วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557

Excel 2010 plus กับ การปัดเศษขึ้นด้วย ฟังก์ชั่น Roundup และ กำหนดจำนวนทศนิยมด้วยตนเอง

Excel 2010 plus กับ การปัดเศษขึ้นด้วย ฟังก์ชั่น Roundup และ กำหนดจำนวนทศนิยมด้วยตนเอง ขึ้นชื่อว่า Excel งานส่วนใหญ่ก็ต้องเกี่ยวกับตัวเลขอย... thumbnail 1 summary

Excel 2010 plus กับ การปัดเศษขึ้นด้วย ฟังก์ชั่น Roundup และ กำหนดจำนวนทศนิยมด้วยตนเอง

ขึ้นชื่อว่า Excel งานส่วนใหญ่ก็ต้องเกี่ยวกับตัวเลขอยู่แล้วละ จริงไหม

Excel เนี่ยมันมีอะไรให้เล่นเยอะเหมือนกัน ยิ่งเวอร์ชั่น 2010 (ทั้งที่ตอนนี้ปี 2014 แล้วน่ะ ) มีฟังก์ชั่นมาให้ใช้เพียบ กล่าวกันไม่หวาดไม่ไหวทีเดียว (ขนาดนั้นเลย)

ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาตามที่ขึ้นหัวข้อไว้ในวันนี้ ผมว่าเราลองย้อนอดีตไปเมื่อสักยุคหลายๆสิบปีก่อนที่จะมี Excel กันเถอะ ลองจินตนาการซิว่า เวลาเราจะทำงานอะไรที่ต้องใช้ ตารางที่มีการคำนวณ งานคำนวณ งานการเงิน การธนาคาร งานด้านตัวเลขต่างๆ ว่ามันยุ่งยากขนาดไหน ลองนึกดูเล่นๆครับ คงพอจะเห็นภาพแล้วใช่ไหมครับ ว่า มันยุ่งจริงๆเชียว เวลาตัวเลขเยอะๆนี่หัวหมุนแน่ แถมถ้าหากต้องทำสรุปพิมพ์ออกมาเป็นรายงานแบบสวยงาม คงไม่ต้องพูดถึง คงทำไม่ได้ หรือ ได้แต่คงแทบจะคางเหลืองตาย... ถ้าไม่ชอบคณิตศาสตร์ไม่ชอบตัวเลข แล้วต้องมาทำงานด้านตัวเลขที่ต้องมีการปัดเศษขึ้น ปัดเศษลงนี่คงยุ่งยากลำบากใจไม่ใช่น้อยเลย ถ้าเลขมีแค่ไม่กี่หลัก ก็คงไม่ใช่เรื่องยุ่งเท่าไหร่ แต่ถ้าเลขเยอะๆละ น่าเบื่อแย่เลย เช่น ถ้าอยากปัดเศษตัวเลข 89426.7894563 ปัดขึ้นให้เหลือแค่ทศนิยม 3 ตำแหน่ง หรือ 4 ตำแหน่ง เป็นต้น

โอเค ถ้ามันมีแค่เลขชุดเดียว เราก็ปัดด้วยตัวเองก็ได้ แต่ถ้ามันมีเลขเยอะล่ะ เช่น





 

ยกตัวอย่างแค่นี้พอน่ะครับ เห็นตัวเลขด้านบนที่ยกตัวอย่างมาใช่ไหมครบ ว่ามันเยอะแค่ไหน น่าปวดหัวตึ๊บแค่ไหน ถ้าไม่มีโปรแกรมอย่าง Excel รับรอง งานนี้จะกลายเป็นงานช้างทันทีครับ

จากเลขข้างตนที่ให้ไว้ ตัวเลขตัวแรกถูกพิมพ์ไว้ที่ เซลล์ a1 บนโปรแกรม Excel นั่นคือตัวเลข 14.63204และตัวเลขสุดท้ายถูกพิมพ์ไว้ที่เซลล์ j18 คือเลข 140.3228 ตัวเลขอื่นๆก็อย่างที่เห็นในภาพด้านบน

หากเราต้องการจะปัดเศษตัวเลขทุกตัวที่อยู่ในเซลล์ตั้งแต่ A1 ถึง j18 (ปัดทุกตัวเลขเลยน่ะครับ ทุกช่อง คือตั้งแต่ a1 a2 a3….a18, b1 b2 b3….b18,c,d,e,f,g,h,I,…….j1 j2 j3….j18) โดยปัดขึ้น ให้เหลือทศนิยมแค่ 3 ตำแหน่งเท่านั้น โดยใช้ Excel โดยผลลัพธ์ที่ได้หลังจากปัดแล้ว สมมุตว่าเราต้องการจะให้ปรากฏที่ช่อง L1 ถึง U18 (L1:U18) เราก็แค่พิมพ์สูตรที่ช่อง L1 ว่า =Roundup (a1,3) แล้วกด Enter เราจะได้ผลลัพธ์ที่ช่อง L1 เท่ากับ 14.633 (ถูกปัดมาจากช่อง a1ที่มีค่า 14.63204)

จากนั้นเราก็ auto fill สูตรที่อยู่ที่ช่อง L1 ให้กับ เซลล์ที่เหลือ จนถึงเซลล์ U 18 ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ เลขทุกตัวถูกปัดเศษขึ้นคงเหลือทศนิยมแค่ 3 ตำแหน่งเท่านั้น ดังภาพผลลัพธ์ด้านล่างครับ


อธิบายเรื่องการ auto fill นิดหนึ่งน่ะครับ สำหรับมือใหม่ ... การ auto fill บน Excel คือ การ ก๊อปปี้สูตรจากเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์อื่นๆ อย่างเช่นเราจะ auto fill สูตรจากช่อง L1 ไปใส่ช่องอื่นๆ จนถึงช่อง U18 ให้เราทำอย่างนี้ครับ

ใช้เม้าส์ชี้ที่ มุมล่างขวาของเซลล์ L1 พอเม้าส์กลายเป็นกากบาทสีดำ เราก็กดเม้าส์ปุ่มซ้ายค้างไว้ แล้วลากไปยังเซลล์ที่ต้องการ เช่น ลากไปที่เซลล์ L2 แล้วปล่อย ผลลัพธ์ที่ได้ จะทำให้ เซลล์ L2 ถูกกำหนดสูตรที่เราเคยพิมพ์ไว้ที่ช่อง L1 ให้โดยอัตโนมัติ โดยเราไม่ต้องพิมพ์เอง

อย่างเช่น จากตัวอย่างนี้ ที่ช่อง L1 เราพิมพ์สูตรว่า =Roundup(a1,3)

พอเรา auto fill มาที่ช่อง L2 ซึ่งเป็นช่องว่างๆ ช่อง L2 จะถูกกำหนดสูตร(ถูกพิมพ์สูตรอัตโนมัติ) ว่า =Roundup(a2,3)

คำถามคือว่า ทำไม มันรู้ว่าต้องเป็น a2 นั่นเป็นเพราะ a2 อยู่ตรงกับ L2 นั่นเอง ...ให้ลอง auto fill ไปที่เซลล์อื่นๆดูน่ะครับ แล้วสังเกตุดูว่าเกิดอะไรขึ้น

การ auto fill มีหลายแบบต้องค่อยๆศึกษาไปครับ ลองทำด้วยตัวเอง จะได้เข้าใจมากขึ้น...เอาล่ะ ตัวอย่างนี้ขอจบเพียงเท่านี้น่ะครับ รู้สึกจะเริ่มยาวแล้ว แล้วพบกันใหม่บทความหน้า