วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Excel กับฟังก์ชั่น IMLOG10

Excel กับฟังก์ชั่น IMLOG10 IMLOG10 จัดเป็นฟังก์ชั่นด้านวิศวกรรมของ Excel โดย IMLOG10 ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าลอการิทึมสามัญ (ฐาน 10) ของจำนวนเช... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น IMLOG10

IMLOG10 จัดเป็นฟังก์ชั่นด้านวิศวกรรมของ Excel

โดย IMLOG10 ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าลอการิทึมสามัญ (ฐาน 10) ของจำนวนเชิงซ้อนในรูปแบบข้อความ x+yi หรือ x+yj

รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น IMLOG10 คือ IMLOG10(inumber)

โดยที่ inumber คือ จำนวนเชิงซ้อนที่คุณต้องการหาค่าลอการิทึมสามัญ

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น IMLOG10 บน Excel ให้เราทำดังต่อไปนี้

1. คลิกที่เซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 2+3i

2. ระบายเซลล์ A3:A4 แล้วพิมพ์ x แล้วกด enter พิมพ์ y กด แล้วกด Enter พิมพ์ logEB10

3. ระบายเซลล์ B3:B4 แล้วพิมพ์ 2 จากนั้นกด Enter พิมพ์ 3 แล้วกด enter

4. คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =log10(exp(1)) แล้วกด enterจะโชว์ค่า 0.434294

5. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =in(sqrt(b3^2+b4^2))*b5 และกด enter จะแสดงค่า 0.556972

6. คลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =atan(b4/b3)*b5 แล้วกด enter จะแสดงค่า 0.426822

7. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =complex(b6,b7) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.556971676153418+0.426821890855467i

8. คลิกเซลล์ B9 แล้วพิมพ์ =imlog10(a2) แล้วกด enter จะแสดงค่า 0.556971676153418+0.426821890855467i

Excel กับฟังก์ชั่น IMLOG2

Excel กับฟังก์ชั่น IMLOG2 IMLOG2 เป็นฟังก์ชั่นประเภทวิศวกรรม ทำหน้าที่ส่งกลับค่าลอการิทึมฐาน 2 ของจำนวนเชิงซ้อนในรูปแบบข้อความ x+yi หรือ x+... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น IMLOG2

IMLOG2 เป็นฟังก์ชั่นประเภทวิศวกรรม

ทำหน้าที่ส่งกลับค่าลอการิทึมฐาน 2 ของจำนวนเชิงซ้อนในรูปแบบข้อความ x+yi หรือ x+yj

รูปแบบของฟังก์ชั่น IMLOG2 ที่ใช้บน Excel คือ IMLOG2(inumber)

โดยที่ inumber คือ จำนวนเชิงซ้อนที่คุณต้องการหาค่าลอการิทึมฐาน 2

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น IMLOG2 บน Excel ให้เราลองทำตัวอย่างต่อไปนี้

1. คลิกที่เซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 2+3i

2. ระบายเซลล์ A3:A4 แล้วพิมพ์ x กด Enter แล้วพิมพ์ y แล้วกด Enter พิมพ์ logEB2

3. ระบายเซลล์ B3:B4 พิมพ์ 2 แล้วกด Enter พิมพ์ 3 แล้วกด Enter

4. คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =log(exp(1),2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1.442695

5. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =in(sqrt(b3^2+b4^2))*b5 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1.85022

6. คลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =atan(b4/b3)*b5 แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1.417872

7. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =complex(b6,b7) แล้วกด enter จะแสดงค่า 1.85021985907055+1.41787163074572i

8. คลิกเซลล์ B9 แล้วพิมพ์ =imlog2(a2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 1.85021985921295+1.41787163085485i

Excel กับฟังก์ชั่น IMLN

Excel กับฟังก์ชั่น IMLN IMLN จัดเป็นฟังก์ชั่นวิศวกรรม ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าลอการิทึมของจำนวนเชิงซ้อนในรูปแบบข้อความ x+yi หรือ x+yj รูปแบบสูต... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น IMLN

IMLN จัดเป็นฟังก์ชั่นวิศวกรรม

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าลอการิทึมของจำนวนเชิงซ้อนในรูปแบบข้อความ x+yi หรือ x+yj

รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น คือ IMLN(inumber)

โดยที่ inumber คือ จำนวนเชิงซ้อนที่คุณต้องการหาค่าลอการิทึมธรรมชาติ

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น IMLN ให้เราลองทำดังต่อไปนี้

1. คลิกที่เซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 2+3i

2. ระบายเซลล์ A3:A4 แล้วพิมพ์ X และกด Enter พิมพ์ y แล้วกด Enter

3. ระบายเซลล์ B3:B4 พิมพ์ 2 แล้วกด Enter พิมพ์ 3 แล้วกด Enter

4. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =in(sqrt(b3^2+b4^2)) และกด Enter จะแสดงค่า 1.282475

5. คลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =atan(b4/b3) และกด enter จะแสดงค่า 0.982794

6. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =complex(b6,b7) และกด enter จะแสดงค่า -1.28247467873077+0.982793723247329i

7. คลิกเซลล์ B9 แล้วพิมพ์ =imln(a2) และกด Enter จะแสดงค่า -1.28247467873077+0.982793723247329i

Excel กับฟังก์ชั่น IMEXP

Excel กับฟังก์ชั่น IMEXP IMEXP จัดเป็น ฟังก์ชั่นทางด้านวิศวกรรม ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าเลขชี้กำลังของจำนวนเชิงซ้อนในรูปแบบข้อความ x+yi หรือ x+... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น IMEXP

IMEXP จัดเป็น ฟังก์ชั่นทางด้านวิศวกรรม

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าเลขชี้กำลังของจำนวนเชิงซ้อนในรูปแบบข้อความ x+yi หรือ x+yj

รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น IMEXP คือ IMEXP(inumber)

โดยที่ inumber คือ จำนวนเชิงซ้อนที่คุณต้องการหาค่าเอ็กซ์โพเนนเชียล

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น IMEXP ให้ทำดังนี้

1. ให้คลิกที่เซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 1+2i

2. ระบายเซลล์ A3:A4 พิมพ์ x แล้วกด enter พิมพ์ y แล้วกด enter

3. ระบายเซลล์ B3:B4 พิมพ์ 1 แล้วกด enter พิมพ์ 2 แล้วกด enter

4. คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =exp(b3)*cos(b4) แล้วกด Enter จะได้ผลลัพธ์ เป็น -1.1312

5. คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ว่า =exp(b3)*sin(b4) และกด Enter จะแสดงค่า 2.471727

6. คลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =complex(b5,b6) แล้วกด enter จะแสดงค่า -1.13120438375681+2.47172667200482i

7. คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =imexp(a2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า -1.13120438375681+2.47172667200482i

วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Excel กับการ กำจัดเลขซ้ำ (Remove Duplicates)

Excel กับการ กำจัดเลขซ้ำ (Remove Duplicates) สมมติว่าเรามีข้อมูลเป็นตัวเลขจำนวนเต็มอยู่ที่เซลล์ A1 : A9 เป็น 5,67,74,84,67,9,11,10,67 ... thumbnail 1 summary

Excel กับการ กำจัดเลขซ้ำ (Remove Duplicates)

สมมติว่าเรามีข้อมูลเป็นตัวเลขจำนวนเต็มอยู่ที่เซลล์ A1 : A9 เป็น

5,67,74,84,67,9,11,10,67 ตามลำดับ และเราต้องการจะกำจัดเลขที่ซ้ำกันออกไป เราจะทำได้อย่างไร...

การกรองข้อมูลเอาเลขซ้ำออก เราสามารถทำได้ง่ายๆโดยใช้ฟังก์ชั่นที่ Excel เตรียมไว้ให้ โดยเพียงคลิ้ก แค่คลิ้กเดียว Excel ก็จะจัดการกรองให้เราเรียบร้อยแล้ว

จากตัวอย่างที่ให้มา เราจะเห็นว่ามีเซลล์ที่มีเลขซ้ำกันอยู่ 2 – 3 เซลล์ นั่นคือ เซลล์ A2,A5,A9 ซึ่งมีค่าตัวเลขเท่ากับ 67 อยู่

เราไม่ต้องการให้ เลข 67 แสดงซ้ำ...กล่าวคือให้แสดงเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น ส่วนเลขอื่นๆที่ไม่ซ้ำก็ให้แสดงอย่างคงเดิมอย่างนี้เป็นต้น เราจะสามารถทำงานนี้ได้ดังนี้

· เลือกเซลล์ A1:A9

· คลิ้กที่แท็บ Data ในส่วนของ Data Tools

· คลิ้กที่ Remove Duplicates





· ข้อมูลในเซลล์ดังกล่าวจะถูกจัดใหม่ดังภาพด้านล่างนี้



เราจะเห็นว่าหลังจากที่ใช้คำสั่ง Remove Duplicates แล้ว ค่าซ้ำจะหายไปเหลือเพียงเลขเดียวเท่านั้น และจำนวนข้อมูลก็จะน้อยลงด้วยซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาเมื่อเราได้กำจัดค่าซ้ำไปแล้ว..

วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Excel กับฟังก์ชั่น GAMMADIST

Excel กับฟังก์ชั่น GAMMADIST GAMMADIST เป็นฟังก์ชั่นของ Excel ประเภท สถิติ GAMMADIST ทำหน้าที่ส่งค่าการแจกแจงแบบแกมมา คุณสามารถใช้ฟังก์ชั่น... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น GAMMADIST

GAMMADIST เป็นฟังก์ชั่นของ Excel ประเภท สถิติ

GAMMADIST ทำหน้าที่ส่งค่าการแจกแจงแบบแกมมา คุณสามารถใช้ฟังก์ชั่นนี้ ศึกษาตัวแปรที่อาจมีการแจกแจงเบ้ การแจกแจงแบบแกมมานี้ใช้บ่อยในการวิเคราะห์ลำดับ

รูปแบบสูตร คือ GAMMADIST(x,alpha,beta,cumulative)

x คือ ค่าที่ต้องการประเมินหาการแจกแจง

alpha คือ พารามิเตอร์ของการแจกแจง

beta คือ พารามิเตอร์ที่ใช้ในการประเมินผลการแจกแจง ถ้าค่า beta=1

ฟังก์ชั่น GAMMADIST จะส่งกลับการแจกแจงแบบแกมมามาตรฐาน

cumulative คือ ค่าตรรกะที่ใช้กำหนดรูปแบบของฟังก์ชั่น ถ้าใช้ค่า TRUE

ฟังก์ชั่น GAMMADIST จะส่งกลับค่าฟังก์ชั่นความน่าจะเป็นรวม

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ CHIDIST, EXPONDIST, GAMMAINV

ให้ลองทำตามตัวอย่างต่อไปนี้ แล้วสังเกตผลลัพธ์

1 คลิกที่เซลล์ A2:B5 แล้วพิมพ์ X และกด Enter พิมพ์ Alpha และกด Enter พิมพ์ Beta และกด Enter พิมพ์ Cumulative และกด Enter พิมพ์ 20 และกด Enter พิมพ์ 6 และกด Enter พิมพ์ 3 และกดEnter พิมพ์ FALSE และกด Enter

2 คลิกที่เซลล์ C2 แล้วพิมพ์ 20 และกด Enter พิมพ์ 6 และกด Enter พิมพ์ 3 และกด Enter พิมพ์ TRUE แล้วกด Enter

3 คลิกเซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =gammadist(b2,b3,b4,b5) และกด Enter จะแสดงค่า 0.046553

4 Auto Fill ที่เซลล์ B7 ไปที่เซลล์ C7 จะเห็นที่เซลล์ C7 แสดงผลเป็น 0.654715

Excel กับฟังก์ชั่น FVSCHEDULE

Excel กับฟังก์ชั่น FVSCHEDULE FVSCUEDULE คือ ฟังก์ชั่นประเภทการเงิน FVSCUEDULE เป็นฟังก์ชั่นของ Excel ที่ทำหน้าที่ ส่งกลับมูลค่าอนาคตของเงิ... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น FVSCHEDULE

FVSCUEDULE คือ ฟังก์ชั่นประเภทการเงิน

FVSCUEDULE เป็นฟังก์ชั่นของ Excel ที่ทำหน้าที่ ส่งกลับมูลค่าอนาคตของเงินต้นแรกเริ่มหลังจากการใช้ชุดอัตราดอกเบี้ยทบต้นต่างๆ ให้เราใช้ FVSCHEDULE เพื่อคำนวณมูลค่าอนาคตของการลงทุนที่มีอัตราผันแปรหรืออัตราปรับเปลี่ยน

รูปแบบของฟังก์ชั่น FVSCHEDULE คือ FVSCHEDULE(principal,schedule)

principal คือ มูลค่าปัจจุบัน

schedule คือ อาร์เรย์ของอัตราดอกเบี้ยที่ใช้

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ฟังก์ชั่น FV

ให้ทดลองทำตามตัวอย่างต่อไปนี้

1 คลิกที่เซลล์ A2 แล้วพิมพ์ PV และกด Enter พิมพ์ Rate 1 และกด Enter พิมพ์ Rate 2 และกด enter พิมพ์ Rate 3 และกด Enter

พิมพ์ Rate 4 และกด Enter พิมพ์ Rate 5 และกด Enter พิมพ์ Rate 6 และกด Enter

2 คลิกที่เซลล์ B2 แล้วพิมพ์ 10000 และกด Enter พิมพ์ 4.00% และกด Enter พิมพ์ 3.50% และกด Enter พิมพ์ 3.00% และกด Enter พิมพ์ 2.50% และกด Enter พิมพ์ 3.00% และกด Enter พิมพ์ 3.50% และกดEnter

3 คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =fvschedule(b2,b3:b8) และกด Enter จะแสดงค่า 12114.69

Excel กับฟังก์ชั่น FIXED

Excel กับฟังก์ชั่น FIXED ฟังก์ชั่น FIXED เป็นฟังก์ชั่นประเภทข้อความ ทำหน้าที่ ปัดเศษจำนวนตามตำแหน่งทศนิยมที่ระบุ และส่งค่าผลลัพธ์กลับเป็นข้... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น FIXED

ฟังก์ชั่น FIXED เป็นฟังก์ชั่นประเภทข้อความ

ทำหน้าที่ ปัดเศษจำนวนตามตำแหน่งทศนิยมที่ระบุ และส่งค่าผลลัพธ์กลับเป็นข้อความที่มีหรือไม่มีเครื่องหมายจุลภาค

รูปแบบสูตร คือ FIXED(number, decimals, no_commas)

number คือ ตัวเลขที่คุณต้องการปัดเศษทศนิยม และแปลงไปเป็นข้อความ

decimals คือจำนวนตัวเลขที่อยู่ทางขวาของจุดทศนิยม

no_commas คือค่าตรรกะ (ถ้ามีค่าเป็น True) ที่ใช้กำหนดให้ฟังก์ชั่น FIXED แสดงผลลัพธ์เป็นข้อความที่ไม่มีเครื่องหมายจุลภาค

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ DOLLAR, ROUND, TEXT, VALUE

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น FIXED ให้ทำตามดังนี้

1 ระบายเซลล์ A2:A7 แล้วพิมพ์ 12345.6789 แล้วกด Ctrl+ Enter

2 คลิกที่เซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =Fixed(a2) และกด Enter จะโชว์ 12,345.68

3 คลิกที่เซลล์ C2 แล้วพิมพ์ =fixed(a2) และกด Enter จะแสดงค่า 12,345.68 หากต้องการล้างสูตร ให้กดปุ่ม F2 และ F9 จากนั้นกดปุ่ม enter

4 คลิกที่เซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =fixed(a3,1) และกด Enter จะโชว์ 12,345.7

5 คลิกที่เซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =fixed(a4,-3) และกด Enter จะโชว์ 12,345.679

6 คลิกที่เซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =fixed(a5,-1) และกด Enter จะแสดงค่า 12,350

7 คลิกที่เซลล์ A5 แล้วพิมพ์ 12344.6789 และกด Enter จะเห็นที่เซลล์ B5 แสดงค่า 12,340

8 คลิกที่เซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =fixed(a6,-2) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 12,300

9 คลิกที่เซลล์ A6 แล้วพิมพ์ 12365.6789 แล้วกด Enter จะเห็นที่เซลล์ B6 โชว์ 12,400

10 คลิกที่เซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =fixed(a7,2,true) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 12345.68

Excel กับฟังก์ชั่น Fisherinv

Excel กับฟังก์ชั่น Fisherinv Fisherinv จัดเป็นฟังก์ชั่นทางด้าน สถิติ ทำหน้าที่คือ ส่งกลับค่าผกผันของการแปลง Fisher ใช้การแปลงนี้เมื่อวิเครา... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น Fisherinv

Fisherinv จัดเป็นฟังก์ชั่นทางด้าน สถิติ

ทำหน้าที่คือ ส่งกลับค่าผกผันของการแปลง Fisher ใช้การแปลงนี้เมื่อวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างช่วง หรืออาร์เรย์ข้อมูลของคุณ ถ้า y=fisher(x) แล้ว Fisherinv(y)=x

รูปแบบสูตร คือ Fisherinv(y)

y คือค่าที่คุณต้องการใช้แสดงค่าผกผันของการแปลง Fisher

ฟังก์ชั่นที่มีความเกี่ยวข้องกัน ได้แก่ Correl, Covar, Fisher

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น Fisher มีดังนี้

1 คลิกที่เซลล์ B2 แล้วพิมพ์ 0.549306

2 คลิกที่เซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =(exp(2*b2)-1)/(exp(2*b2)+1) และกด Enter จะได้ค่า 0.5

3 คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =fisherinv(b2) และกด Enter จะได้ค่า 0.5 ซึ่งจะได้ผลเหมือนกันกับเซลล์ B3

4 คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =fisher(b4) และกด Enter จะได้ค่า 0.549306

Excel กับฟังก์ชั่น FISHER

Excel กับฟังก์ชั่น FISHER FISHER คือ ฟังก์ชั่นทางด้านสถิติ ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าการแปลง Fisher ที่ x การแปลงนี้ให้ฟังก์ชั่นประมาณของการแจกแจ... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น FISHER

FISHER คือ ฟังก์ชั่นทางด้านสถิติ

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าการแปลง Fisher ที่ x การแปลงนี้ให้ฟังก์ชั่นประมาณของการแจกแจงแบบปกติมากกว่าแบบเบ้ (Skew) ใช้ฟังก์ชั่นนี้ทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์

รูปแบบสูตร Fisher(x)

x คือค่าที่คุณต้องการทำการแปลง

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องกัน ได้แก่ Correl, covar, fisherinv

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น Fisher มีดังนี้

1 คลิกที่เซลล์ A2 แล้วพิมพ์ x จากนั้นคลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ 0.25

2 คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =.5*Ln((1+b2)/(1-b2)) และกด Enter จะโชว์ 0.255413

3. คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =fisher(b2) และกด Enter จะแสดงค่า 0.255413

Excel กับฟังก์ชั่น FINV

Excel กับฟังก์ชั่น FINV FINV เป็นฟังก์ชั่นทางด้าน สถิติ ทำหน้าที่ คือ ส่งกลับค่าผกผันของค่า F ของการแจกแจงความน่าจะเป็น ถ้า p =FDIST(x,…) ค... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น FINV

FINV เป็นฟังก์ชั่นทางด้าน สถิติ

ทำหน้าที่ คือ ส่งกลับค่าผกผันของค่า F ของการแจกแจงความน่าจะเป็น ถ้า p =FDIST(x,…) ค่า FINV(p,…)=x สามารถใช้ค่า F ของการแจกแจง ในการทดสอบแบบ F ที่เปรียบเทียบองศาความแปรปรวนในชุดข้อมูลสองชุด ตัวอย่าง เช่น คุณสามารถวิเคราะห์การกระจายรายได้ในสหรัฐอเมริกา และแคนาดาเพื่อหาว่าสองประเทศนี้มีระดับการกระจายคล้ายคลึงกันหรือไม่

รูปแบบสูตร คือ FINV(probability,degrees_freedom1,degrees_freedom2)

probability คือ ค่าความน่าจะเป็นที่หาได้จากการแจกแจงสะสม F

degrees_freedom1 คือองศาความเป็นอิสระตัวเศษ

degrees_freedom2 คือองศาความเป็นอิสระตัวส่วน

ฟังก์ชั่นที่มีความเกี่ยวข้องก็ได้แก่ FDIST, FTEST

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น FINV


1 ให้ระบายเซลล์ A2:A4 แล้วพิมพ์ Probability และกด Enter พิมพ์ Degree of freedom 1 และกด Enter พิมพ์ Degree offreedom 2 และกด Enter

2 ระบายเซลล์ B2:B4 แล้วพิมพ์ 0.025 และกดEnter พิมพ์ 4 และกด Enter พิมพ์ 5 แล้วกด enter

3 คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =finv(b2,b3,b4) และกด Enterจะโชว์ 7.387882

4 คลิกเซลล์ B8แล้วพิมพ์ =fdist(b6,b3,b4) และกด Enter จะแสดงค่า 0.025

Excel กับฟังก์ชั่น FDIST

Excel กับฟังก์ชั่น FDIST FDIST จัดเป็นฟังก์ชั่นทางด้าน สถิติ ทำหน้าที่ คือ ส่งกลับค่า F ของการแจกแจงความน่าจะเป็น (Degree of diversity) สำห... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น FDIST

FDIST จัดเป็นฟังก์ชั่นทางด้าน สถิติ

ทำหน้าที่ คือ ส่งกลับค่า F ของการแจกแจงความน่าจะเป็น (Degree of diversity) สำหรับชุดข้อมูล 2 ชุด

รูปแบบสูตร คือ FDIST(x,degrees_freedom1,degrees_freedom2)
x คือค่าซึ่งใช้ประเมินฟังก์ชั่น

degrees_freedom1 คือ องศาความเป็นอิสระตัวเศษ

degrees_freedom2 คือ องศาความเป็นอิสระตัวส่วน

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง FINV, FTEST

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น FDIST มีดังต่อไปนี้

1 ระบายเซลล์ A2:A4 แล้วพิมพ์ X และกด Enter พิมพ์ Degree of freedom 1 และกด Enter พิมพ์ Degree of freedom 2

2 ระบายเซลล์ B2:B4 แล้วพิมพ์ 7.387882 และกด Enter พิมพ์ 4 และกด Enter พิมพ์ 5

3 คลิกเซลล์ B6 พิมพ์ =fdist(b2, b3, b4) และกด Enter จะแสดงค่า 0.0025

วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Excel กับฟังก์ชั่น Fact

Excel กับฟังก์ชั่น Fact ฟังก์ชั่น Fact จัดเป็นฟังก์ชั่นทางด้านคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ ทำหน้าที่ คือ ส่งกลับค่าแฟกทอเรียลของตัวเลขที่ระบุ (เ... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น Fact

ฟังก์ชั่น Fact จัดเป็นฟังก์ชั่นทางด้านคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

ทำหน้าที่ คือ ส่งกลับค่าแฟกทอเรียลของตัวเลขที่ระบุ (เท่ากับ 1*2*3 …* nuber)

สูตร คือ Fact(number)

โดยที่ number คือ ตัวเลขที่ไม่เป็นลบที่คุณต้องการหาค่าแฟกทอเรียล ถ้า number ไม่ใช่จำนวนเต็ม ก็จะถูกปัดเศษทิ้ง

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง กัน คือ Factdouble, product

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น fact มีดังนี้

1 คลิกที่เซลล์ a2 แล้วพิมพ์ 4 จากนั้นคลิกที่เซลล์ b2 แล้วพิมพ์ =fact(a2) และกด Enter จะแสดงค่า 24

2 คลิกที่เซลล์ A3 แล้วพิมพ์ 0 จากนั้นคลิกที่เซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =fact(a3) และกด Enter จะโชว์ 1

3 คลิกที่เซลล์ A4 แล้วพิมพ์ 2 จากนั้นคลิกที่เซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =fact(a4) และกด Enter จะโชว์ 2

4 คลิกที่เซลล์ A5 แล้วพิมพ์ 3.8 จากนั้นคลิกที่เซลล์ b5 แล้วพิมพ์ =fact(a5) และกด Enter จะโชว์ 6

5 คลิกที่เซลล์ a6 แล้วพิมพ์ -5 จากนั้นคลิกที่เซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =fact(a6) แล้วกด Enter จะแสดงค่า #NUM!

6 คลิกที่เซลล์ A7 แล้วพิมพ์ a จากนั้นคลิกที่เซลล์ B7 แล้วพิมพ์ =fact(a7) และกด Enter จะแสดงค่า #VALUE!

Excel กับฟังก์ชั่น EXP

Excel กับฟังก์ชั่น EXP ฟังก์ชั่น EXP จัดเป็นฟังก์ชั่นคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ ทำหน้าที่ ส่งคลับค่า e ยกกำลังจำนวนที่ระบุค่าคงที่ e เท่ากับ 2... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น EXP

ฟังก์ชั่น EXP จัดเป็นฟังก์ชั่นคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

ทำหน้าที่ ส่งคลับค่า e ยกกำลังจำนวนที่ระบุค่าคงที่ e เท่ากับ

2.71828182845904 ซึ่งเป็นฐานของลอการึทึมธรรมชาติ

รูปแบบสูตร คือ EXP(number)

โดยที่ number คือ เลขชี้กำลังที่นำไปใช้ยกกำลังค่าฐาน e

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ IMEXP, LN, LOG, POWER

ตัวอย่างการใช้

1 คลิกที่เซลล์ A2 แล้วพิมพ์ 1

2 คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =exp(a2) และกด Enter จะแสดงค่า 2.71828

3 คลิกที่เซลล์ A3 แล้วพิมพ์ 2

4 คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =exp(a3) และกด Enter จะแสดงค่า 7.389056

5 คลิกเซลล์ C3 แล้วพิมพ์ =b2^a3 และกด Enter จะโชว์ค่า 7.389056

6 คลิกเซลล์ D3 แล้วพิมพ์ =Ln(b3) และกด Enter จะแสดงค่า 2

Excel กับฟังก์ชั่น CUMIPMT

Excel กับฟังก์ชั่น CUMIPMT CUMIPMT เป็นฟังก์ชั่นประเภท การเงิน ทำหน้าที่ คืนค่าดอกเบี้ยสะสมที่มีการชำระเงินกู้ระหว่างคาบเวลาแรกและคาบเวลาสิ... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น CUMIPMT

CUMIPMT เป็นฟังก์ชั่นประเภท การเงิน

ทำหน้าที่ คืนค่าดอกเบี้ยสะสมที่มีการชำระเงินกู้ระหว่างคาบเวลาแรกและคาบเวลาสิ้นสุด

รูปแบบสูตร ของฟังก์ชั่น CUMIPMT คือ CUMIPMT(rate,nper,pv,start_period,end_period,type)

rate คือ อัตราดอกเบี้ย

nper คือ จำนวนครั้งทั้งหมดของการชำระเงิน

pv คือ มูลค่าปัจจุบัน

start_period คือคาบเวลาแรกในการคำนวณ ซึ่งคาบเวลาการจ่ายเงินเป็นจำนวนที่เริ่มต้นด้วย 1

end_period คือคาบเวลาสิ้นสุดในการคำนวณ

type คือการกำหนดเวลาของการจ่ายเงิน

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง เช่น CUMPRINC, IMPT

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น CUMIPMT

1 ระบายเซลล์ A1:A6 แล้วพิมพ์ Rate และกด Enter พิมพ์ Nperiods และกด Enter พิมพ์ PV และกด Enter

2 พิมพ์ Start period และกด Enter พิมพ์ end period และกด Enter พิมพ์ type และกด Enter

3 ระบายเซลล์ B1:B6 แล้วพิมพ์ 8% และกด Enter พิมพ์ 10 และกด Enter พิมพ์ 10000 และกด Enter

4 พิมพ์ 1 และกด Enter พิมพ์ 3 และกด Enter พิมพ์ 0 และกด Enter

5 ระบายเซลล์ D1:D6 แล้วพิมพ์ Rate และกด Enter พิมพ์ Nperiods และกด Enter พิมพ์ PV และกด Enter

6 พิมพ์ Start period และกด Enter พิมพ์ end periodและกด Enter พิมพ์ type และกด Enter

7 ระบายเซลล์ E1:E6 แล้วพิมพ์ 8% และกด Enter พิมพ์ 10 และกด Enter พิมพ์ 10000 และกด Enter

8 พิมพ์ 1 และกด Enter พิมพ์ 1 และกด Enter พิมพ์ 0 และกด Enter

9 ระบายเซลล์ F1:F6 แล้วพิมพ์ 8% และกด Enter พิมพ์ 10 และกด Enter พิมพ์ 10000 และกด Enter

10 พิมพ์ 2 และกด Enter พิมพ์ 2 และกด Enter พิมพ์ 0 และกด Enter

11 ระบายเซลล์ G1:G6 แล้วพิมพ์ 8% และกด Enter พิมพ์ 10 และกด Enter พิมพ์ 10000 และกด Enter

12 พิมพ์ 3 และกด Enter พิมพ์ 3 และกด Enter พิมพ์ 0 และกด Enter

13 คลิกเซลล์ B8 แล้วพิมพ์ =cumipmt(b1,b2,b3,b4,b5,b6) แล้วกด Enter จะแสดงค่า -2229.91

14 คลิกเซลล์ E8 แล้วพิมพ์ =imt(e1,e4,e2,e3) แล้วกด Enter จะแสดง $-800.00 จากนั้น Auto Fill สูตรจากเซลล์ E8 ไปยังเซลล์ G8จะได้ผล คือ $-744.78 และ $-685.13

15 คลิกเซลล์ D8 แล้วคลิกปุ่ม Auto Sum จากนั้นระบาย E8:G8 และกด Enterจะแสดงค่า $-2,229.91

Excel กับฟังก์ชั่น CRITBINOM

Excel กับฟังก์ชั่น CRITBINOM CRITBINOM คือฟังก์ชั่นประเภท สถิติ ทำหน้าที่ส่งกลับค่าที่น้อยที่สุดที่ทำให้การแจกแจงแบบทวินามสะสม (Cumulative ... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น CRITBINOM

CRITBINOM คือฟังก์ชั่นประเภท สถิติ ทำหน้าที่ส่งกลับค่าที่น้อยที่สุดที่ทำให้การแจกแจงแบบทวินามสะสม (Cumulative binomial distribution) มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับค่าเกณฑ์ ใช้ฟังก์ชั่นนี้กับโปรแกรมประยุกต์ประกันคุณภาพ ตัวอย่างเช่น ใช้ CRITBINOM ในการหาจำนวนสูงสุดของชิ้นส่วนที่บกพร่องที่มาจากสายการผลิตที่ดำเนินการโดยไม่ปฏิเสธหมดทั้งชุด

รูปแบบสูตร คือ CRITBINOM(trials,probability_s,alpha)

trials คือ จำนวนครั้งของการทดลองเบอร์นูลี (Bernoulli Trials)

Probability_s คือความน่าจะเป็นที่จะได้รับผลสำเร็จนในการทดลองแต่ละครั้ง

alpha คือ ค่าเกณฑ์

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง คือ BINOMDIST, COMBIN, FACT, HYPGEOMDIST,NEGBINOMDIST, PERMUT,PROB

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น CRITBINOM

1 ระบายเซลล์ A1:A3 แล้วพิมพ์ Trial แล้วกด Enter พิมพ์ Prob และกด Enter พิมพ์ Alpha และกด Enter

2 ระบายเซลล์ B1:B3 แล้วพิมพ์ 20 และกด Enter พิมพ์ 0.4 และกด Enter พิมพ์ 0.125599 และกด Enter

3 คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =Critbinom(b1,b2,b3) และกด Enter จะแสดงค่า 5

4 ระบายเซลล์ A7:A10 แล้วพิมพ์ Number S และกด Enter จากนั้น พิมพ์ Trails และกด Enter

5 พิมพ์ Probability และกด Enter แล้วพิมพ์ Cumulative และกด Enter

6 ระบายเซลล์ B7:B10 แล้วพิมพ์ 11 และกด Enter จากนั้นพิมพ์ 20 และกด enter

7 พิมพ์ 0.4 และกด Enterแล้วพิมพ์ FALSE และกดEnter

8 ระบายเซลล์ C7:C10 แล้วพิมพ์ 5 และกด Enter จากนั้นพิมพ์ 20 และกด Enter

9 พิมพ์ 0.4 และกด Enter แล้วพิมพ์ TRUE และกด Enter

10 คลิกเซลล์ B12 แล้วพิมพ์ =Binomdist(b7,b8,b9,b10) และกด Enter จะได้ 0.070995

11 คลิกเซลล์ C12 แล้วพิมพ์ =Binomdist(c7,c8,c9,c10) และกด Enter จะได้ 0.125599

Excel กับฟังก์ชั่น COVAR

Excel กับฟังก์ชั่น COVAR COVAR คือฟังก์ชั่นประเภทสถิติ ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าความแปรปรวนร่วม (Covariance) ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของผลคูณของส่วนเบี... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น COVAR

COVAR คือฟังก์ชั่นประเภทสถิติ

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าความแปรปรวนร่วม (Covariance) ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของผลคูณของส่วนเบี่ยงเบนสำหรับแต่ละจุดข้อมูล ใช้ค่าความแปรปรวนร่วมเพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างสองชุดข้อมูล ตัวอย่างเช่น คุณสามารถตรวจสอบได้ว่ารายได้จะสูงขึ้นตามระดับการศึกษาที่สูงขึ้นหรือไม่

รูปแบบสูตร COVAR(array1,array2)

array1 คือ ช่วงเซลล์แรกของจำนวนเต็ม

array2 คือ ช่วงเซลล์ที่ 2 ของจำนวนเต็ม

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ CORREL, FISHER, FISHERINV

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น COVAR

1 ระบายเซลล์ B1:B6 แล้วพิมพ์ X และกด Enter พิมพ์ 3 และกด Enter พิมพ์ 2 และกด Enter พิมพ์ 4 และกด Enter

2 พิมพ์ 5 และกด Enter พิมพ์ 6 และกด Enter

3 ระบายเซลล์ C1:C6 แล้วพิมพ์ Y และกด Enter พิมพ์ 9 และกด Enter พิมพ์ 7 และกด Enter พิมพ์ 12 และกด Enter

4 พิมพ์ 15 และกด Enter พิมพ์ 17 และกด Enter

5 คลิกเซลล์ A8 แล้วพิมพ์ Mean

6 ระบายเซลล์ B8:C8 จากนั้นพิมพ์ =average(b2:b6) กดปุ่ม Ctrl+Enter จะแสดงค่า 4 และเลข 12

7 คลิกเซลล์ D2 แล้วพิมพ์ =(b2-$b$8)*(c2-$c$8) และกด Enter จะแสดง 3 จากนั้น Auto Fill สูตรจากเซลล์ D2 ไปยังเซลล์ D6

8 คลิกเซลล์ D7 แล้วคลิกปุ่ม Auto Sum จะได้ผลรวม 26

9 คลิกเซลล์ B10 แล้วพิมพ์ =D7/count(b2:b6) และกดปุ่ม Enter

จะแสดงค่า 5.2

10 คลิกเซลล์ B12 แล้วพิมพ์ =covar(b2:b6,c2:c6) และกด Enter จะแสดงค่า 5.2

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Excel กับ Chart แบบ พิเศษ

Excel กับ Chart แบบ พิเศษ ในกรณีที่เราไม่ชอบ Chart ที่ Excel เตรียมมาให้ ด้วยเหตุผลว่า Chart ของ Excel มันใหญ่เทอะทะไป ใช้พื้นที่แสดงผลเยอ... thumbnail 1 summary

Excel กับ Chart แบบ พิเศษ

ในกรณีที่เราไม่ชอบ Chart ที่ Excel เตรียมมาให้ ด้วยเหตุผลว่า Chart ของ Excel มันใหญ่เทอะทะไป ใช้พื้นที่แสดงผลเยอะ กินพื้นที่ อะไรอย่างนี้...

Excel มีทางเลือกในการแสดง chart แบบใหม่ประหยัดพื้นที่ให้ แถมดูดี มีระดับอีกด้วย ผมเองก็รู้สึกชอบเช่นกัน...เราสามารถใช้ Chart แบบ Sparkline ในการแสดงผล graph แสดงค่าแนวโน้ม แสดงเทรนด์ของค่าต่างๆได้ แม้ว่า Sparkline อาจจะมีให้เลือกแค่ไม่กี่แบบคือ กราฟเส้น และ กราฟแท่งก็ตามเถอะ แต่เวลาเอามาใช้งานแล้วมัน work ใช่ย่อยเลย

Sparkline จะแสดงบริเวณเซลล์ต่อจากเซลล์ข้อมูลตัวเลขที่เราใช้เป็นข้อมูลใน การ plot Graph…โดย Excel จะให้ Sparkline แสดงอยู่ภายในเซลล์ที่เราเลือกจะให้แสดงเท่านั้น..นับว่า ประหยัดพื้นที่ของ Sheet มากๆ

ใครที่ยังไม่เคยใช้ Sparkline มาก่อน ขอแนะนำให้ลองเลย รับรองจะชอบเหมือนผม...พูดเชียร์ซะขนาดนั้น...ไม่ได้แปลว่า Chart มาตรฐานที่ Excel มีมาให้ไม่ดีน่ะครับ ต้องขอบอกว่าดีอยู่แล้ว และก็ค่อนข้างจะยืดหยุ่นมีให้เลือกหลายแบบมากกว่า และยังสามารถที่จะสร้าง Chart เป็นแบบอื่นๆได้ จากฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์ที่ Excel เตรียมมาให้ อีกด้วย ความใหญ่ของพื้นที่แสดงผลเราสามารถปรับลดขนาดได้. ตามใจชอบอีกด้วย

พูดมาเยอะเลย งั้นเรามาลองใช้ Sparkline แสดงเทรนด์ (Trend) หรือ plot graph ดูดีกว่า ในตัวอย่างนี้จะแสดง Graph ลักษณะระดับเงินเดือนในแต่ละเดือนของการทำงานพิเศษ(สมมุติขึ้น)

ให้เราทำตามตัวอย่างด้านล่างนี้เลยครับ

1 พิมพ์ข้อมูลตามภาพที่เห็น

2 click ที่ insert

3 คลิ้กที่ Line ตรงบริเวณ Sparklines

4 กล่องโต้ตอบ Create Sparklines จะปรากฏขึ้นมา

5 ในช่อง Data Range : พิมพ์ B2:F2

6 ในช่อง Location Range : พิมพ์ $G$2

7 กด Ok แล้วเลือก Style ของ Sparklines ตามที่ต้องการ

8 ที่ช่องเซลล์ G2 จะปรากฏ กราฟเส้นขึ้น และนี่ก็คือ Sparkline ที่เราได้พูดถึงมาตั้งแต่ต้นนั่นเอง

ส่วนที่ช่องอื่นๆก็ ให้ทำเช่นเดียวกัน โดยให้เรากำหนดช่อง Data range,location range ให้ถูกก็พอ...ดูภาพสำเร็จด้านล่างครับ แล้วจะเข้าใจดีว่า Sparkline คืออะไร


Excel กับฟังก์ชั่น COUPPCD

Excel กับฟังก์ชั่น COUPPCD COUPPCD คือฟังก์ชั่นประเภทการเงิน ทำหน้าที่ ส่งกลับจำนวนที่แสดงวันที่บนหน้าตั๋วก่อนวันที่ซื้อตั๋วก่อนหน้านี้ เมื... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น COUPPCD

COUPPCD คือฟังก์ชั่นประเภทการเงิน ทำหน้าที่ ส่งกลับจำนวนที่แสดงวันที่บนหน้าตั๋วก่อนวันที่ซื้อตั๋วก่อนหน้านี้ เมื่อต้องการดูหมายเลขเป็นวันที่ ให้คลิกที่เซลล์ในเมนูรูปแบบ คลิกที่วันที่ในกล่องประเภท และคลิกรูปแบบวันที่ในกล่องชนิด

รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น คือ COUPPCD(settlement,maturity,frequency,basis)

settlement คือ วันที่ทำข้อตกลงของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อ

maturity คือวันที่ครบกำหนดชำระของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่หลักทรัพย์หมดอายุลงนั่นเอง

frequency คือจำนวนครั้งในการชำระค่าตราสารต่อปี ในกรณีที่เป็นการชำระแบบรายปี frequency =1 ถ้าเป็นการชำระแบบรายครึ่งปี frequency =2 และถ้าเป็นการชำระแบบรายไตรมาส frequency=4

basis คือ ชนิดของหลักเกณฑ์ในการนับจำนวนวัน

ฟังก์ชันที่มีความเกี่ยวข้อง เช่น COUPPDAYBS, COUPDAYS, COUPDAYSNC, COUPNCD, COUPNUM, DATE

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น COUPPCD

1 ให้ระบายเซลล์ A1:A4 แล้วพิมพ์ settlement และกด Enter

2 พิมพ์ maturity และกด Enter พิมพ์ frequency และกด Enter พิมพ์ basis และกด Enter

3 ระบายเซลล์ B1:B4 แล้วพิมพ์ 5-Feb-00 และกด Enter

4 พิมพ์ 1-Jan-01 และกด Enter พิมพ์ 2 และกด Enter พิมพ์ 1 และกด Enter

5 คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =COUPPCD(b1,b2,b3,b4) และกด Enter จะแสดงค่า 1-Jan-00

Excel ตอน การสร้าง Chart รูปกางเกงขายาว

Excel ตอน การสร้าง Chart รูปกางเกงขายาว Make a Trouser Chart หมู่นี้ทำไม เนย โชติกา สวยจังน่ะ หุๆ พอดีนั่งทำงานไป ดูละครไป เหลือบไปเห็น เน... thumbnail 1 summary

Excel ตอน การสร้าง Chart รูปกางเกงขายาว

Make a Trouser Chart

หมู่นี้ทำไม เนย โชติกา สวยจังน่ะ หุๆ พอดีนั่งทำงานไป ดูละครไป เหลือบไปเห็น เนย โชติกาเล่นละครทางช่อง 3 ไม่รู้ว่าเรื่องอะไร แบบว่าไม่ได้ตั้งใจดูขนาดนั้น แค่แว็บๆน่ะ...ผมว่าเลิกสนใจสาวๆดีกว่า มาทำงาน Excel ของเรากันต่อดีกว่า

การสร้าง Chart หรือ Graph บน Excel โดยเฉพาะ Chart แปลกๆ มีคนอยากรู้เยอะจริงๆ ...ไม่รู้ว่าเพราะอะไร สงสัยจะอยากชมอะไรที่แปลกตาบ้าง...ดูอะไรที่เป็นทางการมากๆสงสัยมันเครียด ...แต่อย่างไรก็ตาม ผมขอให้เราเลือกใช้ Graph ให้เหมาะกังงานดีกว่านะครับ

มีรุ่นน้องโทรมาถามว่า อยากทำ chart รูปทรงกางเกงขายาว (Trouser) จะทำได้ไหม ตอนแรกที่ได้ยินที่มันถาม ก็เกือบด่ามันไปแระ จะทำไปทำไมกัน แต่ก็ลองกลับมาทำดู (หลังจากที่ด่าไปหลายคำ...) พอลองมานั่งปรับค่า โน้นนี่หน่อยก็สรุปว่าพอจะทำได้อยู่ เอาแบบเป็นทรงกางเกงขายาว คร่าวๆก็พอครับ ไม่ต้องละเอียดมาก ส่วนใครอยากจะปรับแต่งตัวเลขเพิ่มเติมก็แล้วแต่ครับไม่ว่ากัน

เอาละ เรามาเริ่ม ตัดกางเกงขายาวใส่กันเถอะ เครื่องมือที่ต้องการนะเหรอ ไม่ต้องมีกรรไกร ไม่ต้องมีเข็ม ไม่ต้องมีด้าย ใช้แค่ คอมพิวเตอร์, โปรแกรม Microsoft Excel กับ คนเพียงคนเดียวก็พอครับ...มาเริ่มกันเลย

1 ให้เราพิมพ์ตัวเลขต่อไปนี้ลงไปบนเซลล์ต่างๆดังภาพด้านล่าง

2 ส่วนเซลล์ที่ต้องว่างก็ให้ว่างไว้ครับ

3 เลือกตั้งแต่เซลล์ A1 ถึง F20

4 คลิ้กที่คำสั่ง Insert เลือก Chart type แบบ Line เลือก Line เส้นเดียว (100% Staked line)

5 จะได้ Chart รูปกางเกงขายาวตามที่ต้องการ

6 ในภาพผมทำการเกงสีแดง (เส้นสีแดง) วิธีการก็แค่เปลี่ยนสีให้ Chart ของเรา โดยคลิ้กที่เส้น Chart แล้วคลิ้กขวา เลือกคำสั่ง Format Data Series…

7 คลิ้กที่ที่ Line Color แล้วเลือกที่ Solid line

8 ในส่วน Color เลือกเป็นสีแดง เสร็จแล้วกด Close

จะได้ผลลัพธ์ดังภาพด้านล่างครับ

 


เป็นไงครับ เหมือนกางเกงขายาวไหม คริๆ

Excel กับฟังก์ชั่น COUPNUM

Excel กับฟังก์ชั่น COUPNUM COUPNUM คือฟังก์ชั่น การเงิน ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าจำนวนของตั๋วเงินที่จะต้องจ่ายระหว่างวันที่ซื้อตั๋วและวันที่... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น COUPNUM

COUPNUM คือฟังก์ชั่น การเงิน ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าจำนวนของตั๋วเงินที่จะต้องจ่ายระหว่างวันที่ซื้อตั๋วและวันที่ครบกำหนดจ่ายเงินโดยปัดเศษบนหน้าตั๋วทั้งหมดเป็นจำนวนเต็มที่ใกล้ที่สุด

รูปแบบสูตร COUPNUM(settlement,maturity,frequency,basis)

Settlement คือวันที่ทำข้อตกลงของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่ส่งมอบหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อ

maturity คือวันที่ครบกำหนดชำระของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่หลักทรัพย์หมดอายุลงนั่นเอง

frequency คือจำนวนครั้งในการชำระค่าตราสารต่อปี ในกรณีที่เป็นการชำระแบบรายปี frequency=1 ถ้าเป็นการชำระแบบรายครึ่งปี frequency=2 และถ้าเป็นการชำระแบบรายไตรมาส frequency=4

basis คือ ชนิดของหลักเกณฑ์ในการนับจำนวนวัน

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง เช่น COUPDAYBS, COUPDAYS, COUPDAYSNC, COUPNCD, COUPPCD, DATE

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น COUPNUM

1 ให้ระบายเซลล์ A1:A4 แล้วพิมพ์ settlement และกด Enter

2 พิมพ์ maturity และกด Enter พิมพ์ frequency และกด Enter พิมพ์ Basis และกด Enter

3 ระบายเซลล์ B:B4 แล้วพิมพ์ 5-Feb-00 และกด Enter

4 พิมพ์ 1-jan-01 และกด Enter พิมพ์ 2 และกด Enter พิมพ์ 1 และกด Enter

5 คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =coupnum(b1,b2,b3,b4) และกด Enter จะแสดงค่า 2

Excel กับฟังก์ชั่น COSH

Excel กับฟังก์ชั่น COSH COSH เป็นฟังก์ชั่นของ Excel ในด้านคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าไฮเพอร์โบลิกโคไซน์ (Hyperbolic cosine... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น COSH

COSH เป็นฟังก์ชั่นของ Excel ในด้านคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าไฮเพอร์โบลิกโคไซน์ (Hyperbolic cosine) ของจำนวนที่ระบุ)

รูปแบบสูตร ของฟังก์ชั่น COSH คือ COSH(number)

number คือ จำนวนจริงใดๆ สำหรับที่คุณต้องการหาค่าไฮเพอร์โบลิกโคไซน์

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง ก็ได้แก่ ACOSH, SINH, TANH

ให้ทดลองทำตามตัวอย่างต่อไปนี้แล้วสังเกตผลลัพธ์ที่ได้

1 คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =cosh(3) และกด Enter จะแสดงค่า 10.06766

2 คลิกเซลล์ C2 แล้วพิมพ์ =(exp(3)+exp(-3))/2 และกด Enter จะแสดงค่า 10.06766

3 คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =cosh(exp(0)) และกด Enter จะแสดงค่า 1.543081

4 คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =cosh(exp(1)) และกด Enter จะแสดงค่า 7.610125


วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Excel กับการสร้าง Graph รูปตัว M

Excel กับการสร้าง Graph รูปตัว M Excel มีกราฟมาให้เราเลือกใช้หลายแบบ แต่รูปแบบที่ให้มานั้น หากเราไม่พอใจ อยากได้กราฟรูปร่างตามที่เราต้องกา... thumbnail 1 summary

Excel กับการสร้าง Graph รูปตัว M

Excel มีกราฟมาให้เราเลือกใช้หลายแบบ แต่รูปแบบที่ให้มานั้น หากเราไม่พอใจ อยากได้กราฟรูปร่างตามที่เราต้องการเราก็สามารถทำได้ครับ โดยเราต้องมีความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์เรื่อง Graph ลองกลับไปเปิดหนังสือคณิตศาสตร์ดูน่ะครับ...

Excel มีความสามารถในการ plot graph ได้หลากหลายตามที่เราต้องการทีเดียว เพียงแต่เราต้องกำหนดค่าให้เหมาะสม และเลือกรูปแบบชาร์ต (Chart Type) ให้เหมาะสมเท่านั้นเอง

วันนี้เราจะมาลอง plot graph อย่างง่ายกันครับ โดยสมมติว่า ผมต้องการจะ ได้ Chart รูปตัว M ผมจะต้องทำอย่างไร

อย่างแรกที่เราต้องคำนึงคือว่า เราจะเลือก Chart type เป็นแบบไหน เพื่อให้ได้ รูปร่าง Chart ตัว M ตามที่เราต้องการ...เรามาดูรูปร่าง Chart ที่เราต้องการกันเถอะว่า หน้าตาเป็นแบบไหน ภาพด้านล่างเลยครับ



จากภาพด้านบนเราต้องการให้ chart มีลักษณะ เป็นเหมือนรูปตัว M เราต้องเลือก Chart type แบบ xy เพื่อให้มีการตีเส้นกราฟ แบบนี้

และค่าที่เราต้องกำหนดก็กำหนดไม่กี่ค่าเท่านั้น

ในตัวอย่างนี้เราจะกำหนดข้อมูลที่จะเอามาสร้างกราฟตั้งแต่ A1:A5 ดังนี้

โดย พิมพ์ -1 ที่ช่อง A1

พิมพ์ 80 ที่เซลล์ A2

พิมพ์ -20 ที่เซลล์ A3

พิมพ์ 15 ที่เซลล์ A4

พิมพ์ 1 ที่เซลล์ A5

จากนั้นให้เรา select เซลล์ A1 ถึง A5 แล้วเลือก Insert chart เลือก Line Chart โดยเลือกแบบ 100% Staked line (ที่เป็น line แบบเส้นเดียว หากไม่รู้ว่าเป็นอันไหน ให้ เลือกที่ Line Chart แล้วใช้เม้าส์ชี้ดู มันจะขึ้นบอกว่าเป็น line chart แบบไหน)

เมื่อเลือกได้แล้วกด ok...Microsoft Excel จะสร้างกราฟให้เป็นไปตามที่เราต้องการดังภาพสำเร็จด้านล่างนี้ครับ

 

Excel กับการสร้าง Chart รูปตัวอักษร A

Excel กับการสร้าง Chart รูปตัวอักษร A Make the “A” Chart ใกล้จะ 9 โมงเช้าแล้ว ยังไม่ได้กินข้าวเลย มัวแต่ปั่นงานจนหัวหมุน ท้องก็ปวดแสบไปหมด... thumbnail 1 summary

Excel กับการสร้าง Chart รูปตัวอักษร A

Make the “A” Chart

ใกล้จะ 9 โมงเช้าแล้ว ยังไม่ได้กินข้าวเลย มัวแต่ปั่นงานจนหัวหมุน ท้องก็ปวดแสบไปหมด ดีที่มีกล้วยอยู่ลูกหนึ่ง เลยช่วยบรรเทาอากาศ ปวดหัว ปวดท้องได้บ้าง

วันนี้เราจะมาแสดงวิธีการทำกราฟรูปตัว A กัน ซึ่งจริงๆแล้วต้องใช้ ฟังก์ชั่น log ของ Excel ช่วยด้วย ในตอนเริ่มแรก รวมถึง ใช้ฟังก์ชั่น Rand ซึ่งเป็นฟังก์ชั่น เจ้าเก่าที่ Excel มีมาให้นานแล้ว มาทำการสุ่มค่าเพื่อดูลักษณะกราฟก่อน จากนั้น ลบ ฟังก์ชั่น Rand() ทิ้งไป แล้วก็ขยับตัวเลข เองด้วยมือ จึงได้เป็นรูปตัว A เช่นที่เห็นดังภาพด้านล่างนี้แหละ...ตัว A แบบนี้อาจจะไม่ถูกใจ

 



ใคร

บางคน เราก็สามารถเปลี่ยนไปใช้ Chart แบบ xy แทน chart แบบ scatter ก็ได้...แต่คงต้องปรับเปลี่ยนค่าใหม่

จากภาพเราได้กำหนดขอบเขตในการสร้าง Chart ไว้สองจุด จุดแรกอยู่ที่ A1 ถึง A3 โดยมีค่าดังนี้ A1=0.195563

A2=3.824954

A3=0.195563

และอีกจุดหนึ่งที่ B3 ถึง B5 โดยมีค่าดังนี้

B3=1.5

B4=1.5

B5=1.5

เมื่อเรากำหนดค่าให้กับช่วงเซลล์ดังกล่าวแล้ว ก่อนการสร้าง Chart ให้เราเลือกพื้นที่ทั้งหมดก่อน โดยเลือกพื้นที่ A1 ถึง A3 ก่อน จากนั้นกด Ctrl ค้างไว้ แล้วเลือกเซลล์ B3 ถึง B5

จากนั้น คลิ้กที่แท็บ Insert เลือก Scatter Chart โดยเลือก Scatter Chart แบบ Scatter with smooth lines...เราก็จะได้ Chart ดังภาพด้านบน แต่สีของเส้นตรงที่ตัดรูปโค้งตัว A อาจต่างกัน ดังนั้น ให้เราดับเบิ้ลคลิ้กที่เส้นตรงนี้แล้วเปลี่ยนสีของเส้นในส่วน Line color โดยเปลี่ยนให้เป็นสีฟ้า หรือสีอื่นๆตามที่ต้องการครับ...หรือถ้าไม่ดับเบิ้ลคลิ้กที่เส้นเพื่อเปลี่ยนแปลงสี เราสามารถทำได้โดยการดับเบิ้ลคลิ้กที่ Series ของเส้นนั้นๆเพื่อเลือกเปลี่ยนแปลงสีหรือกำหนดค่าอื่นๆก็ได้เช่นกัน...

วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Excel กับการ สร้าง Chart รูปส่วนโค้งประกบกัน

Excel กับการ สร้าง Chart รูปส่วนโค้งประกบกัน Chart แบบ Scatter เป็น Chart รูปส่วนโค้ง ที่ Excel เตรียมมาให้ จำนวนของเส้นโค้งที่ได้ขึ้น... thumbnail 1 summary

Excel กับการ สร้าง Chart รูปส่วนโค้งประกบกัน

Chart แบบ Scatter เป็น Chart รูปส่วนโค้ง ที่ Excel เตรียมมาให้ จำนวนของเส้นโค้งที่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนคอลัมน์หรือแถวของชุดข้อมูลที่มีตัวเลข หรือไม่มีตัวเลขผสมกัน หากเราจะดัดแปลงส่วนโค้งนั้นให้เป็น Chart รูปร่างที่เราต้องการเราก็จะต้องปรับเปลี่ยนตัวเลข หรือ ต้องเตรียมข้อมูลที่จะนำมาสร้างกราฟให้เหมาะสมด้วย




จากภาพด้านบน เราเตรียมข้อมูลไว้ 3 จุด เพื่อจะนำมาสร้าง Chart ให้ได้รูปร่างดังกล่าว โดยแต่ละจุดมีข้อมูลดังนี้

จุดแรก คือ A1:A3 มีข้อมูลดังนี้

A1=1.8, A2=3.824954, A3=1.8

จุดที่สอง คือ B3:B5 มีข้อมูลดังนี้

B3=1.8, B4=1.8, B5=1.8

จุดที่สาม คือ C5:C7 มีข้อมูลดังต่อไปนี้

C5=1.8, C6=0, C7=1.8

เมื่อคีย์ข้อมูลทุกจุดแล้ว ก็มาถึงการเลือกข้อมูลเพื่อนำไปสร้าง Chart โดยให้เราเลือกข้อมูล A1:A3 ก่อน จากนั้นกด Ctrl ค้างไว้แล้วเลือก B3:B5 จากนั้น เลือก C5:C7 เมื่อเลือกข้อมูลหมดทุกจุดแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็ให้เราคลิ้กที่แท็บ Insert แล้วเลือก Scatter Chart โดยเลือก Scatter Chart แบบ Scatter with smooth lines เราก็จะได้ Chart ตามภาพด้านบนแล้ว โดยส่วนโค้งส่วนบนคือ ข้อมูลในช่วง A1:A3 ซึ่งมีสีฟ้า, เส้นตรง ตรงกลางเป็นข้อมูลในส่วน B3:B5 ซึ่งมีสีแดง, และส่วนโค้งสีเขียวอ่อนซึ่งเป็นข้อมูลของ C5:C7

จากรูปทรงของ Chart ที่ได้จะเห็นว่า เราสามารถสร้างกราฟให้มีรูปลักษณ์แตกต่างไปจาก Chart ต้นแบบได้หลากหลายมาก ขึ้นอยู่กับค่าที่เรานำมา plot graph..ส่วนเรื่อง การกำหนดข้อมูลบนตัว Chart เราสามารถกำหนดได้โดยง่าย เช่นเดียวกับการกำหนดข้อมูลให้กับ Chart ต้นแบบเลย ไม่มีอะไรยาก...ต้องลองกำหนดดูครับ แล้วจะเข้าใจมากขึ้น อ่านเฉยๆ อาจทำให้เข้าใจไม่ถ่องแท้เท่าใดนัก

Excel กับ การสร้าง Chart รูปวงกลมแปลกๆ

Excel กับ การสร้าง Chart รูปวงกลมแปลกๆ ตัวอย่างนี้ เราจะลองสร้าง Chart วงกลม คล้ายๆกับนาฬิกาดู กล่าวคือ มันจะมีเข็มข้างใน อาจไม่ครบทั้ง ... thumbnail 1 summary

Excel กับ การสร้าง Chart รูปวงกลมแปลกๆ

ตัวอย่างนี้ เราจะลองสร้าง Chart วงกลม คล้ายๆกับนาฬิกาดู กล่าวคือ มันจะมีเข็มข้างใน อาจไม่ครบทั้ง 12 เข็ม แต่เอาเป็นว่า ทำให้มีเส้นอยู่ข้างในรอบวงกลมก็แล้วกัน โดยอาศัย Chart ต้นแบบที่ Excel มีมาให้นั่นคือ โดนัท Chart ซึ่งค่อนข้างจะเป็นวงกลม และอีกอย่าง ก็มีวงกลมอยู่ข้างในอีกวงแถมมาด้วย...กราฟนี้อาจจะดูธรรมดา แต่ก็อาจไม่ธรรมดาสำหรับใครหลายๆคนที่ไม่เคยลองทำอะไรแปลกๆดูเลยในชีวิต เอาเป็นว่า ผมจะลองทำเรื่องแปลกๆเหล่านี้แทนก็แล้วกัน แม้จะไม่ใช่แฟน แต่ขอทำแทนก็คงไม่ว่ากัน อิๆ





หน้าตาของ Chart ที่เราต้องการครับ ประมาณนี้แหละ

เริ่มเลยแล้วกัน น่ะ ในตัวอย่างนี้เราจะใช้ข้อมูลเพียงเซลล์เดียวเท่านั้นมาสร้างกราฟนี้...ย้ำเซลล์เดียวเท่านั้น นั่นคือเราจะใช้เซลล์ A1 เท่านั้นมาเป็นข้อมูลในการ plot graph ของ Excel โดยให้เราทำดังนี้ครับ

1 พิมพ์ -174.468 ที่เซลล์ A1

2 เลือกที่ เซลล์ A1 แล้วคลิ้กที่แท็บ Insert

3 เลือกที่ Other charts

4 เลือกที่ Doughnut chart

5 เราจะได้ Chart หน้าตาแบบนี้มา ดูภาพด้านล่างประกอบครับ




6 ให้เราดับเบิ้ลคลิ้กที่ วงกลมสีฟ้าๆนั่นแหละ
(double click on bubble chart)

7 คลิ้กที่ Series options แล้วกำหนดค่าต่างๆในกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงใหญ่

Angle of first slice, No rotation =0

Doughnut Explosion, Together =0

Doughnut Hole size, small = 0
ตามในภาพด้านล่างครับ






8 กำหนดค่าในส่วนของ fill ต่อ โดย คลิ้กที่ Fill แล้วคลิ้กที่ Pattern Fill แล้วเลือก Pattern ตามภาพด้านล่างเลยครับ





9 กำหนดค่าในส่วนของ Border Color ต่อ โดยคลิ้กที่ Border Color แล้วเลือก ที่ Solid line จากนั้น ตรงส่วน Color เลือกเป็นสีดำ ตามภาพด้านล่างครับ






10 กำหนดค่าส่วนสุดท้ายต่อครับ นั่นคือ Border styles ให้เราคลิ้กที่ Border Styles แล้วกำหนดค่าที่ width เป็น 25 pt

ส่วนตรง Dash type ให้เลือกรูปแบบเส้นตามภาพด้านล่างเลยครับ แล้วก็กด Close ไป เราก็จะได้ Chart ตามที่เราต้องการแล้วละครับ เปงไงครับ แปลกดีไหมเอ่ย






จากรูปของ chart ที่ได้ เราจะเห็นว่า เข็มที่เกิดรอบๆวงกลม (chart doughnut) นั้น ดูๆไปมันครบ 12 เข็มน่ะ...เข็มดำๆที่อยู่รอบวงกลม เราอาจนำไปเป็นตัวชี้ข้อมูลก็ได้น่ะครับ สวยแปลกตาไปอีกแบบ..(คิดไปเอง)

ลองปรับเปลี่ยนค่า หรือตกแต่งได้ตามใจเลยครับจะได้เป็นการเรียนรู้คำสั่งด้วย ลองใส่รูป ใส่สีพื้นดู แล้วสังเกตผลลัพธ์ดู จะได้เก่งๆ สำหรับวันนี้ขอจบแต่เพียงเท่านี้ โชคดีครับ...

วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Excel กับฟังก์ชั่น COUPDAYBS

Excel กับฟังก์ชั่น COUPDAYBS COUPDAYBS เป็นฟังก์ชั่นประเภทการเงิน ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าจำนวนวันจากการเริ่มต้นของคาบเวลาบนหน้าตั๋วจนถึงวันที่... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น COUPDAYBS

COUPDAYBS เป็นฟังก์ชั่นประเภทการเงิน ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าจำนวนวันจากการเริ่มต้นของคาบเวลาบนหน้าตั๋วจนถึงวันที่มีการชำระ

รูปแบบสูตร คือ COUPDAYBS(settlement,maturity,frequency,basis)

settlement คือ วันที่ที่ทำข้อตกลงของหลักทรัพย์ ซึ่งก็คือวันที่ส่งมองหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อ

maturity คือ วันที่ครบกำหนดชำระของหลักทรัพย์ ซึ่งก์คือวันที่หลักทรัพย์หมดอายุลงนั่นเอง

frequency คือจำนวนครั้งในการชำระค่าตราสารต่อปี ในกรณีที่เป็นการชำระแบบรายปี frequency =1 ถ้าเป็นการชำระแบบรายครึ่งปี frequency=2 และถ้าเป็นการชำระแบบรายไตรมาส frequency=4

basis คือชนิดของหลักเกณฑ์ในการนับจำนวนวัน

ฟังก์ชั่นที่มีความเกี่ยวข้อคล้ายคลึงกันได้แก่ COUPDAYS, COUPDAYSNC, COUPNCD, COUPNUM, COUPPCD, DATE

ให้ทดลองทำตามสูตรต่อไปนี้

1 ระบายเซลล์ A1:A4 แล้วพิมพ์ settlement และกด Enter

2 พิมพ์ maturity และกด Enter พิมพ์ frequency และกด Enter พิมพ์ basis และกด Enter

3 ระบายเซลล์ B1:B4 แล้วพิมพ์ 5-Feb-00 และกด Enter

4 พิมพ์ 1-jan-01 และกด enter พิมพ์ 2 และกด Enter พิมพ์ 1 และกด Enter

5 คลิกเซลล์ C1 แล้วพิมพ์ 1-jan-00

6 คลิกเซลล์ D3 แล้วพิมพ์ =b1-c1 และกด Enter จะแสดงค่า 4-Feb-00 ให้เลือกเมนู Edit และเลือกคำสั่ง Clear และคลิก Formats จะแสดงค่า ตัวเลข 35

7 คลิกเซลล์ B6 แล้วพิมพ์ =coupdaybs(b1,b2,b3,b4) และกดEnter จะแสดงค่าตัวเลข 35

8 หากเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ 0 ให้คลิกเซลล์ D4 แล้วพิมพ์ =days360(c1,b1) และกด Enter จะแสดงค่าตัวเลข 34

Excel กับฟังก์ชั่น COUNTA

Excel กับฟังก์ชั่น COUNTA COUNTA จัดเป็นฟังก์ชั่นทางด้านสถิติของ Excel ที่ทำหน้าที่ นับจำนวนของเซลล์ที่ไม่ว่างและนับจำนวนค่าภายในรายการข... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น COUNTA

COUNTA จัดเป็นฟังก์ชั่นทางด้านสถิติของ Excel

ที่ทำหน้าที่ นับจำนวนของเซลล์ที่ไม่ว่างและนับจำนวนค่าภายในรายการของอาร์กิวเมนต์ให้ใช้ COUNTA เพื่อนับจำนวนของเซลล์ที่บรรจุข้อมูลไว้ในช่วงหรืออาร์เรย์

รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น คือ COUNTA(value1,value2,…)

value1, value2,.... คือ 1 ถึง 30 อาร์กิวเมนต์ ที่เป็นค่าและเป็นเซลล์ที่คุณต้องการนับ ในกรณีนี้ value คือ ข้อมูลชนิดใดๆ ซึ่งรวมถึงข้อความว่าง (“”) แต่ไม่รวมเซลล์ว่าง ถ้าอาร์กิวเมนต์เป็นอาร์เรย์หรือการอ้างอิง ก็จะละเว้นเซลล์ว่างภายในอาร์เรย์หรือการอ้างอิงนั้นไป ถ้าคุณไม่จำเป็นต้องนับค่าตรรกศาสตร์ ข้อความหรือค่าความผิดพลาด ให้ใช้ฟังก์ชั่น COUNT

ฟังก์ชั่นที่มีความเกี่ยวข้องกับฟังก์ชั่น COUNTA คือ AVERAGE, COUNT, DCOUNT, DCOUNTA, PRODUCT, SUM

ให้ทดลองทำตามตัวอย่างต่อไปนี้ แล้วสังเกตผลลัพธ์ที่ได้

1 ระบายเซลล์ A1:A5 แล้วพิมพ์ตัวเลขเข้าไปและกด Enter ไปจนครบ คือ 1, 2, 3, 4, 5

2 คลิกเซลล์ A7 แล้วพิมพ์ =counta(a1:a5) และกด Enter จะแสดงค่า 5

3 คลิกเซลล์ A8 แล้วพิมพ์ =count(a1:a5) และกด Enter จะแสดงค่า 5

4 ในกรณีที่เปลี่ยนตัวเลขเป็นตัวหนังสือ ฟังก์ชั่น Count จะไม่นับรายการตัวหนังสือ แต่ COUNTA จะนับเซลล์ตัวเลขและตัวหนังสือด้วย

Excel กับฟังก์ชั่น COUNT

Excel กับฟังก์ชั่น COUNT COUNT เป็นฟังก์ชั่นของ Excel ด้านสถิติ ทำหน้าที่ นับจำนวนเซลล์ที่มีตัวเลขและจำนวนตัวเลขภายในรายการของอาร์กิวเมนต์ ... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น COUNT

COUNT เป็นฟังก์ชั่นของ Excel ด้านสถิติ

ทำหน้าที่ นับจำนวนเซลล์ที่มีตัวเลขและจำนวนตัวเลขภายในรายการของอาร์กิวเมนต์ ให้ใช้ COUNT เพื่อหาจำนวนของรายการข้อมูลในเขตข้อมูลตัวเลขภายในช่วงหรืออาร์เรย์ของตัวเลข

รูปแบบสูตรของฟังก์ชั่น คือ COUNT(value1,value2,…)

value1, value2,… คือ อาร์กิวเมนต์ 1 ถึง 30 อาร์กิวเมนต์ที่สามารถมีหรืออ้างถึงชนิดหลายชนิดที่แตกต่างกันของข้อมูล อย่างไรก็ตามจะมีเพียงตัวเลขเท่านั้นที่ถูกนับ

ข้อสังเกต

อาร์กิวเมนต์ที่เป็นตัวเลข วันที่ หรือ การแสดงตัวเลขในรูปแบบข้อความจะถูกนับ ส่วนอาร์กิวเมนต์ที่เป็นค่าความผิดพลาด หรือ เป็นข้อความซึ่งไม่สามารถแปลเป็นตัวเลขได้ จะถูกละเว้นไป

ถ้าอาร์กิวเมนต์เป็นอาร์เรย์หรือการอ้างอิง จะนับเฉพาะตัวเลขในอาร์เรย์หรือการอ้างอิงนั้นเท่านั้น และจะละเว้นเซลล์ว่าง ค่าตรรกศาสตร์ ข้อความ หรือค่าความผิดพลาด ถ้าคุณจำเป็นต้องนับค่าตรรกศาสตร์ ข้อความ หรือค่าความผิดพลาด ให้ใช้ฟังก์ชั่น COUNTA

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้องได้แก่ AVERAGE, COUNTA, DCOUNT, DCOUNTA, SUM

ให้ทดลองทำตามตัวอย่างต่อไปนี้ แล้วสังเกตผลลัพธ์ที่ได้ในเซลล์

1 ระบายเซลล์ A1:A5 แล้วพิมพ์ตัวเลขเข้าไปและกดEnter ไปจนครบ คือ 1, 2, 3, 4, 5

2 คลิกเซลล์ B1 แล้วพิมพ์ =count(a1:a5) และกด Enter จะแสดงค่า 5

3 คลิกเซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =count(a3:a6) และกด Enter จะแสดงค่า 3

4 คลิกเซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =count(a1:a5,5,6) และกด Enter จะแสดงค่า 7

5 ในกรณีที่เปลี่ยนตัวเลขเป็นตัวหนังสือ ฟังก์ชั่น Count จะไม่นับรายการตัวหนังสือ


Excel กับฟังก์ชั่น COS

Excel กับฟังก์ชั่น COS COS คือ ฟังก์ชั่นประเภทคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าโคไซน์ของมุม รูปแบบสูตร COS(number) number คือค่า... thumbnail 1 summary
Excel กับฟังก์ชั่น COS

COS คือ ฟังก์ชั่นประเภทคณิตศาสตร์และตรีโกณมิติ

ทำหน้าที่ ส่งกลับค่าโคไซน์ของมุม

รูปแบบสูตร COS(number)

number คือค่ามุมในรูปเรเดียนที่ต้องการหาค่าโคไซน์

ฟังก์ชั่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ACOS, COSH, PI

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่น COS

1 คลิกที่เซลล์ B2 แล้วพิมพ์ =cos(1.046977) และกด Enter จะแสดง 0.500191

2 คลิกที่เซลล์ B3 แล้วพิมพ์ =cos(60*pi()/180) แล้วกด Enter จะแสดงค่า 0.5

3 คลิกเซลล์ B4 แล้วพิมพ์ =cos(radians(60)) และกด Enter จะแสดงค่า 0.5

4 คลิกเซลล์ B5 แล้วพิมพ์ =cos(radians(45)) และกด Enter จะแสดงค่า 0.707107

Excel กับ การใช้ Control Listbox และ Textbox สร้างโปรแกรม Dictionary บน Excel

Excel กับ การใช้ Control Listbox และ Textbox สร้างโปรแกรม Dictionary บน Excel ยิ่งสระผมเท่าไหร่ก็ดูเหมือนว่า ผมจะคัน แถมเกิดรังแคมากขึ้นด... thumbnail 1 summary
Excel กับ การใช้ Control Listbox และ Textbox สร้างโปรแกรม Dictionary บน Excel

ยิ่งสระผมเท่าไหร่ก็ดูเหมือนว่า ผมจะคัน แถมเกิดรังแคมากขึ้นด้วย ไม่รู้ว่าเป็นเพราะยาสระผมที่ใช้หรือเปล่า ตอนนี้ดูเหมือนผมจะร่วงมาหลายเส้นล่ะ สงสัยต้องเปลี่ยนยาสระผมแล้วล่ะ...รังแคเป็นแผ่นๆเลย

ฟังก์ชั่นบน Excel ยังนำเสนอไม่หมดเลย แต่ไม่เป็นไร เราค่อยๆทยอยเอามาลงก็แล้วกันซักวันคงหมด..ตอนนี้เราพักเรื่องฟังก์ชั่นกันก่อนดีกว่า ไปดูเรื่องอื่นๆ กัน อย่างที่เคยกล่าวไปแล้วในบทความก่อนว่า จะนำเสนอเรื่องของ vba ด้วย สำหรับบล็อก Excel แห่งนี้ ... ผมเห็นว่า การใช้ งาน Excel มีหลายอย่างที่ต้องเรียนรู้มากทีเดียว อย่างเช่นเรื่องของ Control Activex ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มาช่วยให้ Excel มีความสะดวก มีความสามารถมากขึ้น ก็เลยเห็นว่าควรจะนำเสนอเรื่องการใช้ Control Activex สักหน่อย

โดยในวันนี้จะนำเสนอเรื่องของ การใช้ Control Listbox กับ Control Textbox พร้อมๆกัน เลย

Control Listbox คือ คอนโทรลของ Activex ที่อยู่บนในส่วนแท็บ Developer(นักพัฒนา) ซึ่งเป็นคอนโทรลที่ใช้สำหรับ บรรจุรายการต่างๆตามที่เราต้องการ อย่างเช่น บรรจุรายการเพลง, รายการภาพยนตร์, รายการคำศัพท์, รายชื่อไฟล์, รายชื่อไดรฟ์, รายชื่อโฟลเดอร์ หรือ งานด้านอื่นๆตามที่เราต้องการ

Control Textbox คือ คอนโทรลของ Activex ที่อยู่ในส่วนแท็บ Developer(นักพัฒนา) เช่นกัน ประโยชน์ของมันก็คือใช้บรรจุข้อความทั้งที่เป็นข้อความบรรทัดเดียว หรือ หลายบรรทัดก็ได้ เช่น ในตัวอย่างนี้ เราจะใช้ Textbox ในการบรรจุความหมายของคำศัพท์ภาษาอังกฤษ

เรามาดูภาพประกอบกันดีกว่าว่า Control Textbox และ Control Listbox อยู่ตรงไหน ตามภาพด้านล่างนี้ครับ




จากภาพด้านบนเราจะเห็นว่า ในส่วนของ ActiveX Controls มีคอนโทรลให้ใช้อยู่หลายตัว แต่เรานำเอามาใช้แค่สองตัวเท่านั้น ในกรอบสี่เหลี่ยมแดงเล็กๆคือ คอนโทรล listbox และ textbox ที่เราจะเอามาใช้ในตัวอย่างนี้

โดยในตัวอย่างนี้เราจะจำลองการทำงานของโปรแกรม Dictionary

โดยมีหลักการทำงานดังนี้คือ

เมื่อคลิ้กที่รายการคำศัพท์ที่อยู่ใน Listbox รายการใด ก็จะแสดงความหมายของคำศัพท์ในช่อง Textbox อย่างนี้เป็นต้น

สิ่งที่เราต้องทำคือ นำ Control ActiveX Listbox มาวางบน Sheet ของ Excel และกำหนดค่าให้กับControl ActiveX ดังภาพด้านล่าง
























จากภาพด้านบนเป็นการ กำหนดสีพื้นหลังให้กับ Listbox เป็นสีดำ

กำหนด สีตัวอักษรบน Listbox เป็นสีเหลือง

และกำหนด อักษร หรือ Font นั่นเอง เป็น DokChampa ขนาดตัวอักษรคือ 10 ส่วนข้อความใน Listbox เรายังไม่ต้องใส่ เพราะเราจะเขียนโค้ดเพื่อใส่ไป ดังนั้นให้ข้ามในส่วนของข้อความไปก่อน ไปกำหนดค่า Textbox ต่อ

นำ Control Textbox มาวางข้างๆ Listbox แล้วกำหนดค่าให้กับ Texbox ดังภาพด้านล่าง








จากภาพ เรากำหนดสีพื้นหลังของ textbox เป็นสีขาว

กำหนดในส่วนของเส้นขอบหรือ border style เป็น สีแดง และกำหนดลักษณะของเส้นขอบเป็นแบบ fmborderStyleSingle แล้ว Textbox ก็จะออกมาดังภาพด้านบนนั่นแหละ

หลังจากกำหนดค่าให้กับ Listbox และ Textbox แล้วเราจะได้ คอนโทรลที่มีลักษณะดังภาพด้านล่างนี้วางข้างๆกัน





จากนั้นให้เรากด ALT+F11 เพื่อไปยังหน้าต่างการกำหนด Source code เพื่อสั่งงาน Control ทั้งสองตัวนี้

แล้วเขียนโค้ดโปรแกรมดังต่อไปนี้ลงไป





เมื่อเขียนโค้ดเสร็จแล้วให้กด Alt+F11 อีกครั้งเพื่อกลับไปที่ Worksheet บน Excel

แล้วสั่งให้โปรแกรมของเราทำงานโดยการกดที่ ปุ่ม Design Mode ให้เด้งขึ้นมา...โปรแกรมของเราก็จะอยู่ในสภาวะรัน หรือ ภาวะทำงาน พร้อมที่จะรับคำสั่งจากโค้ดที่เราเขียนไปแล้ว ดูภาพด้านล่างประกอบ




ให้เราทดสอบการทำงานของโปรแกรม Dictionary โดยการลองกดที่คำศัพท์ ตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งในที่นี่ เราจะลองกดที่คำศัพท์คำว่า To Dog Someone’s Footsteps ที่อยู่บน Listbox แล้วสังเกตผลลัพธ์ที่ช่อง Textbox




เราจะเห็นว่า เมื่อเราคลิ้กที่ คำว่า To Dog Someone’s Footsteps ที่อยู่บน Listbox ความหมายของคำศัพท์จะปรากฏที่ Textbox ที่อยู่ขวามือทันที

ลองคลิ้กที่คำศัพท์คำอื่นดู เช่น คลิ้กที่คำศัพท์ตัวแรกคือ คำว่า A Perfect Cat ที่ Textbox ก็จะได้คำแปลว่า คนนิสัยไม่ดี, คนนิสัยเลว ดังภาพด้านล่าง




สุดท้ายให้ลองคลิ้กที่คำศัพท์ตัวสุดท้าย ซึ่งก็คือ คำว่า Feel like A Fish Out Of Water ที่ Textbox ก็จะแสดงความหมายว่า รู้สึกไม่สบาย ดังภาพด้านล่างนี้เป็นต้น





เอาละครับ เป็นอันว่าโปรแกรมนี้ก็เสร็จสมบูรณ์แล้ว และก็เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของเราที่วางไว้ทุกอย่าง...นั่นคือเราต้องการใช้ Excel สร้างโปรแกรม Dictionary ไทย อังกฤษ ขึ้นมา...แม้ว่าคำศัพท์ใน โปรแกรมDictionary อันนี้จะมีแค่ 3 คำ แต่เราก็สามารถที่จะ เพิ่มคำศัพท์ให้มากขึ้นเป็นร้อยเป็น พัน เป็นคำหรือเพิ่มจำนวนคำตามที่เราต้องการได้ ซึ่ง เราจะเพิ่มเข้าไปได้อย่างไรนั้นให้ทุกคนไปดูที่โค้ดน่ะครับ แล้วจะเข้าใจ สำหรับมือเซียนก็ถือกว่า เด็กๆครับ ส่วนมือใหม่ก็อาจต้องฝึกเล็กน้อย เพราะถือว่าโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมง่ายๆ ครับ ไม่ซับซ้อนอะไรแต่ก็ใช้งานได้จริง....

ปัญหาระหว่างที่พัฒนาโปรแกรมนี้ เราจะพบว่า Control textbox ไม่รองรับภาษาไทย และ บางเครื่องอาจไม่มี ฟอนท์ภาษาไทยที่ใช้ได้สำหรับ textbox ตัวนี้ ซึ่งเราอาจจะต้องไปหาฟอนท์ภาษาไทยมาติดตั้งเพิ่มให้กับ เครื่งอคอมของเราได้ครับ อย่างใน โปรแกรมนี้ผมใช้ font ที่ชื่อว่า Sp ThunderFox Bold ซึ่งถ้าใครไม่มีฟอนท์ชื่อนี้ก็ไปหาดาวน์โหลดจากอินเตอร์เน็ตได้ครับ ไม่ยากครับ หรือฟอนท์อื่นๆที่ทำให้ Textbox แสดงภาษาไทยก็ได้ครับไม่ว่ากัน.....

สำหรับวันนี้ต้องขอจบตัวอย่างนี้ไว้แต่เพียงเท่านี้ครับ แล้วพบกันใหม่