วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การ ใช้ excel ตัด เกรด

การใช้ Excel ตัดเกรด นับว่าเป็นโจทย์ข้อแรกๆที่ผู้เรียน Excel เบื้องต้นต้องเจอกัน อาจารย์ผู้สอนมักจะหยิบเอาตัวอย่างลักษณะนี้มาใช้ในการสอน E... thumbnail 1 summary
การใช้ Excel ตัดเกรด นับว่าเป็นโจทย์ข้อแรกๆที่ผู้เรียน Excel เบื้องต้นต้องเจอกัน อาจารย์ผู้สอนมักจะหยิบเอาตัวอย่างลักษณะนี้มาใช้ในการสอน Excel เสมอ ซึ่งสำหรับผู้เรียน Excel มือใหม่แล้ว มักประสบปัญหาใน การใช้ excel ตัดเกรด นั่นเพราะว่า ความไม่คุณเคยในการเขียนโปรแกรม ทำให้งงเวลาใช้สูตร Excel .... นักศึกษามือใหม่มักประสบปัญหาตั้งแต่แรกเลยก็ว่าได้ เมื่อเจอสูตร if ทั้งที่จริงๆแล้วสูตร if ไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลย...เหตุใดนักศึกษาจึงสับสน..เหตุผลก็คือ ไม่เข้าใจว่า ทำไม ต้องใส่ค่าให้กับฟังก์ชั่น if เช่นนั้น ยกตัวอย่างเช่น อาจารย์ให้โจทย์มาดังนี้
    จงใช้ Excel ตัดเกรด จากเงื่อนไขที่กำหนดให้ต่อไปนี้
คะแนน เกรดที่ได้
50-59 1
60-69 2
70-79 3
80-100 4


สิ่งที่นักศึกษางง คืออะไรครับ ใครตอบได้บ้าง...เฉลยเลยละกัน นับเป็นเรื่องเหลือเชื่อว่า นักศึกษาสามารถเข้าใจสิ่งที่โจทย์ให้ทำ แต่นักศึกษาขาดทักษะในเรื่องการออกแบบหน้าตาโปรแกรม..กล่าวคือ เช่น ช่องกรอกคะแนน  นักศึกษา พยายามออกแบบให้เซลล์คะแนน กรอกตามที่โจทย์กำหนดเป่ะ คือ กรอกเป็นช่วง (กรอก 50-59 เข้าไปเลย ซึ่งทำให้เขียนสูตรยากขึ้น) เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงที่ผู้เขียนพบเจอมากับตัวเองเลย (เพื่อนๆหลายคนเป็น)
   เมื่อนักศึกษาคิดแบบนี้ ทำให้ไม่สามารถใช้ สูตร if ได้ (หมายถึงนักศึกษาคงคิดว่า จะเขียนสูตร if ให้ตรวจสอบว่า =if(a1=50-59,1,0) อันนี้สมมติว่า a1 คือ ช่องให้กรอกคะแนนน่ะ ซึ่งการเขียนสูตรแบบนี้มันผิดครับ เพราะ 50-59 ไม่ใช่ตัวเลขอีกต่อไป เพราะมีเครื่องหมาย - คั่นอยู่
    จริงๆแล้วจากเงื่อนไขที่กำหนดให้มันเป็นเรื่องง่ายๆเท่านั้นเอง...โดยทำดังนี้

จากโจทย์เรารู้ว่าเงื่อนไขต้องการอะไร...คะแนนเท่าไหร่ได้เกรดอะไร
ก็ให้เรานึกภาพขึ้นมาในหัวของเรา ประมาณว่าจินตนาการเข้าไปว่า เราจะออกแบบโปรแกรมประมาณไหน..สมมติว่าจากเงื่อนไขที่อาจารย์ให้มาเป็นเกรดของนักเรียน 4 คน เราก็ออกแบบหน้าตาโปรแกรมประมาณด้านล่างนี้ก็ได้
 
ชื่อ คะแนน เกรดที่ได้
นายก

นายข

นางค

นางจ


โดยให้เว้นช่องคะแนนไว้ว่างๆ....ส่วนช่องเกรด เราก็เว้นว่างเช่นกัน...เพราะช่องเกรดจะแสดงเกรดก็ต่อเมื่อมีคะแนนเข้ามาให้ตรวจสอบเท่านั้น และช่องเกรดนี่เอง คือช่องที่เราต้องเขียน สูตร excel ลงไป
จากภาพจะเห็นว่า เราออกแบบส่วนต่างๆของโปรแกรมนี้ตั้งแต่ เซลล์ A1  เป็นต้นไป
ช่อง C2 คือช่องแรกที่เราต้องเขียน สูตร excel ลงไป เพื่อตรวจสอบ โดยเราใช้ ฟังก์ชั่น if กับ ฟังก์ชั่น and
ซึ่งสูตรทั้งหมดมีความยาวสูตรพอสมควร เพราะเป็นการใช้ if ซ้อน if และมีการใช้ and เข้าไปด้วยทุกครั้ง
และนี่คือสูตรที่ทำให้เงื่อนไขที่โจทย์กำหนดมาเป็นจริงทุกเงื่อนไข
=IF(and(B2>=50,B2<=59),1,IF(and(B2>=60,B2<=69),2,
IF(and(B2>=70,B2<=79),3,IF(and(B2>=80,B2<=100),4,0))))

เราเขียนสูตรนี้ที่ a2 แล้วทำการ copy สูตร แบบ Auto fill ลงมาที่ c2 จนถึง c5
การ auto fill สูตร คือ การที่เราชี้เมาส์ที่สีเหลี่ยมสีดำเล็กที่เซลล์ใดๆ พอเม้าส์กลายเป็นกากบาท เราก็กดเม้าส์ค้างไว้ แล้วลากเม้าส์ลงมาจนถึงเซลล์ที่ต้องการ ในตัวอย่างนี้
ให้เราดูที่ภาพ เราจะเห็นว่า เราพิมพ์สูตรทั้งหมดที่ c2 แล้วเราก็ auto fill (ดูที่ลูกศรสีเขียว) สูตรลงมาที่ c5 แล้วจึงปล่อยเม้าส์...การ auto fill ทำให้เราไม่ต้องพิมพ์สูตรอีก เพราะ excel จะทำการพิมพ์ และอ้างอิงเซลล์ ให้เรียบร้อยแล้ว

ส่วน วิธีใช้ฟังก์ชั่น if และ and เคยอธิบายไปแล้ว ลองค้นหาดูน่ะครับ

Excel กับฟังก์ชั่น IF