสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของช่วงเซลล์ใน array1 และ ar... thumbnail 1 summary
Excel กับ ฟังก์ชั่น CORREL

CORREL เป็นฟังก์ชั่น ประเภทสถิติ ของ Excel ทำหน้าที่ ส่งกลับสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของช่วงเซลล์ใน array1 และ array2 ให้ใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติทั้งสอง

รูปแบบของฟังก์ชั่น คือ CORREL(array1,array2)
Array1 คือ ช่วงเซลล์ที่มีค่า

Array2 คือ ช่วงเซลล์ที่ 2 ที่มีค่า

ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชั่น CORREL

1. ระบายเซลล์ A2:A8 แล้วพิมพ์ a และกด Enter จากนั้นพิมพ์ b และกด Enter

2. พิมพ์ c และกด Enter พิมพ์ Mean และกด Enter

3. ระบายเซลล์ B1:B6 แล้วพิมพ์ X และกด Enter พิมพ์ 3 และกด Enter พิมพ์ 4 และกด Enter

4. พิมพ์ 5 และกด Enter พิมพ์ 5 และกด Enter และพิมพ์ 8 แล้วกด Enter

5. ระบายเซลล์ C1:C6 แล้วพิมพ์ Y และกด Enter พิมพ์ 9 และกด Enter พิมพ์ 11 และกด Enter

6. พิมพ์ 12 และกด Enter พิมพ์ 15 และกด Enter และพิมพ์ 17 แล้วกด Enter

7. ระบายเซลล์ D1:H1 แล้วพิมพ์ (x-xbar) และกด Enter พิมพ์ (y-ybar) และกด Enter พิมพ์ DxE แล้วกด Enter

8. พิมพ์ D^2 และกด Enter แล้วพิมพ์ E^2 และกด Enter

9. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =average(b2:b6) และกด Enter จากนั้น Auto Fill สูตรจากเซลล์ B8 ไปที่เซลล์ C8

10. คลิกเซลล์ D2 แล้วพิมพ์ b2-$b$8 จากนั้น Auto Fill ลงมาที่เซลล์ D6

11. คลิกเซลล์ E2 แล้วพิมพ์ =c2-$c$8 จากนั้น Auto Fill ลงมาที่เซลล์ E6

12. คลิกเซลล์ F2 แล้วพิมพ์ =d2*e2 จากนั้น Auto Fill ลงมาที่เซลล์ F6

13. คลิกเซลล์ G2 แล้วพิมพ์ =d2^2 จากนั้น Auto Fill ลงมาที่เซลล์ G6

14. คลิกเซลล์ H2 แล้วพิมพ์ =e2^2 จากนั้น Auto Fill ลงมาที่เซลล์ H6

15. ระบายเซลล์ B7:H7 แล้วคลิกปุ่ม Auto Sum

16. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =17/sqrt(g7*h7) และกด Enter จะโชว์ 0.92051

17. คลิกเซลล์ B12 แล้วพิมพ์ =correl(b2:b6, c2:c6) และกด Enter จะโชว์ 0.92051