วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เอ็กเซล กับ ฟังก์ชั่น RAND

เอ็กเซล กับ ฟังก์ชั่น RAND ฟังก์ชั่น RAND คือ ฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ หน้าที่ของฟังก์ชั่น RAND คือ ส่งกลับค่าจำนวนที่สุ่มระหว... thumbnail 1 summary
เอ็กเซล กับ ฟังก์ชั่น RAND

ฟังก์ชั่น RAND คือ ฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

หน้าที่ของฟังก์ชั่น RAND คือ ส่งกลับค่าจำนวนที่สุ่มระหว่าง 0-0.99999 ส่งค่าจำนวนที่สุ่มตัวใหม่ส่งกลับทุกๆครั้งที่แผ่นงานมีการคำนวณ

รูปแบบสูตรคือ RAND()

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง คือ ฟังก์ชั่น RANDBETWEEN

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น RAND บน Microsoft Excel มีดังต่อไปนี้

· คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =rand() แล้วกด Enter ผลที่ได้คือ 0.214858

· คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =rand() แล้วกด Enter ผลที่ได้ก็คือ 0.241192 ส่วนเซลล์ B2 ตัวเลขจะเปลี่ยนเป็น 0.957996 ในกรณีที่กำหนดฟังก์ชั่น Rand แล้วไม่ต้องการให้ค่าของตัวเลขในเซลล์เปลี่ยนไป ให้พิมพ์ฟังก์ชั่น Rand() แล้วกด F2 และกด F9 และกด Enter

· คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =rand()*(10-1)+1 จากนั้นกด Enter ผลที่ได้คือ 1.856697 หากต้องการให้แสดงเฉพาะจำนวนเต็มให้กำหนสูตรเป็นอย่างนี้คือ =int(rand()*(10-1)+1) จากนั้นกด Enter จะโชว์ 1

· คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =rand()*100 จากนั้นกด Enter จะได้ผลลัพธ์เป็น 52.35623

เอ็กเซล กับ ฟังก์ชั่น Frequency

เอ็กเซล กับ ฟังก์ชั่น Frequency ฟัง ก์ชั่น Frequency เป็นฟังก์ชั่น สถิติ ทำหน้าที่ คำนวณหาจำนวนครั้งที่เกิดขึ้นของค่าภายในช่วงของค่าที่ร... thumbnail 1 summary
เอ็กเซล กับ ฟังก์ชั่น Frequency

ฟัง ก์ชั่น Frequency เป็นฟังก์ชั่น สถิติ ทำหน้าที่ คำนวณหาจำนวนครั้งที่เกิดขึ้นของค่าภายในช่วงของค่าที่ระบุ จากนั้นส่งกลับอาร์เรย์ในแนวตั้งซึ่งมีจำนวนข้อมูลมากกว่าจำนวนข้อมูลของ Bins_array อยู่ 1 ตัวอย่างเช่น ใช้ Frequency ในการนับจำนวนครั้งของ TestScore ซึ่งอยู่ในช่วงของคะแนน โดยเหตุที่ Frequency ส่งกลับค่าอาร์เรย์จึงจำเป็นต้องป้อนเข้าในรูปสูตรอาร์เรย์

รูปแบบสูตรของ ฟังก์ชั่น Frenquency คือ Frequency(data_array,bins_array)

Data_array คือ อาร์เรย์ของการอ้างอิงไปยังชุดของค่าที่คุณต้องการนับหาความถี่ (ที่ว่างและข้อความจะถูกละเว้น) ถ้า Data_array ไม่มีค่าระบุอยู่ Frequency จะคืนค่าอาร์เรย์เป็นศูนย์

Bins_array คือ อาร์เรย์ของการอ้างอิงไปยังช่วงที่คุณต้องการให้นับความถี่ของ data_array ถ้าไม่มีค่าใน bins_array Frequency จะส่งกลับจำนวนของรายการข้อมูลใน data_array

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น Frequency บน เอ็กเซล

ระบายเซลล์ A2:B7 จากนั้นพิมพ์และกด Enter ไปจนครบดังนี้ 30, 50, 65, 75, 85, 60, 79, 92, 45, 75, 69, 85

ระบายเซลล์ D2:D3 แล้วพิมพ์ 60 กด Enter พิมพ์ 70 และกด Enter จากนั้น Auto Fill ลงมาถึงเซลล์ D6 จะโชว์เลข 80, 90 และ 100

ระบายเซลล์ E2:E6 แล้วพิมพ์ E กด Enter พิมพ์ D และกด Enter พิมพ์ C และกด Enter พิมพ์ B และกด Enter พิมพ์ A และกด Enter

ระบายเซลล์ F2:F6 แล้วพิมพ์ =frequency(a2:b7,d2:d6) กด Ctrl+Shift+Enter จะโชว์ผลให้เห็นเป็นตัวเลขบอกจำนวนรายการ

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เอ็กเซล กับ ฟังก์ชั่น FV

เอ็กเซล กับ ฟังก์ชั่น FV FV เป็นฟังก์ชั่นประเภท การเงิน ทำหน้าที่ ส่งกลับค่า FV(Future value) เป็นมูลค่าในอนาคต) ของการลงทุนค่า FV นี้... thumbnail 1 summary
เอ็กเซล กับ ฟังก์ชั่น FV
FV เป็นฟังก์ชั่นประเภท การเงิน ทำหน้าที่ ส่งกลับค่า FV(Future value) เป็นมูลค่าในอนาคต) ของการลงทุนค่า FV นี้ถูกคำนวณโดยมีพื้นฐานอยู่บนการชำระเป็นงวด มียอดการชำระเงินที่คงที่ และอัตราดอกเบี้ยต่อคาบเวลาที่คงที่
รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น FV คือ FV(rate,nper,pmt,pv,type)
Rate คือ อัตราดอกเบี้ยต่องวด
Nper คือ จำนวนงวดทั้งหมดของการชำระเงินรายปี
Pmt คือ จำนวนเงินที่ต้องชำระในแต่ละคาบเวลา ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดช่วงปีที่กำหนด โดยทั่วไป pmt ประกอบด้วยเงินต้น และดอกเบี้ย ถ้าไม่ได้ใส่ค่าอะไรไว้ คุณควรจะรวมอาร์กิวเมนต์ PV
PV คือค่า PV(present value-มูลค่าปัจจุบัน) หรือ มูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินที่ชำระเป็นงวดๆทั้งหมด ถ้าไม่ได้ใส่ค่าอะไรว้ จะมีค่าเป็น 0 (ศูนย์) และคุณควรจะรวมอาร์กิวเมนต์ pmt
Type คือตัวเลข 0 หรือ 1 ซึ่งใช้บ่งชี้วันครบกำหนดการชำระเงิน ถ้าไม่ได้ใส่ค่า type ไว้ ก็จะถือว่าค่านี้เท่ากับ 0
ตัวอย่างการใช้ฟังก์ชั่น FV บน เอ็กเซล
ระบายเซลล์ A2:A6 แล้วพิมพ์ Rate และกด Enter พิมพ์ Nper และกด Enter พิมพ์ PMT และกด Enter พิมพ์ PV และกด Enter พิมพ์ Type และกด Enter
ระบายเซลล์ B2:B6 แล้วพิมพ์ 1% และกด Enter  พิมพ์ 12 และกด Enter พิมพ์ -100 แล้วกด Enter พิมพ์ -1000 แล้วกด Enter
คลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =b5*(1+b2/12) ^ B3-b4*((1+b2/12)^B3-1)/b2*12 และกด Enter จะโชว์ 2215.561
คลิกเซลล์ B8 และพิมพ์ =fv(b2/12,b3,b4,b5) และกด Enter จะแสดงค่า $2,215.56 ซึ่งผลจะเท่ากับเซลล์ B7

เอ็กเซล กับฟังก์ชั่น Floor

เอ็กเซล กับฟังก์ชั่น Floor ฟังก์ชั่น Floor เป็นฟังก์ชั่นประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ ทำหน้าที่ ปัดตัวเลขลง ให้ค่าเข้าใกล้ศูนย์ ให้... thumbnail 1 summary


เอ็กเซล กับฟังก์ชั่น Floor
ฟังก์ชั่น Floor เป็นฟังก์ชั่นประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ ทำหน้าที่ ปัดตัวเลขลง ให้ค่าเข้าใกล้ศูนย์ ให้เป็นค่านัยสำคัญที่ใกล้ที่สุด (Multiple of significance)
รูปแบบสูตร ของฟังก์ชั่น Floor คือ Floor(number, significance) โดย
Number คือ ค่าตัวเลขที่คุณต้องการปัดเศษทศนิยม
Significance คือ พหุคูณที่ต้องการใช้ปัดเศษทศนิยม
ให้เราทดลองพิมพ์สูตรในโปรแกรม เอ็กเซล ดังนี้
คลิกที่เซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 123.45678 และกด Enter
คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =floor(a2,1) และกด Enter จะโชว์ 123
คลิกที่เซลล์ A3 แล้วพิมพ์ =floor(a2,1) และกด Enter จากนั้นคลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =floor(a3,2) และกด Enter จะโชว์ 122
คลิกที่เซลล์ A4 แล้วพิมพ์ 3.8 และกด Enter จากนั้นคลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =floor(a4,1) แล้วกด Enter จะโชว์ 3
คลิกที่เซลล์ A5 แล้วพิมพ์ -3.8 และกด Enter จากนั้นคลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =floor(a5,-1) แล้วกด Enter จะโชว์ -3
คลิกที่เซลล์ A6 แล้วพิมพ์ 62 และกด Enter จากนั้นคลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์=floor(a6,10) แล้วกด Enter จะโชว์ 60
คลิกที่เซลล์ A7 แล้วพิมพ์ 62 แล้วกด Enter จากนั้นคลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์=floor(a7,100) และกด Enter จะโชว์ 0
คลิกที่เซลล์ A8 แล้วพิมพ์ -4.5 และกด Enter จากนั้นคลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =floor(a8,1) และกด Enter จะโชว์ #NUM!

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เอ็กเซล กับ 2 ฟังก์ชั่น

เอ็กเซล กับ 2 ฟังก์ชั่น 1.เอ็กเซล กับฟังก์ชั่น ABS ABS เป็นฟังก์ชั่นประเภทคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ บน เอ็กเซล ABS ทำหน้าที่ ส่งก... thumbnail 1 summary


เอ็กเซล กับ 2 ฟังก์ชั่น
1.เอ็กเซล กับฟังก์ชั่น ABS
ABS เป็นฟังก์ชั่นประเภทคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ บน เอ็กเซล
ABS ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าสัมบูรณ์ของตัวเลข หมายถึงหากใส่ค่าตัวเลขเข้าไป จะส่งผลให้เป็นผลบวก หรืออักนักหนึ่งก็คือค่าสัมบูรณ์ของตัวเลข คือ ตัวเลขที่ไม่มีเครื่องหมายนั่นเอง
รูปแบบสูตรของ ฟังก์ชั่น ABS คือ ABS(number)
ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชั่น ABS บน เอ็กเซล 2010
คลิกที่เซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =abs(10) และกด Enter จะได้ผลออกมาเป็น 10
คลิกที่เซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =abs(-10) และกด Enter จะได้ผลออกมา เป็น 10
คลิกที่เซลล์ B4 แล้วพิมพ์ -100 และกด Enter
คลิกที่เซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =abs(B4) จากนั้นกด Enter จะได้ผลออกมาเป็น 100
สำหรับอีกวิธีหนึ่ง ให้คลิกที่เซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =sqrt(B4) และ Enter สำรับถอด Square Root เพื่อหารากที่สอง แต่ผลออกมาจะโชว์
#NUM! ดังนั้นจึงให้แก้สูตรใหม่ดังนี้ =sqrt(abs(b4)) และกด Enter จะได้ผลออกมาเป็น 10
2.เอ็กเซล กับฟังก์ชั่น ACCRINT บน เอ็กเซล
ACCRINT เป็นฟังก์ชั่น ประเภทการเงิน ของ เอ็กเซล ทำหน้าที่ส่งกลับค่าดอกเบี้ยค้างรับสำหรับหลักทรัพย์ที่ชำระดอกเบี้ยเป็นคาบเวลา
รูปแบบสูตรที่ใช้บน เอ็กเซล คือ ACRRINT(issue,first_interest,settlement,rate,par,frequency,basis)
Issue คือวันที่ออกจำหน่ายของหลักทรัพย์
First_interest เป็นวันที่ออกดอกเบี้ยครั้งแรกของหลักทรัพย์
Settlement คือวันที่ทำข้อตกลงของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อ
Rate คือ อัตราค่าธรรมเนียมตราสารรายปีของหลักทรัพย์
Par เป็นมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ของหลักทรัพย์ ถ้าคุณละค่า Par ไว้ ACCRINT จะใช้ค่า 1000
Frequency คือ จำนวนครั้งในการชำระค่าตราสารต่อปี
ในกรณีที่เป็นการชำระแบบรายปี frequency =1
ถ้าเป็นการชำระแบบรายปี frequency = 2
และถ้าเป็นการชำระแบบรายไตรมาส frequency =4
Basis คือ ชนิดของหลักเกณฑ์ในการนับจำนวนวัน
ตัวอย่างการใช้ฟังก์ชั่น ACCRINT บนเอ็กเซล
ที่ชีทหนึ่งบน เอ็กเซล ให้ระบายเซลล์ A1:A8 แล้วพิมพ์ดังนี้ Issued Date แล้วกด Enter
พิมพ์ Settlement Date แล้วกด Enter
พิมพ์ Interest Rate แล้วกด Enter
พิมพ์ Par Value แล้วกด Enter
พิมพ์ Frequency แล้วกด Enter
พิมพ์ Basis แล้วกด Enter
พิมพ์ Accrint แล้วระบายเซลล์ B1:B7 แล้วพิมพ์ดังนี้ 15-Feb-01 แล้วกด Enter
พิมพ์ 15-Aug-01 แล้วกด Enter
พิมพ์ 1-May-01 แล้วกด Enter
พิมพ์ 10% แล้วกด Enter
พิมพ์ 1000 แล้วกด Enter
พิมพ์ 2 แล้วก Enter
พิมพ์ 1 แล้วคลิกที่เซลล์ C2 แล้วพิมพ์ =b2-b1 แล้วกด Enter จะได้ 29-Jun-00
คลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ =b3-b1 แล้วกด Enter จะได้ 15-Mar-00
ระบายเซลล์ C2:C3 แล้วคลิกที่เมนู Edit จากนั้นเลือกคำสั่ง Clear แล้วเลือก Formats จะเห็นตัวเลขในเซลล์ C2 เป็น 181 และตัวเลขในเซลล์ C3 เป็น 75
คลิกที่เซลล์ D3 แล้วพิมพ์ =C3/C2*B4/2*B5 แล้วกด Enter จะได้ผลเป็น 20.71823
คลิกที่เซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =Accrint(b1,b2,b3,b4,b5,b6,b7) แล้วกด Enter จะได้ผลเป็น 20.71823 ซึ่งจะได้ผลเหมือนกับเซลล์ D3 ซึ่งในตัวอย่างนี้ได้ยกวิธีการคิดให้ทราบก่อนที่จะมาใช้สูตร ACCRINT

เอ็กเซล กับฟังก์ชั่นในวันนี้ก็ ขอเสนอแค่ 2 ตัวอย่างก่อนนะครับ เอามาลงมากไปเดี่ยวจะลายตา เรียนทีละน้อยๆ แต่ค่อยๆซึมซับลงไปจะดีที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เอ็กเซล กับ 4 ฟังก์ชั่น

เอ็กเซล กับ 4 ฟังก์ชั่น เอ็กเซล กับ ฟังก์ชั่น ACOSH ACOSH จัดเป็นฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติของ เอ็กเซล ทำหน้าที่ส่งกลับค่... thumbnail 1 summary


เอ็กเซล กับ 4 ฟังก์ชั่น
เอ็กเซล กับ ฟังก์ชั่น ACOSH
ACOSH จัดเป็นฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติของ เอ็กเซล ทำหน้าที่ส่งกลับค่าไฮเพอร์โบลิกโคไซน์ผกผัน (Hyperbolic Cosine) ของ Number โดยค่าดังกล่าวต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 1 ค่าไฮเพอร์โบลิกโคไซน์ผกผันคือ ค่าที่มีไฮเพอร์โบลิกโคไซน์ (Hyperbolic Cosine) เป็น Number ดังนั้นค่า ของ ACOSH(COSH(number) จึงเท่ากับ Number
รูปแบบของฟังก์ชั่น ACOSH บน เอ็กเซล คือ ACOSH(number)
โดยที่ Number คือ จำนวนจริงใดๆที่มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1
ตัวอย่างการใช้ฟังก์ชั่น ACOSH
คลิกที่เซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =acosh(1) และกด Enter จะแสดง 0
คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =acosh(10) และกด Enter จะแสดงค่า 2.993223
คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =acosh(-2) และกด Enter จะแสดงค่า #NUM!
คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์=acosh(cosh(10)) แล้วกด Enter จะโชว์ 10
คลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ =Ln(10+sqrt(10^2-1)) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2.993223

เอ็กเซล กับ ฟังก์ชั่น ADDRESS
Address เป็นฟังก์ชั่นประเภทการค้นหาและการอ้างอิง ทำหน้าที่สร้างการอ้างอิงเซลล์ในรูปแบบข้อความโดยใช้การระบุหมายเลขแถวและหมายเลขคอลัมน์
รูปแบบสูตร ของฟังก์ชั่น Address บน เอ็กเซล คือAddress(row_num,column_num,abs_num,a1,sheet_text)
โดยที่ row_num เป็นหมายเลขแถวที่ใช้ในการอ้างอิงเซลล์
Column_num เป็นหมายเลขคอลัมน์ที่ใช้ในการอ้างอิงเซลล์
Abs_num ระบุชนิดในการอ้างอิงเพื่อส่งกลับค่า
ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชั่น Address
ให้คลิกที่เซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =address(3,4) จะแสดงค่า $D$3
ให้คลิกที่เซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =address(3,4,2) จะแสดงค่า D$3
คลิกที่เซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =address(3,4,2,false) จะแสดงค่า R3C[4]
คลิกที่เซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =address(3,4,2,true,”address”) จะแสดงค่า Address!D$3
เอ็กเซล กับ ฟังก์ชั่น AMORDECRC
AMORDECRC เป็นฟังก์ชั่นทางการเงิน ทำหน้าที่ส่งกลับค่าเสื่อมราคาสำหรับงวดบัญชีแต่ละช่วง ฟังก์ชั่นนี้มีให้สำหรับระบบบัญชีแบบฝรั่งเศส
รูปแบบสูตร ของฟังก์ชั่น AMORDECRC บน เอ็กเซล คือ AMORDECRC(cost,date_purchased,first_period,salvage,period,rate,basis)
Cost เป็นราคาของสินทรัพย์
Date_purchased เป็นวันที่ของการซื้อสินทรัพย์
First_period เป็นวันที่ของช่วงสุดท้ายของคาบเวลาแรก
Salvage เป็นราคาค่าซากที่ช่วงสุดท้ายของอายุของสินทรัพย์
Period เป็นคาบเวลา
Rate เป็นอัตราค่าเสื่อมราคา
Basis เป็น Year basis ที่ถูกใช้
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น AMORDEGRC
ระบายเซลล์ A1:A8 แล้วพิมพ์ cost แล้วกด Enter จากนั้นพิมพ์ Date Purchased แล้วกด Enter
พิมพ์ First period แล้วกด Enter และพิมพ์ Salvage และกด Enter จากนั้นพิมพ์ Period แล้วกด Enter
พิมพ์ Rate แล้วกด Enter แล้วพิมพ์ Basis แล้วกด Enter จากนั้นพิมพ์ AMORDEGRC แล้วกด Enter
ระบายเซลล์ B1:B7 แล้วพิมพ์ 2500 แล้วกด Enter จากนั้นพิมพ์ 19-Jul-01 แล้วกด Enter
พิมพ์ 31-Dec-01 แล้วกด Enter แล้วพิมพ์ 50 แล้วกด Enter จากนั้นพิมพ์ 1 แล้วกด Enter
พิมพ์ 10.00% แล้วกด Enter แล้วพิมพ์ 1 แล้วกด Enter
คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =amordegrc(b1,b2,b3,b4,b5,b6,b7) แล้วกด Enter จะได้ 554
เอ็กเซล กับ ฟังก์ชั่น AMORLINC
AMORLINC เป็นฟังก์ชั่นทางการเงิน ทำหน้าที่ส่งกลับค่าเสื่อมราคาสำหรับงวดบัญชีแต่ละช่วง ฟังก์ชั่นนี้มีให้สำหรับระบบบัญชีแบบฝรั่งเศส
รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น AMORLINC บน เอ็กเซล คือ AMORLINC(cost,date_purchased,first_period,salvage,period,rate,basis)
Cost เป็นราคาของสินทรัพย์
Date_purchased เป็นวันที่ของการซื้อสินทรัพย์
First_period เป็นวันที่ของช่วงสุดท้ายของคาบเวลาแรก
Salvage เป็นราคาค่าซากที่ช่วงสุดท้ายของอายุของสินทรัพย์
Period เป็นคาบเวลา
Rate เป็นอัตราค่าเสื่อมราคา
Basis เป็นเกณฑ์การนับวันในหนึ่งปีที่ใช้
ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชั่น AMORLINC
ระบายเซลล์ A1:A8 แล้วพิมพ์ Cost แล้วกด Enter จากนั้นพิมพ์ Date Purchased แล้วกด Enter
พิมพ์ First Period แล้วกด Enter แล้วพิมพ์ Salvage แล้วกด Enter จากนั้นพิมพ์ Period แล้วกด Enter
พิมพ์ Rate แล้วกด Enter แล้วพิมพ์ Basis แล้วกด Enter จากนั้น พิมพ์ AMORLINC แล้วกด Enter
ระบายเซลล์ B1:B7 แล้วพิมพ์ 2500 แล้วกด Enter จากนั้นพิมพ์ 19-Jul-01 แล้วกด Enter
พิมพ์ 31-Dec-01 แล้วกด Enter แล้วพิมพ์ 50 แล้วกด Enter จากนั้นพิมพ์ 1 แล้วกด Enter
พิมพ์ 10.00% และกด Enter แล้วพิมพ์ 1 แล้วกด Enter
คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =amorlince(b1,b2,b3,b4,b5,b6,b7) แล้วกด Enter จะได้ 250
ยังมีฟังก์ชั่น ทางด้าน เอ็กเซล อีกหลายตัว มีเป็นร้อยเลยละ จะค่อยๆนำมาลงให้แล้วกันน่ะครับ อดใจรอสักครู่..

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Microsoft Excel 2003 2007 2010 Using Dmax Function

Microsoft Excel 2003 2007 2010 Using Dmax Function Type : Database Mean : ส่งกลับค่าตัวเลขที่มีค่ามากที่สุดในเขตข้อมูล ( Column) ข... thumbnail 1 summary


Microsoft Excel 2003 2007 2010 Using Dmax Function
Type : Database
Mean : ส่งกลับค่าตัวเลขที่มีค่ามากที่สุดในเขตข้อมูล (Column) ของระเบียนในฐานข้อมูลที่ตรงกับเงื่อนไขที่คุณระบุ
Formular : Dmax(database,field,criteria)
Database : คือช่วงของเซลล์ที่ประกอบขึ้นเป็นรายการหรือฐานข้อมูลโดยรายการของข้อมูลที่สัมพันธ์กันที่อยู่ในแถวของข้อมูลที่สัมพันธ์กันเรียกว่า ระเบียน และคอลัมน์ของข้อมูลเรียกว่า เขตข้อมูล ซึ่งแถวแรกของรายการประกอบด้วยป้ายชื่อของแต่ละคอลัมน์
Field ทำหน้าที่บ่งชี้คอลัมน์ที่ถูกใช้ในฟังก์ชั่น โดยอาจจะกำหนดเป็นข้อความโดยใช้ป้ายชื่อคอลัมน์ที่คร่อมด้วยเครื่องหมายอัญประกาศคู่ เช่น “อายุ” หรือ “ผลตอบแทน” หรือกำหนดเป็นตัวเลขที่แสดงถึงตำแหน่งของคอลัมน์ภายในรายการเช่น 1 หมายถึงคอลัมน์แรก ส่วน 2 หมายถึงคอลัมน์ที่สอง และต่อๆไป
Criteria คือ ช่วงของเซลล์ที่มีเงื่อนไขตามที่คุณระบุ โดยสามารถใช้ช่วงใดก็ได้เป็นอาร์กิวเมนต์ของเกณฑ์ ตราบใดที่ช่วงนั้นมีป้ายชื่อคอลัมน์อย่างน้อยหนึ่งคอลัมน์ และมีเซลล์อย่างน้อยหนึ่งเซลล์อยู่ใต้ป้ายชื่อคอลัมน์ที่ใช้ในการระบุเงื่อนไขให้กับคอลัมน์
Dmax Function Example
·      Select cells A1:A7 and type Name and then press Enter, Type Somboon and then press Enter, Type Amorn and press Enter.
·      Type Boripat and Press Enter, Type Pipat and press Enter, Type Pirat and press Enter, Type Chonticha and press Enter.
·      Select cells B1:B7 and then type Province and press Enter, Type Bangkok and press Enter, Type Bangkok again and then press Enter.
·      Type Bangkok and then press Enter, Type Rayong and press Enter, Type Chonburi and press Enter, Type Rayong and press Enter
·      Select cells C1:C7 and type Amount and press Enter, Type 12000 and press Enter, Type 25000 and then press Enter.
·      Type 14000 and press Enter, Type 3000 and then press Enter, Type 15000 and then press Enter, Type 30000 and then press Enter.
·      Select cells A1:C1, Copy and Paste To A9.
·      Click cells B10 and then type “Bangkok”
·      Click cells C12 and type =dmax(a1:c7,c1,a9:a10) and then press Enter (Result at C12=25000)
·      If type Rayong at cells B10 and then press Enter (Result at B10=30000)
·      Dmax can calculate only the number on field (any cells)  but cannot calculate text at any cells