วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน Trend และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน Trend ไม่ว่าจะเป็น excel 2010 หรือ excel เวอร์ชั่นใดๆ ฟังก์หรือสูตร Excel ก็นับว่ามีความจำเป็นเสมอที่เราจะต้องเรียนรู้การใช้งาน ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Trend
ไม่ว่าจะเป็น excel 2010 หรือ excel เวอร์ชั่นใดๆ ฟังก์หรือสูตร Excel ก็นับว่ามีความจำเป็นเสมอที่เราจะต้องเรียนรู้การใช้งาน ซึ่งเราจะต้องศึกษาถึงวิธีใช้ให้ดี จะได้เลือกใช้ฟังก์ชัน Excel ได้ถูกต้องเหมาะสมกับงานของเรา....

Trend เป็นฟังก์ชัน ด้าน สถิติ

ฟังก์ชัน Trend มีหน้าที่ ส่งกลับค่าตามเส้นแนวโน้ม (ซึ่งเป็นเส้นตรงที่ประมาณได้จากการใช้วิธีกำลังสองน้อยที่สุด) โดยใช้อาร์เรย์ known_y’s และ known_x’s ส่งกลับค่า y-values ตามเส้นแนวโน้มสำหรับอาร์เรย์ของ new_x’s ที่คุณระบุ

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน Trend คือ Trend(known_y’s,known_x’s,new_x’s,const)

โดยที่ค่าแต่ละตัวมีความหมายดังนี้

know_y’s คือ ชุดของค่า y ที่คุณทราบในความสัมพันธ์ y=mx+b

ถ้าอาร์เรย์ known_y’s อยู่ในคอลัมน์เดียว แต่ละคอลัมน์ของ known_x’s จะถูกแปลงเป็นตัวแปรแยกต่างหาก

ถ้าอาร์เรย์ known_y’s อยู่ในแถวเดียว แต่ละแถวของ known_x’s จะถูกแปลงเป็นตัวแปรแยกต่างหาก

known_x’s คือ ชุดที่เลือกได้ของค่า x ที่คุณอาจจะทราบในความสัมพันธ์ y=mx+b

อาร์เรย์ known_x’s อาจประกอบด้วยชุดของตัวแปรหนึ่งชุดหรือมากกว่ากรณีที่มีการใช้ตัวแปรเพียงตัวแปรงเดียว อาร์เรย์ known_y’s และ known_x’s อาจจะเป็นช่วงที่มีรูปร่างใดก็ได้ ตราบใดที่ยังมีขนาดของอาร์เรย์เท่ากันอยู่ แต่กรณีที่มีการใช้ตัวแปรมากกว่าหนึ่งตัวแปร known_y’s ต้องเป็นแบบเวกเตอร์ (ซึงหมายความว่า ต้องเป็นช่วงที่มีความสูงหนึ่งแถวหรือความกว้างหนึ่งคอลัมน์)

กรณีที่ไม่ได้ใส่ค่าอาร์เรย์ known_x’s อาร์เรย์จะถูกกำหนดเป็นอาร์เรย์ {1,2,3,…} ที่มีขนาดเท่ากับอาร์เรย์ known_y’s

new_x’s เป็นช่วงหรือาร์เรย์ของค่า x ใหม่ที่คุณต้องการให้ TREND ส่งค่า y ที่เป็นไปตามสมการ y=mx+b กลับ

new_x’s จะต้องมีหนึ่งคอลัมน์ (หรือแถว) สำหรับตัวแปรอิสระแต่ละตัวเช่นเดียวกับ known_x’s ดังนั้น ถ้า known_y’s อยู่ในคอลัมน์เดี่ยว known_x’s และ new_x’s จะต้องมีจำนวนคอลัมน์เท่ากัน ถ้า known_y’s อยู่ในแถวเดี่ยว known_x’s และ new_x’s จะต้องมีจำนวนแถวเท่ากัน

ถ้า new_x’s ละไว้ จะถือว่าเป็นตัวเดียวกับ known_x’s

ถ้าทั้ง known_x’s และ new_x’s ละไว้ จะถือว่าเป็นอาร์เรย์ {1,2,3,….} ซึ่งมีขนาดเดียวกับ known_y’s

const เป็นค่าตรรกะที่ระบุว่าจะกำหนดให้ค่าคงที่ b เท่ากับ 0 หรอไม่

กรณีค่า const เป็น TRUE หรือละไว้ b จะถูกคำนวณตามวิธีปกติ

ค่าคงที่ b จะถูกกำหนดให้เท่ากับ 0 (ศูนย์) และปรับค่า m เพื่อให้ y=mx ถ้าค่า const เท่ากับ FALSE

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน TREND ได้แก่ GROWTH, LINEST, LOGEST

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน TREND

1. เลือกเซลล์ B2:B9 แล้วพิมพ์ 1 แล้วกด Enter พิมพ์ 2 แล้วกด Enter พิมพ์ 3 แล้วกด Enter พิมพ์ 4 แล้วกด Enter พิมพ์ 5 แล้วกด Enter พิมพ์ 6 แล้วกด Enter พิมพ์ 7 แล้วกด Enter พิมพ์ 8 แล้วกด Enter

2. เลือกเซลล์ C2:C9 แล้วพิมพ์ 50 แล้วกด Enter พิมพ์ 45 แล้วกด Enter พิมพ์ 60 แล้วกด Enter พิมพ์ 80 แล้วกด Enter พิมพ์ 75 แล้วกด Enter พิมพ์ 120 แล้วกด Enter พิมพ์ 80 แล้วกด Enter พิมพ์ 240 แล้วกด Enter

3. เลือกเซลล์ D2:D9 แล้วพิมพ์ =trend(c2:c9) แล้วกด Ctrl+Shift+Enter จะแสดงผลการคำนวณให้เห็น

4. เลือกเซลล์ B14:B16 แล้วพิมพ์ 10 แล้วกด Enter แล้วพิมพ์ 11 แล้วกด Enter พิมพ์ 12 แล้วกด Enter

5. เลือกเซลล์ D14:D16 แล้วพิมพ์ =trend9c2:c9,b2:b9,b14:b16,true) แล้วกด Ctrl+Shift+Enter จะแสดงผลการคำนวณให้เห็น

6. เลือกเซลล์ B2:C9 แล้วจากนั้นสร้างกราฟเส้น

7. คลิกที่กราฟเส้นตรง แล้วคลิกเมนู Chart จากนั้นเลือกคำสั่ง Add Trendline จากนั้นคลิกเลือก Linear แล้วคลิกแท็บ Options แล้วกำหนด ที่ Forward เป็น 4 Periods

8. คลิกเลือก Display equation on chart แล้วคลิกปุ่ม Ok จะแสดงผลที่กราฟเส้น คือ y=20x+3.75