วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วิธีใช้ฟังก์ชัน DEC2BIN และ ฟังก์ชั่น Dmin ใน Microsoft Excel 2000-2010

ฟังก์ชัน DEC2BIN ใน Microsoft Excel เป็นฟังก์ชั่นประเภท วิศวกรรม ประโยชน์ของ ฟังก์ชัน DEC2BIN ใน Microsoft Excel คือ แปลตัวเลข... thumbnail 1 summary


ฟังก์ชัน DEC2BIN ใน Microsoft Excel เป็นฟังก์ชั่นประเภท วิศวกรรม
ประโยชน์ของ ฟังก์ชัน DEC2BIN ใน Microsoft Excel คือ แปลตัวเลขฐานสิบให้เป็นเลขฐานสอง
รูปแบบสูตรของ ฟังก์ชัน DEC2BIN ใน Microsoft Excel เป็นดังนี้ DEC2BIN(number,places)
โดยที่ number คือ จำนวนเต็มฐานสิบที่คุณต้องการจะแปลง ถ้า number เป็นค่าลบ places จะถูกละเว้นไป และฟังก์ชัน DEC2BIN ใน Microsoft Excel จะส่งกลับค่าตัวเลขฐานสองแบบอักขระ 10 ตัว (10 บิต) ซึ่งบิตที่มีนัยสำคัญที่สุดคือ บิตเครื่องหมาย ส่วนอีก 9 บิตที่เหลือคือ บิตขนาด โดยจะแสดงตัวเลขติดลบด้วยสัญกรณ์เติมเต็มฐานสอง
Places คือ จำนวนของอักขระที่ใช้ ถ้า places ถูกละไว้ ฟังก์ชัน DEC2BIN ใน Microsoft Excel จะใช้จำนวนที่น้อยที่สุดของอักขระที่จำเป็น places มีประโยชน์สำหรับการรองรับค่าผลลัพธ์ที่มี 0 (ศูนย์) นำหน้า
ฟังก์ชั่นที่เกียวข้องกับ ฟังก์ชัน DEC2BIN ใน Microsoft Excel คือ BIN2DEC,HEC2DEC,OCT2DEC เป็นต้น
เรามาลองใช้ ฟังก์ชัน DEC2BIN ใน Microsoft Excel ดูซิว่า ผลลัพธ์จะเป็นยังไงกันบ้าง ทำตามวิธีการด้านล่างนี้เลย
·       คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 5
·       คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =dec2bin(a2) และกด Enter จะโชว์ 101
·       หากพิมพ์ 4 ที่เซลล์ A2 และกด Enter ผลในเซลล์ B2 จะโชว์ 100
ตัวอย่างเท่านี้ก็น่าจะทำให้เราเห็นภาพแล้วละว่า ฟังก์ชัน DEC2BIN ใน Microsoft Excel มันทำงานยังไง
สิ่งสำคัญในการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์คือ เรื่องของการทดลองใช้ให้เกิดความคล่อง โดยการใช้ในครั้งแรกๆอาจจะยังไม่เข้าใจมันดีนัก แต่เมื่อเราลองใช้ไปสักระยะมันก็จะซึมซับเข้ามาในหัวสมองของเราได้อย่างไม่ยากเย็นเลย ดั่งเช่น Microsoft Excel ถ้าเราได้ลองใช้ในทุกๆแง่ทุกมุมของมันและลองใช้เป็นประจำ รับรองว่า เราต้อง ใช้ Microsoft Excel ได้คล่องแน่ๆ
เอาละ การใช้ ฟังก์ชั่น ฟังก์ชัน DEC2BIN ใน Microsoft Excel ก็ขอจบเพียงเท่านี้
ลองอีกสักฟังก์ชั่นหนึ่งแล้วกัน คราวนี้จะเป็นฟังก์ชั่นด้านฐานข้อมูลบ้าง ใครที่เคยใช้แต่ฟังก์ชั่นพื้นฐาน ก็ลองหาโอกาสใช้ฟังก์ชั่น อื่นๆอีกดูซักครั้งหนึ่งจะได้รู้ว่า Ex เอ่ย Excel มันเจ๋งขนาดไหน
** การใช้ฟังก์ชั่น DMIN ที่มีใน Microsoft Excel
การใช้ฟังก์ชั่น DMIN ที่มีใน Microsoft Excel จัดเป็นฟังก์ชั่นประเภทฐานข้อมูล หรือที่ภาษาอังกฤษเค้าเรียกว่า Database นั่นแหละ
ความหมายของ การใช้ฟังก์ชั่น DMIN ที่มีใน Microsoft Excel ก็คือ มันเอาไว้ใช้ ส่งกลับค่าตัวเลขที่มีค่าน้อยที่สุดในเขตข้อมูล (คอลัมน์)ของระเบียนในฐานข้อมูลที่ตรงกับเงื่อนไขที่คุณระบุมาให้เรา
รูปแบบสูตรของ ฟังก์ชั่น DMIN ของ Microsoft Excel คือ DMIN(Database,field,criteria)
Database คือช่วงของเซลล์ที่ประกอบขึ้นเป็นรายการหรือฐานข้อมูล โดยรายการของข้อมูลที่สัมพันธ์กันที่อยู่ในแถวของข้อมูลที่สัมพันธ์กันเรียกว่า ระเบียน(แถวแนวนอน) และคอลัมน์ของข้อมูลเรียกว่า เขตข้อมูล(แถวแนวตั้ง) ซึ่งแถวแรกของรายการประกอบด้วยป้ายชื่อของแต่ละคอลัมน์
Field ทำหน้าที่บ่งชี้คอลัมน์ที่ถูกใช้ในฟังก์ชั่น โดยอาจจะกำหนดเป็นข้อความโดยใช้ป้ายชื่อคอลัมน์ที่คร่อมด้วยเครื่องหมายอัญประกาศคู่ เช่น “อายุ” หรือ “ผลตอบแทน” หรือ กำหนดเป็นตัวเลขที่แสดงถึงตำแหน่งของคอลัมน์ภายในรายการ เช่น 1 หมายถึงคอลัมน์แรก ส่วน 2 หมายถึงคอลัมน์ที่สอง และต่อๆไป
Criteria คือ ช่วงของเซลล์ที่มีเงื่อนไขตามที่คุณระบุ โดยสามารถใช้ช่วงใดก็ได้เป็นอาร์กิวเมนต์ของเกณฑ์ ตราบใดที่ช่วงนั้นมีป้ายชื่อคอลัมน์อย่างน้อยหนึ่งคอลัมน์ และมีเซลล์อย่างน้อยหนึ่งเซลล์อยู่ใต้ป้ายชื่อคอลัมน์ที่ใช้ในการระบุเงื่อนไขให้กับคอลัมน์
ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องกับ ฟังก์ชั่น DMIN ที่มีใน Microsoft Excel คือ ฟังก์ชั่น DMAX
หลังจากที่ทราบค่าของตัวแปรที่อยู่ภายใน ฟังก์ชั่น DMIN ที่มีใน Microsoft Excel แล้วก็ถึงเวลาที่เราต้องใช้งานมันสักที โดยทำตามตัวอย่างด้านล่างนี้เลย
* ให้เราระบายเซลล์ A1:A7 แล้วพิมพ์ Name และกด Enter พิมพ์ Somboon แล้ว กด Enter พิมพ์ Amorn และ กด Enter
* พิมพ์ Boripat แล้วกด Enter พิมพ์ Pipat แล้วกด Enter พิมพ์ Pirat แล้วกด Enter พิมพ์ Chonticha แล้วกด Enter
* ระบายเซลล์ B1:B7 แล้วพิมพ์ Province แล้วกด Enter พิมพ์ Bangkok แล้วกด Enter พิมพ์ Bangkok และ กด Enter
* พิมพ์ Bangkok แล้วกด Enter พิมพ์ Rayong แล้วกด Enter พิมพ์ Chonburi แล้วกด Enter พิมพ์ Rayong แล้วกด Enter
*ระบายเซลล์ C1:C7 แล้วพิมพ์ Amount แล้วกด Enter พิมพ์ 12000 และกด Enter พิมพ์ 25000 และกด Enter
พิมพ์ 14000 แล้วกด Enter พิมพ์ 3000 แล้วกด Enter พิมพ์ 15000 แล้วกด Enter พิมพ์ 30000 แล้วกด Enter
* ระบายเซลล์ A1:C1 แล้ว Copy ไปยังเซลล์ A9
*คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ Bangkok
*คลิกเซลล์ C12 แล้วพิมพ์ =dmin(a1:c7,c1,a9:c10) แล้วกด Enter จะโชว์ 12000
* หากพิมพ์ Rayong ที่เซลล์ B10 แล้วกด Enter จะเห็นที่เซลล์ C12 จะโชว์ 3000
* ข้อควรระวังคือ ฟังก์ชั่น DMIN ที่มีใน Microsoft Excel จะหาค่าของฟิลด์ที่เป็นตัวเลขเท่านั้น จะหาค่าที่เป็นตัวหนังสือไม่ได้
เอาละหลังจากที่ได้ใช้ไปสองฟังก์ชั่นแล้วรู้สึกเป็นไงบ้างเอ่ย สำหรับคนที่ไม่ชอบใช้ Microsoft Excel
แต่ต้องมาใช้ และต้องมาอ่านด้วยความจำเป็น ก็คงรู้สึกเครียดไปตามๆกัน อืม การเรียนรู้มักต้องมีเรื่องเครียดมาเกี่ยวข้องเสมอ ๆ แต่ถ้าเราค่อยๆเป็นค่อยๆไป ค่อยๆหัดใช้ไป สักวันเราก็จะเก่งเองโดยไม่ต้องใช้ความพยายามที่จะจำให้ได้ภายในครั้งเดียวที่ใช้หรอก มันจะฝืนมากเกินไป ผ่อนคลายสักพักแล้วค่อยมาลุยต่อเนาะ ....ขอบคุงทุกท่านที่อ่านจ๊ะ J หากมีไรที่พอจะช่วยได้ก็ comment ถามได้เลยน่ะจ๊ะ จะหาคำตอบมาให้ทันทีที่ว่างเว้นจากการทำงานเลย