Microsoft Excel กับการประยุคใช้ Shape (รูปร่าง)
ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Excel หรือว่า Microsoft Word
ต่างก็มีคำสั่ง การแทรก Shape (รูปร่าง) ด้วยกันทั้งนั้น Shape ที่อยู่ใน
Microsoft Excel และ Microsoft Word รวมทั้งชุดของ Microsoft Office ทั้งหลาย ต่างก็มีความสามารถที่เหมือนๆกัน
นั่นคือ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถแทรกรูปร่างอิสระต่างๆมากมาย เพื่อให้ผู้ใช้ทำงานได้สะดวกขึ้น ทำงานได้หลากหลายมากขึ้น ตัวอย่าง รูปร่าง (Shape) ที่มีใน Microsoft Excel ก็เช่น รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปเส้นตรง รูปเส้นโค้ง รูปร่างอิสระ(หมายถึงเราสามารถใช้เครื่องมือตัวนี้ในการวาดภาพใดๆที่เราต้องการได้เองอย่างอิสระ) รูปหลายเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมมุมน และ รูปทรงที่เป็นตัวแสดงคำบรรยาย รูปดาว รูปเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์เช่น รูปเครื่องหมายบวก รูปเครื่องหมายลบ คูณ หาร เครื่องหมายไม่เท่ากับ รูปแบนเนอร์ รูปดาวต่างๆ และอีกมากมาย
รูปทรงเหล่านี้สามารถนำมาใช้วางบน Microsoft Excel ได้ และสามรถใส่สี รวมทั้งพิมพ์ข้อความลงไปบนรูปทรงเหล่านั้นได้ด้วย ใส่ Effect ต่างๆให้กับรูปทรงก็ได้ และสามารถนำรูปทรงเหล่านี้ มาทำเป็นปุ่มคลิ้กเพื่อสั่งให้ทำงานตามที่เราสั่งได้ ดังจะยกตัวอย่างให้เห็น ในตัวอย่างนี้
ก่อนจะเข้าสู่ตัวอย่างการใช้งาน Shape (รูปร่าง) กับ Vba นั้น เรามาดูกันว่า Shape อยู่ตรงไหน โดยให้ดูตามภาพประกอบด้านล่างนี้ได้เลย
นี่คือ Shape ทั้งหมด ที่มีใน Microsoft Excel
เมื่อเราดูจากภาพเราก็ทราบแล้วว่า Shape อยู่ตรง เมนู แทรก (Insert) นั่นเอง จะเห็นว่ามี รูปร่างที่เราสามารถนำมาใช้ได้มากมาย ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
ต่อไปเราจะเข้าสู่ตัวอย่างของหัวข้อนี้สักที นั่นคือ เราจะจำลองการทำงานของเครื่องคิดเลขที่ไม่มีการคำนวณใด ๆ แต่จะ ทำเครื่องคิดเลข ประมาณว่า ออกแบบ หน้าตาของ เครื่องคิดเลข โดยใช้ Shape ของ Microsoft Excel แล้ว เขียนโปรแกรม ด้วย vba สั่งงานให้ Shape เหล่านั้น ตอบสองต่อเหตุการณ์คลิกที่ตัวมัน เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น ให้ดูภาพตัวอย่างด้านล่างนี้
จากภาพเป็นการนำ รูปร่าง (shape) รูปสี่เหลี่ยมมาวางทั้งหมด 9 อัน มาวางบน Microsoft Excel แล้ว ใส่สี ใส่ Effect ให้กับ Shape แต่ละอัน ส่วนพื้นหลังก็เป็นการใส่สีให้กับเซลล์ และก็ใส่ ลักษณะพิเศษให้กับเซลล์ ตามปกติ คนที่เคยใช้ Microsoft Excel มาพอสมควรก็น่าจะทราบวิธีการง่ายๆนี้ ได้ไม่ยาก แต่คนที่เป็นมือใหม่ อาจพบความยุ่งยากเล็กน้อย แต่ลองฝึกใช้สักพักก็จะเป็นเองครับ ไม่ยาก เลข 1 – 9 ที่เห็นคือ การพิมพ์ ตัวเลขลงไปบน Shape (รูปร่าง) ที่เราเอามาลงนั่นเอง
เมื่อเรา ออกแบบได้ดังภาพที่เห็นแล้ว ขั้นตอนต่อไป ก็ เป็นการเขียนโค้ดให้กับ Shape ที่เหล่านี้
ซึ่งวิธีการ ก็ไม่ยากอย่างที่คิด เราแค่ กด alt+f11 จากนั้น แทรก modul มา 1 อัน แล้วเขียนโค้ดต่อไปนี้ใส่เข้าไปที่ module1
Sub showone()
MsgBox "1"
End Sub
Sub showtwo()
MsgBox "2"
End Sub
Sub showthree()
MsgBox "3"
End Sub
Sub showfour()
MsgBox "4"
End Sub
Sub showfive()
MsgBox "5"
End Sub
Sub showsix()
MsgBox "6"
End Sub
Sub showseven()
MsgBox "7"
End Sub
Sub showeight()
MsgBox "8"
End Sub
Sub shownine()
MsgBox "9"
End Sub
ใส่โค้ดไปแล้วใช่ไหม ต่อไปเราก็กด alt+f11 อีกรอบหนึ่ง เพื่อกลับมาที่ Microsoft Excel อีกครั้ง
ให้คลิ้กขวาที่ shape1 ดังภาพ ด้านบน แล้วเลือกคำสั่ง “กำหนดมาโคร”
Dialogue กำหนดแมโคร จะปรากฏมาดังภาพ ให้เราเลือกคำสั่ง showone แล้วกด ตกลง
ขั้นตอนต่อไปให้เราทำเช่นเดียวกับ ที่ทำกับ shape1 แต่ในช่อง ชื่อแมโคร ให้เลือก เป็น Showtow,showthree,showfour,showfive,showsix,showseven,showeight,shownine ตามลำดับ จากนั้น ทดสอบการทำงาน โดย คลิ้กที่เซลล์ว่างๆใดๆ แล้วเลื่อน เม้าส์มาที่ Shape ใด ๆ ถ้า เม้าส์เป็นรูปมือ ก็แสดงว่า อยู่ในโหมดทำงานแล้ว เราก็ลองคลิ้กที่ shape ใดๆดู ในที่นี้ลอง คลิ้กที่ Shape 1 ดู จะได้ผลลัพธ์เป็นดังภาพ
ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Excel หรือว่า Microsoft Word
ต่างก็มีคำสั่ง การแทรก Shape (รูปร่าง) ด้วยกันทั้งนั้น Shape ที่อยู่ใน
Microsoft Excel และ Microsoft Word รวมทั้งชุดของ Microsoft Office ทั้งหลาย ต่างก็มีความสามารถที่เหมือนๆกัน
นั่นคือ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถแทรกรูปร่างอิสระต่างๆมากมาย เพื่อให้ผู้ใช้ทำงานได้สะดวกขึ้น ทำงานได้หลากหลายมากขึ้น ตัวอย่าง รูปร่าง (Shape) ที่มีใน Microsoft Excel ก็เช่น รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปเส้นตรง รูปเส้นโค้ง รูปร่างอิสระ(หมายถึงเราสามารถใช้เครื่องมือตัวนี้ในการวาดภาพใดๆที่เราต้องการได้เองอย่างอิสระ) รูปหลายเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมมุมน และ รูปทรงที่เป็นตัวแสดงคำบรรยาย รูปดาว รูปเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์เช่น รูปเครื่องหมายบวก รูปเครื่องหมายลบ คูณ หาร เครื่องหมายไม่เท่ากับ รูปแบนเนอร์ รูปดาวต่างๆ และอีกมากมาย
รูปทรงเหล่านี้สามารถนำมาใช้วางบน Microsoft Excel ได้ และสามรถใส่สี รวมทั้งพิมพ์ข้อความลงไปบนรูปทรงเหล่านั้นได้ด้วย ใส่ Effect ต่างๆให้กับรูปทรงก็ได้ และสามารถนำรูปทรงเหล่านี้ มาทำเป็นปุ่มคลิ้กเพื่อสั่งให้ทำงานตามที่เราสั่งได้ ดังจะยกตัวอย่างให้เห็น ในตัวอย่างนี้
ก่อนจะเข้าสู่ตัวอย่างการใช้งาน Shape (รูปร่าง) กับ Vba นั้น เรามาดูกันว่า Shape อยู่ตรงไหน โดยให้ดูตามภาพประกอบด้านล่างนี้ได้เลย
นี่คือ Shape ทั้งหมด ที่มีใน Microsoft Excel
เมื่อเราดูจากภาพเราก็ทราบแล้วว่า Shape อยู่ตรง เมนู แทรก (Insert) นั่นเอง จะเห็นว่ามี รูปร่างที่เราสามารถนำมาใช้ได้มากมาย ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
ต่อไปเราจะเข้าสู่ตัวอย่างของหัวข้อนี้สักที นั่นคือ เราจะจำลองการทำงานของเครื่องคิดเลขที่ไม่มีการคำนวณใด ๆ แต่จะ ทำเครื่องคิดเลข ประมาณว่า ออกแบบ หน้าตาของ เครื่องคิดเลข โดยใช้ Shape ของ Microsoft Excel แล้ว เขียนโปรแกรม ด้วย vba สั่งงานให้ Shape เหล่านั้น ตอบสองต่อเหตุการณ์คลิกที่ตัวมัน เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น ให้ดูภาพตัวอย่างด้านล่างนี้
จากภาพเป็นการนำ รูปร่าง (shape) รูปสี่เหลี่ยมมาวางทั้งหมด 9 อัน มาวางบน Microsoft Excel แล้ว ใส่สี ใส่ Effect ให้กับ Shape แต่ละอัน ส่วนพื้นหลังก็เป็นการใส่สีให้กับเซลล์ และก็ใส่ ลักษณะพิเศษให้กับเซลล์ ตามปกติ คนที่เคยใช้ Microsoft Excel มาพอสมควรก็น่าจะทราบวิธีการง่ายๆนี้ ได้ไม่ยาก แต่คนที่เป็นมือใหม่ อาจพบความยุ่งยากเล็กน้อย แต่ลองฝึกใช้สักพักก็จะเป็นเองครับ ไม่ยาก เลข 1 – 9 ที่เห็นคือ การพิมพ์ ตัวเลขลงไปบน Shape (รูปร่าง) ที่เราเอามาลงนั่นเอง
เมื่อเรา ออกแบบได้ดังภาพที่เห็นแล้ว ขั้นตอนต่อไป ก็ เป็นการเขียนโค้ดให้กับ Shape ที่เหล่านี้
ซึ่งวิธีการ ก็ไม่ยากอย่างที่คิด เราแค่ กด alt+f11 จากนั้น แทรก modul มา 1 อัน แล้วเขียนโค้ดต่อไปนี้ใส่เข้าไปที่ module1
Sub showone()
MsgBox "1"
End Sub
Sub showtwo()
MsgBox "2"
End Sub
Sub showthree()
MsgBox "3"
End Sub
Sub showfour()
MsgBox "4"
End Sub
Sub showfive()
MsgBox "5"
End Sub
Sub showsix()
MsgBox "6"
End Sub
Sub showseven()
MsgBox "7"
End Sub
Sub showeight()
MsgBox "8"
End Sub
Sub shownine()
MsgBox "9"
End Sub
ใส่โค้ดไปแล้วใช่ไหม ต่อไปเราก็กด alt+f11 อีกรอบหนึ่ง เพื่อกลับมาที่ Microsoft Excel อีกครั้ง
ให้คลิ้กขวาที่ shape1 ดังภาพ ด้านบน แล้วเลือกคำสั่ง “กำหนดมาโคร”
Dialogue กำหนดแมโคร จะปรากฏมาดังภาพ ให้เราเลือกคำสั่ง showone แล้วกด ตกลง
ขั้นตอนต่อไปให้เราทำเช่นเดียวกับ ที่ทำกับ shape1 แต่ในช่อง ชื่อแมโคร ให้เลือก เป็น Showtow,showthree,showfour,showfive,showsix,showseven,showeight,shownine ตามลำดับ จากนั้น ทดสอบการทำงาน โดย คลิ้กที่เซลล์ว่างๆใดๆ แล้วเลื่อน เม้าส์มาที่ Shape ใด ๆ ถ้า เม้าส์เป็นรูปมือ ก็แสดงว่า อยู่ในโหมดทำงานแล้ว เราก็ลองคลิ้กที่ shape ใดๆดู ในที่นี้ลอง คลิ้กที่ Shape 1 ดู จะได้ผลลัพธ์เป็นดังภาพ
จากภาพผลลัพธ์ หวังว่าจะเข้าใจได้ไม่ยากว่า ตัวอย่างนี้ เป็นเช่นไร ลองฝึกฝนตามตัวอย่างนี้ แล้วก็ลอง พัฒนาตัวอย่างนี้ต่อให้มันสามารถ ทำงานอย่างกับเครื่องคิดเลขจริงๆ มันก็จะเป็นประโยชน์กับคุณไม่ใช่น้อย และสามารถนำไปพัฒนางานด้านอื่นๆอีกมากมาย...ขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับ