วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน VARP และวิธีการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน VARP และวิธีการใช้งาน (Excel 2010) ฟังก์ชัน VARP เป็นฟังก์ชันทางด้านส ฟังก์ชัน ถิติ ฟังก์ชัน VARP เป็นฟังก์ชันทางด้านคำนวณหาค่าค... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน VARP และวิธีการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน VARP เป็นฟังก์ชันทางด้านสฟังก์ชัน ถิติ

ฟังก์ชัน VARP เป็นฟังก์ชันทางด้านคำนวณหาค่าความแปรปรวนโดยใช้ประชากรทั้งหมดในการคำนวณ

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน VARP(number1,number2,…)

โดยที่ number1, number2, … คืออาร์กิวเมนต์ตัวเลข 1 ถึง 30 อาร์กิวเมนต์ที่ได้มาจากประชากร

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง เช่น DVAR, DVARP

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน DVARP (Excel 2010)

1. ระบายเซลล์ B1:B9 แล้วพิมพ์ X จากนั้นกด Enter

2. พิมพ์ 10 แล้วกด Enter

3. พิมพ์ 50 แล้วกด Enter

4. พิมพ์ 30 แล้วกด Enter

5. พิมพ์ 60 แล้วกด Enter

6. พิมพ์ 45 แล้วกด Enter

7. พิมพ์ 60 แล้วกด Enter

8. พิมพ์ 70 แล้วกด Enter

9. พิมพ์ 55 แล้วกด Enter

10. คลิกเซลล์ A10 พิมพ์ Sum

11. คลิกเซลล์ A11 แล้วพิมพ์ N

12. คลิกเซลล์ A13 แล้วพิมพ์ Varp Calc แล้วคลิกเซลล์ A15 พิมพ์ Varp Function

13. คลิกเซลล์ C1 แล้วพิมพ์ X^2 จากนั้นระบายเซลล์ C2:C9 จากนั้นพิมพ์ =b2^2 แล้วกด Ctrl+Enter จะแสดงผลให้เห็น

14. ระบายเซลล์ B10:C10 จากนั้นดับเบิ้ลคลิกปุ่ม Auto Sum จะได้ผลเป็น 17751

15. คลิกเซลล์ B11 แล้วพิมพ์ =count(b2:b9) แล้วกด Enter จะแสดง 8

16. คลิกเซลล์ B13 แล้วพิมพ์ =(b11*c10-b10^2)/b11^2 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 325

17. คลิกเซลล์ B15 แล้วพิมพ์ =varp(b2:b9) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 325

วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน TRIMMEAN และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน TRIMMEAN และวิธีการใช้งาน ฟังก์ชัน TRIMMEAN เป็นฟังก์ชันประเภท สถิติ ทำหน้าที่ ส่งกลับค่ามัชฌิม (ค่าเฉลี่ย) ของชุดข้อมูลที่เหลือหล... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน TRIMMEAN และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน TRIMMEAN เป็นฟังก์ชันประเภท สถิติ

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่ามัชฌิม (ค่าเฉลี่ย) ของชุดข้อมูลที่เหลือหลังจากตัดบางส่วนของชุดข้อมูลออกไป ฟังก์ชัน TRIMMEAN จะคำนวณค่ามัชฌิม โดยนำมาแยกเปอร์เซ็นต์ของจุดข้อมูลจากด้านบน และด้านล่างของชุดข้อมูล

คุณสามารถใช้ฟังก์ชันนี้เมื่อคุณต้องการแยกข้อมูลที่อยู่นอกประเด็นการวิเคราะห์ของคุณ

รูปแบบสูตร Excel ของฟังก์ชัน TRIMMEAN(array,percent)

array คือ ช่วงหรืออาร์เรย์ของค่าที่จะใช้ในการตัดออกแล้วหาค่าเฉลี่ยของส่วนที่เหลือ

Percent คือจำนวนเศษส่วนของจุดข้อมูลที่จะตัดออกจากการคำนวณตัวอย่างเช่น ถ้า Percent = 0.2 จะมี 4 จุดที่ถูกตัดออกจากชุดข้อมูลที่มี 20 (20 x 0.2) : 2 จุดจากด้านบนและ 2 จากด้านล่างของชุด

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Average, Geomean


ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Trimmean บน Excel

1. เลือกเซลล์ B2:B11 แล้วพิมพ์ 4 จากนั้นกด Enter

2. พิมพ์ 5 แล้วกด Enter

3. พิมพ์ 6 แล้วกด Enter

4. พิมพ์ 7 แล้วกด Enter

5. พิมพ์ 2 แล้วกด Enter

6. พิมพ์ 3 แล้วกด Enter

7. พิมพ์ 4 แล้วกด Enter

8. พิมพ์ 5 แล้วกด Enter

9. พิมพ์ 1 แล้วกด Enter

10. พิมพ์ 2 แล้วกด Enter

11. Copy ข้อมูลของช่อง B2:B11 ไปยัง C2:C11

12. ระบายเซลล์ C2:C11 แล้วคลิกปุ่ม A to Z เพื่อเรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก

13. คลิกเซลล์ D10 แล้วพิมพ์ =average(c3:c10) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3.875

14. คลิกเซลล์ B13 แล้วพิมพ์ =trimmean(b2:b11,.2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3.875

วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน STDEVA และวิธีการใช้งานบน Excel

ฟังก์ชัน STDEVA และวิธีการใช้งานบน Excel ฟังก์ชัน STDEVA เป็นฟังก์ชันประเภทสถิติ ทำหน้าที่ ประมาณค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจากตัวอย่างของประชา... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน STDEVA และวิธีการใช้งานบน Excel

ฟังก์ชัน STDEVA เป็นฟังก์ชันประเภทสถิติ ทำหน้าที่ ประมาณค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจากตัวอย่างของประชากรโดยให้รวมค่าตรรกศาสตร์ และข้อความในการคำนวณด้วย ข้อความและค่าตรรกศาสตร์ FALSE มีค่าเป็น 0 ส่วนค่าตรรกศาสตร์ TRUE มีค่าเป็น 1

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน STDEVA คือ STDEVA(value1,value2,…)

โดยที่ Value1, Value2, … คือค่าที่ 1 ถึง 30 เป็นค่าที่สอดคล้องกับตัวอย่างประชากร คุณสามารถใช้อาร์เรย์เดี่ยวหรือการอ้างอิงถึงอาร์เรย์ แทนอาร์กิวเมนต์ต่างๆที่คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาคได้

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องได้แก่ DSTDEV, DSTDEVP, STDEV, STDEVPA

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน STDEVA

1. ระบายเซลล์ B1:C1 พิมพ์ X แล้วกด Enter พิมพ์ X^2 แล้วกด Enter แล้วคลิกเซลล์ A2 พิมพ์ Number

2. ระบายเซลล์ A10:A11 พิมพ์ Sum แล้วกด enter พิมพ์ N แล้วกด Enter คลิกเซลล์ A13 แล้วพิมพ์ STDEVA Calc จากนั้นคลิกเซลล์ A15 แล้วพิมพ์ STDEVA

3. ระบายเซลล์ B2:B9 แล้วพิมพ์ 10 แล้วกด Enter พิมพ์ 5 แล้วกด Enter พิมพ์ 7 แล้วกด Enter พิมพ์ 12 แล้วกด Enter พิมพ์ 6 แล้วกด Enter พิมพ์ 7 แล้วกด Enter พิมพ์ 5 แล้วกด Enter พิมพ์ True แล้วกด Enter

4. ระบายเซลล์ C2:C9 แล้วพิมพ์ =b2^2 จากนั้นกด Ctrl+Enter จะแสดงผลการคำนวณให้เห็น

5. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์สูตร =sum(b2:b9)+1 แล้วกด Enter จากนั้น คลิกเซลล์ C10 แล้วคลิกปุ่ม Auto Sum

6. คลิกเซลล์ B11 แล้วพิมพ์ =counta(b2:b9) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 8

7. คลิกเซลล์ B13 แล้วพิมพ์ =sqrt((b11*c10-b10^2)/(b11*(b11-1))) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3.335416

8. คลิกเซลล์ B15 แล้วพิมพ์ =stdeva(b2:b9) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3.335416

9. ในกรณีที่เซลล์ B9 มีค่าเป็น False ให้ใช้ Auto Sum ธรรมดา ไม่ต้องใส่เป็น +1 ต่อท้าย

วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน UPPER และวิธีการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน UPPER และวิธีการใช้งาน (Excel 2010) UPPER คือ ฟังก์ชันประเภท ข้อความ มีหน้าที่ทำให้ข้อความเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ รูปแบบ สูตร Excel ของ ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน UPPER และวิธีการใช้งาน (Excel 2010)

UPPER คือ ฟังก์ชันประเภท ข้อความ มีหน้าที่ทำให้ข้อความเป็นตัวพิมพ์ใหญ่

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชัน UPPER คือ UPPER(text)

โดยที่ text คือข้อความที่คุณต้องการแปลงให้เป็นพิมพ์ใหญ่ สามารถเป็นได้ทั้งการอ้างอิงหรือสารอักขระข้อความ

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับ ฟังก์ชัน UPPER ได้แก่ Lower, Proper

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน UPPER บน Excel

1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ cis จากนั้นคลิกเซลล์ C2 แล้วพิมพ์ =upper(2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า CIS

2. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ Cis จากนั้นคลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ =upper(b3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า CIS

3. คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ 120 จากนั้นคลิกเซลล์ C4 แล้วพิมพ์ =upper(b4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 120 เพราะฉะนั้นฟังก์ชัน Upper จะไม่สามารถใช้กับข้อมูลที่เป็นตัวเลข

ฟังก์ชัน True และวิธีการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน True และวิธีการใช้งาน (Excel 2010) ฟังก์ชัน True เป็นฟังก์ชันประเภทตรรกศาสตร์ ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าตรรกศาสตร์ TRUE กลับมา รูปแบบ ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน True และวิธีการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน True เป็นฟังก์ชันประเภทตรรกศาสตร์

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าตรรกศาสตร์ TRUE กลับมา

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน True คือ True()

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง เช่น And, False, Not

ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน True บน Excel

1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =true() แล้วกด Enter จะแสดงค่า True

2. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ true แล้วกด Enter จะได้ผลคือ True เช่นกัน

3. คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ true แล้วกด Enter จะแสดงผลคือ True โปรแกรมจะถือว่าเป็นข้อความ ไม่ใช่ฟังก์ชัน

4. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ 20 จากนั้นคลิกเซลล์ C6 แล้วพิมพ์ =if(b6-20,true,false) แล้วกด Enter จะแสดงค่า True เพราะเงื่อนไขเป็นจริง

5. หากพิมพ์ 40 ที่เซลล์ B6 แล้วกด Enter จะเห็นผลที่เซลล์ C6 จะแสดงค่า False เนื่องจากเงื่อนไขเป็นเท็จ อย่างนี้เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน VARA และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน VARA และวิธีการใช้งาน VARA คือฟังก์ชัน ทางด้านสถิติของ Excel VARA ทำหน้าที่ ประมาณหาค่าความแปรปรวน จากตัวอย่างของประชากรโดยให้... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน VARA และวิธีการใช้งาน

VARA คือฟังก์ชัน ทางด้านสถิติของ Excel

VARA ทำหน้าที่ ประมาณหาค่าความแปรปรวน จากตัวอย่างของประชากรโดยให้รวมข้อความและค่าตรรกศาสตร์ เช่น TRUE และ FALSE ในการคำนวณด้วย

รูปแบบ สูตร Excel ของ VARA คือ VARA(value1,value2,…)

โดยที่ value1, value2, … คืออาร์กิวเมนต์ค่า 1 ถึง 30 อาร์กิวเมนต์ที่ได้มาจากตัวอย่างของประชากร

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับ ฟังก์ชัน VARA ได้แก่ DVAR, DVARP, VAR, VARPA

ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน VARA


1. ระบายเซลล์ B1:B9 แล้วพิมพ์ X แล้วกด Enter

2. พิมพ์ 10 แล้วกด Enter

3. พิมพ์ 50 แล้วกด Enter

4. พิมพ์ 40 แล้วกด Enter

5. พิมพ์ 60 แล้วกด Enter

6. พิมพ์ 45 แล้วกด Enter

7. พิมพ์ True แล้วกด Enter

8. พิมพ์ 70 แล้วกด Enter

9. พิมพ์ 55 แล้วกด Enter

10. คลิกเซลล์ A10 แล้วพิมพ์ Sum คลิกเซลล์ A11 แล้วพิมพ์ N คลิกเซลล์ A13 แล้วพิมพ์ Vara Calc แล้วคลิกเซลล์ A15 แล้วพิมพ์ Vara Function

11. คลิกเซลล์ C1 พิมพ์ X^2 จากนั้นระบายเซลล์ C2:c9 จากนั้นพิมพ์ =b2^2 แล้วกด Ctrl+Enter จะแสดงผลให้เห็น

12. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =sum(b2:b9)+1 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 331 หากมีข้อความที่เป็น False หรือข้อความอื่น ไม่ต้องพิมพ์สูตรเป็น +1 เพิ่มเข้าไป

13. คลิกเซลล์ C10 จากนั้นดับเบิ้ลคลิกปุ่ม Auto Sum จะได้ผลเป็น 17751

14. คลิกเซลล์ B11 แล้วพิมพ์ =counta(b2:b9) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 8

15. คลิกเซลล์ B13 แล้วพิมพ์ =(b11*c10-b10^2)/(b11/(b11-1)) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 579.4107

16. คลิกเซลล์ B15 แล้วพิมพ์ =vara(b2:b9) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 579.4107

วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน Type และวิธีการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน Type และวิธีการใช้งาน (Excel 2010) ฟังก์ชัน Type คือ ฟังก์ชัน ประเภท ข้อมูล ของ Excel หน้าที่ของมันคือ ส่งกลับค่าตัวเลขบอกชนิดขอ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Type และวิธีการใช้งาน (Excel 2010)

ฟังก์ชัน Type คือ ฟังก์ชัน ประเภท ข้อมูล ของ Excel หน้าที่ของมันคือ ส่งกลับค่าตัวเลขบอกชนิดของข้อมูล

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชั่น Type คือ Type(value)

โดยที่ Value สามารถเป็นค่า Microsoft Excel ใด ๆ ก็ได้ เช่น ตัวเลข ข้อความ ค่าตรรกะ และอื่นๆ

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Type


1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ 123 จากนั้นคลิกเซลล์ C2 แล้วพิมพ์ =type(b2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1 หมายถึงตัวเลข

2. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ CIS จากนั้นคลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ =type(b3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2 หมายถึงตัวหนังสือ

3. คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ True จากนั้นคลิกเซลล์ C4 แล้วพิมพ์ =type(b4) แล้วกด Enter จะแสดง 4 หมายถึงลอจิก (Logic) หรือค่าตรรกศาสตร์

4. คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =#REF!+8 แล้วกด Enter จะแสดงค่า #REF! จากนั้นคลิกเซลล์ C5 แล้วพิมพ์ =type(b5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 16 หมายถึง Error

5. คลิกเซลล์ B6 พิมพ์ 1 คลิกเซลล์ B7 พิมพ์ 2 จากนั้นคลิกเซลล์ C6 แล้วพิมพ์ =type(b6:b7) แล้วกด Ctrl+Shift+Enter จะแสดงค่า 64 หมายถึง อาร์เรย์ (Array)

6. คลิกเซลล์ C7 แล้วพิมพ์ =type({1,2}) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 64 หมายถึง อาร์เรย์ (Array) เช่นกัน

วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน TRUNC และวิธีการใช้งาน (Excel)

ฟังก์ชัน TRUNC และวิธีการใช้งาน (Excel) ฟังก์ชัน TRUNC เป็นฟังก์ชันประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ หน้าที่ของ TRUNC คือ ปัดเศษตัวเลขทิ้งให้เ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน TRUNC และวิธีการใช้งาน (Excel)
ฟังก์ชัน TRUNC เป็นฟังก์ชันประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

หน้าที่ของ TRUNC คือ ปัดเศษตัวเลขทิ้งให้เป็นจำนวนเต็ม โดยการเอาทศนิยมหรือเศษส่วนออก

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน TRUNC คือ TRUNC(number,num_digits)

number คือตัวเลขที่คุณต้องการตัดเศษทิ้ง

num_digits คือจำนวนที่ใช้ระบุความแม่นยำของการตัดเศษ ซึ่งมีค่าเริ่มต้น คือ 0 (ศูนย์)

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน TRUNC ได้แก่ CEILING, FLOOR, INT, MOD, ROUND

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน TRUNC บน Excel

1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ 2.5 จากนั้นคลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =trunk(b2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2

2. คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =int(b2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2

3. คลิกเซลล์ C2 แล้วพิมพ์ -5.2 จากนั้นคลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ =trunk(c2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า -5

4. คลิกเซลล์ C4 แล้วพิมพ์ =int(c2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า -6

5. คลิกเซลล์ D2 แล้วพิมพ์ 1.45 จากนั้นคลิกเซลล์ D3 แล้วพิมพ์ =trunk(d2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1 หากแก้สูตรที่เซลล์ D3 เป็น =trunk(d2,1) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1.4 และถ้าแก้สูตรที่เซลล์ D3 เป็น =trunk(d22) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1.45 แล้วกด Ctrl+z (undo)

วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน TTEST และการใช้งานบน Excel

ฟังก์ชัน TTEST ฟังก์ชัน TTEST จัดเป็นฟังก์ชัน ด้านสถิติ TTEST ทำหน้าที่ส่งกลับค่าความน่าจะเป็นที่ได้จากการทำ t-test(student) เราใช้ฟังก์ชัน... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน TTEST

ฟังก์ชัน TTEST จัดเป็นฟังก์ชัน ด้านสถิติ

TTEST ทำหน้าที่ส่งกลับค่าความน่าจะเป็นที่ได้จากการทำ t-test(student) เราใช้ฟังก์ชัน TTEST ในการกำหนดว่าตัวอย่างสองตัวอย่างมาจากกลุ่มประชากรที่เป็นพื้นฐานสองกลุ่มเดียวกันที่มีค่ามัชฌิมเดียวกัน

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน TTEST คือ TTEST(array1,array2,tails, type)

array1 คือ ชุดข้อมูลชุดแรก

array2 คือ ชุดข้อมูลที่สอง

tails ระบุจำนวนทางการแจกแจงที่ต้องการให้ใช้ ถ้าต้องการใช้การแจกแจงแบบด้านเดียว ให้ใช้ tails =1 แล้วถ้าต้องการใช้การแจกแจงแบบสองด้านให้ใช้ tails = 2

type คือ ชนิดของการทำ t-test

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องได้แก่ TDIST, TINV

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน TTEST บน Excel

1. เลือกเซลล์ B2:B10 แล้วพิมพ์ 61.36 แล้วกด Enter พิมพ์ 57.76 แล้วกด Enter พิมพ์ 71.94 แล้วกด Enter พิมพ์ 61.77 แล้วกด Enter พิมพ์ 58.66 แล้วกด Enter พิมพ์ 71.61 แล้วกด Enter พิมพ์ 71.52 แล้วกด Enter พิมพ์ 58.67 แล้วกด Enter พิมพ์ 62.77 แล้วกด Enter

2. เลือกเซลล์ C2:C7 แล้วพิมพ์ 56.92 แล้วกด Enter พิมพ์ 58.3 แล้วกด Enter พิมพ์ 67.48 แล้วกด Enter พิมพ์ 53.96 แล้วกด Enter พิมพ์ 62 แล้วกด Enter พิมพ์ 59.61 แล้วกด Enter พิมพ์ 52.02 แล้วกด Enter พิมพ์ 61.6 แล้วกด Enter พิมพ์ 64.83 แล้วกด Enter พิมพ์ 58.55 แล้วกด Enter พิมพ์ 52.53 แล้วกด Enter พิมพ์ 64.74 แล้วกด Enter พิมพ์ 55.51 แล้วกด Enter พิมพ์ 66.18 แล้วกด Enter พิมพ์ 55.51 แล้วกด Enter พิมพ์ 54.18 แล้วกด Enter

3. เลือกเซลล์ A18:A22 แล้วพิมพ์ mean แล้วกด Enter พิมพ์ std แล้วกด Enter พิมพ์ var แล้วกด enter พิมพ์ n แล้วกด enter พิมพ์ var/n แล้วกด Enter พิมพ์ L22^2/(n-1) แล้วกด Enter พิมพ์ Sp แล้วกด Enter พิมพ์ t แล้วกด Enter พิมพ์ df แล้วกด Enter

4. คลิกเซลล์ B18 แล้วพิมพ์ =average(b2:b10) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 64.00667 จากนั้นคลิกเซลล์ C18 แล้วพิมพ์ =average(C2:C17) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 58.995

5. คลิกเซลล์ B19 แล้วพิมพ์ =stdev(b2:b10) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 5.987729 จากนั้นคลิกเซลล์ C19 แล้วพิมพ์ =stdev(c2:c17) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 5.000836

6. คลิกเซลล์ B20 แล้วพิมพ์ =b19^2 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 35.8529 จากนั้นคลิกเซลล์ C20 แล้วพิมพ์ =c19^2 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 25.00836

7. คลิกเซลล์ B21 แล้วพิมพ์ =count(b2:b10) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 9 จากนั้นคลิกเซลล์ C21 แล้วพิมพ์ =count(c2:c17) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 16

8. คลิกเซลล์ B22 แล้วพิมพ์ =b20/b21 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3.983656 จากนั้นคลิกเซลล์ C22 แล้วพิมพ์ =c20/c21 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1.563022

9. คลิกเซลล์ B23 แล้วพิมพ์ =b22^2(b21-1) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1.983689 จากนั้นคลิกเซลล์ C23 แล้วพิมพ์ =c22^2/(c21-1) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.162869

10. คลิกเซลล์ B24 แล้วพิมพ์ =sqrt((8*b20+15*c20)/23) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 5.364734

11. คลิกเซลล์ B25 แล้วพิมพ์ =(b18-c18)/(b24*sqrt(1/b21+1/c21)) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2.24205 จากนั้นคลิกเซลล์ C25 แล้วพิมพ์ =(b18-c18)/sqrt(b20/b21+c20/c21) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2.127971

12. คลิกเซลล์ B26 แล้วพิมพ์ =b21+c21-2 แล้วกด Enter จะแสดงค่าเป็น 23 จากนั้นคลิกเซลล์ C26 แล้วพิมพ์ =(b22+c22)^2(b23+c23) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 14.33254

13. คลิกเซลล์ B27 แล้วพิมพ์ =tdist(b25,b26,2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.034897 จากนั้นคลิกเซลล์ C27 แล้วพิมพ์ =tdist(c26:c26,2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.051588

14. คลิกเซลล์ B29 แล้วพิมพ์ =ttest(b2:b10,c2:c17,2,2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.034897

15. คลิกเซลล์ C29 แล้วพิมพ์ =ttest(b2:b10,c2:c17,2,3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.05115

วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน Var และ ตัวอย่างการใช้งานบน Excel

ฟังก์ชัน Var และ ตัวอย่างการใช้งานบน Excel ฟังก์ชัน Var เป็นฟังก์ชันด้านสถิติของ Excel หน้าที่ของมันก็คือ ประมาณค่าความแปรปรวนโดยใช้ค่าตัวอ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Var และ ตัวอย่างการใช้งานบน Excel

ฟังก์ชัน Var เป็นฟังก์ชันด้านสถิติของ Excel หน้าที่ของมันก็คือ ประมาณค่าความแปรปรวนโดยใช้ค่าตัวอย่างเป็นพื้นฐาน

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน Var คือ Var(number1,number2,..)

โดยที่ number1, number2, … คืออาร์กิวเมนต์ตัวเลข 1 ถึง 30 อาร์กิวเมนต์ที่ได้มาจากตัวอย่างของประชากร

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับ ฟังก์ชัน var ได้แก่ Dvar, Dvarp

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน var

1. ระบายเซลล์ B1:B9 แล้วพิมพ์ X จากนั้นกด Enter พิมพ์ 10 แล้วกด Enter พิมพ์ 50 แล้วกด Enter พิมพ์ 30 แล้วกด Enter พิมพ์ 60 แล้วกด Enter พิมพ์ 45 แล้วกด Enter พิมพ์ 60 แล้วกด Enter พิมพ์ 70 แล้วกด Enter พิมพ์ 55 แล้วกด Enter

2. คลิกเซลล์ A10 แล้วพิมพ์ Sum แล้วคลิกเซลล์ A11

3. พิมพ์ N แล้วคลิกเซลล์ A13 พิมพ์ Var Calc แล้วคลิกเซลล์ A15 พิมพ์ Var Function

4. คลิกเซลล์ C1 แล้วพิมพ์ x^2 จากนั้นระบายเซลล์ C2:C9 จากนั้นพิมพ์ =b2^2 แล้วกด Ctrl+Enter จะแสดงค่าให้เห็น

5. เลือกเซลล์ B10:C10 จากนั้นคลิกปุ่ม Auto Sum

6. คลิกเซลล์ B13 แล้วพิมพ์ =(b11*c10-b10^2)/(b11*(b11-1)) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 371.4286

7. คลิกเซลล์ B15 แล้วพิมพ์ =var(b2:b9) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 371.4286

ฟังก์ชัน Poisson และ ตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน Poisson และ ตัวอย่างการใช้งาน Poisson คือ ฟังก์ชันด้านสถิติ ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าการแจกแจงแบบปัวซอง (Poisson) การใช้งานทั่วไปขอ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Poisson และ ตัวอย่างการใช้งาน

Poisson คือ ฟังก์ชันด้านสถิติ ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าการแจกแจงแบบปัวซอง (Poisson) การใช้งานทั่วไปของการแจกแจงปัวซอง คือ การทำนายจำนวนของเหตุการณ์ในเวลาที่ระบุ เช่น จำนวนรถยนต์ที่มาถึงด่านเก็บค่าผ่านทางบริเวณพื้นที่ทางด่วนใน 1 นาที

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชัน Poisson คือ Poisson(x, mean, cumulative)

โดยที่ x คือ จำนวนของเหตุการณ์

mean คือ ค่าตัวเลขที่คาดไว้

Cumulative คือ ค่าตรรกะที่กำหนดรูปแบบของการแจกแจงความน่าจะเป็นที่จะถูกส่งกลับมา ถ้า cumulative เป็น True ฟังก์ชัน Poisson จะส่งกลับค่าความน่าจะเป็นปัวซองสะสมที่จำนวนของการเกิดเหตุการณ์สุ่มอยู่ ระหว่างศูนย์ถึง x แต่ถ้า cumulative เท่ากับ False จะส่งกลับค่าฟังก์ชันมวลรวมความน่าจะเป็นปัวซองที่จำนวนของการเกิดเหตุการณ์ จะเท่ากับ x

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน Poisson ได้แก่ Expondist


ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Poisson

1. เลือกเซลล์ A2:A4 แล้วพิมพ์ X แล้วกด Enter

2. พิมพ์ Mean แล้วกด Enter

3. พิมพ์ Cumulative แล้วกด Enter

4. คลิกเซลล์ A6 แล้วพิมพ์ P Calc แล้วกด Enter

5. คลิกเซลล์ A8 แล้วพิมพ์ P แล้วกด Enter

6. เลือกเซลล์ B2:B4 แล้วพิมพ์ 0 แล้วกด Enter

7. พิมพ์ 5 แล้วกด Enter

8. พิมพ์ FALSE แล้วกด Enter

9. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =exp(-b3)*b3^b2/fact(b2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.006738

10. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =poisson(b2,b3,b4) แล้วกด Enter tจะแสดงค่า 0.006738

11. เลือกเซลล์ C2:C4 แล้วพิมพ์ 1 แล้วกด Enter

12. พิมพ์ 5 แล้วกด Enter

13. พิมพ์ FALSE แล้วกด Enter

14. เลือกเซลล์ D2:D4 แล้วพิมพ์ 2 แล้วกด Enter

15. พิมพ์ 5 แล้วกด Enter

16. พิมพ์ FALSE แล้วกด Enter

17. เลือกเซลล์ E2:E4 แล้วพิมพ์ 2 แล้วกด Enter

18. พิมพ์ 5 แล้วกด Enter

19. พิมพ์ TRUE แล้วกด Enter

20. คลิกเซลล์ B8 แล้ว Auto Fill สูตรมาที่เซลล์ E8 จะปรากฏผลการคำนวณแสดงให้เห็น

21. คลิกเซลล์ E10 แล้วพิมพ์ =sum(b8:d8) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.124652 ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เท่ากันกับเซลล์ E8

วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน Trim และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน Trim และตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน Trim คือ ฟังก์ชันประเภทข้อความของ Excel โดยที่ ฟังก์ชัน Trim ทำหน้าที่ เอาช่องว่างทั้งหมดออกจา... thumbnail 1 summary

ฟังก์ชัน Trim และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน Trim คือ ฟังก์ชันประเภทข้อความของ Excel

โดยที่ ฟังก์ชัน Trim ทำหน้าที่ เอาช่องว่างทั้งหมดออกจากสายอักขระข้อความ ยกเว้นช่องว่างเดี่ยวระหว่างคำ เราใช้ฟังก์ชัน Trim กับข้อความที่เราได้รับมาจากโปรแกรมประยุกต์อื่นที่อาจมีช่องว่างผิดปกติ

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชัน Trim คือ Trim(text)

โดยที่ text เป็นข้อความซึ่งคุณต้องการเอาช่องว่างออก

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง กับ ฟังก์ชัน Trim ได้แก่ Clean, Mid, Replace, Substitute

ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน Trim บน Excel

(Example)

1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์      CIS     จากนั้น Copy ไปยังเซลล์ C2

2. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =len(b2) แล้วกด Enter จะแสดงผลเป็น 11 (เว้นช่องว่างข้างหน้าคำว่า CIS 4 ช่อง และเว้นช่องว่างข้างหลังคำว่า CIS อีก 4 ช่อง เมื่อใช้คำสั่ง len จะนับรวมช่องว่างด้วย 4+4+3 = 11)

3. คลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ =trim(c2) แล้วกด Enter จะแสดงค่าเป็น CIS โดยโปรแกรมจะตัดช่องว่างทิ้งไป

4. คลิกเซลล์ C4 แล้วพิมพ์ =len(c3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 3

5. คลิกเซลล์ D2 แล้วพิมพ์ Computer       Informations       Systems

6. คลิกเซลล์ D3 แล้วพิมพ์ =len(d2) แล้วกด Enter จะได้ค่าเป็น 45 (ให้เราเว้นช่องว่างระหว่างคำ 7 ช่องว่าง)

7. คลิกเซลล์ D4 แล้วพิมพ์ =trim(d2) แล้วกด Enter จะแสดงผลเป็น Computer Informations Systems โดย ฟังก์ชัน trim จะตัดช่องว่างหน้า ตรงกลาง และหลังคำทิ้งไปหมด เหลือช่องว่าง 1 ช่อง ระหว่างคำเท่านั้น

8. คลิกเซลล์ D5 แล้วพิมพ์ =len(d4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 29

ฟังก์ชัน Time และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน Time และวิธีการใช้งาน (How to use Time Function on Excel) Time คือ ฟังก์ชัน ด้าน วันที่และเวลาของ Excel Time คือ สูตร Excel ที่ท... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Time และวิธีการใช้งาน
(How to use Time Function on Excel)

Time คือ ฟังก์ชัน ด้าน วันที่และเวลาของ Excel

Time คือ สูตร Excel ที่ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าตัวเลขที่ใช้แทนค่าเวลา เป็นค่าเศษส่วนทศนิยมจาก 0 ถึง 0.99999999 สำหรับ 0:00:00 (12:00:00 A.M.) ถึง 23:59:59 (11:59:59 P.M.)

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชัน Time คือ Time(hour,minute,second)

โดยที่ hour คือ ตัวเลขจาก 0 (ศูนย์) ถึง 32767 เป็นค่าของชั่วโมง ค่าที่มากกว่า 23 จะถูกหารด้วย 24 และเศษจะใช้เป็นค่าของชั่วโมง ตัวอย่างเช่น Time(27,0,0) =Time(3,0,0) = .125 or 3:00 AM

minute คือตัวเลขจาก 0 ถึง 32767 เป็นค่าของนาที ค่าที่มากกว่า 59 จะถูกแปลงให้เป็นชั่วโมงและนาที ตัวอย่างเช่น Time(0,750,0) =Time(12,30,0) = .520833 หรือ 12:30 PM

second เป็นตัวเลขจาก 0 ถึง 32767 เป็นค่าของวินาที ค่าที่มากกว่า 59 จะถูกแปลงให้เป็นชั่วโมง นาที และวินาที ตัวอย่าง เช่น Time(0,0,2000) = Time(0,33,22) = .023148 หรือ 12:33:20 AM

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง กับ ฟังก์ชัน Time ได้แก่ Hour, Minute, Now, Second

ตัวอย่างการใช้ ฟังก์ชัน Time

(Example)

1. เลือกเซลล์ B2:B4 แล้วพิมพ์ 4 แล้วกด Enter

2. พิมพ์ 15 แล้วกด Enter

3. พิมพ์ 45 แล้วกด Enter

4. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =Time(b2,b3,b4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 4:15 AM จากนั้นก๊อปปี้ข้อมูลไปที่คอลัมน์ C และ D

5. คลิกเซลล์ C6 แล้วคลิกเมนู Format เลือกคำสั่ง Cells แล้วคลิกแท็บ Number จากนั้นเลือก Time แล้วคลิกเลือกรูปแบบ 1:30:55 PM แล้วคลิกปุ่ม OK จะแสดงค่า 4:15:45 PM

6. แก้ไขตัวเลขที่เซลล์ D2:D4 เป็น 16, 15, 45 จากนั้นคลิกเซลล์ D6 แล้วเลือกเมนู Edit แล้วเลือกคำสั่ง Clear แล้วคลิก Formats ที่เซลล์ D6 จะแสดงค่า 0.677604

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน RoundDown และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน RoundDown และตัวอย่างการใช้งาน (how to use RoundDown Function on Excel ) ฟังก์ชัน RoundDown จัดเป็นฟังก์ชันด้านคณิตศาสตร์และตรีโกณ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน RoundDown และตัวอย่างการใช้งาน

(how to use RoundDown Function on Excel)

ฟังก์ชัน RoundDown จัดเป็นฟังก์ชันด้านคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

ฟังก์ชัน RoundDown มีหน้าที่ คือ ปัดเศษจำนวนลงเข้าหา 0 (ศูนย์)

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน RoundDown คือ RoundDown(number, num_digits)

โดยที่ Number คือ ค่าจำนวนจริงใดๆที่คุณต้องการปัดเศษลง

Num_digits คือตำแหน่งทศนิยมที่คุณต้องการปัดเศษ

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับ ฟังก์ชัน RoundDown ก็ได้แก่ Ceiling, Floor, Int, Mod, Mround, Round, RoundUp, Trunc

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน RoundDown
(Example)


1. คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 123.45678 จากนั้นคลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =rounddown(a2,2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 123.45

2. คลิกเซลล์ A3 แล้วพิมพ์ 123.45678 จากนั้นคลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =rounddown(a3,1) แล้วกด Enter จะแสดงผลลัพธ์เป็น 123.4

3. คลิกเซลล์ A4 แล้วพิมพ์ 123.45678 จากนั้นคลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =rounddown(a4,0) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 123

4. คลิกเซลล์ A5 แล้วพิมพ์ 123.45678 จากนั้นคลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =rounddown(a5,-1) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 120

5. คลิกเซลล์ A6 แล้วพิมพ์ 123.45678 จากนั้นคลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =rounddown(a6,-2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 100

ฟังก์ชัน RoundBahtup และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน RoundBahtup และตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน RoundBahtup จัดเป็นฟังก์ชันประเภทข้อความ ทำหน้าที่ ปัดตัวเลขขึ้นไปเป็นหน่วย 25 สตางค์ ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน RoundBahtup และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน RoundBahtup จัดเป็นฟังก์ชันประเภทข้อความ ทำหน้าที่ ปัดตัวเลขขึ้นไปเป็นหน่วย 25 สตางค์

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชัน RoundBahtup คือ RoundBahtup(number)


โดยที่ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน Roundbahtup ได้แก่ Bahttext, RoundBahtdown

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน RoundBahtdown

(Example)


1. คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 123.23 จากนั้นคลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =roundbahtup(a2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 123.25

2. คลิกเซลล์ A3 แล้วพิมพ์ 123.456 แล้วคลิกเซลล์ B3 จากนั้นพิมพ์ =roundbahtup(a3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 123.5

3. คลิกเซลล์ A4 แล้วพิมพ์ 123.65 จากนั้นคลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =roundbahtup(a4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 123.75

4. คลิกเซลล์ A5 แล้วพิมพ์ 123.85 จากนั้นคลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =roundbahtup(a5) แล้วกด Enter จะแสดงผลคือ 124

วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน Round และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน Round และวิธีการใช้งาน (how to use Round Function) ฟังก์ชัน Round เป็นฟังก์ชัน ประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติของ Excel ฟังก์ชัน Ro... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Round และวิธีการใช้งาน
(how to use Round Function)

ฟังก์ชัน Round เป็นฟังก์ชัน ประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติของ Excel

ฟังก์ชัน Round มีหน้าที่ ปัดเศษจำนวนให้เป็นจำนวนที่มีตำแหน่งทศนิยมตามระบุ

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน Round คือ Round(number, num_digits)

number คือ ตัวเลขที่คุณต้องการปัดเศษ

num_digits คือ ตำแหน่งทศนิยมที่คุณต้องการปัดเศษ

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง กับฟังก์ชัน Round ได้แก่ Ceiling, Euroconvert, Floor, Int, Mod, Mround, Rounddown, Roundup, Trunc

ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน Round บน Excel

1. เลือกเซลล์ A2:A8 แล้วพิมพ์ 1234.56789 จากนั้นกดปุ่ม Ctrl+Enter

2. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =round(a2,2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1234.57

3. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =round(a3,1) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1234.6

4. คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =round(a4,0) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1235

5. คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =round(a5,-1) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1230

6. ถ้าแก้ไขตัวเลขที่เซลล์ A5 เป็น 1236.56789 จากนั้นที่เซลล์ B5 กำหนด สูตรเหมือนเดิมคือ =round(a5,-1) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1240

7. คลิกเซลล์ B6 จากนั้นพิมพ์ =round(a6, -2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1200

8. คลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =round(a7,-4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0

9. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =round(a8,-3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1000

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คีย์ ลัด microsoft excel เพื่อประหยัดเวลาในการทำงาน

Press : Ctrl+F1 (Display or hides the Ribbon) (แสดงหรือซ่อนแท็บ Ribbon) Press : Ctrl+F2 (Print Preview mode) เข้าสู่โหมด Print Preview (ต... thumbnail 1 summary
Press : Ctrl+F1 (Display or hides the Ribbon)

(แสดงหรือซ่อนแท็บ Ribbon)



Press : Ctrl+F2 (Print Preview mode)

เข้าสู่โหมด Print Preview (ตัวอย่างก่อนพิมพ์)



Press : Shift+ F2 (Insert Comments)

(แทรกกล่องคอมเม้นท์)



Press : CTRl+ F3 (To Define Name list)

แสดงแท็บ รายชื่อ Range name (Name Manager)



Press : F4 (To Repeat last action)
ทำการกระทำล่าสุดอีกครั้ง



Press : Shift+Space (To Select entire Row)

เลือกทั้งแถว



Press : CTRL+ Space (To Select entire Column)

เลือกทั้งคอลัมน์



Press : CTRL+ Down Arrow (To Move Down End of the Report)

ย้ายไปยังส่วนท้ายสุดของรายงาน



Press : CTRL+ Up Arrow (To Move Top of the Report)

ย้ายไปยังส่วนบนสุดของรายงาน



Press : CTRL+ Right Arrow (To Move Right End of the Report)

ย้ายไปยังส่วนขวาสุดของรายงาน



Press : CTRL+ Left Arrow (To Move Left End of the Report)

ย้ายไปยังส่วนซ้ายสุดของรายงาน



Press : CTRL+W (Closes selected workbook window)

ปิด Workbook ที่เลือก หรือ ทำงานอยู่

Press : CTRL+O (Open Excel files from folders)

เปิดกล่องโต้ตอบ Open files



Press : CTRL+Alt+V (Displays Paste Special dialog box)

แสดงกล่องโต้ตอบ Pase Special (การวางแบบพิเศษ)



Press : CTRL+Shift+U (Hide and Display Formula Bar)

ซ่อนหรือแสดงแท็บ Menu

วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน RoundBahtDown และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน RoundBahtDown และวิธีการใช้งาน RoundBahtDown เป็นฟังก์ชัน ประเภทข้อความของ Excel หน้าที่ของ RoundBahtDown คือ ปัดตัวเลขลงไปเป็นหน่... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน RoundBahtDown และวิธีการใช้งาน

RoundBahtDown เป็นฟังก์ชัน ประเภทข้อความของ Excel

หน้าที่ของ RoundBahtDown คือ ปัดตัวเลขลงไปเป็นหน่วย 25 สตางค์

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชั่น RoundBahtDown คือ RoundBahtDown(number)

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน RoundBahtDown ได้แก่ Bahttext, RoundBahtup

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน RoundBahtDown บน Excel

1. คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ =123.23

2. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =roundbahtdown(a2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 123

3. คลิกเซลล์ A3 แล้วพิมพ์ 123.28

4. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =roundbahtdown(a3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 123.25

5. คลิกเซลล์ A4 แล้วพิมพ์ 123.65

6. คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =roundbahtdown(a4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 123.5

7. คลิกเซลล์ A5 แล้วพิมพ์ 123.85

8. คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =roundbahtdown(a5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 123.75

วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน YIELDDISC และ ตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน YIELDDISC และ ตัวอย่างการใช้งาน (how to use YIELDDISC Function on Excel) ฟังก์ชัน YIELDDISC คือ ฟังก์ชันประเภท การเงิน ฟังก์ช... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน YIELDDISC และ ตัวอย่างการใช้งาน (how to use YIELDDISC Function on Excel)


ฟังก์ชัน YIELDDISC คือ ฟังก์ชันประเภท การเงิน

ฟังก์ชัน YIELDDISC มีหน้าที่ ส่งกลับค่าผลตอบแทนต่อปีสำหรับหลักทรัพย์ซื้อลด

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชัน YIELDDISC คือ YIELDDISC(settlement,maturity,pr,redemption,basis)

settlement คือ วันที่ทำข้อตกลงของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อ

maturity คือ วันที่ครบกำหนดชำระของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่หลักทรัพย์หมดอายุลงนั่นเอง

pr คือ ราคาของหลักทรัพย์ต่อมูลค่าตามตราสาร 100 ดอลล่าร์

redemption คือ มูลค่าไถ่ถอนของหลักทรัพย์ต่อมูลค่าตามตราสาร 100 ดอลล่าร์

basis คือ ชนิดของหลักเกณฑ์ในการนับจำนวนวัน

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง กับ ฟังก์ชัน YIELDDISC คือ Disc,Now,Pricedisc

ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน YIELDDISC ให้เราทำดังนี้
Example


1. เลือกเซลล์ A2:A6 แล้วพิมพ์ Settlement Date จากนั้นกด Enter

2. พิมพ์ Maturity Date แล้วกด Enter

3. พิมพ์ PR แล้วกด Enter

4. พิมพ์ Redemption แล้วกด Enter

5. พิมพ์ Basis แล้วกด Enter

6. เลือกเซลล์ B2:B6 แล้วพิมพ์ 15/2/2001 แล้วกด Enter

7. พิมพ์ 1/3/2001 แล้วกด Enter

8. พิมพ์ 99.795 แล้วกด Enter

9. พิมพ์ 100 แล้วกด Enter

10. พิมพ์ 2 แล้วกด Enter

11. คลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ =b3-b2 แล้วกด Enter จะแสดงผลเป็น 14/1/1990 จากนั้นให้คลิกที่เมนู Edit เลือกคำสั่ง Clear และคลิกที่ Formats จะแสดงค่า 14

12. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ที่ =(b5-b4)/b4*360/c3 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.052823

13. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =yielddisc(b2,b3,b4,b5,b6) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.052823

วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน YIELD และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน YIELD และตัวอย่างการใช้งาน สูตร Excel หรือ ฟังก์ชัน YIELD เป็นฟังก์ชัน ทางด้าน การเงิน โดยที่ สูตร YIELD มีหน้าที่ ส่งกลับค่าผลต... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน YIELD และตัวอย่างการใช้งาน

สูตร Excel หรือ ฟังก์ชัน YIELD เป็นฟังก์ชัน ทางด้าน การเงิน

โดยที่ สูตร YIELD มีหน้าที่ ส่งกลับค่าผลตอบแทนสำหรับหลักทรัพย์ที่จ่ายดอกเบี้ยเป็นงวด โดยที่เราใช้ สูตร YIELD ในการคำนวณผลตอบแทนของพันธบัตร

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชัน YIELD คือ YIELD(settlement, maturity,rate,pr,redemption,frequency,basis)
โดยที่ ค่าตัวแปรแต่ละตัว มีความหมายดังนี้


Settlement คือ วันที่ทำข้อตกลงของหลักทรัพย์ ซึ่งก์คือวันที่ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อ

maturity คือ วันที่ครบกำหนดชำระของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่หลักทรัพย์หมดอายุลงนั่นเอง

rate คือ อัตราค่าธรรมเนียมตราสารรายปีของหลักทรัพย์

pr คือ ราคาของหลักทรัพย์ต่อมูลค่าตามตราสาร 100 ดอลล่าร์

redemption คือ มูลค่าไถ่ถอนของหลักทรัพย์ต่อมูลค่าตามตราสาร 100 ดอลล่าร์

frequency คือ จำนวนครั้งในการชำระค่าตราสารต่อปี ในกรณีที่เป็นชำระแบบรายปี frequency=1 ถ้าเป็นการชำระแบบรายครึ่งปี frequency = 2 และถ้าเป็นการชำระแบบรายไตรมาส frequency=4

basis คือ ชนิดของหลักเกณฑ์ในการนับจำนวนวัน

ฟังก์ชันที่มีความเกี่ยวข้องกับ ฟังก์ชัน YIELD คือ Now, Price

ตัวอย่างการใช้งาน สูตร หรือ ฟังก์ชัน YIELD ให้เราทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. เลือกเซลล์ A2:A8 แล้วพิมพ์ Settlement Date แล้วกด Enter

2. พิมพ์ Maturity Date แล้วกด Enter

3. พิมพ์ Rate แล้วกด Enter

4. พิมพ์ Pr แล้วกด Enter

5. พิมพ์ Redemption แล้วกด Enter

6. พิมพ์ Frequency แล้วกด Enter

7. พิมพ์ Basis แล้วกด Enter

8. เลือกเซลล์ B2:B8 แล้วพิมพ์ 15/2/2001 แล้วกด Enter

9. พิมพ์ 15/6/2001 แล้วกด Enter

10. พิมพ์ 5.25% แล้วกด Enter

11. พิมพ์ 99 แล้วกด Enter

12. พิมพ์ 100 แล้วกด Enter

13. พิมพ์ 2 แล้วกด Enter

14. พิมพ์ 0 แล้วกด Enter

15. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =yield(b2,b3,b4,b5,b6,b7,b8) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.082603 หากกำหนดเป็น Percentage จะแสดงค่า 8.28%

วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน Subtotal และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน Subtotal และวิธีการใช้งาน (How to use Subtotal function) Subtotal คือ ฟังก์ชันที่ปรากฏอยู่ใน Excel 2003 , Excel 2007 , Excel 201... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Subtotal และวิธีการใช้งาน
(How to use Subtotal function)
Subtotal คือ ฟังก์ชันที่ปรากฏอยู่ใน Excel 2003, Excel 2007, Excel 2010 เป็นฟังก์ชัน หาผลร่วมตัวหนึ่งของ Excel...วันนี้เราจะมาเรียนรู้การใช้งานฟังก์ชันนี้กัน ตั้งใจอ่านให้ดีน่ะจ๊ะ

Subtotal เป็นฟังก์ชัน ด้าน คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

หน้าที่ของ ฟังก์ชัน Subtotal คือ ส่งกลับค่าผลรวมย่อยของรายการหรือฐานข้อมูล โดยทั่วไปแล้วเป็นการง่ายที่จะสร้างรายการพร้อมกับผลร่วมย่อย โดยการใช้คำสั่ง ผลรวมย่อย (ในเมนูข้อมูล) หลังจากสร้างรายการผลรวมย่อยแล้ว เราสามารถดัดแปลงโดยการแก้ไขที่ ฟังก์ชัน Subtotal

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชัน Subtotal คือ Subtotal(function_num_ref1,ref2,…)
โดยที่ function_num คือตัวเลข 1 ถึง 11 ที่ใช้ระบุฟังก์ชันที่จะใช้สำหรับการคำนวณผลรวมย่อยในรายการ

ref1, ref2 คือ ช่วงหรือการอ้างอิงที่ 1 ถึง 29 ที่คุณต้องการค่าผลรวมย่อยให้ทดลองพิมพ์สูตรในโปรแกรม Excel ดังต่อไปนี้

1. เลือกเซลล์ B2:B8 จากนั้นพิมพ์ 100 แล้วกด Enter

2. พิมพ์ 200 แล้วกด Enter

3. พิมพ์ 350 แล้วกด Enter

4. พิมพ์ 250 แล้วกด Enter

5. พิมพ์ 450 แล้วกด Enter

6. พิมพ์ 360 แล้วกด Enter

7. พิมพ์ 420 แล้วกด Enter

8. เลือกเซลล์ D2:D12 จากนั้นพิมพ์ Average แล้วกด Enter

9. พิมพ์ Count แล้วกด Enter

10. พิมพ์ CountA แล้วกด Enter

11. พิมพ์ Max แล้วกด Enter

12. พิมพ์ Min แล้วกด Enter

13. พิมพ์ Product แล้วกด Enter

14. พิมพ์ Stdeve แล้วกด Enter

15. พิมพ์ StdeP แล้วกด Enter

16. พิมพ์ Sum แล้วกด Enter

17. พิมพ์ Var แล้วกด Enter

18. พิมพ์ VarP แล้วกด Enter

19. เลือกเซลล์ G1:G12 จากนั้นพิมพ์ Function Num แล้วกด Enter

20. พิมพ์ 1 แล้วกด Enter

21. พิมพ์ 2 แล้วกด Enter

22. พิมพ์ 3 แล้วกด Enter

23. พิมพ์ 4 แล้วกด Enter

24. พิมพ์ 5 แล้วกด Enter

25. พิมพ์ 6 แล้วกด Enter

26. พิมพ์ 7 แล้วกด Enter

27. พิมพ์ 8 แล้วกด Enter

28. พิมพ์ 9 แล้วกด Enter

29. พิมพ์ 10 แล้วกด Enter

30. พิมพ์ 11 แล้วกด Enter

31. คลิกเซลล์ E2 แล้วพิมพ์ =Average($b$2:$b$8) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 304.2857

32. คลิกเซลล์ E3 แล้วพิมพ์ =count($b$:$b$8) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 7

33. คลิกเซลล์ E4 แล้วพิมพ์ =counta($b$:$b$8) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 7

34. คลิกเซลล์ E5 แล้วพิมพ์ =max($b$:$b$8) แล้วกด Enter จะแสดงค่า จะแสดงค่า 450

35. คลิกเซลล์ E6 แล้วพิมพ์ =min($b$:$b$8) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 100

36. คลิกเซลล์ E7 แล้วพิมพ์ =product($b$:$b$8) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1.1907E+17

37. คลิกเซลล์ E8 แล้วพิมพ์ =stdev($b$:$b$8) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 126.076319

38. คลิกเซลล์ E9 แล้วพิมพ์ =stdevp($b$:$b$8) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 116.72399

39. คลิกเซลล์ E10 แล้วพิมพ์ =sum($b$:$b$8) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2130

40. คลิกเซลล์ E11 แล้วพิมพ์ =var($b$:$b$8) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 15895.2381

41. คลิกเซลล์ E12 แล้วพิมพ์ =varp($b$:$b$8) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 13624.4898

42. คลิกเซลล์ H2 แล้วพิมพ์ =subtotal(g2,$b$:$b$8) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 304.2857 แล้ว Auto Fill สูตรลงมาที่เซลล์ H12 จะแสดงผลเหมือนกับช่วงเซลล์ E2:E12

ฟังก์ชัน MIRR และวิธีใช้งาน

ฟังก์ชัน MIRR และวิธีใช้งาน ตี 3 ตรงเป๊ะ แต่ยังนอนไม่หลับ ก็เลยต้องมาหาอะไรทำสักหน่อย เผื่อจะง่วง รู้สึกว่าวันนี้มีพลังงานเยอะเป็นพิเศษ เลย... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน MIRR และวิธีใช้งาน
ตี 3 ตรงเป๊ะ แต่ยังนอนไม่หลับ ก็เลยต้องมาหาอะไรทำสักหน่อย เผื่อจะง่วง รู้สึกว่าวันนี้มีพลังงานเยอะเป็นพิเศษ เลย เอาบทความที่มีคิวจะลงในอีกวันหนึ่ง มาลงในคืนนี้ ตอนตี 3...ก็เลือกๆอยู่เหมือนกันว่าจะเอาเรื่องอะไรมาลง ...ขอเอาสูตร การเงิน MIRR มาลงแล้วกันจ๊ะ..

ฟังก์ชัน MIRR เป็นฟังก์ชันของ Excel ซึ่งจัดเป็นฟังก์ชันทางด้าน การเงิน

ฟังก์ชัน MIRR ทำหน้าที่ ส่งกลับค่า IRR(internal rate of return) ที่แก้ไขแล้วสำหรับชุดข้อมูลของสภาพคล่องตัว (cash flow) ในแต่ละคาบเวลาทางการเงิน โดยพิจารณาทั้งเงินต้นทุนของการลงทุน และผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการลงทุนใหม่ ของเงินสดที่ได้รับคืนในแต่ละคาบเวลา

รูปแบบ สูตร Excel ของ MIRR คือ MIRR(values,finance_rate,reinvest_rate)

value คือ อาร์เรย์หรือการอ้างอิงไปยังเซลล์ที่มีตัวเลข ที่มีลักษณะเป็นชุดข้อมูลของการชำระเงิน (ค่าเป็นลบ) และรายได้ (ค่าเป็นบวก) ที่เกิดขึ้นในคาบเวลาที่สม่ำเสมอ

Value ต้องมีอย่างน้อยหนึ่งค่าบวก และหนึ่งค่าลบเพื่อคำนวณอัตราของผลตอบแทนภายนอกที่มีการปรับปรุงแล้ว มิฉะนั้นฟังก์ชัน MIRR จะส่งกลับค่า #DIV/0! เป็นค่าความผิดพลาด

ถ้าอาร์กิวเมนต์อาร์เรย์หรือการอ้างอิงประกอบด้วยข้อความ ค่าตรรกะ หรือเซลล์ว่างเปล่า ค่าเหล่านั้นจะถูกละเลย แต่เซลล์ที่มีค่าศูนย์จะถูกรวมไว้

finance_rate
คือ อัตราดอกเบี้ยที่คุณใช้ในการชำระเงินที่คุณเอามาใช้ในงบเงินสด

Reinvest_rate เป็นอัตราดอกเบี้ยที่คุณจะได้รับในงบเงินสด ถ้าคุณทำการลงทุนเงินที่ได้รับในแต่ละครั้ง

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Rate, Xirr, Xnpv


ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน Mirr

1. เลือกเซลล์ B2:B7 แล้วพิมพ์ -50000 แล้วกด Enter

2. พิมพ์ 9000 แล้วกด Enter

3. พิมพ์ 12000 แล้วกด Enter

4. พิมพ์ 12000 แล้วกด Enter

5. พิมพ์ 10000 แล้วกด Enter

6. พิมพ์ 25000 แล้วกด Enter

7. คลิกเซลล์ B9 แล้วพิมพ์ 8%

8. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ 6%

9. คลิกเซลล์ B12 แล้วพิมพ์ =mirr(b2:b7,b9,b10) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 8%

ฟังก์ชัน Negbinomdist และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน Negbinomdist และตัวอย่างการใช้งาน วันนี้ เราจะมา สอน Excel ให้คนที่สนใจ เรียน Excel ได้รู้จักกับ ฟังก์ชัน แปลกใหม่กัน รับรองว่า... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Negbinomdist และตัวอย่างการใช้งาน

วันนี้ เราจะมา สอน Excel ให้คนที่สนใจ เรียน Excel ได้รู้จักกับ ฟังก์ชัน แปลกใหม่กัน รับรองว่า ฟังก์ชันนี้ น้อยคนนักที่จะเคยได้ใช้ แต่ เรารู้ไว้ก็ดีเหมือนกัน รู้อะไรต้องรู้ให้รอบ แม้ว่า ช่วงนี้อาจจะยังไม่ชำนาญ ก็ไม่เป็นไร...ใช้บ่อยๆเข้าก็คุ้นเคยเอง

Negbinomdist คือ ฟังก์ชัน ด้านสถิติ

โดยที่ Negbinomdist คือฟังก์ชันที่ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าการแจกแจงแบบทวินามลบ (negative binomial distribution) ซึ่งเป็นค่าความน่าจะเป็นที่จะมีความล้มเหลว number_f ครั้ง เกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดความสำเร็จครั้งที่ number_s ทั้งนี้ความน่าจะเป็นที่จะสำเร็จในแต่ละการทดลองเท่ากับ probability_s ฟังก์ชันนี้คล้ายคลึงกับการแจกแจงทวินาม เว้นแต่ว่ามีการระบุจำนวนของความสำเร็จที่แน่นอน และจำนวนครั้งในการทดลองแปรผันได้ มีการสันนิษฐานว่าการทดลองนั้นเป็นอิสระเหมือนการแจกแจงทวินาม

รูปแบบ สูตร Excel ของ Negbinomdist คือ Negbinomdist(number_f,number_s,probability_s)

number_f คือ จำนวนครั้งที่ล้มเหลว

number_s คือ จำนวนครั้งที่สำเร็จที่ใช้เป็นตัวเทียบกับจำนวนครั้งที่ล้มเหลว

probability_s คือ ความน่าจะเป็นที่จะได้รับผลสำเร็จในการทดลองแต่ละครั้ง

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Binomdist, combin, fact, hypgeomdist, Permut

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Negbinomdist

1. เลือกเซลล์ A2:A4 แล้วพิมพ์ Failures (x) แล้วกด Enter

2. พิมพ์ Success (r) แล้วกด Enter พิมพ์ Probability (p)

3. คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์=1/6 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.16667

4. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ 4

5. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ 3

6. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =combin(6,2)*b4^b3*(1-b4)^b2 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.03349

7. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =negbinomdist(b2,b3,b4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.03349

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน Trend และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน Trend ไม่ว่าจะเป็น excel 2010 หรือ excel เวอร์ชั่นใดๆ ฟังก์หรือสูตร Excel ก็นับว่ามีความจำเป็นเสมอที่เราจะต้องเรียนรู้การใช้งาน ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Trend
ไม่ว่าจะเป็น excel 2010 หรือ excel เวอร์ชั่นใดๆ ฟังก์หรือสูตร Excel ก็นับว่ามีความจำเป็นเสมอที่เราจะต้องเรียนรู้การใช้งาน ซึ่งเราจะต้องศึกษาถึงวิธีใช้ให้ดี จะได้เลือกใช้ฟังก์ชัน Excel ได้ถูกต้องเหมาะสมกับงานของเรา....

Trend เป็นฟังก์ชัน ด้าน สถิติ

ฟังก์ชัน Trend มีหน้าที่ ส่งกลับค่าตามเส้นแนวโน้ม (ซึ่งเป็นเส้นตรงที่ประมาณได้จากการใช้วิธีกำลังสองน้อยที่สุด) โดยใช้อาร์เรย์ known_y’s และ known_x’s ส่งกลับค่า y-values ตามเส้นแนวโน้มสำหรับอาร์เรย์ของ new_x’s ที่คุณระบุ

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน Trend คือ Trend(known_y’s,known_x’s,new_x’s,const)

โดยที่ค่าแต่ละตัวมีความหมายดังนี้

know_y’s คือ ชุดของค่า y ที่คุณทราบในความสัมพันธ์ y=mx+b

ถ้าอาร์เรย์ known_y’s อยู่ในคอลัมน์เดียว แต่ละคอลัมน์ของ known_x’s จะถูกแปลงเป็นตัวแปรแยกต่างหาก

ถ้าอาร์เรย์ known_y’s อยู่ในแถวเดียว แต่ละแถวของ known_x’s จะถูกแปลงเป็นตัวแปรแยกต่างหาก

known_x’s คือ ชุดที่เลือกได้ของค่า x ที่คุณอาจจะทราบในความสัมพันธ์ y=mx+b

อาร์เรย์ known_x’s อาจประกอบด้วยชุดของตัวแปรหนึ่งชุดหรือมากกว่ากรณีที่มีการใช้ตัวแปรเพียงตัวแปรงเดียว อาร์เรย์ known_y’s และ known_x’s อาจจะเป็นช่วงที่มีรูปร่างใดก็ได้ ตราบใดที่ยังมีขนาดของอาร์เรย์เท่ากันอยู่ แต่กรณีที่มีการใช้ตัวแปรมากกว่าหนึ่งตัวแปร known_y’s ต้องเป็นแบบเวกเตอร์ (ซึงหมายความว่า ต้องเป็นช่วงที่มีความสูงหนึ่งแถวหรือความกว้างหนึ่งคอลัมน์)

กรณีที่ไม่ได้ใส่ค่าอาร์เรย์ known_x’s อาร์เรย์จะถูกกำหนดเป็นอาร์เรย์ {1,2,3,…} ที่มีขนาดเท่ากับอาร์เรย์ known_y’s

new_x’s เป็นช่วงหรือาร์เรย์ของค่า x ใหม่ที่คุณต้องการให้ TREND ส่งค่า y ที่เป็นไปตามสมการ y=mx+b กลับ

new_x’s จะต้องมีหนึ่งคอลัมน์ (หรือแถว) สำหรับตัวแปรอิสระแต่ละตัวเช่นเดียวกับ known_x’s ดังนั้น ถ้า known_y’s อยู่ในคอลัมน์เดี่ยว known_x’s และ new_x’s จะต้องมีจำนวนคอลัมน์เท่ากัน ถ้า known_y’s อยู่ในแถวเดี่ยว known_x’s และ new_x’s จะต้องมีจำนวนแถวเท่ากัน

ถ้า new_x’s ละไว้ จะถือว่าเป็นตัวเดียวกับ known_x’s

ถ้าทั้ง known_x’s และ new_x’s ละไว้ จะถือว่าเป็นอาร์เรย์ {1,2,3,….} ซึ่งมีขนาดเดียวกับ known_y’s

const เป็นค่าตรรกะที่ระบุว่าจะกำหนดให้ค่าคงที่ b เท่ากับ 0 หรอไม่

กรณีค่า const เป็น TRUE หรือละไว้ b จะถูกคำนวณตามวิธีปกติ

ค่าคงที่ b จะถูกกำหนดให้เท่ากับ 0 (ศูนย์) และปรับค่า m เพื่อให้ y=mx ถ้าค่า const เท่ากับ FALSE

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน TREND ได้แก่ GROWTH, LINEST, LOGEST

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน TREND

1. เลือกเซลล์ B2:B9 แล้วพิมพ์ 1 แล้วกด Enter พิมพ์ 2 แล้วกด Enter พิมพ์ 3 แล้วกด Enter พิมพ์ 4 แล้วกด Enter พิมพ์ 5 แล้วกด Enter พิมพ์ 6 แล้วกด Enter พิมพ์ 7 แล้วกด Enter พิมพ์ 8 แล้วกด Enter

2. เลือกเซลล์ C2:C9 แล้วพิมพ์ 50 แล้วกด Enter พิมพ์ 45 แล้วกด Enter พิมพ์ 60 แล้วกด Enter พิมพ์ 80 แล้วกด Enter พิมพ์ 75 แล้วกด Enter พิมพ์ 120 แล้วกด Enter พิมพ์ 80 แล้วกด Enter พิมพ์ 240 แล้วกด Enter

3. เลือกเซลล์ D2:D9 แล้วพิมพ์ =trend(c2:c9) แล้วกด Ctrl+Shift+Enter จะแสดงผลการคำนวณให้เห็น

4. เลือกเซลล์ B14:B16 แล้วพิมพ์ 10 แล้วกด Enter แล้วพิมพ์ 11 แล้วกด Enter พิมพ์ 12 แล้วกด Enter

5. เลือกเซลล์ D14:D16 แล้วพิมพ์ =trend9c2:c9,b2:b9,b14:b16,true) แล้วกด Ctrl+Shift+Enter จะแสดงผลการคำนวณให้เห็น

6. เลือกเซลล์ B2:C9 แล้วจากนั้นสร้างกราฟเส้น

7. คลิกที่กราฟเส้นตรง แล้วคลิกเมนู Chart จากนั้นเลือกคำสั่ง Add Trendline จากนั้นคลิกเลือก Linear แล้วคลิกแท็บ Options แล้วกำหนด ที่ Forward เป็น 4 Periods

8. คลิกเลือก Display equation on chart แล้วคลิกปุ่ม Ok จะแสดงผลที่กราฟเส้น คือ y=20x+3.75

ฟังก์ชัน MMULT และ วิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน MMULT และ วิธีการใช้งาน ฟังก์ชัน MMULT คือ ฟังก์ชันของ Excel จัดเป็นประเภท ฟังก์ชัน คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ ฟังก์ชัน MMULT ทำหน้าท... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน MMULT และ วิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน MMULT คือ ฟังก์ชันของ Excel จัดเป็นประเภท ฟังก์ชัน คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

ฟังก์ชัน MMULT ทำหน้าที่ ส่งกลับผลคูณแมทริกซ์ของเมทริกซ์ 2 แมทริกซ์ (ที่เก็บอยู่ในรูปอาร์เรย์) แมทริกซ์ผลคูณจะเป็นอาร์เรย์ที่มีจำนวนแถวเท่ากับ array1 (แมทริกซ์ 1) และจำนวนคอลัมน์เท่ากับ array2 (แมทริกซ์ 2)

รูปแบบสูตร MMULT((array1, array2))

array1, array2 คือ อาร์เรย์แรก (แมทริกซ์แรก) ที่จะใช้คูณ

ฟังก์ชันที่คล้ายกัน เช่น MDETERM, MINVERSE, TRANSPOSE

ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน MMULT

1. เลือกเซลล์ B2:C3 แล้วพิมพ์ 1 จากนั้นกด Enter

2. พิมพ์ 2 แล้วกด Enter

3. พิมพ์ 3 แล้วกด Enter

4. พิมพ์ 4 แล้วกด Enter

5. เลือกเซลล์ B5:C6 แล้วพิมพ์ตัวเลขที่เป็นผลคูณดังนี้

6. พิมพ์ 14 แล้วกด Enter

7. พิมพ์ 22 แล้วกด Enter

8. พิมพ์ 7 แล้วกด Enter

9. พิมพ์ 10 แล้วกด Enter

10. เลือกเซลล์ E5:F6 แล้วพิมพ์ =mmult(b2:c3:,e2:f3) แล้วกด Ctrl+Shift+Enter จะแสดงตัวเลข 14,22,7,10

11. เลือกเซลล์ B8:D10 แล้วพิมพ์ 1 จากนั้นกด Enter

12. พิมพ์ 2 แล้วกด Enter

13. พิมพ์ 3 แล้วกด Enter

14. พิมพ์ 4 แล้วกด Enter

15. พิมพ์ 5 แล้วกด Enter

16. พิมพ์ 6 แล้วกด Enter

17. พิมพ์ 7 แล้วกด Enter

18. พิมพ์ 8 แล้วกด Enter

19. พิมพ์ 9 แล้วกด Enter

20. เลือกเซลล์ F8:H10 แล้วพิมพ์ 4 แล้วกด Enter

21. พิมพ์ 3 แล้วกด Enter

22. พิมพ์ 1 แล้วกด Enter

23. พิมพ์ 5 แล้วกด Enter

24. พิมพ์ 4 แล้วกด Enter

25. พิมพ์ 3 แล้วกด Enter

26. พิมพ์ 7 แล้วกด Enter

27. พิมพ์ 4 แล้วกด Enter

28. พิมพ์ 1 แล้วกด Enter

29. เลือกเซลล์ B12:D14 แล้วพิมพ์ =mmult(b8:d10,f8:h10) แล้วกด Ctrl+Shift+Enter แสดงตัวเลข 23, 31, 39, 42,54, 66, 30, 42, 54

วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน Today และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน Today และวิธีการใช้งาน ฟังก์ชัน Today เป็นฟังก์ชัน ด้านวันที่และเวลา โดยที่ ฟังก์ชัน Today ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าเลขลำดับ (serial ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Today และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน Today เป็นฟังก์ชัน ด้านวันที่และเวลา

โดยที่ ฟังก์ชัน Today ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าเลขลำดับ (serial number) ของวันที่วันนี้ (วันปัจจุบัน) เลขลำดับ (serial number) คือรหัสวันที่ เวลา ที่ Microsoft Excel ใช้ในการคำนวณเกี่ยวกับวันที่และเวลา

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชัน Today คือ Today()

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน Today ได้แก่ Date, Day, Now
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Today

1. คลิกเซลล์ B2 จากนั้นพิมพ์ =today() แล้วกด Enter จะแสดงค่า วันที่ เดือน และปี ค.ศ. ปัจจุบัน

2. ถ้าไม่ต้องการให้วันที่เปลี่ยนไปตามวันที่เป็นจริง เมื่อพิมพ์สูตรเสร็จแล้วให้กดปุ่ม F9 แล้วกด Enter

3. สำหรับการใส่วันที่อีกวิธีหนึ่งให้ทดลองทำดังนี้ให้คลิกที่เซลล์ B4 จากนั้น กดปุ่ม Ctrl+; แล้วกด Enter

4. หากต้องการกำหนดรูปแบบวันที่ใหม่ ให้คลิกเมนู format แล้วคลิกคำสั่ง Cells แล้วคลิกที่แท็บ Number แล้วคลิกเลือก Date แล้วคลิกเลือก รูปแบบวันที่ที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม ok จะปรากฏรูปแบบวันที่ที่ได้เลือกไว้มาแสดง

5. หากต้องการยกเลิกรูปแบบวันที่ให้คลิกเลือกเมนู Edit แล้วคลิกเลือกคำสั่ง Clear แล้วคลิก Formats

6. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =int(now()) แล้วกด Enter จะแสดง วันที่ จากนั้น หากต้องการรูปแบบวันที่ให้เข้าไปเลือกที่เมนู format แล้วเลือกคำสั่ง Cells ที่ได้กล่าวมาแล้ว

วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน TINV และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน TINV และวิธีการใช้งาน ฟังก์ชัน TINV เป็นฟังก์ชันประเภท สถิติ TINV ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าผกผันของการแจกแจง t (student) เป็นฟังก์ชันขอ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน TINV และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน TINV เป็นฟังก์ชันประเภท สถิติ

TINV ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าผกผันของการแจกแจง t (student) เป็นฟังก์ชันของความน่าจะเป็นและองคาความเป็นอิสระ (degree of freedom)

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน TINV คือ TINV(probability,degree_freedom)

probability คือ ค่าความน่าจะเป็นที่หาได้จากการแจกแจงค่า t สองด้าน (student)

degree_freedom คือ ตัวเลขชั้นของความอิสระที่แสดงลักษณะของการแจกแจง

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน TINV ได้แก่ TDIST, TTEST

ตัวอย่างการใช้งาน TINV

1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ 0.05 จากนั้นคลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ 20

2. คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =tinv(b2,b3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2.085962

3. คลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =tdist(b5,b3,1) แล้วกด Enter จะแสดง 0.025

4. ถ้าแก้ไขสูตรที่เซลล์ B7 เป็น =tdist(b5,b3,2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.05

วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน Price และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน Price และตัวอย่างการใช้งาน Price เป็น ฟังก์ชัน ด้านการเงิน Price เป็น ฟังก์ชัน ที่มีหน้าที่ ส่งกลับค่าราคาต่อ $100 ของราคาตามหน้าต... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Price และตัวอย่างการใช้งาน

Price เป็น ฟังก์ชัน ด้านการเงิน

Price เป็น ฟังก์ชัน ที่มีหน้าที่ ส่งกลับค่าราคาต่อ $100 ของราคาตามหน้าตั๋วของหลักทรัพย์ที่จ่ายดอกเบี้ยตามคาบเวลา

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชัน Price คือ

Price(Settlement,maturity,rate,yld,redemption,frequency,basis)

Settlement คือ วันที่ทำข้อตกลงของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อ

maturity คือวันที่ครบกำหนดชำระของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่หลักทรัพย์หมดอายุลงนั่นเอง

Rate คือ อัตราค่าธรรมเนียมตราสารรายปีของหลักทรัพย์

Yld คือ ผลตอบแทนรายปีของหลักทรัพย์

Redemtion คือ มูลค่าไถ่ถอนของหลักทรัพย์ต่อมูลค่าตามตราสาร 100 ดอลล่าร์

frequency คือ จำนวนครั้งในการชำระค่าตราสารต่อปี ในกรณีที่เป็นการชำระแบบรายปี frequency =1 ถ้าเป็นการชำระแบบรายครึ่งปี frequency =2 และถ้าเป็นการชำระแบบรายไตรมาส frequency = 4

basis คือ ชนิดของหลักเกณฑ์ในการนับจำนวนวัน

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกัน เช่น Date, Yield

ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน Price บน Excel

1. เลือกเซลล์ A2:A8 แล้วพิมพ์ Settlement Date แล้วกด Enter พิมพ์ Maturity Date แล้วกด Enter พิมพ์ Rate แล้วกด Enter พิมพ์ yield แล้วกดEnter

2. พิมพ์ Redemption แล้วกด Enter พิมพ์ Frequency แล้วกด Enterพิมพ์ Basis แล้วกด Enter

3. เลือกเซลล์ B2:B8 แล้วพิมพ์ 15/2/2001 แล้วกด Enter

4. พิมพ์ 15/11/2005 แล้วกด Enter พิมพ์ 5.25% แล้วกด Enter

5. พิมพ์ 6.25% แล้วก Enter

6. พิมพ์ 100 แล้วกด Enter

7. พิมพ์ 2 แล้วกด Enter

8. พิมพ์ 0 แล้วกด Enter

9. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =price(b2,b3,b4,b5,b6,b7,b8) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 95.93425

10. หากคลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ 4.25% แล้วกด Enter จะแสดงผลลัพธ์ที่เซลล์ B10 จะแสดงค่า 104.2536

ฟังก์ชัน PPMT และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน PPMT และวิธีการใช้งาน PPMT จัดเป็นฟังก์ชันด้าน การเงิน ของ Excel ฟังก์ชัน PPMT ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าเงินที่ต้องชำระสำหรับการลงทุน ก... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน PPMT และวิธีการใช้งาน

PPMT จัดเป็นฟังก์ชันด้าน การเงิน ของ Excel

ฟังก์ชัน PPMT ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าเงินที่ต้องชำระสำหรับการลงทุน การคำนวณมีพื้นฐานอยู่บนการชำระเงินเป็นงวด ยอดการชำระเงินที่คงที่ และอัตราดอกเบี้ยที่คงที่

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชัน PPMT คือ PPMT(rate,per,nper,pv,fv,type)

โดยที่ Rate คือ อัตราดอกเบี้ยต่องวด

per ระบุคาบเวลาที่คุณต้องการค่าเงินที่ต้องชำระ และต้องอยู่ในช่วง 1 ถึง nper

Nper คือ จำนวนงวดทั้งหมดของการชำระเงินรายปี

Pv คือมูลค่าปัจจุบัน – จำนวนเงินทั้งหมดที่คิดตามมูลค่าปัจจุบันจากการชำระเงินในอนาคตรวมกัน

fv คือมูลค่าในอนาคต (FV-future value) หรือจำนวนเงินที่คุณต้องการให้คงเหลือหลังจากชำระงวดสุดท้าย ถ้าละไว้จะถือว่า fv เป็น 0 (ตัวอย่างเช่น มูลค่าอนาคตของเงินกู้มีค่าเป็น 0)

type คือตัวเลข 0 หรือ 1 ซึ่งใช้บ่งชี้กำหนดชำระเงิน

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน PPMT ได้แก่ FV, IPMT, NPER, PMT, PV, RATE

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน PPMT ให้เราลองทำตามดังนี้

1. เลือกเซลล์ A2:A7 แล้วพิมพ์ Rate จากนั้นกด Enter

2. พิมพ์ Per แล้วกด Enter

3. พิมพ์ Nper แล้วกด Enter

4. พิมพ์ PV แล้วกด Enter

5. พิมพ์ FV แล้วกด Enter

6. พิมพ์ Type แล้วกด Enter

7. เลือกเซลล์ B2:B5 แล้วพิมพ์ 4% แล้วกด Enter

8. พิมพ์ 1 แล้วกด Enter

9. พิมพ์ 120 แล้วกด Enter

10. พิมพ์ -1000000 แล้วกด Enter

11. คลิกเซลล์ A9 แล้วพิมพ์ =pmt(b2/12,b4,b5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า $10,124.51

12. คลิกเซลล์ B9 แล้วพิมพ์ =ppmt(b2/12,b3,b4,b5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า $6,791.18

13. คลิกเซลล์ B14 แล้วพิมพ์ a9-b9 แล้วกด Enter จะแสดงค่า $3,333.33

14. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =ipmt(b2/12,b3,b4,b5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า $3,333.33

15. ให้ก็อปปี้ข้อมูลแล้วเปลี่ยนตัวเลขที่ C3F3 แล้วสังเกตผลลัพธ์

ฟังก์ชัน NORMSINV และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน NORMSINV และตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน NORMSINV เป็นฟังก์ชันประเภทสถิติ ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าผกผันของการแจกแจงแบบปกติมาตรฐานสะส... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน NORMSINV และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน NORMSINV เป็นฟังก์ชันประเภทสถิติ

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าผกผันของการแจกแจงแบบปกติมาตรฐานสะสม (Standard normal cumulative distribution) ซึ่งการแจกแจงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับศูนย์และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับหนึ่ง)

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน Normsinv คือ Normsinv(probability)

โดยที่ Probability คือค่าความน่าจะเป็นที่สอดคล้องกับการแจกแจงปกติ

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน Normsinv ได้แก่ Normdist, Norminv, Normsdist, Standardize, Ztest

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Normsinv

1. คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ Probability แล้วคลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ 0.933193

2. คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =normsinv(b2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1.500002

3. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =normsdist(b4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.933193

วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน Timevalue และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน Timevalue และวิธีการใช้งาน Timevalue เป็นฟังก์ชัน ด้านวันที่และเวลา Timevalue เป็น ฟังก์ชันที่ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าตัวเลขที่ใช้แทนเ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Timevalue และวิธีการใช้งาน

Timevalue เป็นฟังก์ชัน ด้านวันที่และเวลา

Timevalue เป็น ฟังก์ชันที่ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าตัวเลขที่ใช้แทนเวลาซึ่งถูกเขียนอยู่ในรูปสายอักขระข้อความ เป็นค่าเศษส่วสนทศนิยมตั้งแต่ 0 (ศูนย์) ถึง 0.99999999 โดยแทนค่าเวลาตั้งแต่ 0:00:00 (12:00:00 A.M.) ถึง 23:59:59 (11:59:59 P.M.)

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชัน Timevalue คือ Timevalue(time_text)

time_text คือสายข้อความที่แทนเวลาในรูปแบบเวลาแบบใดแบบหนึ่งของ Microsoft Excel ตัวอย่างเช่น “6:45 PM” และ “18:45” เป็นสาข้อความในเครื่องหมายอัญประกาศที่แทนค่า

ฟังก์ชัน ที่มีความเกี่ยวข้อง กับ ฟังก์ชัน Timevalue ได้แก่ Datevalue, Hour, Minute, Now, Second, Time

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Timevalue

1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =timevalue(“1:15 am”) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.052083333

2. Copy ข้อมูลในเซลล์ B2 มาไว้ที่เซลล์ B3 แล้วคลิกเซลล์ B3 จากนั้น คลิกเมนู Format แล้วเลือกคำสั่ง Cells แล้วคลิกที่แท็บ Number แล้ว คลิกเลือก Time และคลิกเลือก 1:30:55 PM แล้วคลิกปุ่ม OK จะแสดงค่า 1:15:00 AM

3. คลิกเซลล์ B4 พิมพ์ =timevalue(“1/5/2001 4:15”) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.177083333

4. คลิกเซลล์ B4 จากนั้นคลิกเมนู Format แล้วเลือกคำสั่ง Cells แล้วคลิกที่แท็บ Number แล้วคลิกเลือก Time แล้วคลิกเลือก 1:30:55 PM แล้วคลิกปุ่ม OK จะแสดงค่า 4:15:00 AM

5. คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =datevalue(“1/5/2001 4:15”) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 37012

6. คลิกเซลล์ B5 จากนั้นคลิกเมนู Format แล้วเลือกคำสั่ง Cells แล้วคลิกที่แท็บ Number แล้วคลิกเลือก Date แล้วคลิกเลือก March 4, 1997 แล้วคลิกปุ่ม OK จะแสดงค่า May 1, 2001

วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน ODDLPRICE และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน ODDLPRICE และตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน ODDLPRICE คือ ฟังก์ชัน ทางการเงิน ฟังก์ชัน ODDLPRICE ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าราคาต่อ $100 ของร... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน ODDLPRICE และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน ODDLPRICE คือ ฟังก์ชัน ทางการเงิน

ฟังก์ชัน ODDLPRICE ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าราคาต่อ $100 ของราคาตามตั๋วของหลักทรัพย์ด้วยคาบเวลาสุดท้ายที่เหลือ (สั้นหรือยาว)

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชัน ODDLPRICE คือ ODDLPRICE(settlement, maturity, last_interest,rate,yld,redemption,frequency,basis)

Settlement คือ วันที่ทำข้อตกลงของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อ

Maturity คือ วันที่ครบกำหนดชำระของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่หลักทรัพย์หมดอายุลงนั่นเอง

Last_interest
คือวันที่จ่ายดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายของหลักทรัพย์

rate คือ อัตราดอกเบี้ยของหลักทรัพย์

yld คือ ผลตอบแทนรายปีของหลักทรัพย์

redemption คือ มูลค่าไถ่ถอนของหลักทรัพย์ต่อมูลค่าตามตราสาร 100 ดอลล่าร์

frequency คือ จำนวนครั้งในการชำระค่าตราสารต่อปี ในกรณีที่เป็นการชำระแบบรายปี frequency =1 ถ้าเป็นการชำระแบบรายครึ่งปี frequency = 2 และถ้าเป็นการชำระแบบรายไตรมาส frequency =4

basis คือ ชนิดของหลักเกณฑ์ในการนับจำนวนวัน

ฟังก์ชันเกี่ยวข้องกัน คือ Date, ODDFPRICE, ODDFYIELD, ODDLYIELD

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน ODDLPRICE

1. เลือกเซลล์ A2:A9 แล้วพิมพ์ Settlement Date แล้วกด Enter พิมพ์ Maturity Date กด Enter

2. พิมพ์ Last Interest Date แล้วกด Enter พิมพ์ Rate แล้วกด Enter พิมพ์ Yield แล้วกด Enter พิมพ์ Redemtion แล้วกด Enter พิมพ์ Frequency แล้วกด Enter พิมพ์ Basis แล้วกด Enter

3. เลือกเซลล์ B2:B9 แล้วพิมพ์ 7/2/1999 แล้วกด Enter พิมพ์ 15/6/1999 แล้วกด Enter พิมพ์ 15/10/1998 แล้วกด Enter พิมพ์ 5.25% แล้วกด Enter พิมพ์ 4.25% แล้วกด Enter พิมพ์ 100 แล้วกด Enter พิมพ์ 2 แล้วกด Enter พิมพ์ 1 แล้วกด Enter

4. คลิกเซลล์ B12 แล้วพิมพ์ =oddlprice(b2,b3,b4,b5,b6,b7,b8,b9) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 100.3212

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน NORMSDIST และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน NORMSDIST และตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน NORMSDIST คือ ฟังก์ชันประเภท สถิติ ฟังก์ชัน NORMSDIST ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าการแจกแจงแบบปกติ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน NORMSDIST และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน NORMSDIST คือ ฟังก์ชันประเภท สถิติ

ฟังก์ชัน NORMSDIST ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าการแจกแจงแบบปกติมาตรฐานสะสม (Standard normal cumulative distribution) ซึ่งการแจกแจงมีค่าเฉลี่ยเป็น 0 (ศูนย์) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1 ให้ใช้ฟังก์ชันนี้แทนตารางของพื้นที่โค้งปกติมาตรฐาน

รูปแบบ สูตร Excel ของ NORMSDIST คือ NORMSDIST(z)

z เป็นค่าที่คุณต้องการหาค่าการแจกแจง

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน NORMSDIST ก็ได้แก่ NORMDIST, NORMINV, NORMSINV, STANDARDIZE, ZTEST

ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน NORMSDIST

1. คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ z จากนั้นคลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ 1.5

2. คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =normsdist(b2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.933193

3. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =normdist(b2,0,1,true) และกด Enter จะแสดงค่า 0.933193

4. คลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =normdist(b2,0,1,false) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.129518

วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน NORMINV และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน NORMINV และวิธีการใช้งาน ฟังก์ชัน NORMINV จัดเป็น ฟังก์ชัน ด้าน สถิติ ฟังก์ชัน NORMINV ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าผกผันของการแจกแจงแบบปกต... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน NORMINV และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน NORMINV จัดเป็น ฟังก์ชัน ด้าน สถิติ

ฟังก์ชัน NORMINV ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าผกผันของการแจกแจงแบบปกติสะสม (Normal cumulative distribution) สำหรับค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ระบุ)

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน Norminv คือ Norminv(probability, mean, standard_dev)

probability คือ ค่าความน่าจะเป็นที่สอดคล้องกับการแจกแจงปกติ

mean คือ มัชณิมเลขคณิตของการแจกแจง

Standard_dev คือค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของการแจกแจง

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง คือ Normdist, Normsdist, Normsinv, Standardize, Ztest

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Norminv บน Excel

1. เลือกเซลล์ A2:B4 แล้วพิมพ์ Probability แล้วกด Enter พิมพ์ Mean และกด Enter พิมพ์ STD แล้วกด Enterพิมพ์ 0.344578 แล้วกด Enter พิมพ์ 40 แล้วกด Enter พิมพ์ 5 แล้วกด Enter

2. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =norminv(b2,b3,b4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 38

3. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =normdist(b6,b3,b4,true) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.344578

วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน Sumx2my2 และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน Sumx2my2 และตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน Sumx2my2 เป็นฟังก์ชัน ด้าน คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ ทำหน้าที่ คำนวณหาค่าความแตกต่างระหว่... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Sumx2my2 และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน Sumx2my2 เป็นฟังก์ชัน ด้าน คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

ทำหน้าที่ คำนวณหาค่าความแตกต่างระหว่างค่าที่สอดคล้องกันยกกำลังสอง สำหรับช่วง 2 ช่วง หรือ อาร์เรย์ 2 อาร์เรย์ แล้วส่งกลับค่าผลรวมของความแตกต่าง

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชัน Sumx2my2 คือ Sumx2my2(array_x,array_y)

โดยที่

array_x คือ อาร์เรย์แรก หรือช่วงของค่าช่วงแรก

array_y คือ อาร์เรย์ที่สอง หรือช่วงของค่าช่วงที่สอง

ฟังก์ชันที่มีความเกี่ยวข้องกับ ฟังก์ชัน Sumx2my2 ได้แก่ Sumproduct, sumx2py2, sumxmy2

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน sumx2my2 ให้เราลองทำตามวิธีนี้

1. เลือกเซลล์ B1:B7 พิมพ์ x แล้วกด Enter พิมพ์ 2 แล้วกด Enter พิมพ์ 6 แล้วกด Enter พิมพ์ 8 แล้วกด Enter พิมพ์ 7 แล้วกด Enter พิมพ์ 12 แล้วกด Enter พิมพ์ 9 แล้วกด Enter

2. เลือกเซลล์ C1:C7 พิมพ์ Y แล้วกด Enter พิมพ์ 8 แล้วกด Enter พิมพ์ 5 แล้วกด Enter พิมพ์ 2 แล้วกด Enter พิมพ์ 6 แล้วกด Enter พิมพ์ 4 แล้วกด Enter พิมพ์ 7 แล้วกด Enter

3. คลิกเซลล์ D1 แล้วพิมพ์ X^2-Y^2 แล้วกด Enter

4. เลือกเซลล์ D2:D7 แล้วพิมพ์ =b2^2-c2^2 จากนั้นกด Ctrl+Enter จะแสดงผลให้เห็น

5. คลิกเซลล์ D9 แล้วคลิกที่ Auto Sum จะแสดงผลรวมเป็น 184

6. คลิกเซลล์ D10 แล้วพิมพ์ =sum(b2:b7^2-c2:c7^2 แล้วกด Ctrl+Shift+Enter จะแสดงผล 184

7. คลิกเซลล์ D11 แล้วพิมพ์ =Sumx2my2(b2:b7,c2:c7) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 184

ฟังก์ชัน SUMSQ และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน SUMSQ และวิธีการใช้งาน ฟังก์ชัน SUMSQ จัดเป็น ฟังก์ชัน ด้านคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ ทำหน้าที่ ส่งกลับผลรวมของอาร์กิวเมนต์ยกกำลั... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน SUMSQ และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน SUMSQ จัดเป็น ฟังก์ชัน ด้านคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

ทำหน้าที่ ส่งกลับผลรวมของอาร์กิวเมนต์ยกกำลังสอง

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชัน SUMSQ คือ SUMSQ(number1,number2,…)

โดยที่ number1, number2, … คือ อาร์กิวเมนต์ที่ 1 ถึง 30 ที่คุณต้องการหาค่าของผลรวมยกกำลังสอง คุณสามารถใช้อาร์เรย์หรือการอ้างอิงถึงอาร์เรย์ แทนที่อาร์กิวเมนต์ที่คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาคได้ด้วย

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน SUMSQ ได้แก่ SUM, SUMPRODUCT

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน SUMSQ ให้ลองทำตามตัวอย่างต่อไปนี้

1. เลือกเซลล์ B2:B5 แล้วพิมพ์ 2 จากนั้น กด Enter พิมพ์ 3 แล้วกด Enter พิมพ์ 4 แล้วกด Enter พิมพ์ 5 แล้วกด Enter

2. เลือกเซลล์ C2:C5 แล้วพิมพ์ =b2^2 จากนั้นกด Ctrl+Enter จะแสดงค่าผลการคำนวณออกมา

3. คลิกเซลล์ C7 แล้วดับเบิลคลิกปุ่ม Auto Sum จะแสดงค่า 54

4. อีกวิธีหนึ่งคือคลิกที่เซลล์ C8 แล้วพิมพ์ =sum(b2:b5^2) แล้วกด Ctrl+Shift+Enter จะแสดงค่า 54

5. หากต้องการกำหนดตามสูตร ขอให้คลิกที่เซลล์ C9 แล้วพิมพ์ =sumsq(b2:b5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 54

ฟังก์ชัน Sumproduct และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน Sumproduct และวิธีการใช้งาน ฟังก์ชัน ที่ใช้คูณตัวเลข คงต้องนึกถึงฟังก์ชันตัวนี้ นั่นคือ Sumproduct ฟังก์ชัน Sumproduct เป็นฟัง... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Sumproduct และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน ที่ใช้คูณตัวเลข คงต้องนึกถึงฟังก์ชันตัวนี้ นั่นคือ Sumproduct

ฟังก์ชัน Sumproduct เป็นฟังก์ชัน ด้านคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติของ Excel

โดยที่ ฟังก์ชัน Sumproduct มีหน้าที่ คูณคอมโพเนนต์ตัวเลขที่สอดคล้องกันในช่วงหลายช่วงหรืออาร์เรย์หลายอาร์เรย์ที่กำหนด จากนั้นส่งกลับค่าผลรวมของผลลัพธ์จากการคูณทั้งหมด

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน Sumproduct คือ Sumproduct(array1,array2,array3,…)

โดยที่ array1, array2, array3 …. คือ อาร์เรย์ 2 ถึง 30 อาร์เรย์ ที่คุณต้องการให้คูณกัน แล้วบวกกันทั้งหมดทุกคอมโพเนนต์

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับ ฟังก์ชัน Sumproduct ได้แก่ MMULT, PRODUCT, SUM

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Sumproduct บน Excel ให้เราทำดังนี้

1. เลือกเซลล์ B2:B6 แล้วพิมพ์ 20 แล้วกด Enter พิมพ์ 30 แล้วกด Enter พิมพ์ 40 แล้วกด Enter พิมพ์ 55 แล้วกด Enter พิมพ์ 60 แล้วกด Enter

2. เลือกเซลล์ C2:C6 แล้วพิมพ์ 3 จากนั้น กด Enter พิมพ์ 4 แล้วกด Enter พิมพ์ 5 แล้วกด Enter พิมพ์ 6 แล้วกด Enter พิมพ์ 2 แล้วกด Enter

3. เลือกเซลล์ D2:D6 จากนั้นพิมพ์ =C2*B2 แล้วกด Ctrl+Enter จะแสดงผลการคำนวณให้เห็น

4. คลิกเซลล์ D8 แล้วคลิกปุ่ม Auto Sum จะแสดงผลเป็น 830

5. คลิกเซลล์ D9 แล้วพิมพ์ =sum(b2:b6*c2:c6) แล้วกด Ctrl+Shift+ Enter จะแสดงผลการคำนวณเป็น 830

6. คลิกเซลล์ D10 แล้วพิมพ์ =sumproduct(b2:b6,c2:c6) แล้วกด Enter จะแสดงค่า เป็น 830

ฟังก์ชัน Sum และวิธีใช้งาน

ฟังก์ชัน Sum และวิธีใช้งาน ฟังก์ชัน ง่ายๆ ที่ใช้บ่อยที่สุดตัวหนึ่ง ใช้ทุกครั้งที่มีการบวกตัวเลข ฟังก์ชัน Sum จัดเป็น ฟังก์ชันด้านคณิตศ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Sum และวิธีใช้งาน

ฟังก์ชัน ง่ายๆ ที่ใช้บ่อยที่สุดตัวหนึ่ง ใช้ทุกครั้งที่มีการบวกตัวเลข ฟังก์ชัน Sum จัดเป็น ฟังก์ชันด้านคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

ทำหน้าที่ บวกจำนวนทั้งหมดในช่วงของเซลล์ที่เราเลือก

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชัน Sum คือ Sum(number1, number2,…)

โดยที่ number1, number2,… เป็นจำนวน 1 ถึง 30 จำนวนที่จะถูกบวกเข้าด้วยกัน

ฟังก์ชัน ที่มีความเกี่ยวข้องกับ ฟังก์ชัน Sum ก็ได้แก่ Average, Count, Counta, Product, Sumproduct

ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน Sum บน Excel มีดังต่อไปนี้ ลองทำดู

1. เลือกเซลล์ B2:B8 จากนั้นพิมพ์ 100 แล้วกด Enter

2. พิมพ์ 200 แล้วกด Enter

3. พิมพ์ 350 แล้วกด Enter

4. พิมพ์ 250 แล้วกด Enter

5. พิมพ์ 450 แล้วกด Enter

6. พิมพ์ 360 แล้วกด Enter

7. พิมพ์ 420 แล้วกด Enter

8. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =sum(

9. เลือกเซลล์ B2:B8 จากนั้นพิมพ์ วงเล็บปิด แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2130

10. ถ้าจะหาผลรวมอีกวิธีหนึ่งที่ง่ายก็คือ คลิกเซลล์ B10 จากนั้นดับเบิลคลิกปุ่ม Auto Sum ก็จะมีผลรวมแสดงขึ้นมาให้เห็น

11. คลิกเซลล์ B12 จากนั้นพิมพ์ =sum(“3”,”7”) แล้วกด Enter ผลลัพธ์ที่ได้คือ 10

12. การรวมผลจะเป็นการรวมเฉพาะตัวเลขเท่านั้น ถ้าเป็นตัวอักษร โปรแกรมจะไม่นำมาคำนวณ แต่ในกรณีที่บางเซลล์พิมพ์ TRUE หรือ FALSE และต้องการนำมารวมกับตัวเลขด้วย ขอให้กำหนดสูตรโดยพิมพ์ +1 ต่อท้ายสูตร

วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน VLOOKUP และ วิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน VLOOKUP และ วิธีการใช้งาน ฟังก์ชัน VLOOKUP จัดเป็น ฟังก์ชัน ประเภทการค้นหาและการอ้างอิง ของ Excel ฟังก์ชัน VLOOKUP ทำหน้าที่ ค... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน VLOOKUP และ วิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน VLOOKUP จัดเป็น ฟังก์ชัน ประเภทการค้นหาและการอ้างอิง ของ Excel

ฟังก์ชัน VLOOKUP ทำหน้าที่ ค้นหาค่าในคอลัมน์ซ้ายสุดของตาราง แล้วส่งกลับค่าในแถวเดียวกันจากคอลัมน์ที่เราระบุไว้ในตาราง

ให้เราใช้ VLOOKUP แทนที่จะเป็น HLOOKUP เมื่อมีการระบุตำแหน่งของค่าการเปรียบเทียบในคอลัมน์ไปที่ด้านซ้ายของข้อมูลที่เราต้องการค้นหา

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชัน VLOOKUP คือ VLOOKUP(lookup_value, table_array,col_index_num,range_lookup)

พารามิเตอร์แต่ละตัว มีความหมายดังนี้

lookup_value คือ ค่าที่จะหาในคอลัมน์แรกของอาร์เรย์ ซึ่งอาจจะเป็นการอ้างอิง หรือสายอักขระข้อความก็ได้

table_array คือ ตารางของข้อมูลในที่ซึ่งข้อมูลถูกค้นหา ให้ใช้การอ้างอิงไปยังช่วงหรือชื่อของช่วง เช่น ฐานข้อมูลหรือรายการ

ถ้า range_lookup เป็น True ค่าในคอลัมน์แรกของ table_array จะต้องเรียงลำดับจากน้อยไปหามาก เช่น ...., -2, -1, 0, 1, 2, …., A-Z, FALSE, TRUE มิฉะนั้น VLOOKUP อาจจะไม่ให้ค่าที่ถูกต้อง ถ้า Range_lookup เป็น FALSE โดยไม่ต้องจำเป็นต้องจัดเรียง table_array

คุณสามารถใส่ค่าโดยเรียงลำดับจากน้อยไปหามาก ได้โดยการเลือกคำสั่ง Sort จากเมนู Data และเลือก Ascending

ค่าในคอลัมน์แรกของ table_array อาจเป็นข้อความ จำนวน หรือ ค่าตรรกะ ก็ได้

ข้อความแบบตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กจะมีค่าเท่ากัน

col_index_num คือ หมายเลขคอลัมน์ใน table_array ซึ่งค่าภายในที่คุณต้องการจะถูกส่งกลับมา col_index_num ของ 1 จะส่งกลับค่าในคอลัมน์แรกใน table_array ส่วน col_index_num ของ 2 จะส่งกลับค่าคอลัมน์ที่ส่องใน table_array และอื่นๆ ถ้า col_index_num น้อยกว่า 1 ฟังก์ชัน VLOOKUP จะส่งกลับ #VALUE! เป็นค่าความผิดพลาด ถ้า col_index_num มากกว่าจำนวนของคอลัมน์ใน table_array, VLOOKUP จะส่งกลับค่า #REF! เป็นค่าความผิดพลาด

Range_lookup คือค่าตรรกะ ที่ระบุว่าเราต้องการให้ VLOOKUP ค้นหาการจักคู่ที่ตรงกันหรือการจับคู่ที่เหมาะสมหรือไม่ ถ้าเป็น TRUE หรือไม่ใส่ค่าอะไรไว้ จะส่งการจับคู่ที่เหมาะสมกลับมา ในอีกทางหนึ่ง ถ้าไม่พบการจับคู่ที่ตรงกัน ค่าที่ใกล้เคียงที่สุดที่น้อยกว่าค่า lookup_value จะถูกส่งกลับมา ถ้าเป็น FALSE ฟังก์ชัน VLOOKUP จะค้นหาการจับคู่ที่ตรงกัน ถ้าไม่มีการค้นพบค่าใดค่าหนึ่ง ก็จะส่งกลับ #N/A เป็นค่าความผิดพลาด

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน VLOOKUP เช่น HLOOKUP, INDEX, LOOKUP, MATCH

ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน VLOOKUP

1. เลือกเซลล์ B2:B7 แล้วพิมพ์ Code จากนั้นกด Enter

2. พิมพ์ 10 แล้วกด Enter

3. พิมพ์ 20 แล้กด Enter

4. พิมพ์ 30 แล้วกด Enter

5. พิมพ์ 40 แล้วกด Enter

6. พิมพ์ 50 แล้วกด Enter

7. เลือกเซลล์ C2:C7 แล้วพิมพ์ Name จากนั้นกด Enter

8. พิมพ์ aa แล้วกด Enter พิมพ์ bb แล้วกด Enter พิมพ์ CC แล้วกด Enter พิมพ์ DD แล้วกด Enter พิมพ์ EE แล้วกด Enter

9. เลือกเซลล์ D2:D7 แล้วพิมพ์ Salary จากนั้นกด Enter

10. พิมพ์ 6000 แล้วกด Enter

11. พิมพ์ 8000 แล้วกด Enter

12. พิมพ์ 7500 แล้วกด Enter

13. พิมพ์ 12000 แล้วกด Enter

14. พิมพ์ 9500 แล้วกด Enter

15. เลือกเซลล์ B9:D9 แล้วพิมพ์ Code จากนั้นกด Enter

16. พิมพ์ Name แล้วกด Enter

17. พิมพ์ Salary แล้วกด Enter

18. คลิกเซลล์ B10 แล้ว พิมพ์ 30 แล้วกด Enter

19. คลิกเซลล์ C10 แล้วพิมพ์ =VLOOKUP(b10,b3:d7,2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า CC

20. คลิกเซลล์ D10 พิมพ์ =VLOOKUP(b10,b3:d7,3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 7500

วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน OCT2DEC และวิธีใช้งาน

ฟังก์ชัน OCT2DEC และวิธีใช้งาน ฟังก์ชัน OCT2DEC เป็นฟังก์ชันประเภทวิศวกรรมของ Excel ซึ่ง สูตร Excel ตัวนี้ทำหน้าที่ แปลงเลขฐานแปดเป็นเ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน OCT2DEC และวิธีใช้งาน

ฟังก์ชัน OCT2DEC เป็นฟังก์ชันประเภทวิศวกรรมของ Excel

ซึ่ง สูตร Excel ตัวนี้ทำหน้าที่ แปลงเลขฐานแปดเป็นเลขฐานสิบ

โดย รูปแบบสูตร Excel ของสูตรนี้คือ OCT2DEC(number)

โดยที่ number คือเลขฐานแปดที่คุณต้องการแปลงค่า number จะมีตัวเลขได้ไม่เกิน 10 อักขระ (30 บิต) บิตที่มีนัยสำคัญที่สุดคือบิตเครื่องหมาย ส่วนที่เหลืออีก 29 บิตเป็นบิตขนาด ตัวเลขลบจะแทนค่าด้วย two’s-complement notation

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง ก็ได้แก่ BIN2OCT, DEC2OCT, HEX2OCT

ตัวอย่างการใช้งาน OCT2DEC บน Excel ให้เราทำดังนี้

1. คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 12

2. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =Oct2dec(a2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 10

3. คลิกเซลล์ A3 แล้วพิมพ์ 251

4. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =oct2dec(a3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 169

ฟังก์ชัน OCT2HEX และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน OCT2HEX และวิธีการใช้งาน ฟังก์ชัน OCT2HEX จัดเป็น ฟังก์ชัน ด้านวิศวกรรมของ Excel OCT2HEX คือ สูตร Excel หรือ ฟังก์ชัน Excel ท... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน OCT2HEX และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน OCT2HEX จัดเป็น ฟังก์ชัน ด้านวิศวกรรมของ Excel

OCT2HEX คือ สูตร Excel หรือ ฟังก์ชัน Excel ที่มีหน้าที่ แปลงเลขฐาน 8 เป็น เลขฐาน 16

รูปแบบ สูตร Excel ของสูตรนี้คือ OCT2HEX(number,places)

โดยที่ number คือ เลขฐานแปดที่คุณต้องการแปลงค่า number จะมีตัวเลขได้ไม่เกิน 10 อักขระ (30 บิต) บิตที่มีนัยสำคัญที่สุดคือบิตเครื่องหมาย ส่วนที่เหลืออีก 29 บิตเป็นบิตขนาด ตัวเลขลบจะแทนค่าด้วย two’s-complement notation

places เป็นจำนวนของอักขระที่ใช้ ถ้า places ถูกละไว้ ฟังก์ชัน OCT2HEX จะใช้จำนวนอักขระที่น้อยที่สุดที่จำเป็น places จะมีประโยชน์ในการเติมบิตเลข 0 (ศูนย์) ไว้ข้างหน้าผลลัพธ์

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชันนี้คือ BIN2OCT, DEC2OCT, HEX2OCT

ตัวอย่างการใช้งาน สูตร Excel สูตรนี้ ให้ทำตามตัวอย่างด้านล่างนี้

1. คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 12

2. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ A

3. คลิกเซลล์ A3 แล้วพิมพ์ 251

4. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =oct2hex(a3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า a9

วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน ODDFYIELD และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน ODDFYIELD และวิธีการใช้งาน ฟังก์ชัน ODDFYIELD เป็นฟังก์ชันประเภทการเงินของ Excel ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าผลตอบแทนของหลักทรัพย์ด้วย... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน ODDFYIELD และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน ODDFYIELD เป็นฟังก์ชันประเภทการเงินของ Excel

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าผลตอบแทนของหลักทรัพย์ด้วยคาบเวลาแรกที่เหลือ (สั้นหรือยาว)

รูปแบบ สูตร Excel ของฟังก์ชัน ODDFYIELD คือ ODDFYIELD(settlement, maturity, issue, first_coupon, rate, pr, redemption, frequency, basis)

settlement คือวันที่ทำข้อตกลงของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อ

Maturity คือวันที่ครบกำหนดชำระของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่หลักทรัพย์หมดอายุลงนั่นเอง

Issue คือวันที่ออกจำหน่ายของหลักทรัพย์

First_copon วันที่ตราสารวสันแรกของหลักทรัพย์

rate คืออัตราดอกเบี้ยของหลักทรัพย์

Pr คือ ราคาของหลักทรัพย์

Redemption คือมูลค่าไถ่ถอนของหลักทรัพย์ต่อมูลค่าตามตราสาร 100 ดอลล่าร์

frequency คือ จำนวนครั้งในการชำระค่าตราสารต่อปี

ในกรณีที่เป็นการชำระแบบรายปี frequency=1

ถ้าเป็นการชำระแบบรายครึ่งปี frequency =2

และถ้าเป็นการชำระแบบรายไตรมาส frequency =4

basis คือ ชนิดของหลักเกณฑ์ในการนับจำนวนวัน

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน ODDFYIELD คือ Date, ODDFPRICE, ODDLPRICE, ODDLYIELD

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน ODDFYIELD ให้ทำดังนี้

1. เลือกเซลล์ A2:A10 แล้วพิมพ์ Settlement Date แล้วกด Enter พิมพ์ Maturity Date แล้วกด Enter พิมพ์ Issue Date แล้วกด Enter พิมพ์ First Coupon Date กด Enter พิมพ์ Rate กด Enter พิมพ์ Price แล้วกด Enter พิมพ์ Redemption กด Enter พิมพ์ Frequency กด Enter พิมพ์ Basis กด Enter

2. เลือกเซลล์ B2:B10 แล้วพิมพ์ 11/11/1999 แล้วกด Enter พิมพ์ 1/3/2012 กด Enter พิมพ์ 15/10/1999 กด Enter พิมพ์ 1/3/2000 แล้วกด Enter พิมพ์ 6% แล้วกด Enter พิมพ์ 95.8 แล้วกด Enter พิมพ์ 100 กด Enter พิมพ์ 2 แล้วกด Enter พิมพ์ 1 แล้วกด Enter

3. คลิกเซลล์ B12 แล้วพิมพ์ =oddfyield(b2,b3,b4,b5,b6,b7,b8,b9,b10) แล้วกด Enter จะแสดง 0.065014 หากกำหนดเป็น Percentage จะแสดงค่า 6.50%

ฟังก์ชัน ODD และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน ODD และวิธีการใช้งาน วันนี้มารู้จักกับฟังก์ชัน ODD กันครับ สูตร Excel ตัวนี้เป็นสูตรหรือฟังก์ชันที่ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าที่ปัดตั... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน ODD และวิธีการใช้งาน

วันนี้มารู้จักกับฟังก์ชัน ODD กันครับ สูตร Excel ตัวนี้เป็นสูตรหรือฟังก์ชันที่ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าที่ปัดตัวเลขขึ้นเป็นจำนวนเต็มคี่ที่ใกล้ที่สุด

รูปแบบสูตร Excel ของฟังก์ชันนี้คือ ODD(number)

โดยที่ number คือค่าที่จะปัดเศษ

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง CEILING, EVEN, FLOOR, INT, ISEVEN, ISODD, ROUND, TRUNC

ตัวอย่างการทำงานของฟังก์ชัน ODD บน Excel ให้เราทำตามดังนี้

1. คลิกเซลล์ A2 พิมพ์ 1.2 จากนั้นคลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =odd(a2) และกด Enter จะแสดงค่า 3

2. คลิกเซลล์ A3 พิมพ์ 3.5 แล้วคลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ว่า =odd(a3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 5

3. คลิกเซลล์ A4 พิมพ์ 4 จากนั้นคลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =odd(a4) และกด Enter จะแสดงค่า 5

4. คลิกเซลล์ A5 แล้วพิมพ์ 6 จากนั้นคลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =odd(a5) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 7

5. คลิกเซลล์ A6 แล้วพิมพ์ -1 จากนั้นคลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =odd(a6) แล้วกด Enter จะแสดงค่า -1

6. คลิกเซลล์ A7 แล้วพิมพ์ -6 จากนั้นคลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =odd(a7) แล้วกด Enter จะแสดงค่า -7

ฟังก์ชัน OCT2BIN และวิธีใช้งาน

ฟังก์ชัน OCT2BIN และวิธีใช้งาน ฟังก์ชัน OCT2BIN เป็นฟังก์ชันประเภท วิศวกรรม ทำหน้าที่ แปลงตัวเลขฐานแปดเป็นบานสอง รูปแบบ สูตร Excel ของส... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน OCT2BIN และวิธีใช้งาน

ฟังก์ชัน OCT2BIN เป็นฟังก์ชันประเภท วิศวกรรม ทำหน้าที่ แปลงตัวเลขฐานแปดเป็นบานสอง

รูปแบบ สูตร Excel ของสูตรนี้คือ OCT2BIN(number,places)

โดยที่ number คือเลขฐานแปดที่คุณต้องการแปลง ตัวเลขไม่สามารถมีอักขระเกิน 10 ตัว บิตที่มีนัยสำคัญที่สุดของ number คือบิตเครื่องหมาย ส่วนที่เหลืออีก29 บิตเป็นบิตขนาดตัวเลข ตัวเลขติดลบจะแทนค่าโดยใช้ Two’s-complement notation

places คอจำนวนอักขระที่ใช้ถ้า places ถูกละไว้ ฟังก์ชัน OCT2BIN จะใช้จำนวนอักขระน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น places จะมีประโยชน์ในการเติมบิตข้างหน้าของผลลัพธ์ด้วยเลข 0 (ศูนย์)

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชันนี้ คือ BIN2OCT, DEC2OCT, HEX2OCT


ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน OCT2BIN บน Excel ให้เราทำตามตัวอย่างต่อไปนี้

1. คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 12

2. คลิกเซลล์ C2 แล้วพิมพ์ 001 จากนั้นคลิกเซลล์ D2 แล้วพิมพ์ 010 แล้ว พิมพ์ 001010 ที่เซลล์ E2

3. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =oct2bin(a2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1010

4. หากต้องการให้แสดงผลเป็นเลข 6 หลักในเซลล์ B2 ให้พิมพ์ =oct2bin(a2,6) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 001010

5. คลิกเซลล์ A3 แล้วพิมพ์ 251

6. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =oct2bin(a3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 10101001

ฟังก์ชัน TDIST และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน TDIST และวิธีการใช้งาน ฟังก์ชัน TDIST เป็นฟังก์ชันทางการสถิติ ทำหน้าที่ ส่งคลับค่า t ในรูปเปอร์เซ็นต์ของการแจกแจงค่า t (student)... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน TDIST และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน TDIST เป็นฟังก์ชันทางการสถิติ ทำหน้าที่ ส่งคลับค่า t ในรูปเปอร์เซ็นต์ของการแจกแจงค่า t (student) ซึ่งค่าตัวเลข (x) จะเป็นค่าจากการคำนวณค่า t ที่จุดเปอร์เซ็นต์ที่ถูกนำไปคำนวณการกระจายแบบ t

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชัน TDIST คือ TDIST(x,degrees_freedom,tails)

x คือ ค่าตัวเลขที่ใช้ประเมินหาการแจกแจง

Degrees_freedom คือ จำนวนเต็มที่ใช้เป็นชั้นของความอิสระ ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกลักษณะของการแจกแจง

Tails ระบุจำนวนทางของการแจกแจงที่ต้องการให้ส่งค่ากลับมา ถ้าต้องการใช้การแจกแจงแบบด้านเดียว ให้ใช้ tails = 1 แล้วถ้าต้องการใช้การแจกแจงแบบสองด้านให้ใช้ tails =2

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง กับฟังก์ชัน นี้คือ TINV, TTEST

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน TDIST บน Excel

1. เลือกเซลล์ A2:A4 แล้วพิมพ์ x แล้วกด Enter

2. พิมพ์ Degrees of Freedom แล้วกด Enter

3. พิมพ์ Tails แล้วกด Enter

4. ระบายเซลล์ B2:B4 แล้วพิมพ์ 2.08 แล้วกด Enter

5. พิมพ์ 20 แล้วกด Enter

6. พิมพ์ 1 แล้วกด Enter

7. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =tdist(b2,b3,b4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.025299

8. เลือกเซลล์ C2:C4 แล้วพิมพ์ 2.08 แล้วกด Enter พิมพ์ 20 แล้วกด Enter พิมพ์ 2 แล้วกด Enter

9. คลิกเซลล์ C6 แล้วพิมพ์ =tdist(c2,c3,c4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.050598

วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน Tbillyield และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน Tbillyield และวิธีการใช้งาน ฟังก์ชัน Tbillyield เป็นฟังก์ชันประเภทการเงิน ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าผลตอบแทนสำหรับตั๋วเงินคลัง รูปแบ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Tbillyield และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน Tbillyield เป็นฟังก์ชันประเภทการเงิน ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าผลตอบแทนสำหรับตั๋วเงินคลัง

รูปแบบสูตร Excel ของฟังก์ชัน Tbillyield คือ Tbillyield(settlement,maturity,pr)

Settlement คือ วันที่ทำข้อตกลงของตั๋วเงินคลัง ซึ่งก็คือวันที่ส่งมอบตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้ซื้อ

Maturity คือวันที่ครบกำหนดชำระของตั๋วเงินคลัง ซึ่งก็คือวันที่ตั๋วเงินคลังหมดอายุ

pr คือ ราคาตั๋วเงินคลังต่อราคา $100 ที่ตราไว้หน้าตั๋ว

สูตรทางคณิตศาสตร์ของ ฟังก์ชัน Tbillyield คือ Tbillyield=((100-par)/pr) x (360/DSM)

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง เช่น ฟังก์ชัน Date, Tbilleq, Tbillprice

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Tbillyield บน Excel ให้เราทำดังนี้

1. เลือกเซลล์ A2:A4 พิมพ์ Settlement Date แล้วกด Enter

2. พิมพ์ Maturity Date แล้วกด Enter พิมพ์ PR แล้วกด Enter

3. เลือกเซลล์ B2:B4 แล้วพิมพ์ 31-Mar-2001 แล้วกด Enter พิมพ์ 1-Jun-2001 แล้วกด Enter พิมพ์ 99 แล้วกด Enter

4. คลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ =b3-b2 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2-Mar-1900 จากนั้น คลิกเมนู Edit เลือกคำสั่ง Clear แล้วคลิกเลือก Formats จะแสดงค่า 62

5. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =(100-b4)/b4*360/c3 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.058651 แล้วคลิกเมนู Format แล้วเลือกคำสั่ง Cells จากนั้นคลิกแท็บ Number แล้วเลือก Percentage แล้วคลิกปุ่ม Ok จะแสดงค่า 5.87%

6. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =Tbillyield(b2,b3,b4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.058651 แล้วคลิกเมนู Format แล้วเลือกคำสั่ง Cells จากนั้นคลิกแท็บ Number แล้วเลือก Percentage แล้วคลิกปุ่ม Ok จะแสดงค่า 5.87%

ฟังก์ชัน TBILLPRICE และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน TBILLPRICE และวิธีการใช้งาน ฟังก์ชัน Tbillprice เป็นฟังก์ชัน ประเภทการเงิน ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าราคาต่อราคาที่ตราไว้หน้าตั๋ว $100... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน TBILLPRICE และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน Tbillprice เป็นฟังก์ชัน ประเภทการเงิน ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าราคาต่อราคาที่ตราไว้หน้าตั๋ว $100 สำหรับตั๋วเงินคลัง

รูปแบบสูตร TBILLPRICE(settlement,maturity,discount)

Settlement คือวันที่ทำข้อตกลงของตั๋วเงินคลัง ซึ่งก็คือวันที่ส่งมอบตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้ซื้อ

Maturity คือวันที่ครบกำหนดชำระของตั๋วเงินคลัง ซึ่งก็คือวันที่ตั๋วเงินคลังหมดอายุ

Discount คือ อัตราส่วนลดของตั๋วเงินคลัง

รูปแบบสูตรทางคณิตศาสตร์

Tbillprice =100x(1-discountxDSM/360)

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง เช่น Date, Tbilleq, Tbillyield

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Tbillprice ให้เราทำตามตัวอย่างต่อไปนี้

1. เลือกเซลล์ A2:A4 แล้วพิมพ์ Settlement Date แล้วกด Enter

2. พิมพ์ Maturity Date แล้วกด Enter

3. พิมพ์ Discount แล้วกด Enter

4. เลือกเซลล์ B2:B4 พิมพ์ 31-Msar-2001 แล้วกด Enter พิมพ์ 1-Jun-2001 แล้กด Enter พิมพ์ 6.25% แล้วกด Enter

5. คลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ =b3-b2 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2-Mar-1900 จากนั้นคลิกเมนู Edit เลือกคำสั่ง Clear และคลิกเลือก Formats จะแสดงค่า 62

6. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =100*(1-b4*c3/360) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 98.92361

7. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =Tbillprice(b2,b3,b4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 98.92361

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน Text และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน Text และวิธีการใช้งาน ฟังก์ชัน Text 1เป็นฟังก์ชันประเภทข้อความ ทำหน้าที่ แปลงค่าเป็นข้อความที่อยู่ในรูปแบบตัวเลขที่ระบุ รูปแบบ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Text และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน Text 1เป็นฟังก์ชันประเภทข้อความ ทำหน้าที่ แปลงค่าเป็นข้อความที่อยู่ในรูปแบบตัวเลขที่ระบุ

รูปแบบสูตร ของ ฟังก์ชัน Text คือ Text(value,format_text)

Value คือ ตัวเลข หรือ สูตรที่สามารถหาค่าเป็นตัวเลข หรือการอ้างอิงไปยังเซลล์ที่มีค่าตัวเลข

format_text คือ รูปแบบตัวเลขที่อยู่ในรูปของข้อความจากในกล่อง Category บนแท็บ Number ในกล่องโต้ตอบ Format Cells

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Dollar, Fixed, Value

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Text บน Excel

1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ 1234.56789 จากนั้นคลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ $#,##0.00

2. คลิกเซลล์ B5 พิมพ์ =text9b2,b3) และกด Enter จะแสดงค่า 1,234.57

3. คลิกเซลล์ C2 แล้วพิมพ์ 1/2/2002 จากนั้นคลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ dd-mmmm-yyyy

4. คลิกเซลล์ C5 แล้วพิมพ์ =text(c2,c3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 01-February-2002

5. คลิกเซลล์ D2 แล้วพิมพ์ 2/2/2002 จากนั้นคลิกเซลล์ D3 แล้วพิมพ์ dddd dd-mmm-yy

6. คลิกเซลล์ D5 แล้วพิมพ์ =text(d2,d3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า Saturday 02-Feb-02

ฟังก์ชัน TBILLEQ และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน TBILLEQ และวิธีการใช้งาน TBILLEQ เป็นฟังก์ชันประเภท การเงิน ทำหน้าที่ส่งกลับค่าผลตอบแทนพันธบัตสมมูล (bond-equivalent yield) สำหร... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน TBILLEQ และวิธีการใช้งาน

TBILLEQ เป็นฟังก์ชันประเภท การเงิน ทำหน้าที่ส่งกลับค่าผลตอบแทนพันธบัตสมมูล (bond-equivalent yield) สำหรับตั๋วเงินคลัง (Treasury bill)

รูปแบบสูตร Tbilleq(settlement,maturity,discount)

Settlement คือ วัที่ทำข้อตกลงของตั๋วเงินคลัง ซึ่งก็คือันที่ส่งมอบตั๋วเงินคลังให้แก่ผู้ซื้อ

maturity คือ วันที่ครบกำหนดชำระของตั๋วเงินคลัง ซึ่งก็คือวันที่ตั๋วเงินคลังหมดอายุ

discount คือ อัตราส่วนลดของตั๋วเงินคลัง

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง คือ Date, Tbillprice Tbillyield

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Tbillprice ให้ทำดังนี้

1. ระบายเซลล์ A2:A4 แล้วพิมพ์ Settlement Date แล้วกด Enter พิมพ์ Maturity Date แล้วกด Enter พิมพ์ Discount แล้วกด Enter

2. เลือกเซลล์ B2:B4 แล้วพิมพ์ 31-Mar-2001 แล้วกด Enter

3. พิมพ์ 1-Jun-2001 แล้วกด Enter พิมพ์ 5.25% แล้วกด Enter

4. คลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ =b3-b2 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 2-mar-1900 จากนั้นคลิกเมนู Edit เลือกคำสั่ง Clear และคลิกเลือก Formats จะแสดงค่า 62

5. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =(365*b4)/(360-(b4*c3)) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.053715 คลิกเมนู Format แล้วเลือกคำสั่ง Cells จากนั้นคลิกแท็บ Number แล้วเลือก Percentage และคลิกปุ่น Ok จะแสดงค่า 5.37%

6. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =tbilleq(b2,b3,b4) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.053715 คลิกเมนู Format แล้วเลือกคำสั่ง Cells จากนั้นคลิกแท็บ Number แล้วเลือก Percentage แล้วคลิกปุ่ม Ok จะแสดงค่า 5.37%

วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน Sumx2py2 และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน Sumx2py2 และตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน Sumx2py2 เป็นฟังก์ชันด้านคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติของ Excel มีหน้าที่คำนวณหาค่าผลรวมของค่า... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Sumx2py2 และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน Sumx2py2 เป็นฟังก์ชันด้านคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติของ Excel มีหน้าที่คำนวณหาค่าผลรวมของค่าที่สอดคล้องกันยกกำลังสองสำหรับช่วง 2 ช่วงหรืออาร์เรย์ 2 อาร์เรย์ แล้วส่งกลับค่าผลรวมของผลรวมทั้งหมด

รูปแบบสูตร คือ Sumx2py2(array_x,array_y)

โดยที่ array_x คือ อาร์เรย์แรก หรือ ช่วงของค่าช่วงแรก

array_y คือ อาร์เรย์ที่สอง หรือ ช่วงของค่าช่วงที่สอง

ฟังก์ชัน ที่เกี่ยวข้อง เช่น Sumproduct, Sumx2my2, Sumxmy2

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Sumx2py2 บน Excel ให้ทำดังนี้

1. ลองเลือกเซลล์ B1:B7 แล้วพิมพ์ x แล้วกด Enter

2. พิมพ์ 2 แล้วกด Enter

3. พิมพ์ 6 แล้วกด Enter

4. พิมพ์ 8 แล้วกด Enter

5. พิมพ์ 7 แล้วกด Enter

6. พิมพ์ 12 แล้วกด Enter

7. พิมพ์ 9 แล้วกด Enter

8. เลือกเซลล์ C1:C7 พิมพ์ y แล้วกด Enter

9. พิมพ์ 8 แล้วกด Enter

10. พิมพ์ 5 แล้วกด Enter

11. พิมพ์ 2 แล้วกด Enter

12. พิมพ์ 6 แล้วกด Enter

13. พิมพ์ 4 แล้วกด Enter

14. พิมพ์ 7 แล้วกด Enter

15. คลิกเซลล์ D1 แล้วพิมพ์ x^2+y^2 แล้วกด Enter

16. เลือกเซลล์ D2:D7 แล้วพิมพ์ =b2^2+C2^2 แล้วกด Ctrl+Enter

17. จะแสดงผลให้เห็น

18. คลิกเซลล์ D9 แล้วดับเบิ้ลคลิกปุ่ม Auto Sum จะแสดงผลรวมเป็น 572

19. คลิกเซลล์ D10 แล้วพิมพ์ =sum(b2:b7^2+c2:c7^2) แล้วกด Ctrl+Shift+Enter จะแสดงค่า 572

20. คลิกเซลล์ D11 แล้วพิมพ์ =sumx2py2(b2:b7,c2:c7) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 572

วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน Received และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน Received และวิธีการใช้งาน ฟังก์ชัน Received คือ ฟังก์ชันทางการเงินของ Excel มีหน้าที่ ส่งกลับค่าจำนวนเงินที่ได้รับ ณ วันครบกำหน... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Received และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน Received คือ ฟังก์ชันทางการเงินของ Excel มีหน้าที่ ส่งกลับค่าจำนวนเงินที่ได้รับ ณ วันครบกำหนดสำหรับหลักทรัพย์ที่ลงทุนเต็มจำนวน

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชัน Received คือ Received(settlement,maturity,investment,discount,basis)

Settlement คือ วันที่ทำข้อตกลงของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อ

Maturity คือ วันที่ครบกำหนดชำระของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่หลักทรัพย์หมดอายุลงนั่นเอง

investment คือ จำนวนเงินที่ลงทุนในหลักทรัพย์

Discount คือ อัตราดอกเบี้ยส่วนลดของหลักทรัพย์

basis คือชนิดของหลักเกณฑ์ในการนับจำนวนวัน

สูตรทางคณิตศาสตร์ คือ Received
= Investment/1-discountx(DIM/B)

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฟังก์ชัน Received ก็ได้แก่ Date, Intrate
ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Received

1. เลือกเซลล์ A2:A6 แล้วพิมพ์ Settlement Date แล้วกด Enter พิมพ์ Maturity Date แล้วกด Enter พิมพ์ Investment แล้วกด Enter พิมพ์ Discount แล้วกด Enter พิมพ์ Basis แล้วกด Enter

2. คลิกเซลล์ A8 แล้วพิมพ์ Received Calc แล้วกด Enter คลิกเซลล์ A10 แล้วพิมพ์ Received แล้วกด Enter

3. เลือกเซลล์ B2:B6 แล้วพิมพ์ 15/2/2001 แล้วกด Enter พิมพ์ 15/3/2001 แล้วกด Enter พิมพ์ 10000 แล้วกด Enter พิมพ์ 5.25% แล้วกด Enter พิมพ์ 1 แล้วกด Enter

4. คลิกเซลล์ C2 พิมพ์ b3-b2 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 28/1/2000 จากนั้นให้คลิกเมนู Edit แล้วเลือกคำสั่ง Clear แล้วคลิก Formats จะแสดงค่า 28

5. คลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์=”1/1/2002”-“1/1/2001” แล้วกด Enter จะแสดงค่า 365

6. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =b4/(1-b5*c2/c3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 10040.44

7. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =received(b2,b3,b4,b5,b6) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 10040.44

วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน Mina และ วิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน Mina และ วิธีการใช้งาน ฟังก์ชัน Mina เป็น ฟังก์ชัน ด้านสถิติ ของ Excel Mina เป็น ฟังก์ชัน ที่มีหน้าที่ ส่งกลับค่าที่น้อยที่สุด... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Mina และ วิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน Mina เป็น ฟังก์ชัน ด้านสถิติ ของ Excel

Mina เป็น ฟังก์ชัน ที่มีหน้าที่ ส่งกลับค่าที่น้อยที่สุดในชุดของค่าที่ระบุข้อความและค่าตรรกศาสตร์ ตัวอย่างเช่น True และ False จะนำมาเปรียบเทียบกัน เช่นเดียวกับตัวเลข

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชัน Mina คือ Mina(value1,value2,…)

โดยที่ value1, value2,… คือค่า 1 ถึง 30 ค่าที่ต้องการค้นหาค่าน้อยสุด

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับ ฟังก์ชัน Dmin, Maxa

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน Mina บน Excel ให้เราลองทำตามตัวอย่างต่อไปนี้ แล้วสังเกตผลที่เกิดขึ้น

1. เลือกเซลล์ B2:B8 แล้วพิมพ์ 0.2 แล้กด Enter

2. พิมพ์ 0.7 แล้วกด Enter

3. พิมพ์ 0.5 แล้วกด Enter

4. พิมพ์ 0.48 แล้วกด Enter

5. พิมพ์ 0.24 แล้วกด Enter

6. พิมพ์ 0.6 แล้วกด Enter

7. พิมพ์ 0.8 แล้วกด Enter

8. จากนั้น Copy ไปยัง C2:C8

9. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =min(b2:b8) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.2 หาก พิมพ์ False เข้าไปในเซลล์ B4 แล้วกด Enter ผลที่เซลล์ B10 ก็ยังแสดงค่า 0.2 เช่นเดิม

10. หากพิมพ์ False เข้าไปในเซลล์ C4 แล้วคลิกเซลล์ C10 แล้วพิมพ์ =mina(C2:C8) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0

ฟังก์ชัน Mid และ วิธีใช้งาน

ฟังก์ชัน Mid และ วิธีใช้งาน ฟังก์ชัน Mid เป็น ฟังก์ชัน ประเภทข้อความของ Excel ฟังก์ชัน Mid ทำหน้าที่ ส่งกลับชุดของอักขระที่ถูกแยกจากสา... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Mid และ วิธีใช้งาน

ฟังก์ชัน Mid เป็น ฟังก์ชัน ประเภทข้อความของ Excel

ฟังก์ชัน Mid ทำหน้าที่ ส่งกลับชุดของอักขระที่ถูกแยกจากสายอักขระข้อความตามที่คุณกำหนด โดยเริ่มต้นจากตำแหน่งที่คุณระบุ โดยมีพื้นฐานอยู่บนจำนวนอักขระที่คุณระบุ

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชัน Mid คือ Mid(text,start_num,num_chars)

โดยที่

text คือ สายอักขระข้อความที่มีอักขระที่คุณต้องการแยก

start_num คือ ตำแหน่งของอักขระตัวแรกที่คุณต้องการแยกออกจากสายอักขระ อักขระตัวแรกในสายอักขระจะมี start_num เท่ากับ 1

num_chars ใช้ระบุจำนวนอักขระที่ต้องการให้ฟังก์ชัน Mid ส่งกลับค่าจากข้อความ

num_bytes ใช้ระบุจำนวนอักขระที่ต้องการให้ Mid ส่งกลับค่าจากข้อความ (เป็นขนาดไบต์)

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Code, Find, Left, Right, Search

ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน Mid บน Excel ให้เราทำตามตัวอย่างต่อไปนี้

1. คลิกเซลล์ A2 แล้วพิมพ์ =Computer จากนั้นคลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =mid(a2,2,3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า omp ออกมา

สาเหตุที่แสดงค่า omp ออกมาเพราะว่า เรากำหนดว่าให้ดึงเอาตัวอักขระลำดับที่ 2 เป็นต้นไป แล้วนับไป (นับตั้งแต่อันดับที่ 2 ด้วย) จนครบ 3 ตัว ก็จะได้ omp ออกมา ...

ฟังก์ชัน Min และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน Min และวิธีการใช้งาน ฟังก์ชัน Min จัดเป็น ฟังก์ชัน ทางด้านสถิติของ Excel ฟังก์ชัน Min มีหน้าที่ ส่งกลับจำนวนที่น้อยที่สุดในชุด... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Min และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน Min จัดเป็น ฟังก์ชัน ทางด้านสถิติของ Excel

ฟังก์ชัน Min มีหน้าที่ ส่งกลับจำนวนที่น้อยที่สุดในชุดของค่าที่รุบุ

รูปแบบ สูตร Excel ของ ฟังก์ชัน Min คือ Min(number1,number2,…)

โดยที่ number1, number2, …. คือ ตัวเลขตั้งแต่ 1 ถึง 30 นั่นคือชุดตัวเลขที่เราต้องการหาค่าน้อยที่สุด

ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน Min ให้เราลองพิมพ์สิ่งเหล่านี้ลงบน Excel ที่ sheet 1 ดังนี้

1. เลือกเซลล์ B2:B8 แล้วพิมพ์ 20 จากนั้นกด Enter

2. พิมพ์ 30 แล้วกด Enter

3. พิมพ์ 50 แล้วกด Enter

4. พิมพ์ 48 แล้วกด Enter

5. พิมพ์ 24 แล้วกด Enter

6. พิมพ์ 60 แล้วกด Enter

7. พิมพ์ 80 แล้วกด Enter

8. คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =min(b2,b3,b4,b5,b6,b7,b8) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 20

9. คลิกเซลล์ b11 แล้วพิมพ์ =min(b2:b8) แล้วกด Enter จะแสดงผลเป็น 20

10. คลิกเซลล์ B12 แล้วพิมพ์ =min(b2:b8,10,50) และกด Enter จะแสดงค่า 10 เห็นตัวอย่างข้อนี้ไหมครับ ฟังก์ชัน Min สามารถเลือกค่าตัวเลขจากช่วงบางค่า มาเปรียบเทียบเพื่อหาค่าต่ำสุดได้ เจ๋งเป้งไปเลย

ฟังก์ชัน Median และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน Median และวิธีการใช้งาน ฟังก์ชัน Median เป็นฟังก์ชัน ประเภท สถิติของ Excel ฟังก์ชัน Median ทำหน้าที่ ส่งกลับค่ามัธยฐานหรือจำนว... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Median และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน Median เป็นฟังก์ชัน ประเภท สถิติของ Excel

ฟังก์ชัน Median ทำหน้าที่ ส่งกลับค่ามัธยฐานหรือจำนวนที่อยู่ตรงกลางของชุดจำนวนที่ระบุ นั่นหมายถึง จำนวนครึ่งหนึ่งมีค่ามากกว่าค่ามัธยฐาน และอีกครึ่งหนึ่งของจำนวนมีค่าน้อยกว่าค่ามัธยฐาน

รูปแบบสูตรของ ฟังก์ชัน Median คือ Median(number1,number2….)

โดยที่

number1, number2,…. คือ ตัวเลข ตั้งแต่ 1 ถึง 30 ตัวเลขที่ต้องการหาค่ามัธยฐาน

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Average, Count, Counta, Daverage, Mode, Sum เป็นต้น

ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน Median ให้เราลองทำดังนี้บน Excel
1. ระบายเซลล์ B2:B6 แล้วพิมพ์ 1 จากนั้นกด Enter

2. พิมพ์ 3 แล้วกด Enter

3. พิมพ์ 4 แล้วกด enter

4. พิมพ์ 6 แล้วกด enter

5. พิมพ์ 9 แล้วกด Enter

6. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =median(b2:b6) แล้วกด Enter จะแสดงผลออกมาเป็น 4

7. เลือกเซลล์ C2:C7 แล้วพิมพ์ 1 แล้วกด Enter

8. พิมพ์ 3 แล้กด Enter

9. พิมพ์ 4 แล้วกด Enter

10. พิมพ์ 6 แล้วกด Enter

11. พิมพ์ 9 แล้วกด Enter

12. พิมพ์ 12 แล้วกด Enter

13. คลิกเซลล์ C8 แล้วพิมพ์ =median(c2:c7) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 5

14. หากพิมพ์ 10 ที่เซลล์ C5 แล้วกด Enter จะเห็นผลที่เซลล์ C8 แล้วจะแสดงค่า 6.5 ออกมา

วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน MODE และวิธีใช้งาน

ฟังก์ชัน MODE และวิธีใช้งาน ฟังก์ชัน MODE เป็นฟังก์ชัน ทางด้านสถิติ ของ Excel ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าฐานนิยม (ค่าเกิดขึ้น หรือทำซ้ำบ่อยที่... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน MODE และวิธีใช้งาน

ฟังก์ชัน MODE เป็นฟังก์ชัน ทางด้านสถิติ ของ Excel

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าฐานนิยม (ค่าเกิดขึ้น หรือทำซ้ำบ่อยที่สุด) ในอาร์เรย์ หรือช่วงของข้อมูล ฟังก์ชัน MODE เป็นการวัดตำแหน่งเช่นเดียวกับ MEDIAN

รูปแบบสูตรของฟังก์ชัน MODE คือ MODE(number1,number2,…)

number1, number2.. เป็น 1 ถึง 30 อาร์กิวเมนต์ใดๆ ซึ่งคุณต้องการคำนวณหาค่าฐานนิยม คุณยังสามารถใช้อาร์เรย์เดี่ยวหรือการอ้างอิงที่อาร์เรย์ได้โดยแทนที่เป็นอาร์กิวเมนต์ที่คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Average, Gemomean, Harmean, Median, Trimean

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน MODE

1. เลือกเซลล์ B2:B10 แล้วพิมพ์ 2 แล้วกด Enter พิมพ์ 4 แล้วกด Enter พิมพ์ 6 แล้วกด Enter พิมพ์ 8 แล้วกด Enter พิมพ์ 10 แล้วกด Enter พิมพ์ 12 แล้วกด Enter พิมพ์ 14 แล้วกด Enter พิมพ์ 14 แล้วกด Enter พิมพ์ 18 แล้วกด Enter

2. คลิกเซลล์ B12 แล้วพิมพ์ =mode(b2:b10) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 14 เนื่องจากมีเลขซ้ำกัน

3. หากพิมพ์ 4 ที่เซลล์ B4 และ B5 ผลที่เซลล์ B12 จะแสดงค่า 4 เนื่องจากมีเลข 4 ซ้ำกัน

4. หากพิมพ์ตัวเลขที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละเซลล์ ผลที่เซลล์ B12 จะแสดงค่า #N/A

วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ฟังก์ชัน MOD และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน MOD ใน Excel ฟังก์ชัน MOD คือ ฟังก์ชัน ทางคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าเศษที่เหลือ หลังจากที่ number ถูกหารโดย... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน MOD

ใน Excel ฟังก์ชัน MOD คือ ฟังก์ชัน ทางคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าเศษที่เหลือ หลังจากที่ number ถูกหารโดย Divisor แล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะมีเครื่องหมายเหมือนกับ divisor

รูปแบบสูตรของ ฟังก์ชัน MOD คือ MOD (number,divisor)

โดยที่

วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Excel tips : PMT Function and how to use

PMT Function PMT is a function of the financial of Excel . Serve calculate the payment amount for a loan. The calculation is b... thumbnail 1 summary

PMT Function

PMT is a function of the financial of Excel.

Serve calculate the payment amount for a loan. The calculation is based on a fixed payment and fixed interest rate.

The form of the function PMT: PMT (rate, nper, pv, fv, type).

ฟังก์ชัน PMT และตัวอย่างการใช้งาน

ฟังก์ชัน PMT   ( English Version ) PMT คือ ฟังก์ชัน ประเภทการเงิน ของ Excel ทำหน้าที่ คำนวณหายอดการชำระเงินสำหรับเงินกู้ การคำนวณมีพื้น... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน PMT   (English Version)

PMT คือ ฟังก์ชัน ประเภทการเงิน ของ Excel

ทำหน้าที่ คำนวณหายอดการชำระเงินสำหรับเงินกู้ การคำนวณมีพื้นฐานอยู่บนยอดการชำระเงินที่คงที่และอัตราดอกเบี้ยที่คงที่

รูปแบบสูตรของ ฟังก์ชัน PMT คือ PMT(rate, nper,pv,fv,type)

rate คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้

nper คือ จำนวนงวด (จำนวนครั้ง) ในการชำระเงินทั้งหมดสำหรับเงินกู้

pv คือ ค่า pv (present value เป็นมูลค่าปัจจุบัน) ของการลงทุน : มูลค่าในปัจจุบันของการชำระเงินทุกงวดทั้งหมด

fv คือมูลค่าในอนาคต (Fv-future value) หรือจำนวนเงินที่คุณต้องการให้คงเหลือหลังจากชำระงวดสุดท้าย ถ้าละไว้จะถือว่า fv เป็น 0 (ตัวอย่างเช่น มูลค่าอนาคตของเงินกู้ที่มีค่าเป็น 0)

type เป็นค่าตรรกะที่ระบุกำหนดการชำระเงิน

ฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับ ฟังก์ชัน PMT ก็ได้แก่ fv, ipmt, nper, ppmt, pv, rate

ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน PMT

ฟังก์ชัน Pi และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน Pi และวิธีการใช้งาน ฟังก์ชัน Pi จัดเป็น ฟังก์ชัน ประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ ของ Excel ฟังก์ชัน Pi มีหน้าที่คือ ส่งกลับค่า ... thumbnail 1 summary
ฟังก์ชัน Pi และวิธีการใช้งาน

ฟังก์ชัน Pi จัดเป็น ฟังก์ชัน ประเภท คณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ ของ Excel

ฟังก์ชัน Pi มีหน้าที่คือ ส่งกลับค่า Pi ซึ่งเท่ากับ 3.14159265358979 (ความละเอียด 15 หลัก)

รูปแบบของ ฟังก์ชัน Pi คือ Pi()

ฟังก์ชัน ที่เกี่ยวข้องกับ ฟังก์ชัน Pi ก็ได้แก่ Cos, Sin, Tan

ตัวอย่างการใช้งาน ฟังก์ชัน Pi

1. คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =pi() แล้วกด Enter จะแสดงค่า ออกมาเป็น 3.141592654

2. คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =pi()/2 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1.570796327

3. คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =sin(b3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1

4. คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =degrees(b3) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 90

ฟังก์ชัน pi ไม่มีอะไรมาก ลองใช้ไม่กี่ครั้งก็น่าจะเข้าใจได้ครับ...ฟังก์ชัน pi ที่เห็นมีการนำไปใช้บ่อยๆ (ประยุกต์ใช้) ก็เช่น นำฟังก์ชัน pi ไปใช้ในเรื่องของการสร้างนาฬิกาแบบเข็ม เป็นต้น