วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Excel Formulas : ฟังก์ชั่น LOOKUP ตรวจสอบว่ามีค่า นั้นอยู่ในช่วงของเซลล์ที่เราทำการตรวจสอบหรือไม่

วันนี้งานที่ทำงานวุ่นวายเหลือเกิน จนรู้สึกว่า วันๆ ไม่มีความสุขเสียเลย เพราะมันเหนื่อย เพลีย ดีหน่อยที่ไม่ค่อยเหนื่อยใจ ไม่อย่างนั้นคงต้... thumbnail 1 summary

วันนี้งานที่ทำงานวุ่นวายเหลือเกิน จนรู้สึกว่า วันๆ ไม่มีความสุขเสียเลย เพราะมันเหนื่อย เพลีย ดีหน่อยที่ไม่ค่อยเหนื่อยใจ ไม่อย่างนั้นคงต้องแย่แน่ๆ ร่างกายก็อ่อนแอลงทุกวัน คงต้องหาเวลาออกกำลังกายบ้างล่ะ เฮ้อ พูดถึงเรื่องออกกำลังกาย นี่ เราไม่ได้ออกกำลังกายมานานเท่าไหร่แล้วน่ะ หลายปีแล้วนี่ ไม่เคยได้ออกกำลังกายแม้แต่วันเดียว ทำงานจนตัวเป็นเกลียวจริงๆ
เอาล่ะบ่นพอแล้วล่ะ  มาอับ blog เพื่อเป็นประโยชน์แก่ชาวโลกกันดีกว่า เวลางานยุ่งๆ เนี่ย อะไรก็ไม่ค่อยจะได้ทำ แม้แต่อับ blog  แห่งนี้ แต่ก็จะพยายาม ใส่ข้อมูลใหม่ๆเข้าไปให้มากที่สุดเท่าที่เวลาจะอำนวยแล้วกัน  เข้าเรื่องกันเลยดีกว่าน่ะ
อืม   วันนี้เราจะเสนอเรื่องของ ฟังก์ชั่น LOOKUP กันน่ะ  อืม ใครที่ไม่เคยใช้ ฟังก์ชั่นนี้ หรือ ที่งง ๆ ละก็ วันนี้ เราจะมาไข ข้อกังขา ปลดข้อสงสัยให้กับทุกคน ให้รู้ดำรู้แดงกันไปเลย ว่ามันใช้ยังไงกันไอ้ฟังก์ชัน LOOKUP เนี่ย  
การใช้ Function บน Microsoft Excel มันก็มีวิธีใช้เหมือนกันๆ นั่นคือ พิมพ์ =ก่อน แล้วตามด้วยชื่อฟังก์ชั่น เช่น ฟังก์ชั่น LOOKUP ก็ทำเช่นเดียวกับฟังก์ชั่นอื่นๆ เพียงแต่แตกกต่างกันตรงที่ ฟังก์ชั่น LOOKUP มันก็มี พารามิเตอร์ของมัน มีหน้าที่ของมันนั่นเอง  พูดแล้วเราก็มาดูซิว่า รูปแบบของฟังก์ชั่น LOOKUP มันมีอะไรบ้าง มากันมาเลย
รูปแบบของฟังก์ชั่น LOOKUP คือ LOOKUP(lookup_value,  lookup_vector,  [result_vector])
เรามาดูว่า ตัวแปรที่อยู่ข้างใน มีหน้าที่อะไร แล้วเราต้องใส่ค่าอะไรเข้าไปแทนทีตัวแปรเหล่านี้บ้าง
*  lookup_value  ต้องมี คือ ค่าที่ LOOKUP จะค้นหาในเวกเตอร์แรก Lookup_value อาจเป็นตัวเลข ข้อความ ค่าตรรกะ หรือชื่อ หรือการอ้างอิงที่อ้างอิงไปยังค่า
*  lookup_vector  ต้องมี คือ ช่วงที่มีแถวหนึ่งแถวหรือคอลัมน์หนึ่งคอลัมน์เท่านั้น ค่าใน lookup_vector อาจเป็นข้อความ ตัวเลข หรือค่าตรรกะ
·        ค่าใน lookup_vector จะต้องเรียงลำดับจากน้อยไปหามาก นั่นคือ ..., -2, -1, 0, 1, 2, ..., A-Z, FALSE, TRUE มิฉะนั้น LOOKUP อาจไม่ส่งกลับค่าที่ถูกต้อง ข้อความแบบตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กจะถือว่ามีค่าเท่ากัน
·      result_vector  มีหรือไม่ก็ได้ คือ ช่วงที่ประกอบด้วยแถวหนึ่งแถวหรือคอลัมน์หนึ่งคอลัมน์เท่านั้น อาร์กิวเมนต์ result_vector ต้องมีขนาดเดียวกับ lookup_vector
ข้อสังเกต และข้อควรจดจำ
*  ถ้าฟังก์ชัน LOOKUP ไม่พบ lookup_value ฟังก์ชันนี้จะจับคู่ค่าที่มากที่สุดใน lookup_vector ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ lookup_value
*  ถ้า lookup_value มีค่าน้อยกว่าค่าที่น้อยที่สุดใน lookup_vector LOOKUP จะส่งกลับค่าความผิดพลาด #N/A
เรามาดูตัวอย่างกันดีกว่า 
·      เปิด Microsoft Excel ขึ้นมา
·      พิมพ์ 9 ที่ช่อง a1
·      พิมพ์ 10 ที่ช่อง a2
·      พิมพ์ 11 ที่ช่อง a3
·      พิมพ์ 12 ที่ช่อง a4
·      พิมพ์ 13 ที่ช่อง a5
·      พิมพ์ 14 ที่ช่อง a6
·      พิมพ์ 15 ที่ช่อง a7
·      พิมพ์ 16 ที่ช่อง a8
·      พิมพ์ a ที่ช่อง b1
·      พิมพ์ b ที่ช่อง b2
·      พิมพ์ c ที่ช่อง b3
·      พิมพ์ d ที่ช่อง b4
·      พิมพ์ e ที่ช่อง b5
·      พิมพ์ f ที่ช่อง b6
·      พิมพ์ g ที่ช่อง b7
·      พิมพ์ h ที่ช่อง b8
·      พิมพ์ =LOOKUP(A1,A1:A8,B1:B8) ที่ช่อง c1 แล้วกด Enter ผลลัพธ์ที่ได้คือ a
จากผลลัพธ์ ที่ได้ ทำให้อธิบายได้ดังนี้ ว่า ฟังก์ชั่น LOOKUP ทำหน้าที่จับคู่เปรียบเทียบคล้ายๆกับฟังก์ชัน IF เพราะจากตัวอย่าง เราพิมพ์ว่า =LOOKUP(A1,A1:A8,B1:B8)  ซึ่งที่ช่อง a1 คือ 9 และที่ช่อง a1:a8 (a1 ถึง a8) คือช่วงที่ต้องการเปรียบเทียบ ส่วนช่วง b1:b8 คือช่องของผลลัพธ์ที่ต้องการให้แสดง กรณีเงื่อนไขเป็นจริง
จากคำสั่ง ก็เหมือนกับถามว่า ถ้าช่วง a1:a8 มีค่า เท่ากับค่าที่อยู่ในช่อง a1 จริง ให้เอาค่าที่อยู่ในช่อง b1:b8 ที่ตรงตามช่องตามเงื่อนไขออกมาแสดง  ลองทำตัวอย่างนี้ดูแล้วจะเข้าใจได้ครับ จุ๊บๆ ....:0