วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน ASINH และ ตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน ASINH และ ตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010) ASINH เป็นฟังก์ชันประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ หน้าที่ของ ฟังก์ชัน ASINH คือ ส่งกลับค่า... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน ASINH และ ตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010)

ASINH เป็นฟังก์ชันประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

หน้าที่ของ ฟังก์ชัน ASINH คือ ส่งกลับค่าไฮเพอร์โบลิกไซน์ผกผัน (Hyperbolic Sine) ของ number ค่าไฮเพอร์โบลิกไซน์ผกผันคือค่าที่มีไฮเพอร์โบลิกไซน์ (Hyperbolic Sine) เป็น number ดังนั้นค่าของ ASINH(SINH(number)) จึงเท่ากับ number

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน ASINH คือ ASINH(number)

โดยที่ number คือจำนวนจริงใดๆ

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน ASINH ได้แก่ ACOSH, ATANH, SINH

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน ASINH

1. คลิกเซลล์ B1 แล้วพิมพ์ =Ln(12+sqrt(12^2+1)) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3.179785

2. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =asinh(12) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3.179785

3. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =asinh(-12) แล้วกด Enter จะแสดงค่า -3.17979

4. คลิกเซลล์ C2 แล้วพิมพ์ =sinh(B2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 12

5. คลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ =sinh(B3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า -12

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน BINOMDIST และวิธีการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน BINOMDIST และวิธีการใช้งาน Binomdist คือ ฟังก์ชันด้านสถิติของ Excel หน้าที่ของฟังก์ชัน Binomdist คือ ส่งกลับค่าความน่าจะเป็นของการ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน BINOMDIST และวิธีการใช้งาน

Binomdist คือ ฟังก์ชันด้านสถิติของ Excel

หน้าที่ของฟังก์ชัน Binomdist คือ ส่งกลับค่าความน่าจะเป็นของการแจกแจงแบบทิวนามแต่ละค่าให้ใช้ Binomdist ในโจทย์ที่มีจำนวนการทดสอบหรือการทดลองที่แน่นอน เมื่อผลลัพธ์ของการทดลองใดก็ได้ออกมาเป็นสำเร็จหรือล้มเหลวเท่านั้น เมื่อการทดลองเป็นอิสระและเมื่อความน่าจะเป็นที่สำเร็จเป็นค่าคงที่ตลอดการทดลอง

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน Binomdist ได้แก่ Binomdist(number_s,trails,probability_s,cumulative)

number_s คือ จำนวนครั้งที่ได้รับผลสำเร็จในการทดลองทั้งหมด

trails คือ จำนวนครั้งที่ทดลองทั้งหมดซึ่งเป็นอิสระกัน

probability_s คือความน่าจะเป็นของการที่จะได้รับผลสำเร็จในการทดลองแต่ละครั้ง

cumulative คือค่าตรรกศาสตร์ที่กำหนดรูปแบบของฟังก์ชัน ถ้าค่า cumulative เท่ากับ TRUE แล้ว BINOMDIST จะส่งกลับฟังก์ชันการแจกแจงความถี่สะสม (cumulative distribution function) หรือ ความน่าจะเป็นที่มี number_s สำเร็จมากที่สุด ถ้าเท่ากับ FALSE ก็จะส่งกลับฟังก์ชันความน่าจะเป็นแบบรวมหรือความน่าจะเป็นที่เท่ากับ number_s

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน Binomdist ก็ได้แก่ Combin, Critbinom, Fact, Hypgeomdist, Negbinomdist, Permut, Prob

ตัวอย่างการใช้สูตร Binomdist


1. ระบายเซลล์ A2:A5 แล้วพิมพ์ Number S แล้วกด Enter จากนั้นพิมพ์ Trials แล้วกด Enter

2. พิมพ์ Probability S แล้วกด Enter แล้วพิมพ์ Cumulative แล้วกด Enter

3. เลือกเซลล์ B2:B5 แล้วพิมพ์ 11 แล้วกด Enter จากนั้นพิมพ์ 20 แล้วกด Enter

4. พิมพ์ 0.4 แล้วกด Enter พิมพ์ FALSE แล้วกด Enter

5. เลือกเซลล์ C2:C5 แล้วพิมพ์ 11 แล้วกด Enter จากนั้นพิมพ์ 20 แล้วกด Enter

6. พิมพ์ 0.4 แล้วกด Enter แล้วพิมพ์ TRUE แล้วกด Enter

7. คลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =combin(b3,b2)*b4^b2*(1-b4)^b3-b2) แล้วกด Enter จะได้ 0.0070995

8. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =binomdist(b2,b3,b4,b5) แล้วกด Enter จะได้ 0.070995

9. คลิกเซลล์ C8 แล้วพิมพ์ =binomdist(c2,c3,c4,c5) แล้วกด Enter จะได้ 0.943474

วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน Concatenate และวิธีการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน Concatenate และวิธีการใช้งาน Concatenate คือฟังก์ชันประเภทข้อความ ทำหน้าที่ รวมหลายๆสายอักขระข้อความเป็นหนึ่งสายอักขระข้อความ รูปแ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Concatenate และวิธีการใช้งาน

Concatenate คือฟังก์ชันประเภทข้อความ

ทำหน้าที่ รวมหลายๆสายอักขระข้อความเป็นหนึ่งสายอักขระข้อความ

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน Concatenate คือ Conatenate(text1,text2,…)

โดยที่ text1, text2, .. เป็น 1 ถึง 30 รายการข้อความที่คุณต้องการรวมให้เป็นรายการข้อความเดียว รายการข้อความสามารถเป็นสายอักขระข้อความ ตัวเลข หรือการอ้างอิงเซลล์เดียวก็ได้

ข้อสังเกต

ตัวดำเนินการ “&” สามารถใช้แทนที่ Concatenate เพื่อรวมรายการข้อความเข้าด้วยกัน

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Concatenate คือ

1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =concatenate(“CD”, Training”) และกด Enter จะแสดงค่า CD Training

2. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =”CD “ & “Training” แล้วกด Enter จะแสดงค่า CD Training

3. คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ CIS

4. คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ Training Center

5. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =b4&b5 แล้วกด Enter จะแสดงค่า CISTraining Center

6. ที่เซลล์ B6 หากพิมพ์ =b4& “ “ & b5 แล้วกด Enter จะแสดงค่ CIS Training Center

7. คลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =concatenate(b4,b5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า CIS Training Center

8. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ Training Center และคลิกเซลล์ C8 จากนั้น พิมพ์ 1

9. คลิกเซลล์ D8 แล้วพิมพ์ =concatenate(b8,c8) แล้วกด Enter จะแสดงค่า Training Center1

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน Combin และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน Combin และตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน Combin บน Excel คือฟังก์ชันประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ ทำหน้าที่ ส่งกลับจำนวนวิธีจัดหมู่สำ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Combin และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน Combin บน Excel คือฟังก์ชันประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

ทำหน้าที่ ส่งกลับจำนวนวิธีจัดหมู่สำหรับจำนวนรายการ โดยเราใช้ Combin เพื่อหาจำนวนวิธีจัดหมู่ที่เป็นไปได้สำหรับจำนวนรายการทั้งหมดที่ระบุ

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน Combin คือ Combin(number,number_chosen)
โดยที่

number คือ จำนวนรายการข้อมูล

number_chosen คือ จำนวนรายการข้อมูลในวิธีจัดหมู่แต่ละวิธี

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน combin ก็ได้แก่ Binomdist, Critbinom, Fact, Hypgeomdist, Negbinomdist, Permut เป็นต้น

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Combin


1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ = fact(5)/fact(2)/fact(3) จากนั้นกด Enter จะแสดงค่า 10

2. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =combin(5,2) จากนั้นกด Enter จะแสดงค่า 10

ฟังก์ชัน Columns และตัวอย่างการใช้งาน Excel 2010

ฟังก์ชัน Columns และตัวอย่างการใช้งาน Columns คือ ฟังก์ชัน ด้านการค้นหาและการอ้างอิง Columns ทำหน้าที่ ส่งกลับจำนวนของคอลัมน์ สำหรับอาร์เ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Columns และตัวอย่างการใช้งาน

Columns คือ ฟังก์ชัน ด้านการค้นหาและการอ้างอิง

Columns ทำหน้าที่ ส่งกลับจำนวนของคอลัมน์ สำหรับอาร์เรย์หรือการอ้างอิงที่ระบุ

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน Columns คือ Columns(array)

array คืออาร์เรย์หรือสูตรอาร์เรย์ หรือการอ้างอิงไปยังช่วงเซลล์ที่ต้องการหาค่าจำนวนคอลัมน์

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องได้แก่ Column, Rows

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน columns

1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =columns(c1) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1

2. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =columns(e2:g3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3

3. คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =columns({1,2,3;4,5,6}) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3

4. ระบายเซลล์ E6:G8 จากนั้นพิมพ์ CISArea ที่ Name Box แล้วกด Enter

5. คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =columns(cisarea) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3

6. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =columns(e2:f4,g7:h9) แล้วกด Enter จำไม่สามารถทำได้ เพราะเงื่อนไขคือให้กำหนดช่วงข้อมูลได้เพียงช่วงเดียวเท่านั้น

ฟังก์ชัน CLEAN และตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน CLEAN และตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010) Clean จัดเป็นฟังก์ชัน ประเภท ข้อความ หน้าที่ของฟังก์ชัน clean คือ เอาอักขระทั้งหมดที่ไม่สา... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน CLEAN และตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010)

Clean จัดเป็นฟังก์ชัน ประเภท ข้อความ

หน้าที่ของฟังก์ชัน clean คือ เอาอักขระทั้งหมดที่ไม่สามารถพิมพ์ได้ออกจากข้อความ โดยใช้ใช้ Clean กับข้อความที่นำเข้าจากโปรแกรมประยุกต์อื่น ซึ่งบรรจุอักขระที่อาจจะไม่พิมพ์ด้วยระบบปฏิบัติการของคุณ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถใช้ Clean เพื่อเอารหัสคอมพิวเตอร์ระดับต่ำบางรหัสออก ซึ่งมักจะอยู่ที่จุดเริ่มต้น และจุดท้ายสุดของแฟ้มข้อมูล และไม่สามารถพิมพ์ได้

รูปแบบ สูตร Excel ของสูตร Clean คือ Clean(text)

โดยที่ text คือข้อมูลบนแผ่นงานใดก็ตามที่ต้องการเอาอักขระที่ไม่สามารถพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ได้ เอาออกไป

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน Clean ก็ได้แก่ Char, Trim

ตัวอย่างการใช้งานสูตร Clean

1. คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ =char(7)&”CIS”&char(7) แล้วกด Enter

2. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =clean(a2) แล้วกด Enter จะเห็นว่าสัญลักษณ์แปลกๆจะถูกตัดทิ้งไป

3. หากต้องการล้างสูตร ให้คลิกเซลล์ B2 จากนั้นกดปุ่ม F2 แล้วกด ปุ่ม F9 แล้วกด Enter

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน ROUNDUP และตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน ROUNDUP และตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010) Roundup เป็นฟังก์ชัน ด้านคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ ทำหน้าที่ ปัดเศษจำนวนขึ้นออกจากค่า 0... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน ROUNDUP และตัวอย่างการใช้งาน (Excel 2010)

Roundup เป็นฟังก์ชัน ด้านคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

ทำหน้าที่ ปัดเศษจำนวนขึ้นออกจากค่า 0 (ศูนย์)

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน Roundup คือ Roundup(number,num_digits)

โดยที่ number คือค่าจำนวนจริงใดๆที่คุณต้องการปัดเศษขึ้น

num_digits คือตำแหน่งทศนิยมที่คุณต้องการปัดเศษ

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องได้แก่ Ceiling, Floor, Int, Mod, Mround, Round, RoundDown, Trunc

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน RoundUp

1. คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 123.45678 จากนั้นคลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =roundup(a2,2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 123.46

2. คลิกเซลล์ A3 แล้วพิมพ์ 123.45678 จากนั้นคลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =roundup(a3,1) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 123.5

3. คลิกเซลล์ A4 แล้วพิมพ์ 123.45678 จากนั้นคลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =roundup(a4,0) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 124

4. คลิกเซลล์ A5 แล้วพิมพ์ 123.45678 จากนั้นคลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =roundup(a5,-1) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 130

5. คลิกเซลล์ A6 แล้วพิมพ์ 123.45678 จากนั้นคลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =roundup(a6,-2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 200

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน ZTEST และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน ZTEST และตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน ZTEST คือ ฟังก์ชัน ด้านสถิติ หน้าที่ของ ZTEST คือ ส่งกลับค่า P สองด้านของการทดสอบค่า z-test โ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน ZTEST และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน ZTEST คือ ฟังก์ชัน ด้านสถิติ หน้าที่ของ ZTEST คือ ส่งกลับค่า P สองด้านของการทดสอบค่า z-test โดยการทดสอบค่า z-test ให้คะแนนมาตรฐานของ x ต่อชุดข้อมูลอาร์เรย์ และส่งกลับค่าความน่าจะเป็นของการแจกแจงปกติแบบสองด้าน คุณสามารถใช้ฟังก์ชันนี้ประเมินความสมควรในการเลือกการสำรวจที่เจาะจงจากประชากรที่เจาะจง

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน ZTEST คือ ZTEST(array,x,sigma)

array คือ อาร์เรย์หรือช่วงของข้อมูลที่จะทำให้ทดสอบค่า x

x คือค่าที่ใช้ทดสอบ

sigma คือส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร (ที่ทราบอยู่แล้ว) ถ้าไม่ใส่ค่าอะไรไว้ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวอย่างจะถูกใช้

ฟังก์ชัที่นเกี่ยวข้อง ก็ได้แก่ CONFIDENCE, NORMDIST, NORMINV,NORMDIST,NORMSINV,STANDARDIZE

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน ZTEST

1. เลือกเซลล์ B2:B11 แล้วพิมพ์ 3 จากนั้นกด Enter พิมพ์ 5 จากนั้นกด Enter พิมพ์ 2 แล้วกด Enter พิมพ์ 8 แล้วกด Enter พิมพ์ 8 แล้วกด Enter พิมพ์ 5 แล้วกด Enter พิมพ์ 4 แล้วกด Enter พิมพ์ 10 แล้วกด Enter พิมพ์ 2 แล้วกด Enter พิมพ์ 9 แล้วกด Enter

2. เลือกเซลล์ D2:D5 แล้วพิมพ์ X แล้วกด Enter พิมพ์ Mean แล้วกด Enter พิมพ์ std แล้วกด Enter พิมพ์ n แล้วกด Enter

3. คลิกเซลล์ E2 แล้วพิมพ์ 5

4. คลิกเซลล์ E3 แล้วพิมพ์ =average(b2:b11) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 5.6

5. คลิกเซลล์ E4 แล้วพิมพ์ =stdev(b2:b11) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2.951459

6. คลิกเซลล์ E5 แล้วพิมพ์ =count(b2:b11) แล้วกด Enter จะแสดงผลเป็น 10

7. คลิกเซลล์ E7 แล้วพิมพ์ =1-normdist((e3-e2)*sqrt(e5)/e4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.260158

8. คลิกเซลล์ E9 แล้วพิมพ์ =ztest(b2:b11,e2) แล้วกด Enter จะแสดงผลเป็น 0.260158

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน YIELDMAT และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน YIELDMAT และวิธีการใช้งาน ฟังก์ชัน YIELDMAT เป็นฟังก์ชันประเภทการเงิน ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าผลตอบแทนต่อปีของหลักทรัพย์ที่จ่ายดอกเบ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน YIELDMAT และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน YIELDMAT เป็นฟังก์ชันประเภทการเงิน

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าผลตอบแทนต่อปีของหลักทรัพย์ที่จ่ายดอกเบี้ย ณ วันครบกำหนด

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน YIELDMAT คือ YIELDMAT(settlement,maturity,issue,rate,pr,basis)

โดยที่ค่าพารามิเตอร์แต่ละตัวมีความหมายดังนี้

Settlement คือวันที่ทำข้อตกลงของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อ

maturity คือวันที่ครบกำหนดชำระของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่หลักทรัพย์หมดอายุลงนั่นเอง

issue คือวันที่ออกจำหน่ายของหลักทรัพย์ซึ่งแสดงอยู่ในรูปแบบหมายเลขอนุกรมของวันที่

rate คืออัตราดอกเบี้ยของหลักทรัพย์ ณ วันออกจำหน่าย

pr คือ ราคาของหลักทรัพย์ต่อมูลค่าตามตราสาร 100 ดอลล่าร์

basis คือชนิดของหลักเกณฑ์ในการนับจำนวนวัน

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องได้แก่ Date, Pricemat

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน YIELDMAL

1. เลือกเซลล์ A2:A7 แล้วพิมพ์ Settlement Date แล้วกด Enter พิมพ์ Maturity Date แล้วกด Enter พิมพ์ ISSUE แล้วกด Enter พิมพ์ Rate แล้วกด Enter พิมพ์ Pr แล้วกด Enter พิมพ์ Basis แล้วกด Enter

2. เลือกเซลล์ A9:A12 แล้วพิมพ์ DIM แล้วกด Enter พิมพ์ DIS แล้วกด Enter พิมพ์ DSM แล้วกด Enter พิมพ์ A แล้วกด Enter

3. เลือกเซลล์ B2:B7 แล้วพิมพ์ 15/2/2001 แล้วกด Enter พิมพ์ 3/11/2001 แล้วกด Enter พิมพ์ 8/11/2000 แล้วกด Enter พิมพ์ 5.25% แล้วกด Enter พิมพ์ 98.75 แล้วกด Enter พิมพ์ 2 แล้วกด Enter

4. คลิกเซลล์ B9 แล้วพิมพ์ =b3-b4 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 25/12/1900 จากนั้นให้คลิกที่เมนู Edit เลือกคำสั่ง Clear แล้วคลิกที่ Formats จะแสดงผล 360

5. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =b2-b4 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 8/4/1900 จากนั้นให้คลิกที่เมนู Edit เลือกคำสั่ง Clear แล้วคลิกที่ Formats จะแสดงค่า 99

6. คลิกเซลล์ B11 แล้วพิมพ์ =b3-b2 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 17/9/1900 จากนั้นให้คลิกที่เมนู Edit แล้วเลือกคำสั่ง Clear แล้วคลิกที่ Formats จะแสดงค่า 261

7. คลิกเซลล์ B12 แล้วพิมพ์ 360

8. คลิกเซลล์ B14 แล้วพิมพ์ =((100+b9/b12*b5*100)/(b6+b10/b12*b5*100)-1)*b12/b11 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.069607

9. คลิกเซลล์ B16 แล้วพิมพ์ =yieldmat(b2,b3,b4,b5,b6,b7) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.069607

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน YearFrac และตัวอย่างการใช้งานบน Excel 2010

ฟังก์ชัน YearFrac และตัวอย่างการใช้งานบน Excel 2010 YearFrac จัดเป็นฟังก์ชันด้าน วันที่และเวลาของ Excel ฟังก์ชัน YearFrac ทำหน้าที่ คำ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน YearFrac และตัวอย่างการใช้งานบน Excel 2010

YearFrac จัดเป็นฟังก์ชันด้าน วันที่และเวลาของ Excel

ฟังก์ชัน YearFrac ทำหน้าที่ คำนวณเศษส่วนของปีที่แสดงด้วยจำนวนเต็มของวัน ระหว่างวันที่สองวันที่ (Start_date และ End_date) ให้เราใช้ฟังก์ชันของแผ่นงาน YearFrac ในการหาสัดส่วนของผลกำไรหรือข้อผูกมัดของทั้งปีเพื่อกำหนดให้ระยะเวลาที่ระบุไว้

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน YearFrac คือ YearFrac(start_date,end_date,basis)


โดยที่พารามิเตอร์แต่ละตัวมีความหมายดังนี้

start_date คือวันที่ที่ใช้แทนวันที่เริ่มต้น

end_date คือวันที่ที่ใช้แทนวันที่สิ้นสุด

basis คือชนิดของหลักเกณฑ์ในการนับจำนวนวัน

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องได้แก่ Edate, Emonth, Networkdays, Now, Workday
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน YearFrac

1. เลือกเซลล์ A2:A4 แล้วพิมพ์ Start Date แล้วกด Enter

2. พิมพ์ End Date แล้วกด Enter

3. พิมพ์ Basis แล้วกด Enter

4. เลือกเซลล์ B2:B4 แล้วพิมพ์ 1/1/2002 แล้วกด Enter

5. พิมพ์ 1/6/2002 แล้วกด Enter

6. พิมพ์ 0 แล้วกด Enter

7. คลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ =days360(b2,b3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 150

8. คลิกเซลล์ C4 แล้วพิมพ์ 360

9. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =yearfrac(b2,b3,b4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.416667

10. คลิกเซลล์ C6 พิมพ์ =c3/c4 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.416667

11. ทดลองแก้ไขตัวเลขที่เซลล์ B4 เป็น 1 หรือ 2 หรือ 3 แล้วกำหนดตัวเลขที่เซลล์ C4 เป็น 365 เพื่อดูผลที่เกิดจากการคำนวณ

วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ฟังก์ชัน XNPV และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน XNPV และวิธีการใช้งาน XNPV คือฟังก์ชันด้านการเงินของ Excel มีหน้าที่คือ ส่งกลับค่าปัจจุบันสุทธิของตารางของสภาพคล่องตัวทางการเงิน... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน XNPV และวิธีการใช้งาน

XNPV คือฟังก์ชันด้านการเงินของ Excel มีหน้าที่คือ ส่งกลับค่าปัจจุบันสุทธิของตารางของสภาพคล่องตัวทางการเงินที่ไม่จำเป็นต้องเป็นคาบเวลา ใช้ฟังก์ชัน NPV ในการคำนวณมูลค่าสุทธิปัจจุบันสำหรับชุดของสภาพคล่องตัวทางการเงินที่เป็นงวด

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน XNPV คือ XNPV(rate,values,dates)
โดยที่ rate คือ อัตราส่วนลดที่ใช้กับสภาพคล่องตัวทางการเงิน

values คือชุด้อมูลของจำนวนเงินที่เกี่ยวข้องกับตารางของรายจ่ายเรียงตามวันที่ รายจ่ายแรกนั้นเลือกเองได้และเกี่ยวข้องกับต้นทุนหรือรายจ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงแรกของการลงทุน ถ้าค่าแรกคือต้นทุนหรือรายจ่าย ค่านั้นจะเป็นค่าลบ รายจ่ายที่ติดตามมาจะลดลงโดยมีพื้นฐานอยู่บนปีที่มี 365 วัน ชุดของค่าจะต้องมีค่าบวกและค่าลบอย่างน้อยอย่างละ 1 จำนวน

dates คือ ตารางเวลาการชำระเงินที่พิจารณาจากกระแสเงินสด ซึ่งวันที่ชำระเงินวันแรกตรงกับวันเริ่มต้นในตารางเวลาการชำระเงิน ส่วนวันที่อื่นๆ ต้องอยู่ต่อจากวันที่นี้ แต่ไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับวันที่

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง IRR, MIRR, NPV, RATE, XIRR

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน XNPV

1. เลือกเซลล์ B1:B7 แล้วพิมพ์ Amount แล้วกด Enter พิมพ์ -1000000 แล้วกด Enter พิมพ์ 150000 แล้วกด Enter พิมพ์ 250000 แล้วกด Enter พิมพ์ 240000 แล้วกด Enter พิมพ์ 220000 แล้วกด Enter พิมพ์ 200000 แล้วกด Enter

2. เลือกเซลล์ C1:C7 แล้วพิมพ์ Date แล้วกด Enter พิมพ์ 1/6/1999 แล้วกด Enter พิมพ์ 1/8/1999 แล้วกด Enter พิมพ์ 1/11/1999 แล้วกด Enter พิมพ์ 1/2/2000 แล้วกด Enter พิมพ์ 1/6/2000 แล้วกด Enter พิมพ์ 1/12/2000 แล้วกด Enter

3. คลิกเซลล์ B9 แล้วพิมพ์ =xnpv(0.04,b2:b7,c2:c7) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 28766.19

4. คลิกเซลล์ B11 แล้วพิมพ์ =xirr(b2:b7,c2:c7) แล้กด Enter จะแสดงค่า 0.079802